Sabtu, 23 Oktober 2021

ศาสตราจารย์ วังกุง วู นักวิชาการด้านจีนศึกษา-มลายูศึกษานามอุโฆษของประเทศสิงคโปร์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน 

ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู (Wang Gungwu) เกิดที่เมืองสุราบายา ประเทศอินโดเนเซีย เขาเกิดเมื่อ  9 ตุลาคม 1930 เป็นนักประวัติศาสตร์ นักสังคมวิทยา และนักเขียน  เขาถือสัญชาติสิงคโปร์  เขายังเป็นนักประวัติศาสตร์ด้านจีนศึกษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  เขาเป็นผู้ที่ใช้ความชำนาญด้านจีนศึกษา มาโยงกับการค้นคว้าศึกษา เกี่ยวกับมลายูศึกษา ร่วมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างมลายูศึกษากับจีนศึกษา

ภูมหลังของศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู

เขาเกิดที่เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย พ่อแม่ของเขามีเชื้อสายจีนจากอำเภอไท่โจว มณฑลเจียงซู และศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู  เติบโตในเมืองอีโปห์ รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย เขาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมแอนเดอซัน (Anderson School) ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนด้วยภาษาอังกฤษระดับมัธยมในเมืองอีโปห์ รัฐเปรัค   

และศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู  ได้ศึกษาด้านประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยดังกล่าว  เขาเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของชมรมสังคมนิยมในมหาวิทยาลัย หรือ University Socialist Club และเป็นประธานผู้ก่อตั้งของชมรมในปี 1953

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก School of Oriental and African Studies, University of London ในปี 1957 หัวข้อวิทยานิพนธ์ของเขา คือ  สำหรับวิทยานิพนธ์ของเขา เรื่อง The structure of power in North China during the Five Dynasties หรือ โครงสร้างอำนาจในภาคเหนือของจีนในช่วงห้าราชวงศ์ เขาสอนด้านประวัติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมาลายา ทั้งในสิงคโปร์และกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งในช่วงนั้น มหาวิทยาลัยมาลายา ยังไม่ได้แยกกัน มีทั้งที่วิทยาเขตสิงคโปร์ ต่อมาวิทยาเขตนี้ ได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ และขายายเป็นมหาวิทยาลัยห่งชาติสิงคโปร์ ส่วนวิทยาเขตกัวลาลัมเปอร์ เมื่อมหาวิทยาลัยแยกกัน วิทยาเขตนี้กลายเป็นมหาวิทยาลัยมาลายา

ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวูเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองในมาเลเซียที่ชื่อว่า พรรคขบวนการประชาชนมาเลเซีย หรือ Parti Gerakan Rakyat Malaysia มีชื่อพรรคย่อว่า พรรค Gerakan  แต่ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวูไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงในกิจกรรมของพรรค  Gerakan  ในปี 1968 เขาไปกรุงแคนเบอร์ราเพื่อเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เอเชียไกล ในสถาบันวิจัยที่ชื่อว่า the Research School of Pacific and Asian Studies (RSPAS) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เขาเป็นผู้อำนวยการของ RSPAS ระหว่างปี 1975-80 ต่อมาเขาเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยฮ่องกงตั้งแต่ปี 1986 to 1995  และในปี 2550 ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู กลายเป็นบุคคลที่สามที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

ในปี 1994 ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู ได้รับรางวัล Academic Prize of the Fukuoka Asian Culture Prize จากเมืองฟุกุโอกะของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2009 เขาเป็นหนึ่งในสิบบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 800 ปีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (honoris causa) และต่อมาในปี 2020 ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวูได้รับรางวัล Tang Prize สาขา Sinology  นอกจากนี้ในเดือนสิงหาคม 2020เขายังได้รับรางวัล Distinguished Service Order ของประเทศสิงคโปร์

เขาได้รับสัญชาติออสเตรเลีย หลังจากสอนอยู่ที่ออสเตรเลียถึง 18 ปี แต่เขาไม่คิดว่าตัวเองเป็นชาวออสเตรเลียเพราะเขาคิดว่า "ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับออสเตรเลียและความเข้าใจของชาวออสเตรเลียเกี่ยวกับเขาเป็นเพียงผิวเผิน"

