โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อ 20-21 มกราคม 2554 ทางคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ได้ลงภาคสนามจังหวัดปัตตานี ราวปลายเดือนธันวาคม 2553 ผู้เขียนได้รับแจ้งจากมาเลเซียว่าทางเครือข่ายจากเมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดเนเซีย มีความสนใจจะมาร่วมกิจกรรมในจังหวดชายแดนภาคใต้ ต่อมาทางเครือข่ายจากเมืองเมดาน อีเมล์แจ้งถึงการเดินทางมายัง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ของคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมนูซนตาราอัล-วัชลียะห์ โดยแรกเริ่มนั้นจะเป็นการจัดประชุมเสวนาระหว่างนักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซนตาราอัล-วัชลียะห์
ต่อมาได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ในมาเลเซียว่าให้การเดินทางของคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมนูซนตาราอัล-วัชลียะห์คุ้มค่าที่สุด ดังนั้นจึงเปลี่ยนกำหนดการจากการจัดประชุมเสวนาในช่วงกลางวันที่ห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นการประชุมเสวนาช่วงกลางคืนที่ ห้อง 19101 อาคาร 19 แทน ส่วนช่วงกลางวันจะเป็นการจัดต้อนรับเป็นทางการประมาณ 1 ชั้วโมงครึ่ง ที่ห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลังจากนั้นจะเป็นการลงภาคสนามสัมผัสชุมชนชาวมลายูที่บริเวณชุมชนบ้านกรือเซะ
การเดินทางครั้งนี้ปรากฎมีการสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างคณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซนตาราอัล-วัชลียะห์ กับไกด์และรถบัสที่ใช้ในการเดินทาง เมื่อปรากฎว่าไกด์และคนขับรถบัสเข้าใจว่าคณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซนตาราอัล-วัชลียะห์ จะไป มอ. วิทยาเขตหาดใหญ่ ทำให้เกิดการเสียเวลาในการเดินทาง จนการเดินทางถึง มอ.วิทยาเขตปัตตานีในเวลาที่ค่อนข้างช้ากว่ากำหนด ทำให้การประชุมเสวนาต้องยกเลิกไป
การเดินทางคร้งนี้ได้มีการเตรียมการโดยให้นักศึกษาชายอินโดเนเซียพักที่ หอ 4 ส่วนนักศึกษาหญิงอินโดเนเซียพักที่ หอ 9 ทั้งสองเป็นพักนักศึกษาของมอ. วิทยาเขตปัตตานี ส่วนคณาจารย์อินโดเนเซียพักที่โรงแรมในตัวเมืองปัตตานี การให้นักศึกษาอินโดเนเซียพักกับนักศึกษาเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา มอ. วิทยาเขตปัตตานี ที่จะได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของชาวอินโดเนเซีย
นักศึกษามอ. ปัตตานีต้อนรับคณะจากอินโดเนเซีย
นักศึกษามอ. ปัตตานีต้อนรับคณะจากอินโดเนเซีย
หลังจากที่คณะนักศึกษาอินโดเนเซียได้จัดเก็บกระเป๋าเดินทางยังหอพักนักศึกษาแล้ว ทางทีมงานนักศึกษาก็ได้นำคณะนักศึกษาอินโดเนเซียไปรบประทานค่ำที่ร้านอาหาร บริเวณลานอิฐ ของมอ. วิทยาเขตปัตตานี เกิดความขลุกขลักพอสมควร ด้วยคณะนักศึกษาหญิงบางคน เหนื่อล้ากับการเดินทาง ทำให้ขาดความพร้อมเพรียงในการรับประทานอาหารค่ำ รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี ก็ได้เดินทางมาร่วมต้อนรับและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเล็กๆน้อย โดยเฉพาะเกี่ยวกับยานพาหนะจนสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี กับศาสตราจารย์ ดร.ศรี สุลีตยาวาตี(Hj. Sri Sulityawati)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี กล่าวต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ดร.