Khamis, 25 November 2010

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

วันนี้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันสุดท้ายของการจัดงานมหกรรมเชงโฮ (Cheng Ho Expo 2010)ที่เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย งานมหกรรมเชงโฮครั้งนี้จัดระหว่างวนที่ 21-26 พฤศจิกายน 2010 ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของรัฐกลันตัน ด้วยนอกจากมีการจัดบูธแสดงสินค้า การแสดงศิลปะการต่อสู้กังฟูจากวัดเส้าหลิน ประเทศจีนแล้ว ยังมีการพบปะระหว่างนักธุรกิจจากมาเลเซียกับนักธุรกิจจากประเทศจีน และอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมในการจัดงานครั้งนี้

สัญญลักษณ์ของงานมหกรรมเชงโฮ

แผ่นโบรชัวร์รายชื่อบูธแสดงสินค้า

การจัดงานมหกรรมเชงโฮ 2010 ของรัฐกลันตันในครั้งนี้ได้มีการประชาสมพันธ์ทั้งโดยการตั้งป้ายโฆษณา มีการซื้อพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในสื่อตีพิมพ์ ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับท้องถิ่น

ป้ายโฆษณางานมหกรรมเชงโฮ
มีอยู่ทั่วรัฐกลันตัน และมีการประชาสัมพันธ์ถึงการจัดงานมาเป็นเวลานานนับเดือน

ป้ายโฆษณาในงานมหกรรมเชงโฮ

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 นี้ได้รับความสนใจจากชาวรัฐกลันตันและคนต่างรัฐจำนวนมาก แม้ว่าพื้นที่จัดงานจะแคบด้วยพื้นที่จัดงานเป็นบริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 แต่ทางผู้จัดได้ขยายพื้นที่จัดงานในส่วนของนิทรรศการเชงโฮ เป็นพื้นที่ภายในของโรงแรมหนึ่งที่ตั้งอยู่ข้างสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4

ภายในงานมหกรรมเชงโฮ

มุมหนึ่งภายในงานมหกรรมเชงโฮ

บูธผลิตภัณฑ์สร้างอาคารสถานที่ ผลิตในรัฐกลันตัน

พื้นที่ด้านหน้ากีฬาสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 4 จะเป็นบูธแสดงสินค้าทั้งหมด โดยจัดเป็นเต็นท์ติดแอร์ หลายเต็นท์ด้วยกัน โดยแต่ละเต็นท์จะเป็นบูธของกลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท ร้านค้าต่างๆ

บูธของกลุ่มผู้ประกอบการของรัฐกลันตัน

สินค้าพื้นเมืองของรัฐกลันตัน

สินค้าพื้นเมืองของรัฐกลันตัน

ในเต็นท์หนึ่งทางรัฐกลันตันได้จัดแสดงโครงการพัฒนาเมืองของรัฐบาลรัฐกลนตัน โดยทางรัฐบาลท้องถิ่นรัฐกลันตันได้จัดสร้างโครงการเมือง Settelite City เป็นโครงการสมัยใหม่ของรัฐกลันตัน เพื่อรองรับกับการพัฒนาเทคโนโลยี่สมัยใหม่

หนึ่งในโครงการเมือง Settelite City ของรัฐกลันตัน

นอกจากนั้นในเต็นท์หนึ่งยังมีการจัดบูธของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐและท้องถิ่น เท่าที่สังเกตุจะเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาเท่าน้นมีทั้งที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับประเทศและสถาบันอุดมศึกษาระดับรัฐที่มีรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่างๆเป็นเจ้าของ

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเคดะห์เข้าร่วมจัดบูธ

งานมหกรรมเชงโฮ 2010 คร้งนี้นอกจากมีบูธของประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีบูธจากประเทศอดีตสหภาพโซเวียต เช่น จากสาธารณรัฐอุสเบกิสถาน สาธารณรัฐกาซักสถาน รวมทั้งบูธจากเขตปกครองจีนมุสลิม ประเทศจีน เช่น เขตมุสลิมนิงเซียะ และเขตปกครองมุสลิมชาวซินเกียง

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธสินค้าของสาธารณรัฐอุสเบกีสถาน

บูธแสดงสินค้าของสาธารณรัฐกาซักสถาน

ภาพจากบูธของสาธารณรัฐกาซักสถาน

บูธสินค้าเสื้อผ้าจากเขตมุสลิมนิงเซียะ ประเทศจีน

การรักษาโรคโดยใช้ไฟจากบูธการแพทย์แผนจีน

ผู้หญิงชาวซินเกียง ประเทศจีนที่เข้าร่วมเปิดบูธอาหารชาวซินเกียง

ผู้ชายชาวซินเกียง ประเทศจีนที่เข้าร่วมเปิดบูธอาหารชาวซินเกียง

ที่น่าสนใจมีบูธจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย บางบูธนั้นผู้เขียนเคยมาแล้วจากงานต่างๆที่จัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดชายแดนให้ต่างประเทศได้รู้จัก

บูธแสดงสินค้าจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ผู้ปฏิบัติงานในบูธกำลังสาธิตการทำข้าวยำ

