Sabtu, 27 Februari 2010

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศบรูไน

โดย นิอับดุลราก๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่ประเทศบรูไน

ชนพื้นเมืองในประเทศบรูไน ประกอบด้วย 7 ชนเผ่าด้วยกัน แต่เพื่อให้ความเป็นหนึ่งเดี่ยวด้านการเมืองการปกครอง ทั้ง 7 ชนเผ่า โดยภาพรวมจะใช้ชื่เรียกว่า มลายู หรือ มาเลย์ สำหรับสำหรับคนภายในประเทศบรูไนเอง จะแบ่งออกเป็นชนเผ่าตามสภาพความเป็นจริง ชนชาวบรูไน ประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ ดังนี้

1. Melayu Brunei
2. Kedayan
3. Tutong
4. Dusun
5. Belait
6. Murut
7. Bisaya

ชาวมลายูบรูไน
ชาวมลายูบรูไนเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดา 7 ชนเผ่าของชาวบรูไน ชนชาวมลายูบรูไนนี้ บางส่วนยังตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์ ภาษาพูดของชาวมลายูบรูไนนั้นมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเอง แต่จะใช้ภาษามลายูมาตราฐานเมื่อต้องการสื่อกับบุคคลที่ไม่เข้าใจภาษามลายูบรูไน

การแต่งกายของสตรีชาวมลายูบรูไน

ชาวดูซุน
ชาวดูซุน เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาบะห์ ส่วนใหญ่ชาวดูซุนจะนับถือศาสนาคริสต์ บางส่วนจะนับถือศาสนาอิสลาม ชาวดูซุน มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม ประชากรของชาวดูซุนส่วนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศบรูไน

การแต่งกายของชาวดูซุน

การแต่งกายของชาวดูซุน

ชาวเบอไลต์
ชาวเบอไลต์เป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในประเทศบรูไน ชาวเบอไลต์ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเบอไลต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เขตของเขตการปกครองของประเทศบรูไน ชาวเบอไลต์มีภาษาพูดเป็นของตนเอง คือภาษาตูตง

ชาวตูตง
ชาวตูตงเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูในประเทศบรูไน ชาวตูตงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตูตง ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เขตของเขตการปกครองของประเทศบรูไน ชาวตูตงมีภาษาพูดเป็นของตนเอง นั้นคืออภาษาตูตง

รูปร่างหน้าตาของชาวตูตง

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวตูตง

ชนชาวบีซายา(Bisaya)
ชาวบีซายา เป็นชนพื้นเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันตกของชาวเกาะบอร์เนียว กล่าวกันว่า ชนชาวบีซายาเป็นกลุ่มแรกๆที่เข้ารับศาสนาอิสลามราวศตวรรษที่ 13 ชาวบีซายาในรัฐซาบะห์และบรูไนมีชื่อที่ซ้ำกับชนชาวบีซายา(Visaya)ในฟิลิปปินส์ แต่ทั้งสองชนเผ่าไม่เกี่ยวข้องกันเลย

ความเป็นมาของคำว่า ชนชาวบีซายา
ตำนานกล่าวว่า คำว่า ชนชาวบีซายา(Bisaya) มาจาก คำว่า Mabisa Iya ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ชายหรือผู้หญิงที่สง่างาม ต่อมาเพี้ยนมาเป็นบีซายาจนถึงปัจจุบัน

แผนที่ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวบีซายา

เครื่องแต่งกายของชาวบีซายา (Bisaya)

การแต่งกายประจำเผ่าของหญิงชาวบีซายา

ชนชาวมูรุต
เป็นชนชาวที่อาศัยอยู่ทั้งในรัฐซาบะห์รัฐซาราวัค เกาะกาลีมันตัน บอร์เนียวและประเทศบรูไน เดิมชาวมูรุตก็อาศัยอยู่บ้านยาว(Long house ) เหมือนกัน แต่ในปัจจุบันมีน้อยมาก

ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุต
ขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งงานของชาวมูรุตโดยเฉพาะชาวมูรุตตาโฮล (Murut Tahol) หรือมูรุตกากัล Tagal มีความพิเศษจากชนเผ่ามูรุตอื่นๆ ยังคงมีพิธีแต่งงานที่บ้านยาว(Long house ) และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า tina’uh และ barian sampai mati ยังมีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน พิธีกรรม tana’uh ถือเป็นพิธีกรรมขั้นสูงสุดของขนบธรรมเนียมการแต่งงานของชาวมูรุต ตาโฮล หรือตากัล คือการให้สินสอดของฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง พิธีกรรม tana’uh นี้สามารถปฏิบัติได้หลังจากการแต่งงานผ่านไปแล้ว 20 ปี หรือ 30 ปี ส่วนพิธี barian sampai mati ในปัจจุบันมีน้อยมาก

ชายหญิงชาวมูรุตในชุดแต่งกายประจำเผ่า

การรำของชาวมูรุต

หญิงชาวมูรุตในชุดแต่งกายประจำเผ่า

ชนชาวเกอดายัน
ชนชาวนี้ว่ากันว่าเป็นชาวที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างชาวชวากับชาวมลายูบรูไน เริ่มขึ้นจากในยุคสุลต่านบอลเกียะห์ (1473-1521) โดยพระองค์ชอบการเดินทางไปยังเกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะกาลิมันตัน รวมทั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ที่เกาะชวาพระองค์ได้เห็นความขยันของชาวชวาในการเพาะปลูกและการทำนา รวมทั้งมีฝีมือหัตถกรรม ดังนั้นพระองค์จึงได้ขอให้ชาวชวาเดินทางไปตั้งฐิ่นฐานในบรูไน ต่อมากลุ่มชาวชวา ดังนั้นได้สร้างความสัมพันธ์และแต่งงานกับชาวมลายูบรูไน จนเกิดมาเป็นชนชาวเกอดายัน ชาวเกอดายันจะอาศัยอยู่ในบรูไน รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

การแต่งกายชุดประจำเผ่าของชาวเกอดายัน

กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ภาคใต้ของฟิลิปปินส์นั้นมีสภาพปัญหาทางการเมืองที่คล้ายคลึงกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกาะมินดาเนาและหมู่เกาะซูลูมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์กับประเทศบรูไน มาเลเซีย และอินโดเนเซีย พื้นที่ภาคใต้ฟิลิปปินส์นั้นในอดีตมีการใช้ระบบสุลต่าน บรรดารัฐที่มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองนั้นมีหลายรัฐ เช่น รัฐซูลู รัฐมากินดาเนา รัฐบัวยัน เป็นต้น

รูปปั้นลาปู-ลาปู ผู้นำมุสลิมฟิลิปปินส์ ที่ถือเป็นวีระบุรุษของชาวฟิลิปปินส์

นายนูร์ มิซัวรี และแกนนำชาวโมโร ขณะประชุมวางแผนการทำสัญญาฉบับตรีโปลี กับรัฐบาลฟิลิปปินส์

กลุ่มผู้นำชาวโมโรในปี 1899-1901

สุลต่านมางีกิน แห่งรัฐมากินดาเนา ปี 1899-1901

ตราของสุลต่านฟาเกะห์มาวลานามูฮัมหมัด สุลต่านองค์ที่ 14 ของรัฐมากินดาเนา

บรรดาดาตูในปี 1899

ผู้นำชาวโมโรในเมืองอีลีกัน ปี 1901

ธงของรัฐซูลูในอดีต

ดาตู เปียง ผู้นำคนหนึ่งของชาวมินดาเนา ปี 1901

ในบริเวณภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะเกาะมินดาเนา มีประชากรหลากหลายกลุ่มชนเผ่า นักวิชาการได้แบ่งกลุ่มชนในบริเวณดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มชาวฟิลิปปินส์คริสต์ ซึ่งก็มีหลากหลายชนเผ่าด้วยกัน
2.กลุ่มชาวมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ประกอบไปด้วยหลากหลายชนเผ่า ที่ใช้ชื่อเรียกรวมกันว่า ชาวโมโร (Moro)
3.กลุ่มชนพื้นเมืองที่มีหลากหลายชนเผ่า เรียกรวมกันว่า Lumad

การที่ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ประกอบด้วย 3 กล่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มนั้นยังแบ่งออกเป็นชนเผ่าต่างๆ ทำให้พื้นที่ภาคใต้ฟิลิปปินส์มีความหลากหลายทางชนเผ่า มีความหลากหลายทางภาษา มีการสำรวจกลุ่มชนเผ่าที่ใช้ภาษาต่างๆในภาคใต้ฟิลิปปินส์ ซึ่งสามารถแยกภาษาต่างๆดังแผนที่แสดงการใช้ภาษาดังนี้



สำหรับชาวมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์นั้น ชาวสเปนได้เรียกพวกเขาว่า โมโร (Moro)ดังนั้นชื่อว่าโมโรจึงเป็นที่ยอมรับของทุกชนเผ่าที่เป็นมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ด้วยสามารถใช้คำว่าชาติโมโร (Bangsa Moro) เพื่อเป็นตัวกลางสื่อถึงชนเผ่าชนเผ่าทุกชนเผ่า กลุ่มชนเผ่าต่างๆที่เป็นมุสลิม ประกอบด้วย

1.เผ่ามาราเนา (Maranao)
คำว่ามาราเนา แปลว่าคนทะเลสาบ โดยดินแดนของพวกเขาเรียกว่า ลาเนา (Lanao) ซึ่งแปลว่าทะเลสาป ภาษาของเผ่ามาราเนามีความใกล้เคียงกับภาษาของเผ่า Magvindanao และ Iranun มีการกล่าวกันว่ชนเผ่า Maranao และเผ่า Iranun สามารถจะเข้าใจภาษาของเผ่า Manguindanao เป็นจำนวนถึง 60 %

การแสดงของชาว Maranao

การแสดงของชาว Maranao

ชาว Maranao

2.เผ่า Maguindanao
คำว่า Maguindanao เป็นชื่อราชวงค์ที่ปกครองเกาะมินดาเนา ต่อมาได้นำมาใช้เป็นชื่อชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบ Pulangi ซึ่งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของกาะมินดาเนา ชาว Maguindanao - Iranun ข้ารับศาสนาอิสลามราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ศาสนาอิสลามได้รับการเผยแพรโดย Syarif @ Muhammad Kabungsuan ซึ่งมาจากรัฐโยโฮร์

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมากินดาเนา

ชาวมากินดาเนา

การแสดงของชาวมากินดาเนา

การแสดงของชาวมากินดาเนา

3.เผ่า Iranun
เผ่านี้อาศัยอยู่ระหว่าง Lanao del Sur และ Maguindanao และ Iranun เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา เผ่า Iranun เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุลต่าน Maguindanao เผ่านี้นอกจากอาศัยอยู่ในมินดาเนาแล้ว ยังอาศัยอยู่ในรัฐซาบะห์ ประเทศมาเลเซีย

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอิรานุน

การแสดงของชาวอิรานุน

4.เผ่า Tausug
ศจ. มูฮัมหมัดนัสเซร์ มัตลี ได้ให้ความหมายของคำว่า Tausug ว่ามาจากคำ 2 คำ คือ Tau หมายถึงคน และ Ma- Isug หมายถึงกล้า ดังนั้น Tausug จึงหมายถึงคนกล้า คนเผ่า Tausug จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ Tawi – tawi, Palawan, Basilan Zamboanga และรัฐซาบะห์ของมาเลเซีย ใช้ภาษาตนเองคือภาษาเตาซุกในการสื่อสาร

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวเตาซุก

การแต่งงานของชาวเตาซุก

การแสดงของชาวเตาซุก

ชายหญิงชาวเตาซุกในแอดีต

นักรบเผ่าเตาซุกในปี 1901

5.เผ่า Yakan
คำว่า Yakan เป็นการออกเสียงผิดของชาวสเปน คนเผ่านี้จะอาศัยอยู่ในบริเวณ Basilan โดยคำว่า Basi แปลว่า เหล็ก และ balani แปลว่า (เหล็ก) กล้า ดังนั้น Basilan จึงมาจากคำว่าเหล็กกล้า บริเวณ Basilan ในอดีตเต็มไปด้วยต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า ต้น Yakal แต่ชาวสเปนออกเสียงเป็น Yakan ชนเผ่ายากันมีภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับชนเผ่าซามา หรือ บาจาว โดยเรียกภาษาของตนเองว่า ภาษายากัน หรือ bahasa Yakan

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาว Yakan

ชายหญิงชาว Yakan

ชาว Yakan

6.เผ่า Sama
คนเผ่า Sama เป็นกลุ่มคนเดียวกันคนเผ่า Bajau ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย

แผนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวซามา หรือบาจาว

ชาวซามา หรือ บาจาว

7.เผ่า Sangil
คนเผ่า Sangil มาจากหมู่เกาะ Sangihe ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทะเลสุลาเวซีไปทางใต้ของทะเลมินดาเนา คนเผ่านี้อพยพไปอยู่ในจังหวัด Sarangani และชายฝั่งของ Davao del Sur รวมทั้งทางใต้ของ Cotabatu