อุสมาน สารี ผอ. โครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษากล่าวต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ผู้เขียนไม่เคยได้ยินชื่อ มหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตารา หรือ Universitas Muslim Nusantara Al-Washliah มาก่อน ถ้าเคยผ่านสายตาในอินเตอร์เน็ตก็ผ่านโดยไม่สนใจนัก ส่วนชื่อองค์กร อัล-วัชลียะห์ นั้นเป็นการรู้จักเมื่อสามสิบปีก่อน ในขณะที่ผู้เขียนยังเป็นนักกิจกรรมนักศึกษาในสำนักลูกพ่อขุน โดยขณะนั้นผู้เขียนได้รับหนังสือ Islam in Indonesia จากทางสถานทูตอินโดเนเซียในกรุงเทพฯ สิ่งที่ผู้เขียนมั่นใจในมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ เพราะผู้ส่งอีเมล์ประสานงานคนแรกคือ Drs. Shafwan Hadi Umry อดีตหัวหน้าสำนกงานศิลปะ วัฒนธรรมจงหวัดสุมาตราเหนือ เพื่อนเก่าที่เรารู้จักกัน รู้จักก่อนที่ผู้เขียนจะอยู่ในมอ. วิทยาเขตปัตตานี ด้วยซ้ำไป
ผู้เขียนกับ Drs. Shafwan Hadi Umry เพื่อนเก่าที่ประสานงานการเดินทางมาเยี่ยมของคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตารา อัล-วัชลียะห์
คณะนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
เลี้ยงอาหารค่ำแก่คณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ที่ร้านอาหารบริเวณลานอิฐ ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผู้เขียนกับคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
การที่นักศึกษาอินโดเนเซียพักกับนักศึกษา มอ. วิทยาเขตปัตตานี ในคืนวันที่ 20 มกราคม 2554 ทำให้ในวันที่ 21 มกราคม 2554 สามารถเห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองฝ่าย นักศึกษา มอ. วิทยาเขตปัตตานี บางคนสอนภาษาไทยให้นักศึกษาอินโดเนเซีย
ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
เลี้ยงอาหารเช้าแก่คณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ที่ร้านอาหารบริเวณลานอิฐ สถานที่เดียวกันกับที่เลี้ยงอาหารค่ำเมื่อ 20 มกราคม 2011
Drs. Shafwan Hadi Umry อดีตหัวหน้าสำนักงานศิลปะ วัฒนธรรมของจังหวัดสุมาตราเหนือ เพื่อนเก่าของผู้เขียนที่เป็นผู้เริ่มโครงการเดินทางมาประเทศไทยและมาเลเซียของคณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
คุณ Zulhaida ภรรยา Drs. Shafwan Hadi Umry
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี กล่าวต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ที่ห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กล่าวถึงการมาเดินทางมาเยี่ยมของคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ว่าเป็นเกียรติของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับมอ. วิทยาเขตปัตตานี ก็ได้มีการส่งเสริมให้นักศึกษามีการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอินโดเนเซีย เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งประเทศมาเลเซียและอินโดเนเซีย นอกจากนั้นมอ. วิทยาเขตปัตตานี ก็ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีการเรียนที่เรียกว่า Study Abroad เพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
ศาสตราจารย์ ดร.ศรี สุลีตยาวาตี(Hj. Sri Sulityawati)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์กล่าวขอบคุณ
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์มอบผ้าอูโลส (Kain ulos)แก่รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แสดงถึงความเป็นมิตรระหว่างกัน
การเดินทางมาของมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ในครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของวิชามลายูศึกษา ด้วยภาษามลายูนั้นสามารถเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่การมอบผ้าอูโลส(Kain Ulos)แก่รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่สามารถอธิบายด้วยวิชาภาษามลายู จำเป็นต้องใช้วิชามลายูศึกษา ด้วยวิชามลายูศึกษาจะอธิบายถึงวิถีชีวิต วิธีคิด วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในโลกวัฒนธรรมมลายู ชนเผ่าบาตักเป็นชนกลุ่มใหญ่ของจังหวัดสุมาตราเหนือ คือมีจำนวนถึง 41.95% ชนเผ่าชวามีจำนวน 