สินค้าจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

บูธสินค้าจากจังหวัดชายแดนภาคใต้

หมวกกะปียะห์จากชุมชนกะมิยอ จังหวัดปัตตานี

มีบูธหนึ่งที่ผู้เขียนสนใจคือบูธของบริษัท Thai OTOP จำกัด โดยได้รับรู้ข้อมูลเรื่องราวของบริษัท Thai OTOP จำกัดจากนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ฉบับหนึ่ง เท่าที่จำเนื้อหาในนิตยสารฉบับดังกล่าว กล่าวว่าเดิมทางหน่วยราชการไทยจะจัดบูธแสดงสินค้าจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเทศมาเลเซีย แต่ต่อมาได้จัดตั้งบริษัทขึ้นมาใช้ชื่อว่า บริษัท Thai OTOP จำกัด โดยได้รับงบประมาณจากกงสุลใหญ่ของไทย ณ เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นับล้านบาท ในนิตยสารฉบบดังกล่าวทางผู้จัดการบริษัท Thai OTOP จำกัด ได้เรียกร้องให้ทางหน่วยงานรัฐของไทยให้การช่วยเหลืองบประมาณโดยด่วน เพราะบริษัท Thai OTOP จำกัด มีทุนเหลือน้อยมาก ผู้เขียนมีความรู้สึกงงกับเนื้อหาดังกล่าว ด้วยตามสภาพความเป็นจริงแล้ว เมื่อให้เงินนับล้าน ท่านยังเลี้ยงตัวเองไม่รอด แถมยังจะขอทุนเพิ่มเติมอีก ความจริงถือว่าท่านประสบความล้มเหลวในการบริหารทางธุรกิจ หรืออาจคิดว่าเป็นเงินรัฐ(มาจากภาษีของราษฎรอีกนั้นแหละ !!)จะบริหารอย่างไรก็ได้ ไม่ใช่เงินเรา ทางอีกน่าจะไม่ใช่เพิ่มหรือช่วยเหลืองบประมาณ แต่น่าจะเปลี่ยนผู้บริหาร หรือ ปรับปรุงระบบการทำงานมากกว่า

บูธของบริษัท Thai OTOP จำกัด

สินค้าจากประเทศไทย

แผนป้ายของบริษัท Thai OTOP จำกัด

สำหรับประเทศไทย เราจะสนใจเรื่องบ้านดิน หรือบ้านที่สร้างด้วยดินเหนียว มีหนังสือหลายเล่มที่พิมพ์เกี่ยวกับการสร้างบ้านดิน ด้วยบ้านดินเป็นบ้านที่อาศัยอยู่สบาย อากาศเย็นสบาย ในขณะเดียวกันสำหรับประเทศอินโดเนเซีย บ้านไม้ไผ่ หรือบ้านที่สร้างด้วยไม้ไผ่กลายเป็นบ้านที่ได้รับความนิยมจากชาวอินเดีย ในงานมหกรรมเชงโฮ 210 ครั้งนี้ ทางประเทศอินโดเนเซียมีบูธบ้านไม้ไผ่กับเขาด้วย เป็นบูธจากเมืองโบโกร์ จังหวัดชวาตะวันตก ชนส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดชวาตะวันตกจะเป็นชาวซุดา (Sunda)

บูธบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่จากเมืองโบโกร์ จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดเนเซีย

แบบบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่

ในเต็นท์หนึ่งพบบูธที่เป็นของโครงการบริจาคคัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย เช่นชาวมุสลิมชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆ หรือตามแต่ผู้บริจาคต้องการจะให้ โดยผู้บริจาคซื้อคัมภีร์อัลกุรอ่านจากโครงการ และโครงการจะทำหน้าที่นำคัมภีร์อัลกุรอ่านดังกล่าวไปให้แก่ผู้คนตามที่ผู้บริจาคต้องการ

โครงการบริจาคคัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย

คัมภีร์อัลกุรอ่านสำหรับแจกกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับงานนิทรรศการเชงโฮนั้น ได้จัดขึ้นที่โรงแรมที่อยู่ใกล้กับสนามกีฬาสุลต่านมูฮัมหมดที่ 4 เป็นการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ทัพเชงโฮ การแสดงสินค้าที่ทำการค้าในยุคสมัยแม่ทัพเชงโฮ หนังสือประวัติความเป็นมาของแม่ทัพเชงโฮ นอกจากนั้นยังมีการแสดงคัมภีร์อัลกุรอ่านที่ยาวที่สุดในโลก

คัมภีร์อัลกุรอ่านที่ยาวที่สุดในโลก

รูปป้นของแม่ทัพเชงโฮ

ภาพจินตนาการของแม่ทัพเชงโฮ

ภาพจินตนาการของแม่ทัพเชงโฮ

การแสดงถึงกองเรือของแม่ทัพเชงโฮ

เส้นทางการเดินเรือของแม่ทัพเชงโฮ

สุสานของบิดาแม่ทัพเชงโฮ

สุสานของแม่ทัพเชงโฮ

หนังสือต่างๆที่เขียนเรื่องราวของแม่ทัพเชงโฮ

ลูกหลานคนหนึ่งของแม่ทัเชงโฮ

บรรดาลูกหลานเชื้อสายแม่ทัพเชงโฮ

การแสดงเหรียญจีนในยุคแม่ทัพเชงโฮ

Tiada ulasan: