Rabu, 28 April 2021

การทูตด้านมืดของอินโดเนเซียในการผนวกดินแดนอิเรียนตะวันตก

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

กระบวนการผนวกดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย ใช้เวลาอย่างยาวนาน ถึง 14 ปี นับตั้งแต่ปี 1949 จนถึงปี 1963  ในขณะที่การประกาศเอกราชของอินโดเนเซียนั้น ดินแดนปาปัว หรืออิเรียนตะวันตก ยังไม่ได้เป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดเนเซีย  สำหรับดินแดนอิเรียนตะวันตก เมื่อผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย ในปี 1961 จึงมีการจัดตั้ง “จังหวัดอิเรียนตะวันตกในสถานการณ์การสู้รบ” โดยมีเมืองเอกอยู่ที่เมืองโซอาซียู (ตีโดเร)   ภายหลัง สหประชาชาติได้ยอมรับมอบจังหวัดอิเรียนตะวันตกให้กับอินโดเนเซีย เมื่อปี 1963 จึงมีการจัดตั้งจังหวัดอิเรียนตะวันตก โดยมีเมืองเอก ตั้งอยู่ที่เมืองจายาปุรา (เดิมชื่อ เมืองซูการ์โนปุรา)

 

ดินแดนอิเรียนตะวันตก เดิมอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรมาชาปาฮิต ในปลายศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่ของดินแดนอิเรียนตะวันตก อยู่ติอิทธิพลของสุลต่านนูนุ แห่งรัฐตีโดเร  ในสนธิสัญญาระหว่างชาห์รีร์-Van Mook และสนธิสัญญา Linggar-Jati เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1947 ตอนที่ 3 ได้กล่าวว่า ประเทศสหพันธรัฐอินโดเนเซีย จะครอบคลุมดินแดนทั้งหมดของฮินเดียฮอลันดา นั้นหมายถึงครอบคลุมรวมถึงปาปัว หรืออิเรียนตะวันตกด้วย

 

รัฐบาลอินโดเนเซียติดสินบนหัวหน้าสภาประชาชนปาปัวที่จัดตั้งโดยฮอลันดา การเมืองเงินที่ไม่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์

สภาประชาชนปาปัวจัดตั้งขึ้นในปี 1961 มีสามชิกสภาจำนวน 29 คน โดย 16 คน จาก 29 คนได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชน


ที่ทำเนียบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีซูการ์โนได้ต้อบรับพันเอกซูฆิห์ อาร์โต (Colonel Soegih Arto) กงสุลใหญ่อินโดเนเซียประจำสิงคโปร์ ที่ถูกเรียกตัวกลับยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าพบอย่างด่วน เป็นการเข้าพบเพื่อมอบภารกิจสำคัญยิ่ง ประธานาธิบดีซูการ์โน พันเอกซูฆิห์ อาร์โต และนายซูบันดรีโอ (Soebandrio) รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดเนเซีย และควบตำแหน่งหัวหน้าหน่วยราชการลับ หรือ Badan Pusat Intelijen (BPI) ของอินโดเนเซีย  ได้ร่วมกันปรึกษาหารืออย่างเครียด



พันเอกซูฆิห์ อาร์โต ได้เขียนในหนังสือชีวประวัติของเขาที่ชื่อ Sanul Daca: Pengalaman Pribadi Letjen (Pur.) Soegih Arto โดยเขียนว่า ประธานาธิบดีซูการ์โนได้อธิบายถึงแผนของรัฐบาลอินโดเนเซียในการได้มาดินแดนอิเรียนตะวันตกด้วยวิธีแหกคอก

 

พันเอกซูฆิห์ อาร์โต ตะลึงเมื่อได้ฟังประธานาธิบดีซูการ์โน ออกคำสั่งให้เขาไปยังฮ่องกง พร้อมนำเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปด้วย ด้วยเงินจำนวนดังกล่าวพันเอกซูฆิห์ อาร์โต จะสามารถซื้อดินแดนอิเรียนตะวันตก

