Isnin, 1 Mac 2010

ราชาสุไลมาน (Raja Sulaiman) กษัตริย์มุสลิมแห่งกรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ประเทศฟิลิปปินส์นั้น เป็นที่รู้กันว่าเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ เมื่อศึกษา ค้นคว้าเอกสารที่เป็นภาษาไทยเกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์แล้ว ปรากฎว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์น้อยมาก หรือถ้ามีก็จะพยายามหลีกเลี่ยง หรือปกปิดความเป็นมาของกรุงมะนิลาในช่วงก่อนที่สเปนจะเข้าไปยึดครองประเทศฟิลิปปินส์ ในความเป็นจริงแล้ว ก่อนที่สเปนจะเข้าไปยึดครองกรุงมะนิลานั้น ปรากฎว่าในบริเวณพื้นที่กรุงมะนิลาและบริเวณใกล้เคียง มีอาณาจักรของชาวมลายูมุสลิมอยู่ถึง 3 อาณาจักรด้วยกัน เช่น อาณาจักรมะนิลา (Kingdom of Maynila) อาณาจักโตนโด (Kingdom of Tondo) และอาณาจักรนามายัน(Kingdom of Namayan)

ไม่เพียงจะไม่มีข้อมูลในภาษาไทยเกี่ยวกับทั้ง 3 อาณาจักรเท่านั้น แม้แต่จารึกทองแดงลากูนา (Laguna Copperplate Inscription) เป็นจารึกที่ทำขึ้นในปี ค.ศ. 900 และมีการค้นพบบริเวณอ่าวลากูนา (Laguna de Bay)กรุงมะนิลา ก็ไม่พบว่ามีการเขียนถึงที่เป็นภาษาไทยเลย จารึกทองแดงลากูนานี้พบในปี 1989 โดย Alfredo E. Evangelista เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการใช้ภาษามลายู(โบราณ)ในบริเวณกรุงมะนิลา

จารึกทองแดงแห่งลากูนา (Laguna Inscription)

ข้อความที่จารึกในศิลาจารึกลากูนา มีดังนี้

แถวที่ 1
swasti shaka warsatita 822 waisakha masa di(ng) jyotisa.caturthi kresnapaksa so-

แถวที่ 2
mawara sana tatkala dayang angkatan lawan dengan ña sanak barngaran si bukah

แถวที่ 3
anak da dang hwan namwaran dibari waradana wi shuddhapattra ulih sang pamegat senapati di tundu-

แถวที่ 4
n barja(di) dang hwan nayaka tuhan pailah jayadewa. di krama dang hwan namwaran dengan dang kaya-

แถวที่ 5
stha shuddha nu diparlappas hutang da walenda kati 1 suwarna 8 dihadapan dang huwan nayaka tuhan pu-

แถวที่ 6
liran kasumuran. dang hwan nayaka tuhan pailah barjadi ganashakti. dang hwan nayaka tu-

แถวที่ 7
han binwangan barjadi bishruta tathapi sadana sanak kapawaris ulih sang pamegat de-

แถวที่ 8
wata [ba]rjadi sang pamegat medang dari bhaktinda diparhulun sang pamegat. ya makana sadanya anak

แถวที่ 9
cucu dang hwan namwaran shuddha ya kapawaris dihutang da dang hwan namwaran di sang pamegat dewata. ini grang

แถวที่ 10

syat syapanta ha pashkat ding ari kamudyan ada grang urang barujara welung lappas hutang da dang hwa...

มีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า

Long Live! Year of Syaka 822, month of Vaisakha, according to Jyotisha (Hindu astronomy).

The fourth day of the waning moon, Monday.

On this occasion, Lady Angkatan, and her brother whose name is Bukah, the children of the Honourable Namwaran, were awarded a document of complete pardon from the Commander in Chief of Tundun, represented by the Lord Minister of Pailah, Jayadewa.

By this order, through the scribe, the Honourable Namwaran has been forgiven of all and is released from his debts and arrears of 1 Katî and 8 Suwarna before the Honourable Lord Minister of Puliran Kasumuran by the authority of the Lord Minister of Pailah.

