การที่กองทัพสุลต่านแห่งซูลู ซึ่งสังกัดสุลต่านซูลูที่ชื่อว่า
สุลต่านจามาลุล กีรามที่ 3 จากหมู่เกาะซูลู ภาคใต้ฟิลิปปินส์
ได้ยกพลขึ้นยึดหมู่บ้านตันดูวอ ใกล้กับเมืองลาฮัตดาตู ในรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย โดยทางรัฐบาลมาเลเซียให้เวลาในการเจรจา
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจา
จนในที่สุดทางรัฐบาลมาเลเซียจึงใช้วิธีการปราบอย่างรุนแรง
รัฐซาบะห์เป็นของใคร
กล่าวกันว่าเดิมนั้นดินแดนรัฐซาบะห์ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรบรูไนนับตั้งแต่ศตวรรษที่
15 ต่อมาทางรัฐสุลต่านซูลูกล่าวว่าทางรัฐบรูไนได้ยกดินแดนบอร์เนียวเหนือให้รัฐสุลต่านซูลู
ในขณะที่ทางประวัติศาสตร์รัฐบรูไนปฏิเสธว่ารัฐบรูไนไม่ได้ยกดินแดนซาบะห์ให้แก่รัฐสุลต่านซูลู
การที่รัฐสุลต่านซูลูอ้างถึงการที่ซาบะห์หรือเดิมนั้นชื่อว่าบอร์เนียวเหนือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสุลต่านซูลูนี้เอง
ทำให้รัฐสุลต่านซูลู ซึ่งจริงๆแล้วรัฐนี้ล้มทลายไปนานแล้ว
แต่บางส่วนต้องการที่จะให้รัฐสุลต่านคงอยู่
เพื่อความชอบธรรมในการเรียกร้องสิทธิเหนือรัฐซาบะห์
สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3 เป็นอีกหนึ่งในบรรดาสุลต่านที่อุปโลกตนเองขึ้นมา ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องให้มีการคืนรัฐซาบะห์ให้แก่รัฐสุลต่านซูลู หลายต่อหลายคนที่อุปโลกขึ้นมาเป็นสุลต่าน เป็นสุลต่านที่อาศัยร้านค้าเป็นสำนักงานสุลต่าน
สุลต่านยามาลุล กีราม ที่ 3
สำนักงานของสุลต่านเอสมาแอล กีราม ที่ 2
ร้านค้าที่ใช้เป็นสำนักงานของสุลต่านคนหนึ่ง
ในวันที่12 กุมภาพันธ์ 2013
กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู ได้ขึ้นบกที่ชายฝั่งบริเวณหมู่บ้านตันดูวอ
เมืองลาฮัดดาตู ต่อมาในวันที่14
กุมภาพันธ์
ทางผู้บัญชาการตำรวจมาเลเซียแจ้งว่ากองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูดังกล่าวเป็นกองกำลังของผู้สืบเชื้อสายสุลต่านซูลู
จากภาคใต้ฟิลิปปินส์
ในวันเดียวกันทางดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัด นายิบ ตุนอับดุลราซัค
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ได้กล่าวว่าทางมาเลเซียจะดำเนินการเจรจากับผู้บุกรุกครั้งนี้ ก่อนที่จะขับไล่ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่รัฐซาบะห์
กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
และต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์
ทางดาโต๊ะสรีฮีชามุดดิน ตุนฮุสเซ็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ยืนยันว่ากองกำลังติดอาวุธดังกล่าวเป็นผู้สนับสนุนรัฐสุลต่านซูลู ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์
ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ยืนยันอีกครั้งว่า
ทางรัฐบาลมาเลเซียกับรัฐบาลฟิลิปปินส์จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกครั้งนี้
.