 

ตามแผนการด้วยเงินจำนวนมากถึง 1 ล้านดอลลาร์ จะเป็นตัวที่จะทำให้สภาประชาชนปาปัว สภาที่จัดตั้งขึ้นโดยฮอลันดา จะลงมติให้ดินแดนอิเรียนตะวันตกต้องการที่จะผนวกเข้ากับประเทศอินโดเนเซีย แม้ว่าจะเป็นการใช้เงินในการลงทุนที่สูง แต่การเมืองเงินเช่นนี้ ได้มีการไตรตร่องมาเป็นอย่างดี ตามที่พันเอกซูฆิห์ อาร์โต เขียนไว้ ถ้าการเจรจาประสบความสำเร็จ จะเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะด้วยอาวุธ จะเป็นการักษาชีวิตของชาวบ้านด้วย

 

การเจรจาที่ฮ่องกง

การปฏิบัติการลับนี้ ไม่ได้ทำโดยพันเอกซูฆิห์ อาร์โต คนเดียว แต่จะประกอบด้วย ทีมงานของหน่วยราชการลับ หรือ Badan Pusat Intelijen (BPI) ของอินโดเนเซีย  เช่น นายการ์โตโน กอดรี (Kartono Kadri) ผู้อำนวยการฝ่าย 2 ของหน่วยราชการลับ หรือ Badan Pusat Intelijen (BPI) ของอินโดเนเซีย เป็นฝ่ายปฏิบัติการ และรวบรวมข้อมูล รวมทั้งพันตำรวจเอกซัมซุดดิน นอกจากเป็นทีมของหน่วยราชการลับ หรือ Badan Pusat Intelijen (BPI) ของอินโดเนเซียแล้ว เขายังเป็นเลขานุการของสถานกงสุลอินโดเนเซียประจำสิงคโปรือีกด้วย ทั้งสามคนเดินทางจากสิงคโปร์ไปยังฮ่องกง 

 

พันเอกซูฆิห์ อาร์โตไม่ได้บันทึกว่าพวกเขาเดินทางเมื่อไร แต่ในหนังสือของนาย Ken Conboy ชื่อว่า Intel: Menguak Tabir Dunia Intelijen Indonesia กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในไตรมาศที่สองของปี 1962 ซึ่งอยู่ในช่วงของปฏิบัติการยึดอิเรียนตะวันตกภายในการนำของพลตรีวูฮาร์โต

ที่ฮ่องกงทางหน่วยราชการลับ หรือ Badan Pusat Intelijen (BPI) ของอินโดเนเซีย ได้จัดการอำนวยความสะดวก โดยให้พันเอกซูฆิห์ อาร์โต และเพื่อนๆ พักที่โรงแรม Sunning House พวกเขาจะพบกับชาวฮอลันดาที่มีอิทธิพลอยู่ในอิเรียนตะวันตก พันเอกซูฆิห์ อาร์โต ในฐานะหัวหน้าคระเจรจา มีอำนาจในการเจรจาติดสินบน แต่จะต้องไม่มากกว่าจำนวนเงินที่ได้จัดให้ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการนำอิเรียนตะวันตกเข้าผนวกกับอินโดเนเซีย

 

การเจรจาจะดำเนินการในโรงแรม Miramar บนเกาะเกาหลูน ที่คณะของชาวฮอลันดาพักอยู่ ฝ่ายอินโดเนเซีย จะมีตัวแทนเข้าร่วมเจรจา คือ พันเอกซูฆิห์ อาร์โต และนายการ์โตโน กอดรี ส่วนฝ่ายฮอลันดา จะมีนายฮอลันดาอินโดเนเซีย ชื่อ Mr. de Rijke พร้อมเลขานุการเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง  

 

การติดสินบนนักการเมืองที่มีอิทธิพลในสภาประชาชนปาปัว

Mr. de Rijke ได้อธิบายให้พันเอกซูฆิห์ อาร์โต และนายการ์โตโน กอดรี ว่าตัวเองนั้นเกิดที่เมืองเกอดีรี บนเกาะชวา และตัวเองพูดและเข้าใจภาษาชวา และบอกว่าตัวเขาเป็นหัวหน้าของสภาประชาชนปาปัว หรือ Nieuw Guinea Raad

 

ในการเจรจาครั้งนั้น เป้นการเจรจาสบายๆ ไม่มีความตึงเครียด การเจรจาครั้งนั้นมีความก้าวหน้า ในการเจรจา สิ่งแรกคือการลงมติการผนวกเข้าอิเรียนตะวันตกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย  สิ่งที่สอง ในเรื่องการใช้เงินในการติดสินบน

 

ปาปัวและความทะเยอทะยานของประธานาธิบดีซูการ์โน

ในการเจรจาการผนวกอิเรียนตะวันตกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซียนั้น ทาง Mr. De Rijke ได้มีการเรียกร้องและเงื่อนไขจำนวนมาก ข้อแรก ขอให้อินโดเนเซียยุติการแทรกแซงทางการทหาร ข้อที่สอง ขอให้ปาปัว หรืออิเรียนตะวันตก เป็นเขตการปกครองพิเศษ ข้อที่สาม ขอให้ไม่มีการกีดกั้นการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทั้งของนิกายคาทอลิก และโปรเตสแตนต์  ข้อที่สื่ ขอให้ปาปัวหรืออิเรียนตะวันตก สามารถใช้เงินตราของตัวเอง เหมือนกับที่ดินแดนเรียวใช้  ข้อที่ห้า ขอให้ปาปัวหรืออิเรียนตะวันตก สามารถใช้ธงของตนเอง ทุกข้อเรียกร้องได้รับการรับหลักการจากทางฝ่ายอินโดเนเซีย เพื่อสรุปหาข้อยุติ

 

ในหนังสือของ  Ken Conboy ได้บันทึกว่าพันเอกซูฆิห์ อาร์โต ได้กล่าวถึงข้อเรียกร้องของ  Mr. De Rijke ว่า ข้อเรียกร้องข้อแรกนั้น ทางเราเห็นด้วย ที่จะรับรองสถานะของปาปัวเป็นเขตปกครองพิเศษ ข้อที่สอง ด้วยในดินแดนเรียว (ทั้งพื้นที่เรียวบนเกาะสุมาตรา และหมู่เกาะเรียว) ประชาชนจะใช้เหรียญของสิงคโปร์และมาลายา ดังนั้นทางรัฐบาลอินโดเนเซีย จึงยอมรับที่จะให้เรียวใช้เงินตราของตัวเอง ภายใต้อินโดเนเซีย เพื่อดึงชาวเรียวให้หันมาใช้เงินตราของเรียว ซึ่งก็คือของอินโดเนเซียแทนการใช้เงินของสิงคโปร์และมาลายา ดังนั้นในข้อนี้  ทางพันเอกซูฆิห์ อาร์โต ยอมรับที่จะให้ใช้เงินตราของฮอลันดา ข้อที่สาม ทางเราเห็นด้วยที่จะให้คณะมิสชั่นนารีทั้งนิกายคาทอลิก และโปรเตสแตนต์  สามารถอยู่ในดินแดนอิเรียนตะวันตก 

 

ส่วนข้อเรียกร้องที่ทางเราไม่เห็นด้วย คือ การใช้ธงของอิเรียนตะวันตกอย่างโดดเดียว แต่เราเสนอว่า สามารถชักธงปาปัวได้ แต่ต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าธงอินโดเนเซีย  เกี่ยวกับการแทรกแซงทางการทหารนั้น พันเอกซูฆิห์ อาร์โต ตอบว่า ทางอินโดเนเซียจะยุติการแทรกแซงทางการทหาร เมื่ออิเรียนตะวันตกได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซียแล้ว  เมื่อได้รับรู้ถึงข้อเรียกร้องของ Mr. de Rijke แล้ว ก็มีการร่างมติที่จะเสนอในสภาประชาชนปาปัว ดังนั้นเมื่อเป็นการยอมรับว่า ปาปัว หรืออิเรียนตะวันตก กับอินโดเนเซีย มีประวัติศาสตร์ที่ร่วมกัน ดังนั้นสภาประชาชนปาปัว จึงมีการลงมติเป็นเสียงส่วนใหญ่ให้ดินแดนปาปัว หรือ อิเรียนตะวันตก ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย

นักประวัติศาสตร์ฮอลันดาชื่อว่า นาย Pieter Drooglever กล่าวในหนังสือTindakan Pilihan Bebas: Orang Papua dan Penentuan Nasib Sendiri ว่า ชาวปาปัว หรืออิเรียนตะวันตก มีความสงสัยว่า ตัวแทนของพวกเขาที่อยู่ในสภาประชาชนปาปัว (Nieuw Guinea Raad) จะร่วมมือกับฝ่ายอินโดเนเซีย แต่ในบรรดารายชื่อที่ร่วมมือกับฝ่ายอินโดเนเซียนั้น ไม่ปรากฏชื่อ Mr. De Rijke โดยนาย Mr. De Rijke เป็นทนายความที่มีประสบการณ์ เป็นชาวฮอลันดาอินโดเนเซีย คือชาวฮอลันดาที่เกิดในอินโดเนเซีย เป็นผู้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของชาวฮอลันดาอินโดเนเซียในปาปัว นอกจากนี้เขายังเกี่ยวข้องกับการปลอมเอกสาร จนทำให้เคยถูกคุมขังเป็นเวลา 4 เดือน

 

หอจดหมายเหตุอังกฤษได้เก็บรักษาเอกสารส่วนตัวของ Mr. de Rijke โดยให้คำอธิบายว่า Mr. de Rijke มีชื่อเต็มว่า Mr. Jacob Olaf de Rijke เกิดเมื่อ 9 กันยายน 1921 แต่เอกสารดังกล่าวยังอยู่ในเอกสารระดับความลับ ซึ่งจะสามารถเปิดได้เมื่อ 1 มกราคม 2024 ก็คงต้องรอการเดเอกสารว่า จะสามารถเปิดเผยความลับว่า เบื้องหลังการผนวกอิเรียนตะวันตกมีความลับที่ยังไม่ได้บันทึกอะไรบ้างในประวัติศาสตร์อินโดเนเซีย

 

อ้างอิง

Martin Sitompul, Diplomasi Gelap Pembebasan Irian Barat, https://historia.id/.

R.Z. Leirissa.1992.Sejarah Proses Integrasi Iraian Jaya,Departmen Pendidikan dan Kebudayaan, Jakarta.



 

Sabtu, 17 April 2021

เพื่อแหล่งแร่ทองในปาปัว อินโดเนเซีย องค์กร CIA ต้องโค่นอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน (อินโดเนเซีย) และ อดีตประธานาธิบดี จอ์น เอฟ. เคเนเดี้

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ช่วงนี้เราเริ่มพูดถึงการที่นายเดวิด สเตร็คฟัสส์ อดีตผู้อำนวยการโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มีชื่อว่า Council on International Educational Exchange (CIEE) ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนายเดวิด สเตร็คฟัสส์ ไม่ได้รับการต่อวิซ่า ด้วยโครงการของเขาได้ยกเลิกสัญญากับทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น  สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือคนส่วนหนึ่งเริ่มสำนึกถึงการที่องค์กร CIA ได้ส่งคนแทรกเข้าไปฝังตัวอยู่ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ครั้งนี้เรามาดูเหตุการณในอดีตของประเทศอินโดเนเซีย โดยเฉพาะกรณีของเหมืองทองบนเกาะปาปัว ในประเทศอินโดเนเซีย จากบทความของนาย Erwin Dariyanto ที่เขียนลงในนิตยสารออนไลน์ของอินโดเนเซีย ชื่อว่า detik.com ในบทความชื่อว่า Demi Emas di Papua, CIA Gulingkan Sukarno dan Kennedy (เพื่อแหล่งแร่ทองในปาปัว อินโดเนเซีย องค์กร CIA ต้องโค่นอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน (อินโดเนเซีย) และ อดีตประธานาธิบดี จอ์น เอฟ. เคเนเดี้)  