Because of his faithful service as a subject of the Chief, the Honourable and widely renowned Lord Minister of Binwangan recognized all the living relatives of Namwaran who were claimed by the Chief of Dewata, represented by the Chief of Medang.

Yes, therefore the living descendants of the Honourable Namwaran are forgiven, indeed, of any and all debts of the Honourable Namwaran to the Chief of Dewata.

This, in any case, shall declare to whomever henceforth that on some future day should there be a man who claims that no release from the debt of the Honourable...


สำหรับอาณาจักรมลายูทั้งสามอาณาจักรในบริเวณกรุงมะนิลา ก่อนเข้ามาของสเปนนั้น มีบรรดาผู้นำ หรือ ราชา ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์หลายคน เช่น ราชาสุไลมานที่ 1(Raja Salaiman I), ราชาสุไลมานที่ 2(Raja Sulaiman II),ราชาสุไลมานที่ 3(Raja Sulaiman III), ราชาลากันดูลา (Raja Lakandula)และราชามาตันดา (Raja Matanda)

เราต้องยอมรับว่าฟิลิปปินส์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลกมลายู และฟิลิปปินส์ในอดีตนั้นมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆของโลกมลายู อาณาจักรมลายูในบริเวณกรุงมะนิลาก็เช่นเดียวกัน นาย Romeo Duana Rodil ได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามอาณาจักรกับประเทศบรูไนในศตวรรษที่ 16 และ 17 โดยงานวิจัยของเขาในหัวข้อ "The Relations of Brunei and Manila During the Sixteenth and Seventeenth Centuries" เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโทเสนอต่อ มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม (University of Brunei Darussalam)

จากงานศึกษาดังกล่าว พบว่า ราชาสุไลมานที่ 1(Raja Sulaiman I), ราชาลากันดูลา (Raja Lakandula)และราชามาตันดา (Raja Matanda)เป็นพี่น้องกัน โดยต้นตระกูลมาจากบรูไน ต้องเข้าใจว่าบรูไนในขณะนั้น ไม่ได้มีพื้นที่ขนาดเล็กเฉกเช่น ประเทศบรูไนในปัจจุบัน ด้วยบรูไนในอดีตนั้นกินเนื้อที่ทั้งรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

ต้นตระกูลมีบุตรอยู่ 2 คน คือ กัตปันดัน (Gatpandan) และ ลนต๊อค (Lontoc) ต่อมาลนต๊อค ได้แต่งงานกับนางกาลางีตัน(Calangitan)จากปาซิก (Pasig) มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ ปางีโนอัน (Panginoan), ศรีเลลา (Sri Lela)หรือ ราชาสุไลมานที่ 1 (Raja Sulaiman I), ลาฮัต (Lahat)และ กาเฮีย (Cahia) สำหรับศรีเลลา (Sri Lela)หรือ ราชาสุไลมานที่ 1 (Raja Sulaiman I)ผู้นี้คือผู้สร้างเมืองมะนิลานั้นเอง

ราชาสุไลมานที่ 1 (Raja Sulaiman I)ได้แต่งงานกับยัสเมอเรีย (Ysmeria)มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ราชาสุไลมานที่ 2 (Raja Sulaiman II),ราชามาตันดา(Raja Matanda) และราชาลากันดูลา(Raja Lakandula) สำหรับราชาสุไลมานที่ 2 (Raja Sulaiman II)ผู้นี้คือบิดาของราชาสุไลมานที่ 3 (Raja Sulaiman III) ราชาสุไลมานที่ 3 นี้เองที่เป็นที่รู้จักของชาวฟิลิปปินส์ ชื่อของราชาสุไลมานผู้นี้จะเขียนหลายแบบ เช่น Raja Sulaiman, Rajah Sulayman และRajah Soliman แผนผังของตระกูลราชาสุไลมานมีลักษณะดังนี้