เด็กๆชาวซางิล

8.เผ่า Kalagan
คนเผ่า Kalagan จะอาศัยอยู่บริเวณ Davao พวกเขาเข้ารับศาสนาอิสลามจากการติดต่อกับ ระบบสุลต่าน ของ Maguindanao และต่อมาได้รับการสนับสนุนจากคนเผ่า Tausug บางกลุ่มที่ทำให้พวกเขาสามารถสร้างสังคมของชนเผ่า Kaagan ได้ ภาษาของคนเผ่า Kalagan มีรากศัพท์มาจากภาษา Tausug

แผนที่ตั้งถิ่นฐานชาวกาลากัน

ชาวกาลากัน

9.เผ่า Kolibugan
คำว่า Kolibugan มาจากภาษา Sama (Bajau) คนเผ่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชนเผ่า Subanan ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ไม่มีศาสนา หรือนับถือศาสนาประจำเผ่า เมื่อชนเผ่า Subanan ส่วนหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ชนเผ่า Sama และTausug จึงเรียกชนเผ่า Subanun ที่นับถือศาสนาอิสลามว่า ชนเผ่า Kolibugan

10.เผ่า Palawan
ชาวมุสลิมกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนดินแดน Palawan คือชาว Panimusan ชนชาว Panimusan เข้ารับศาสนาอิสลามจากการติดต่อสัมพันธ์กับระบบสุลต่านของซูลู มีชาว Tausug จำนวนหนึ่งในสมัยระบบสุลต่านของซูลูได้เดินทางไปยัง Palawan เพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม พวกเขาอาศัยอยู่ในตอนใต้ของ Palawan เช่นที่ Batarasa , Rizal,Brooke’s Point และ Espanola ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวพวกเขาจะมีอำนาจทางการเมือง

11.เผ่า Molbog
คนเผ่า Molbog จะอาศัยอยู่บริเวณเกาะBalabac ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ Palawan คนเผ่า Molbog จะเข้ารับศาสนาอิสลามโดยนักเผยแพร่ศาสนาอิสลามชาวบรูไน ด้วยพวกเขาอยู่ไม่ไกลจากบรูไนมากนัก และระบบสุลต่านของซูลูก็ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับมุสลิมชาว Molbog

หญิงชาว Molbog

12. Jama Mapun

การยอมรับในคำว่า โมโร (Moro)
ด้วยชนเผ่ามุสลิมของฟิลิปปินส์ภาคใต้มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นพวกเขาจึงใช้คำว่า Bangsa Moro หรือชาติโมโร ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวสปนใช้เรียกมุสลิมในฟิลิปปินส์เป็นชื่อของตนเอง ความเป็นชาติโมโร (Bangsa Moro) ทำให้ลดช่องว่างระหว่างเผ่าของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มชนพื้นเมือง Lumad
คำว่า Lumad เป็นคำในภาษาเซบัวโน (Cebuano)มีความหมายว่า คนพื้นเมืองดั้งเดิม หรือ native, indigenous คำนี้มาจากคำเต็มว่า Katawhang Lumad ซึ่งแปลว่า คนพื้นเมืองดั้งเดิม คำนี้ใช้มาตั้งแต่ 20 กว่าปีที่ผ่านมา เป็นการใช้เมื่อครั้งที่มีการประชุมของคนพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งจัดโดย The Lumad Mindanaw People Federation (LMPF) เมื่อ 26 มิถุนายน 1983 โดยให้คำนิยามของคำว่า Lumad หมายถึงคนพื้นเมืองเกาะมินดาเนาที่ไม่ใช่ชาวมุสลิมหรือชาวคริสต์

กลุ่มชนพื้นเมืองในเกาะมินดาเนามีจำนวนหลากหลายชนเผ่า เช่น

1. Bilaan

หญิงชาว Bilaan

2. Manobo

ชาว Manobo

3. Subanen

หญิงชาว Subanen

หมู่บ้านชาว Subanen

4. Ginagan
5. Higaonon

ชาว Higaonon
ชาว Higaonon

6. Kalagan
7. Kamayo
8. Magahat
9. Mamanwa
10. Mandaya
11. Mansaka
12. Sangir
13. Subanon
14. Tagabawa


ชาว Tagabawa

15. Tasaday

ชาว Tasaday

ชาว Tasaday

16. Tboli

ผู้นำเผ่า Tboli

การเต้นรำของเด็กชาว Tboli

เด็กชาว Tboli

17. Tiruray

การแต่งกายของชาว Tiruray

ภาพชาว Tiruray ในอดีต

ชาว Tiruray