เหมืองทองที่เกาะปาปัว ที่ปัจจุบันดำเนินการโดยบริษัทที่ชื่อว่า PT Freeport McMoRan แรกเริ่มนั้นแหล่งทองนี้ค้นพบโดยสามนักธรณีวิทยาชาวฮอลันดา คือ นาย Jean Jacques Dozy นาย AH Colijn และนาย Franz Wissel ซึ่งทำงานในกับบริษัท Netherland New Guinea Petroleum Company ที่ตั้งอยู่ที่เมืองบาโบ (Babo) ปาปัวตะวันตก

 

ในปี 1936 นักธรณีวิทยาทั้งสามคน ได้ค้นพบภูเขาทอง ที่ Ertsberg ในขณะที่ทั้งสามกำลังเดินทางไปยังเทือกเขา Cartensz ในปาปัว  ทางนาย Jean Jacques Dozy ได้เก็บวัตถุหินเข้าไปในที่เก็บเอกสารรายงาน และต่อมาได้นำไปเก็บไว้ในหอสมุดแห่งหนึ่งในประเทศฮอลันดา

         

ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่สงบ ทำให้รายงานเรื่องแหล่งแร่ทองดังกล่าวถูกเก็บไว้จนถึงปี 1959 ทางฮอลันดาเชื่อว่า ถ้ารายงานการพบแหล่งแร่ทองในขณะนั้นถูกเปิดเผย จะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในปาปัวมีผลกระทบ และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของปาปัว อย่างไรก็ตาม รายงานการพบแหล่งแร่ทองดังกล่าวก็เป็นที่รับรู้ของผู้อำนวยการ CIA (Central Intelligence Agency) ในขณะนั้น คือ นาย Allen Dulles

 

นาย Allen Dulles เป็นบุตรชายของนาย John Foster Dulles รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ โดยครอบครัว Dulles มีความสัมพันธ์ที่สนิทกับนักธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมัน คือครอบครัวร๊อคกี้เฟลเลอร์ ครอบครัวนักธุรกิจเชื้อสายยิวแห่งสหรัฐอเมริกา  นอกจากนั้น นาย Allen Dulles ยังเป็นทนายความ เคยให้ความช่วยเหลือบริษัทน้ำมันสหรัฐ และบริษัทน้ำมันฮอลันดา ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศอินโดเนเซีย นับตั้งแต่อินโดเนเซียได้รับเอกราช

นับตั้งแต่นั้นนาย Allen Dulles ต้องการที่จะมีอำนาจในทรัพยากรธรรมชาติของอินโดเนเซีย รวมทั้งภูเขาทองที่ Erstberg ด้วย นาย Allen Dulles เริ่มปฏิบัติการในสมัยอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้   แรกๆที่อดีตประธานาธิบดีอห์น เอฟ. เคเนดี้ ขึ้นดำรงตำแหน่งนั้น ได้แต่งตั้งนาย Allen Dulles เป็นผู้อำนวยการ CIA อย่างไรก็ตาม นาย Greg Poulgrain ชาวออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโดเนเซีย กล่าวว่า นาย Allen Dulles ไม่ได้บอกอดีตประธานาธิบดีอห์น เอฟ. เคเนดี้ ถึงการค้นพบเหมืองแร่ทองในปาปัวให้ทราบ



นาย Greg Poulgrain ได้กล่าวไว้ในขณะเปิดตัวหนังสือที่เขาเขียนในชื่อเรื่อง "Bayang-bayang Intervensi, Perang Siasat John F Kennedy dan Allen Dulles atas Sukarno" ที่สำนัก LIPI (Indonesian Institute of Sciences) เมื่อวันอังคาร ที่ 5 กันยายน 2017

นาย Greg Poulgrain กล่าวว่า นาย Allen Dulles และอดีตประธานาธิบดีอห์น เอฟ. เคเนดี้ มีส่วนร่วมในทางอ้อมต่อการเข้าผนวกปาปัวตะวันตกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย  โดยทั้งสองคน ต้องการที่จะให้ฮอลันดามอบปาปัวตะวันตกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย แต่ทั้งสองคนมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน คือ อดีตประธานาธิบดีอห์น เอฟ. เคเนดี้ ต้องการที่จะให้อดีตประธานาธิบดีซูการ์โน ลดความยากจนและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น หลังจากปาปัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย แต่ในทางกลับกันนาย Allen Dulles กลับไม่เห็นด้วยกับอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้

 

นาย Allen Dulles ต้องการที่จะหยุดยั้งแผนการของอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ และเขาได้วางแผนการจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือการคัดค้านที่อดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้จะให้ความช่วยเหลือต่ออินโดดเนเซีย  ในปี 1963 อดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ ได้รับเชิญจากอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน ให้ไปเยี่ยมประเทศอินโดเนเซียปี 1964 หนึ่งในการวางแผนที่ตั้งไว้ คือการเจรจาในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือชาวปาปัว

 

นาย Greg Poulgrain กล่าวเพิ่มเติมว่า อดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ ไม่ทันไปเยือนปาปัว เพราะเขาถูกสังหารเสียก่อน เมื่อครั้งเขาเดินทางไปเยือนเมืองดัลลัส เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963  ในเวลาเดียวกันนาย Allen Dulles ก็ได้วางแผนที่จะโค่นอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน  CIA ภายในการนำของ นาย Allen Dulles  ได้สร้างสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสั่นคลอนอำนาจของอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน และไม่ให้พัฒนาเศรษฐกิจด้วยความราบรื่น นอกจากนั้น นาย Allen Dulles ยังดำเนินการอีกหลายอย่างเพื่อโค่น อดีตประธานาธิบดีซูการ์โน

นาย Ikrar Nusa Bhakti ผู้เขียนคำนำของหนังสือที่เขียนโดย นาย Greg Poulgrain เขียนว่า ทำไม อดีตประธานาธิบดีซูการ์โน สมควรที่จะต้องถูกโค่น คำตอบคือ ถ้าตราบใดที่อดีตประธานาธิบดีซูการ์โนยังคงอยู่นอำนาจ มันเป็นการยากที่นาย Allen Dulles จะมีอำนาจเหนือแหล่งแร่ทองในปาปัว เพราะอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน เป็นนักชาตินิยม ย่อมต้องต่อสู้ปกป้องแหล่งแร่ทองในเป็นของอินโดเนเซีย ไม่ต้องการที่ให้ตกไปเป็นของนักล่าอาณานิยมยุคใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา

นาย Allen Dulles รู้ว่าตราบใดที่อดีตประธานาธิบดีซูการ์โน จะเป็นประธานาธิบดีตลอดชีวิต เขาไม่อาจมีโอกาสที่จะมีอำนาจเหนือแหล่งแร่ทองในปาปัว สองปีหลังจากอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี้ เสียชีวิต ก็เกิดเหตุการณ์การสังหาร 7 นายพลและนายทหารคนอ่นๆ ในวันที่ 30 กันยายน 1965 เป็นเหตุการณ์ก่อรัฐประหารของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดเนเซีย ที่เรียกว่า เหตุการณ์ G30S เป็นเหตุการณ์เริ่มต้นของการโค่นอำนาจอดีตประธานาธิบดีซูการ์โน เป็นการเปิดทางให้นาย  Allen Dulles มีอำนาจเหนือแหล่งแร่ทองในปาปัว