แผนผังวงศ์ตระกูลของราชาสุไลมาน

ราชาสุไลมาน (Raja Sulaiman III)
เป็นกษัตริย์ระหว่างปี 1558-1575 กษัตริย์แห่งอาณาจักรมะนิลา(Kingdom of Maynila) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชาว Papampangan และ Tagalog ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำปาซิก (Pasig River)ในกรุงมะนิลาปัจจุบัน พระองค์เป็นหนึ่งในบรรดากษัตริย์มลายูที่ต่อสู้กับสเปนที่กำลังล่าอาณานิคมในช่วงศตวรรษที่ 16

จากบันทึกในเอกสารของสเปน กล่าวว่าชนเผ่าของราชาสุไลมานเรียกพระองค์ว่า Rajamura หมายถึง Raja Muda (ราชามูดา)ในภาษามลายู อันมีความหมายว่าเป็นองค์รัชทายาท ผู้ที่จะสืบราชบัลลังค์ต่อไป ชาวสเปนเรียกพระองค์ว่า Rajah Soliman El Mow

เมื่อครั้งชาวสเปนภายใต้การนำของ Miguel Lopez de Legazpi ได้ถูกขับไล่โดยชาวโปร์ตุเกส จนทำให้ต้องย้ายฐานจากเกาะเซบู(Cebu)ไปยังเกาะปาไน (Panay)เขาได้ยินเรื่องความรุ่งเรืองของอาณาจักรมุสลิมในเกาะลูซอน (Luzon) ทำให้เขาส่ง Martin de Goiti และ Juan de Salcedo ไปสำรวจพื้นที่อาณาจักรมุสลิมดังกล่าว ต่อมาทาง Martin de Goiti ได้ส่งสารเพื่อแสดงความเป็นมิตรกับอาณาจักรต่างๆที่ตั้งในกรุงมะนิลาปัจจุบัน ปรากฎว่าราชาสุไลมานที่ 3 แห่งอาณาจักรมะนิลา ผู้เป็นกษัตริย์ต่อจาก ราชาสุไลมานที่ 2 ผู้บิดา ได้ยอมรับในมิตรภาพของสเปน แต่ปฏิเสธที่จะอยู่ภายใต้อำนาจของสเปน ดังนั้นจึงเกิดสงครามระหว่างทั้งสองฝ่าย โดย Martin de Goiti และกองทัพสเปนได้โจมตีอาณาจักรมะนิลาในเดือนมิถุนายน 1570 และยึดครองหมู่บ้านในพื้นที่หดังกล่าว ก่อนที่ Martin de Goiti จะถอยกลับไปยังเกาะปาไน

แผนที่ฟิลิปปินส์

แผนที่เกาะปาไน

แผนที่เกาะเซบู

ในปี 1571 สเปนได้กลับมายังอาณาจักรมะนิลาอีกครั้ง ในครั้งนี้สเปนภายใต้ Miguel Lopez de Legazpi พร้อมกองทัพที่ประกอบด้วยชาวสเปน 280 คน ชาวพื้นเมือง 600 คน เมื่อกองทัพสเปนเข้าใกล้ ชาวบ้านจึงก่อไฟในหมู่บ้าน แล้วหนี้ไปยังอาณาจักรโตนโด และพื้นที่ใกล้เคียง จนในที่สุดกองทัพสเปนก็สามารถยึดครองอาณาจักรมะนิลาได้ และตั้งฐานในมะนิลา จากชัยชนะในครั้งนั้นมีผลทำให้ ราชาลากันดูลา ราชาสุไลมานที่ 2 ราชาสุไลมานที่ 3 ต้องยอมรับในอำนาจของสเปน และยอมเปลี่ยนศาสนาจากศาสนาอิสลาม มานับถือศาสนาคริสต์ การยอมรับในอำนาจของสเปนนี้ ทางสเปนได้ยกเว้นอาณาจักรนี้ไม่ต้องส่งส่วยและแรงงานบังคับแก่สเปน สเปนได้สร้าง Intramuros สำหรับการบริหารอาณานิคมในมะนิลา จนปัจจุบัน Intramuros ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ได้กลายเป็นแหล่งท้องเที่ยวที่สำคัญของฟิลิปปินส์