 

รางวัลและความสำเร็จล่าสุด

ปี 2020 มูลนิธิ Tang Prize ได้มอบรางวัล Tang Prize in Sinology ให้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้บันทึกข้อมูลว่า ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู เป็น "ผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของโลกในเรื่องชาวจีนโพ้นทะเล"

 

ศาสตราจารย์ Chen Kuo-tung จาก Academy Sinica นักคิดระดับแนวหน้าของไต้หวัน เน้นย้ำถึงความสำคัญของผลงานของศาสตราจารย์ Wang Gungwu ที่สมควรได้รับรางวัลนี้ กล่าวว่า "งานวิจัยของศาสตราจารย์ Wang เติมเต็มช่องว่างใน Sinology ซึ่งเป็นการศึกษาชาวจีนโพ้นทะเล"

 

ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู เคยเป็นประธานผู้ก่อตั้งสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะลีกวนยูที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และอดีตประธานสถาบัน ISEAS-Yusof Ishak และสถาบันเอเชียตะวันออก (EAI) Positions held  ศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู ยังเป็นประธานที่ปรึกษาระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยตุนกูอับดุลเราะห์มานอีกด้วย

ผลงานของศาสตราจารย์ ดร. วังกุงวู

Wang Gungwu giving a talk at an event (Radio Malaya: Abridged Conversations About Art) in 2017.

Wang, Gungwu; Wang, Margaret (2020). Home is Where We Are. Ridge Books.

Wang, Gungwu (2019). China Reconnects: Joining a Deep-rooted Past to a New World Order. World Scientific Publishing

Wang, Gungwu (2018). Home is Not Here. National University of Singapore Press

Wang, Gungwu (2014). Another China Cycle: Committing to Reform. World Scientific. doi:10.1142/8824. ISBN 978-981-4508-91-9.

Wang, Gungwu; Zheng, Yongnian, eds. (2012). China: Development and Governance. World Scientific. doi:10.1142/8606. ISBN 978-981-4425-83-4.

Wang, Gungwu (2007). 乡别土:境外看中华 (China and Its Cultures: From the Periphery). The Fu Ssu-nien Memorial Lectures 2005. Taipei: Institute of History and Philology, Academia Sinica.

Wang, Gungwu (2007). 华文明と中国のゆくえ (Chinese Civilization and China's Position). The Ishizaka Lectures 2005. Translated by Kato, Mikio. Tokyo: Iwanami Shoten.

Wang, Gungwu; Wong, John, eds. (2007). Interpreting China's Development. World Scientific.

Wang, Gungwu (2007). Divided China: Preparing for Reunification, 883–947. World Scientific.

Wang, Gungwu, ed. (2005). Nation-building: Five Southeast Asian Histories. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Wang, Gungwu (2005). The Rising China and Its Immigrant. World Scientific.

Wang, Gungwu (2005). 移民及兴起的中国 (Essays on Migrants and China's Rise. World Scientific.

Benton, Gregor; Liu, Hong, eds. (2004). Diasporic Chinese Ventures: The Life and Work of Wang Gungwu. London: Routledge.

Wang, Gungwu; Ng, Chin-keong, eds. (2004). Maritime China in Transition, 1750–1850. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag.

Wang, Gungwu (2003). Anglo-Chinese Encounters since 1800: War, Trade, Science and Governance. Cambridge: Cambridge University Press.

Wang, Gungwu; Abrams, Irwin, eds. (2003). The Iraq War and Its Consequences: Thoughts of Nobel Peace Laureates and Eminent Scholars. World Scientific.

Wang, Gungwu; de Crespigny, Rafe; de Rachewiltz, Igor, eds. (2003). Sino-Asiatica: Papers dedicated to Professor Liu Ts'un-yan on the occasion of his eighty-fifth birthday. Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University.

Wang, Gungwu; Zheng, Yongnian, eds. (2003). Damage Control: The Chinese Communist Party in the Jiang Zemin Era. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2003). Ideas Won't Keep: The Struggle for China's Future. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2003). Bind Us in Time: Nation and Civilisation in Asia. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2003). To Act is to Know: Chinese Dilemmas. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2003). Don't Leave Home: Migration and the Chinese. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2003). Only Connect! Sino-Malay Encounters. Singapore: Eastern Universities Press.

Wang, Gungwu (2002). The Chinese Overseas: From Earthbound China to the Quest for Autonomy. The 1997 Edwin O. Reischauer Lectures. Harvard University Press. ISBN 9780674009868.

Wang, Gungwu; Zheng, Yongnian, eds. (2001). Reform, Legitimacy and Dilemmas: China's Politics and Society. World Scientific.

Wang, Gungwu (2000). Joining the Modern World: Inside and Outside China. World Scientific.

Wang, Gungwu; Wong, John, eds. (1999). China: Two Decades of Reform and Change. World Scientific.

Wang, Gungwu (1999). China and Southeast Asia: Myths, Threats, and Culture. World Scientific.

Wang, Gungwu; Wong, John, eds. (1998). China's Political Economy. World Scientific.

 

Isnin, 11 Oktober 2021

ดร.เหลียว ยก ฝาง ผุ้เชี่ยวชาญด้านมลายูศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ขอแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านมลายูศึกษานามอุโฆษ แห่งประเทศสิงคโปร์คนหนึ่ง คือ ดร.เหลียว ยก ฝาง เขาจะมีความชำนาญวรรณกรรมมลายูคลาสิค รวมทั้งกฎหมายมะละกาตลอดจนด้านภาษาศาสตร์

ดร.เหลียว ยก ฝาง เกิดที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1936 เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีอินโดเนเซีย

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวรรณคดีจากมหาวิทยาลัยอินโดนเเซียในปี1963 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวรรณคดีและภาษาอินโดเนเซีย จากมหาวิทยาลัยอินโดเนเซียเช่นกันในปี 1965

 

เขาได้รับปริญญาตามระบบการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ ในระดับ ดอกเตอรันดุส หรือ Drs. จากมหาวิทยาลัยไลเด็น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี  1971 และได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยไลเด็น เดียวกัน ในปี  1976 เขาทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในหัวข้อ Laws of Malacca

เขาสอนที่ภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยนันยาง ประเทศสิงคโปร์ และภาควิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ซึ่งต่อมาทั้งมหาวิทยาลัยนันยางและมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ได้รวมกันกลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์)

ดร.เหลียว ยก ฝาง มีความเชี่ยวชาญมากในด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดีมลายุคลาสิค เขาพูดภาษาจีนกลาง อังกฤษ มลายู และมีความรู้ด้านภาษาอาหรับอย่างดี

เขายังอุทิศตนทำงานให้กับสภาภาษามลายูแห่งสิงคโปร์ (Majlis Bahasa Melayu Singapura) อีกด้วย

 

ผลงานตีพิมพ์บางส่วนของเขา ได้แก่ Ikhtisar Kritik Sastra (1974); ประวัติวรรณคดีมลายูคลาสิค (1975); กฎหมายมะละกา (1976); Standard Malay Made Simple (1988); พูดภาษาชาวอินโดนีเซียมาตรฐาน ร่วมเขียนกับ Munadi Patmadiwiria & Abdullah Hassan (1990); ไวยกรณ์ภาษามลายูสมัยใหม่ ร่วมเขียนกับกับอับดุลลาห์ ฮาซัน (1994); คำศัพท์ภาษาชาวอินโดนีเซียง่าย ๆ (1995); ไวยากรณ์ภาษาชาวอินโดนีเซียทำได้ง่าย (1996); ไวยากรณ์ภาษาชาวอินโดนีเซีย; Easy Indonesian Vocabulary (1995); Made Easy II ร่วมกับ Leo Suryadinata] (2005); กฎหมายมะละกาและกฎหมายทะเลมะละกา (2003); และอีกหลายๆเล่ม

นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมในการเขียนของดร.เหลียว ยก ฝางยังมีอยู่ในบทความมากกว่า 20 บทความที่ตีพิมพ์โดยสภาภาษาและหนังสือ หรือ Dewan Bahasa dan Pustaka  กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเอกสารมากกว่า 20 ฉบับที่นำเสนอในการสัมมนาหรือการประชุมในมาเลเซีย อินโดเนเซีย และบรูไนดารุสสาลาม


ดร. เหลียว ยก ฝาง เสียชีวิต ด้วยวัย 80 ปี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2016