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์
รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ส่งเรือสำหรับนำกลุ่มคนราว 180 คน พร้อมกองกำลังติดอาวุธ
อีกราว 30 คน เพื่อกลับไปยังประเทศฟิลิปปินส์
วันที่ 26
กุมภาพันธ์เป็นวันสุดท้ายที่ทางรัฐบาลมาเลเซียได้ขีดเส้นสำหรับการดำเนินการขั้นเด็ดขาด
ถึงอย่างไรก็ตามการเจรจาก็ยังคงดำเนินการอยู่
วันที่ 28 กุมภาพันธ์
ทางรัฐบาลมาเลเซียถูกกดดันให้มีการเจรจาโดยตรงกับสุลต่านยามาลุล กีราม ที่
3 ซึ่งการบุกรุกได้ดำเนินการมาเป็นเวลามากกว่าสามอาทิตย์แล้ว ในวันที่ 1 มีนาคม 2013
เกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลู ฝ่ายตำรวจเสียชีวิต 2 นาย คือ ASP
Zulkifli Mamat และ Sjn Sabarudin Daud ฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลู เสียชีวิต 12 คน
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านตันดูวอ (Tanduo)
ต่อมาในวันที่ 2 มีนาคม
เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตอีก 6 นายจากการถูกโจมตีในหมู่บ้าน Sri
Jaya Simunul เมืองเซิมโปร์นา
ส่วนฝ่ายกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลูก็เสียชีวิต 6 คนเช่นกัน ในวันที่ 3 มีนาคม ศพเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 นายถูกลำเลียงออกจากหมู่บ้าน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก
19 นายที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ขณะเกิดการปะทะกัน
ในวันที่ 4 มีนาคม ทางนาย Jose
Brillantes เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ และนาย J.
Eduardo Malaya ทูฟิลิปปินส์ประจำประเทศมาเลเซียได้เดินทางไปพบดาโต๊ะสรี ดร. อาหมัด
ซาอิด ฮามีดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย และดาโต๊ะสรีฮีชามุดดิน ตุนฮุสเซ็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหานี้
สถานการณ์ยังคงตึงเครียด ต่อมาในวันที่
5 มีนาคม ทางรัฐบาลมาเลเซียเริ่มมีการโจมตีทางอากาศไปยังกลุ่มกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านแห่งซูลูที่หมู่บ้านตันดูวอ
พร้อมเริ่มส่งกำลังตำรวจรุกไปยังหมู่บ้านดงกล่าว
ทางนายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็ได้ประกาศว่าทางรัฐบาลมาเลเซียจำเป็นต้องรักษาและปกป้องอธิปไตยของประเทศ
หลังจากการเจรจาด้วยสันติวิธีไม่ประสบความสำเร็จ.
ผู้บัญญาการตำรวจกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้บัญาการตำรวจมาเลเซีย
ตันสรีอิสมาแอล โอมาร์ พร้อมพลเอกตันสรีซุลกีฟลี
มูฮัมหมัดซีน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กล่าวถึงการปฏิบัติการที่เรียกว่า OpsDaulat
บรรลุวัตถุประสงค์
นั้นคือการปกป้องอธิปไตยของประเทศ
การปะทะกันมีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตดังนี้
1 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ 12 คน ฝ่ายตำรวจ 2 คน ชาวบ้าน 1 คน
3 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ 7 คน ฝ่ายตำรวจ 6 คน ชาวบ้าน 4 คน
6-7 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ 33 คน
ฝ่ายตำรวจ - คน ชาวบ้าน - คน
10 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ - คน ฝ่ายตำรวจ - คน ชาวบ้าน 1 คน
12 มีนาคม กองกำลังรัฐฯ 3 คน ฝ่ายตำรวจ 1 คน ชาวบ้าน - คน
และคาดว่าการเสียชีวิตจะยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ชาวซูลูในรัฐซาบะห์
ด้วยรัฐซาบะห์กับรัฐสุลต่านซูลูนั้น
มีชนเผ่าซูลูอาศัยอยู่ทั้งในทั้งสองดินแดน
สำหรับชนเผ่าซูลูในรัฐซาบะห์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก
เป็นกลุ่มชาวซูลูที่เดินทางเข้าไปอาศัยอยู่ในรัฐซาบะห์มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนแล้ว ชาวซูลูกลุ่มนี้ในรุ่นปัจจุบัน