32.62% ส่วนชนชาวมลายูมีเพียง 4.92% ดังนั้นอิทธิพลของชนเผ่าบาตักจึงมีค่อนข้างสูง แม้ว่าอธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์จะเป็นชนเผ่าชวา แต่การมอบผ้าอูโลส(Kain Ulos)เป็นประเพณีของชนเผ่าบาตัก ผ้าอูโลสที่มีความหมายว่า ความเป็นมิตรภาพ และความอบอุ่น เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่าความเป็นมิตรภาพที่อบอุ่น การมอบผ้าอูโลสถือเป็นประเพณีของชนเผ่าบาตัก ชนเผ่าบาตักยังมีวัฒนธรรมที่ไม่แต่งงานระหว่างผู้ที่มีนามสกุล (เผ่าย่อย หรือ Marga)เดียวกัน แม้ตามหลักการศาสนาอิสลามจะแต่งงานกันได้ แต่จารีตประเพณีชนเผ่าบาตักห้ามแต่งงานกันในหมู่ผู้ที่มี Marga เดียวกัน
รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอบประกาศนียบัตรการร่วมกิจกรรมของนกศึกษาอินโดเนเซียแก่ศาสตราจารย์ ดร.ศรี สุลีตยาวาตี(Hj. Sri Sulityawati)อธิการบดีมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ผู้เขียนกำลังแปลคำกล่าวของรศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จากภาษาไทยเป็นภาษามาเลเซีย ผสมภาษาอินโดเนเซีย
อาจารย์อัสสมิง กาเซ็ง (ซ้าย)ศาสตราจารย์ ดร.ศรี สุลีตยาวาตี(Hj. Sri Sulityawati)(กลาง)ดร.อุสมาน สารี (ขวา)
อาจารย์อัสสมิง กาเซ็ง หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
ผู้เข้าร่วมงานมีทั้งอาจารย์และนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
คุณนุสรา แวยายอ, คุณณิชยา นิเงาะ, โซเฟีย หะยีสาแม เจ้าหน้าที่จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานีและโครงการจัดตั้งสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
นักศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ภายในห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นักศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ภายในห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ภายในห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เข้าร่วมงาน
ถ่ายรูปที่ระลึกหน้าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี
การร่ำลาระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาอินโดเนเซีย
การร่ำลาระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาอินโดเนเซีย
การร่ำลาระหว่างนักศึกษา มอ. ปัตตานีกับนักศึกษาอินโดเนเซีย
ถ่ายรูปก่อนลาจาก มอ. ปัตตานี
ไกด์นำเที่ยวกับผู้เขียนก่อนเดินทางไปยังชุมชนบ้านกรือเซะ
กำนันตำบลตันหยงลุโละ กำลังบรรยายเกี่ยวกับชุมชนกรือเซะให้คณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
กำนันตำบลตันหยงลุโละ กำลังบรรยายเกี่ยวกับชุมชนกรือเซะให้คณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
คุณ Zulkarnain หัวหน้าคณะมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์กล่าวขอบคุณกำนันตำบลตันหยงลุโล๊ะและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโล๊ะ รวมทั้งผู้นำชุมชนบ้านกรือเซะ
ชุมชนกำลังบอกเล่าความเป็นมาของมัสยิดกรือเซะ
นักศึกษา มอ. ปัตตานีที่เดินทางไปดูแลนักศึกษาอินโดเนเซียที่ชุมชนบ้านกรือเซะ
สีผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของงานครั้งนี้
ถ่ายรูปภายในบริเวณพื้นที่มัสยิดกรือเซะ
นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวปราศรัยกับชาวบ้านกรือเซะที่มาละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดในชุมชนบ้านกรือเซะ
นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กำลังกล่าวแนะนำคณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ หลังละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดในชุมชนบ้านกรือเซะ ด้วยวันนี้เป็นไปตามนัดของผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเดินทางมาละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดนี้หลังเสร็จภารกิจที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวดสงขลา
คุณ Zulkarnain หัวหน้าคณะจากมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ กล่าวต่อชาวชุมชนกรือเซะในโอกาสมาเยี่ยมชุมชนบ้านกรือเซะ
หลังละหมาดวันศุกร์ ก็มีอาสาสมัครฯช่วยคุ้มครอง อาจเป็นไปตามค่ำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด
ทีมงานจาก มอ. ปัตตานีที่เดินทางไปร่วมงานในชุมชนบ้านกรือเซะ
Drs. Shafwan Hadi Umry มอบงานเขียนของตนเองแก่นายซาการียา ยูโซ๊ะ หัวหน้าทีมงานนักศึกษาที่ดูแลนกศึกษามหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
นักศึกษา มอ. ปัตตานีโบกมือแก่คณะมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตารา อัล-วัชลียะห์
เมื่อเขามา เราก็ต้องรู้เขา รู้เรา เรามารู้จักจังหวัดสุมาตราเหนือ มารู้จักองค์กรวัชลียะห์(Al Jam’iyatul Washliyah) มารู้จักมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ และมารู้จักผ้าอูโลส (Kain Ulos)ที่เขามอบให้รศ. อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กันดีกว่านะครับ ไม่อย่างงั้น เราก็จะไม่รู้จักเขา
แผนที่จังหวัดสุมาตราเหนือ
จังหวัดสุมาตราเหนือ
จังหวัดสุมาตราเหนือ มีประชากรทั้งหมด 12,985,075 คน(จากการสำรวจประชากรเมื่อปี 2010)
ผู้ว่าราชการจังหวัดชื่อ Drs. H Rahudman Harahap
อำเภอ 25 แห่ง
เมือง 8 แห่ง
ตำบล 325 แห่ง
ตราสัญญลักษณ์ของเมืองเมดาน
เมืองเอก คือ เมืองเมดาน มีประชากรทั้งหมด 2,109,339 คน(จากการสำรวจประชากรเมื่อปี 2010)
ตำบล 21 ตำบล
ชนเผ่าในเมืองเมดาน ประกอบด้วยเผ่าบาตัก เผ่าชวา ชาวจีน เผ่ามันไดลิง (ชนเผ่าบาตักที่นับถือศาสนาอิสลาม) เผ่ามีนังกาเบา เผ่ามลายู เผ่าอาเจะห์
ภาษาพูด ประกอบด้วยภาษาอินโดเนเซีย, ภาษาบาตัก, ภาษาชวา, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษามีนังกาเบา
ศาสนาอิสลาม 67.83%, คาทอลิค 2.89% , โปรเตสเตนท์ 18.13%, ศาสนาพุทธ 10.4%, ศาสนาฮินดู 0.68% และอื่นๆ 0.07%
ตราสัญญลักษณ์ขององค์กรอัล-วัชลียะห์
องค์กรวัชลียะห์หรือ Al Jam’iyatul Washliyah
องค์กรวัชลียะห์หรือ Al Jam’iyatul Washliyah ซึ่งรู้จักในชื่อส้นๆว่า วัชลียะห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 1930 ที่เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ การจัดตั้งองค์กรเกิดขึ้นในยุคที่ประเทศอินโดเนเซียยังอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ดังนั้นบรรดาผู้ก่อตั้งจึงเป็นนักต่อสู้ต่อต้านฮอลันดา จนส่วนหนึ่งของบรรดาผู้ก่อตั้งองค์กรถูกจับกุม
การเกิดขององค์กรวัชลียะห์เริ่มจากเกิดความแตกแยกในหมู่ชาวมุสลิมในจังหวัดสุมาตราเหนือ ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในวิทยาลัยอิสลามตาปานูลี เมืองเมดาน (Maktab Islamiyah Tapanuli Medan) จึงมีความคิดในการสร้างความสามัคคีในหมู่มุสลิม จึงจัดต้งองค์กรขึ้นมาเรียกว่าองค์กรวัชลียะห์หรือ Al Jam’iyatul Washliyah
องค์กรนี้มีลักษณะเหมือนกับองค์กร Nahdatul Ulama และ Muhammadiah แต่เป็นองค์กรที่เล็กกว่าองค์กรทั้งสอง มีสำนักงานสาขาอยู่ทั่วประเทศอินโดเนเซีย เช่น ในจังหวัดอาเจะห์ดารุสสาลาม จังหวดสุมาตราเหนือ จังหวดสุมาตราตะวันตก จังหวดสุมาตราใต้ จังหวัดเรียว จังหวัดหมู่เกาะเรียว จังหวัดเบงกูลู จังหวัดลัมปุง จังหวัดบันเต็น เมืองหลวงจาการ์ตา จังหวดชวาตะวันตก จังหวดชวากลาง จังหวัดบาหลี จังหวัดเขตปกครองพิเศษยอกยาการ์ตา จังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก จังหวัดกาลีมันตันกลาง จังหวัดกาลีมันตันใต้ จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก จังหวัดสุลาเวซีเหนือ จังหวัดสุลาเวซีกลาง จังหวัดสุลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ จังหวัดสุลาเวซีใต้ จังหวัดสุลาเวซีตะวันตก จังหวัดมาลูกู จังหวัดมาลูกูเหนือ
