โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮสซัน
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมาอาจแตกต่างจากวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ด้วยในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ผู้เขียนได้เดินทางไปทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการไปในปี 2552 และสิ่งที่คาดหวังต่อไปในปี 2553 ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่สำหรับวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ผู้เขียนเพียงเดินทางไปยังเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้ดำเนินการในปี 2553 และเดินทางกลับจังหวัดปัตตานีในวันที่ 2 มกราคม 2554 สิ่งที่ได้จากการเดินทางในครั้งนี้ แม้จะเป็นเพียงการเดินทางไปยังรัฐกลันตัน ซึ่งถือว่าเป็นรัฐเพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส แต่จากการค้นคว้า ศึกษาข้อมูล ทำให้เห็นว่า “เขารู้จักเรา มากกว่าที่เรารู้จักเขา”
เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน
เมืองโกตาบารู มองจากฝั่งห้างโลตัส
ศูนย์หัตถกรรมรัฐกลันตัน
KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน
องค์ความรู้ของเราที่มีต่อเขา ไม่ว่าจากงานวิทยานิพนธ์ของสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง งานวิจัยที่ได้รับงบประมาณทั้งจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อรวมแล้วมีจำนวนน้อยกว่าที่เขามีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา
ตัวอย่างวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่มาเลเซียศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ของไทยหรือที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
1. การจัดการความขัดแย้งของชาวมลายูมุสลิมในจงหวัดชายแดนภาคใต้ (Pengurusan konflik Melayu-Islam di wilayah Selatan Thailand)
2. การจัดการบริเวณชายแดนประเทศมาเลเซีย-ประเทศไทย(Pengurusan sempadan Malaysia-Thailand )
Nasionalisme Melayu di selatan Thailand, 1890-1948
3. ปัญหาจริยธรรมของกลุ่มเยาวชน : กรณีศึกษาเขตเทศบาลนราธิวาส (Masalah keruntuhan akhlak di kalangan muda mudi : suatu kajian di Bandar Narathiwat, Thailand )
4. การค้าสินค้าเถื่อนบริเวณชายแดนประเทศมาเลเซีย-ประเทศไทย : ผลกระทบทางความมั่นคงและสังคมเศรษฐกิจที่รัฐกลันตัน(Kegiatan penyeludupan di sempadan Malaysia-Thailand : implikasi ke atas keselamatan dan sosio-ekonomi di Kelantan )
5. การลักลอบขนสินค้าไทยโดยไม่เสียภาษี : กรณีศึกษาที่อำเภอปาเซร์มัส รัฐกลันตัน (Kegiatan penyeludupan barangan Siam : kajan kes di Pasir Mas, Kelantan)
กิจกรรมที่ได้ดำเนินการในปี 2553
สำหรับกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในปี 2553 นั้น ส่วนหนึ่งได้ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก โดยใช้หลักการว่า “ทำให้คนที่รู้จักกันกลายเป็นเพื่อน ทำให้เพื่อนกลายเป็นกัลยามิตร”
ความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศมาเลเซีย
มหาวิทยาลัยมาเลเซียเปอร์ลิส
มหาวิทยาลัยอุตารามาเลเซีย
มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์
มหาวิทยาลัยมาเลเซียซาราวัค
United Sabah Bajau Organisation
ความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศอินโดเนเซีย
Pusat Bahasa
Pusat Tamadun Melayu Universitas Indonesia
Universitas Maritim Raja Ali Haji
Universitas Sumatera Utara
Universitas Syiah Kuala
“โต๊ะอินโดเนเซีย” นักศึกษาทุน Darmasiswa ด้วยส่วนหนึ่งของบณทิตของแผนกวิชามลายูศึกษาได้รับทุน Darmasiswa ของรัฐบาลอินโดเนเซีย เพื่อไปศึกษาภาษาอินโดเนเซียในสถาบนอุดมศึกษาของประเทศอินโดเนเซีย จึงไปจัดตั้ง“โต๊ะอินโดเนเซีย” ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ส่งข่าวคราว วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอินโดเนเซีย
นักศึกษาทุน Darmasiswa
ความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศสิงคโปร์
องค์กรจาเมียะห์อิสลามียะห์ สิงคโปร์
Pusat Budaya
ความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศบรูไน
Universiti Brunei Darussalam
Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei
ความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์กรหรือหน่วยงานในประเทศฟิลิปปินส์
Pahang Center for Malay Studies, Mindanao States University
Tiada ulasan:
Catat Ulasan