มีบทบาทสำคัญในสังคมรัฐซาบะห์ เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ
หนึ่งในชาวซูลูกลุ่มนี้ที่มีชื่อเสียง
และเป็นผู้หนึ่งทที่มีบทบาทสำคัญในการนำรัฐซาบะห์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
คือ ตุน ดาตูมุสตาฟา บินดาตูฮารุน ผู้ว่าการคนแรกของรัฐซาบะห์
กลุ่มที่สอง
คือกลุ่มชาวซูลูที่อพยพหนีภัยจากหมู่เกาะซูลู ภาคใต้ฟิลิปปินส์
เป็นกลุ่มที่ทางรัฐบาลมาเลเซีย ได้มอบสัญชาติมาเลเซียให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้
ทำให้พวกเขามีสิทธิเหมือนชาวมาเลเซียทั่วไป บางส่วนได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี
สามารถมีบทบาทในสังคมของรัฐซาบะห์
กลุ่มที่สาม
คือกลุ่มชาวซูลูที่อพยพเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่สอง
แต่อาจจะอพยพมาภายหลังจากกลุ่มที่สอง
กลุ่มที่สามนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับสัญชาติมาเลเซีย
แต่ทางรัฐบาลมาเลเซียออกบัตรผู้อพยพให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้
ทำให้พวกเขาสามารถอาศัยอยู่ในรัฐซาบะห์ได้ตลอดไป
แม้จะไม่มีสิทธิเฉกเช่นชาวมาเลเซีย
ผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์กองกำลังรัฐสุลต่านซูลูบุกยึดรัฐซาบะห์
จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหลากหลายขึ้นจากเหตุการณ์นี้ ในกลุ่มของกองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลู
อาจได้รับกำลังใจ
ความเห็นอกเห็นใจจากกลุ่มชาวซูลูที่ยังฝังใจว่ารัฐซาบะห์เป็นของตนเอง
ซึ่งอาจรวมถึงชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ที่ถือว่ารัฐซาบะห์นั้นเป็นดินแดนที่สุลต่านแห่งซูลูให้เช่าเท่านั้น
ดังนั้นถึงเวลาที่ฟิลิปปินส์จะต้องเรียกร้องดินแดนแห่งนี้คืนจากมาเลเซีย
และด้วยมีผู้ที่อุปโลกตนเองเป็นสุลต่านมีจำนวนมาก
การที่กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูได้บุกไปยังรัฐซาบะห์ก็อาจทำให้ความศรัทธาของชาวซูลูในหมู่เกาะซูลูที่มีต่อสุลต่านยามาลุล
กีราม ที่ 3 เพิ่มมากขึ้น
หนังสือพิมพ์ในฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์
ชาวมุสลิมฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์แก่ประเทศฟิลิปปินส์
ชาวมุสลิมฟิลิปปินส์เรียกร้องให้คืนรัฐซาบะห์แก่ประเทศฟิลิปปินส์
ในทางกลับกันการที่กองกำลังติดอาวุธรัฐสุลต่านซูลูภายใต้การนำของสุลต่านยามาลุล
กีราม ที่ 3 ได้บุกรุกรัฐซาบะห์ ทำให้มีผลกระทบต่อความเห็นอก
เห็นใจของชาวมาเลเซียโดยภาพรวมที่ต่อชาวหมู่ซูลู
ชาวมาเลเซียมีความระวาดระแวงต่อชาวซูลูบางทั้งๆที่มีสัญชาติมาเลเซีย
เช่นนายตำรวจมาเลเซียผู้หนึ่งถูกจับฐานมีเจตนาไม่แจ้งข่าวการเข้ามาของกองกำลังติดอาวุธชาวซูลูในเมืองเซิมโปร์นา
จนนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตตำรวจมาเลเซีย
ครั้งหนึ่งในอดีตชาวมาเลเซียมักเห็นอก เห็นใจชาวซูลู
และชนชาวมุสลิมอื่นๆในหมู่เกาะซูลูและแผ่นดินใหญ่เกาะมินดาเนา
รวมทั้งรัฐบาลมาเลเซียเองก็เป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ฟิลิปปินส์กับรัฐบาลฟิลิปปินส์
ความเห็นอก
เห็นใจที่มีต่อชาวซูลูย่อมจะต้องลดลง และการช่วยเหลือด้านการพัฒนาชาวมุสลิมมินดาเนา
ซึ่งจะรวมทั้งชาวซูลูของรัฐบาลมาเลเซีย
ตามที่รัฐบาลมาเลเซียสัญญาจะให้ความช่วยเหลือครั้งที่มีการทำสนสัญญายุติสงครามระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับขบวนการปลดปล่อยอิสลามแห่งโมโร
หรือ Moro Islamic Liberation Front ย่อมต้องชงักลง ดังนั้นการปฏิบัติการของกองทัพสุลต่านแห่งซูลู นอกจากจะประสบความพ่ายแพ้ การฆ่าตัวตายแล้ว
ยังน่าจะถือเป็นการทำลายความเห็นอก
เห็นใจของชาวมาเลเซียที่มีต่อชาวซูลูในหมู่เกาะซูลู
และชาวซูลูที่ไม่ใช่สัญชาติมาเลเซีย ซึ่งอาศัยอย่ในรัฐซาบะห์มากกว่า 8
แสนคนอีกด้วย
Tiada ulasan:
Catat Ulasan