จังหวดจัมบี และจังหวัดบังกาบือลีตง
องค์กรองค์กรวัชลียะห์มีการจัดสร้างโรงเรียนมัธยมต้น โรงเรียนมัธยมปลาย รวมทั้งคลีนิค และมหาวิทยาลัย สำหรับมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ ก็เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นมาโดยองค์กรนี้
ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์ จังหวัดสุมาตราเหนือ
มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน มีชื่อย่อว่า UMN al-Washliyah
ที่ตั้งมหาวิทยาลัย :
Kampus A Jl. Garu II 93 Medan, Kalurahan Harjosari I, Kecamatan Medan Amplas, Medan 20147, Sumatera Utara
Kampus B: Jl. Garu II - 2 Medan, Kelurahan Harjosari I, Kecamatan Medan Amplas, Medan 20147, Sumatera Utara
Telepon: (061) 7867044, 7867487
Faks.: (061) 7862747
มีอธิการบดี ชื่อ Prof. Dr. Hj. Sri Sulityawati, SH., M.Si จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ได้รับการยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ 8 สิงหาคม 1996 โดยการรวม 2 สถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรองค์กรวัชลียะห์ คือ IKIP Al Washliyah และ Akademi MIPA Al Washliyah ในครั้งนั้นใช้ชื่อว่า Universitas Muslim Nusantara หรือ มหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตารา ต่อมาเมื่อ 15 สิงหาคม 2002 มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อเป็น Universitas Muslim Nusantara Al-Washliah หรือมหาวิทยาลัยมุสลิมนูซันตาราอัล-วัชลียะห์
ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งหมด 5,041 คน มีอาจารย์ประจำ 207 คน
ผ้าอูโลสชนเผ่าบาตัก (Kain Ulos Batak)
นายยูซุฟ กัลลา (Jusuf Kalla)ใส่ผ้าอูโลส(Kain Ulos)
ท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอินโดเนเซียใส่ผ้าอูโลส(Kain Ulos)ที่ได้รับจากทางการอินโดเนเซีย
ผ้าอูโลส (Kain Ulos) คำว่า kain เป็นภาษามลายู/อินโดเนเซีย หมายถึง ผ้า ส่วนคำว่า ulos เป็นภาษาชนเผ่าบาตัก มีความหมายว่าผ้า เช่นกัน
ตามความเชื่อของบรรพบุรุษชนเผ่าบาตัก ผ้าอูโลส (Kain Ulos) เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความเป็นมิตรภาพ และสามารถให้ความอบอุ่น ดังนั้นผ้าอูโลส (Kain Ulos) จึงเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความเป็นมิตรภาพ ที่อบอุ่น ผ้าอูโลส (Kain Ulos)เป็นผ้าที่มาจากธรรมชาติ ทั้งเส้นด้ายและสี
ผ้าอูโลส (Kain Ulos)แบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น
1.Ulos Antak-Antak เป็นผ้าสำหรับพิธีกรรมงานศพ
2.Ulos Bolean เป็นผ้าที่ใช้เป็นสะไบในพิธีกรรมศพ
3.Ulos Padang Ursa เป็นผ้าที่ใช้เป็นสะไบและผูกที่คอ
4.Ulos Pinan Lobu-Lobu เป็นผ้าที่ใช้เป็นสะไบ
5.Ulos Ragi Hotang เป็นผ้าที่มอบให้แก่คู่บ่าวสาว บางครั้งเรียกว่า Ulos Hela
6.Ragi Huting เป็นผ้าที่ไม่ค่อยมีการใช้ในปัจจุบัน
7.Ulos Sibunga Umbasang และ Ulos Simpar ใช้สำหรับเป็นผ้าสะไบ
8.Ulos Sitolu Tuho ใช้สำหรับเป็นผ้าผูกศีรษะหรือสะไบสำหรับสตรี
9.Ulos Ragi Harangan เป็นผ้าที่ใช้เป็นผ้าห่มในอดีต และเป็นสิ่งที่มอบให้แก่สตรีสูงศักดิ์
10.Ulos Ragi Pakko เป็นผ้าที่ใช้เป็นผ้าห่มในอดีต และเป็นสิ่งที่มอบให้แก่สตรีสูงศักดิ์
11.Ulos Tumtuman เป็นผ้าที่มอบให้แก่ลูกคนแรก
12.Ulos Tutur-Tutur เป็นผ้าใช้สำหรับปู่ย่าตายายมอบให้แก่หลานตนเอง
ฯลฯ
และ Ulos nabalga เป็นผ้าที่ใช้มอบให้แก่ผู้อื่น หรือรับมอบจากผู้อื่น เป็นผ้าชั้นสูง เพื่อแสดงถึงความรัก ความเคารพ ความเป็นมิตรภาพระหว่างกัน
Tiada ulasan:
Catat Ulasan