รูปปั้นของ Miguel Lopez de Legazpi

เมือง Intramuros จำลอง

ส่วนหนึ่งของเมือง Intramuros

ส่วนหนึ่งของเมือง Intramuros

ส่วนหนึ่งของเมือง Intramuros

หลังจากสเปนได้ตั้งฐานในมะนิลาแล้ว ต่อมาราชาสุไลมานที่ 2 ได้สิ้นชีวิตแล้ว ราชาสุไลมานที่ 3 จึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมา ในเดือนเมษายน 1572 จนต่อมา Miguel Lopez de Legazpi ได้สิ้นชีวิตลง คนที่ทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการของสเปนคนต่อมา คือ Guido de Lavezaris ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเดิมที่ Miguel Lopez de Legazpiทำกับราชาสุไลมานและราชาลากันดูลา ดังนั้นราชาทั้งสองจึงลุกขึ้นสู้ที่นาโวตัส(Navotas)ในปี 1574 สำหรับราชาสุไลมานองค์นี้เป็นที่รู้จักของชาวฟิลิปปินส์ มีการสร้างอนุสาวรีย์รำลึกถึงพระองค์ในกรุงมะนิลา มีการสร้างรูปป้นพระองค์ นอกจากนั้นพระองค์มีพระชายาเป็นบุตรีของสุลต่านอับดุลกาฮาร์แห่งบรูไน

ในประเทศฟิลิปปินส์สามารถกล่าวได้ว่า ชาวฟิลิปปินส์คริสต์นั้น ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษมาจากชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อพ่ายแพ้แก่สเปน ทำให้ต้องเปลี่ยนศาสนาจากศาสนาอิสลามเป็นศาสนาคริสต์ และในฟิลิปปินส์นั้นเมื่อมีชาวคริสต์เปลี่ยนศาสนามาเป็นอิสลาม แทนที่จะเรียกบุคคลเหล่านั้นว่า มาซุกอิสลาม (เข้าอิสลาม-masuk Islam)เหมือนในประเทศไทย แต่กลับเรียกว่า บาลิก อิสลาม(กลับสู่อิสลาม-balik Islam)เหตุผลที่ใช้คำว่า บาลิกอิสลาม เพื่อนชาวฟิลิปปินส์บอกว่าใช้คำว่า บาลิก หรือ กลับ ด้วยเดิมนั้นพวกเขามีบรรพบุรุษที่เป็นมุสลิมอยู่แล้ว

ภาพวาดราชาสุไลมาน

รูปปั้นของราชาสุไลมาน

รูปปั้นราชาสุไลมาน

มีเขียนคำอธิบายว่า

The Muslim ruler of the kingdom of Maynilad (now Manila) who refuse the offer of "friendship" by the Spaniards - which actually meant the loss of the freedom of his people. He fought the Spaniards under Miguel Lopez de Legazpi twice in 1570 and 1571, resulting in the burning of his kingdom. On the second battle, the battle of Bankusay on June 3, 1571, Rajah Sulayman perished with 300 of his warriors.

แปลเป็นภาษาไทยความว่า

เจ้าเมืองมุสลิมแห่งอาณาจักรมายนิลาด (ปัจจุบัน คือกรุงมะนิลา) ผู้ปฏิเสธข้อเสนอมิตรภาพจากชาวสเปน ซึ่งหมายความ ว่า การ สูญ เสีย เสรีภาพของ ประชาชน เขา โดยเขาได้ต่อสู้กับชาวสเปนภายใต้การนำของ Miguel Lopez de Legazpi เป็นจำนวน 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1570 และ 1571 มีผลทำให้ อาณาจักร ของ เขาถูกเผา ในการรบครั้งที่สอง ที่เรียกว่า การรบที่บันกูไซ (the battle of Bankusay) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1571 ทำให้ราชาสุไลมาน (Rajah Sulayman)และนักรบของเขาเสียชีวิต 300 คน

รูปปั้นของราชาสุไลมาน

รูปปั้นของราชาสุไลมาน

Tiada ulasan: