โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ นายลี เซียน ลุง ได้ประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ และกำหนดวันรับสมัครการเลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2015 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2015 ซึ่งระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์ มีความแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นจึงขอเสนอชื่อพรรคการเมืองและประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ นายลี เซียน ลุง ได้ประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ และกำหนดวันรับสมัครการเลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2015 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2015 ซึ่งระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์ มีความแตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นจึงขอเสนอชื่อพรรคการเมืองและประเภทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์
พรรคการเมืองสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยประธานาธิบดี
( Presidential DSemocracy)
โดยมีการเลือกตั้งมาจากประชาชน ในประเทศสิงคโปร์มีพรรคการเมืองหลายพรรค
แม้ว่าโดยรวมจะมองว่าประเทศสิงคโปร์มีการปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว เพราะพรรคกิจประชาชน ( PAP-People’s Action
Party) ถือเป็นพรรคเดียวที่มีเสียงคุมสภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์ ความจริงแล้วมีพรรคการเมืองอีกหลายพรรคเช่น
-พรรคพันธมิตรประชาธิปไตย
( SDA-Singapore Democratic
Alliance) ประกอบด้วยพรรคการเมืองต่างๆเช่น
1. องค์การชาวมลายูแห่งชาติสิงคโปร์ ( United
Malays Singapore Organisation
หรือ Pertubuhan
Kebangsaan Melayu Singapura )
เดิมพรรคนี้ถือเป็นพรรคสาขาของพรรค UMNO ของมาเลเซียที่ทำกิจกรรมทางการเมืองในสิงคโปร์
2. พรรคยุติธรรมสิงคโปร์ ( SJP-Singapore Justice
Party)
3.พรรคประชาชนสิงคโปร์ (SPP-Singapore People’s
Party)
4.พรรคเอกภาพแห่งสิงคโปร์ (NSP-National Solidarity
Party)
-พรรคประชาธิปไตยสิงคโปร์ ( SDP-Singapore Democratic
Party)
-พรรคคนงาน ( Workers’ Party )
-พรรคกิจประชาชน ( People’s Action
Party )
พรรค PAP เป็นพรรคนี้มีการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1954 จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มชาวจีนที่ได้รับการศึกษาจากอังกฤษ มีผู้นำพรรคเช่น นาย Lee Kuan
Yew ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี
โดยรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค, นาย Toh Chin
Chye, นาย Goh
Keng Swee และ นาย
S.
Rajaratnam
สภาผู้แทนราษฎรของประเทศสิงคโปร์มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 99 คน โดยสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรนี้มีอยู่ 3 ประเภทคือ
1. Elected Members
of Parliament
สมาชิกประเภทนี้เป็นสมาชิกที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยประชาชนสิงคโปร์เป็นผู้เลือกเข้าสภา ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเป็นเขต สมัครคนละเขต
สมาชิกประเภทนี้มีจำนวนทั้งหมด 84 คน โดยมีวาระ 5 ปี
2. Non-Constituency Members
of Parliament
สมาชิกประเภทนี้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคที่จัดตั้งรัฐบาล สมาชิกมีจำนวนทั้งหมด 6 คน สมาชิกสภาประเภทนี้เริ่มนำมาใช้เมื่อปี 1984 ด้วยตั้งแต่ปี 1968-1981 ไม่มีสมาชิกฝ่ายค้านอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรเลย
ส่วนปี 1981 มีสมาชิกฝ่ายค้านอยู่ 1 คน คือ นาย Jeyaratnam ซึ่งชนะเลือกตั้งมาได้คนหนึ่ง
ดังนั้นนาย Goh Chok
Tong จึงเสนอสมาชิกสภาประเภทนี้ขึ้น
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายค้าน
3. Nominated
Members of Parliament
เป็นสมาชิกสภาที่มาจากพลเมืองชาวสิงคโปร์ ที่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาประเภทนี้ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 9 คน
สมาชิกประเภทที่ 3 ไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในบางกรณี
SMCs:
1. Bukit Batok
2. Bukit Panjang
3. Fengshan
4. Hong Kah North
5. Hougang
6. MacPherson
7. Mountbatten
8. Pioneer
9. Potong Pasir
10. Punggol East
11. Radin Mas
12. Sengkang West
13. Yuhua
Four-member GRCs:
1. Chua Chu Kang
2. East Coast
3. Holland-Bukit Timah
4. Jalan Besar
5. Marsiling-Yew Tee
6. West Coast
Five-member GRCs:
1. Aljunied
2. Bishan-Toa Payoh
3. Jurong
4. Marine Parade
5. Nee Soon
6. Sembawang
7. Tampines
8. Tanjong Pagar
Six-member GRCs:
1. Ang Mo Kio
2. Pasir Ris-Punggol
SMCs:
1. Bukit Batok
2. Bukit Panjang
3. Fengshan
4. Hong Kah North
5. Hougang
6. MacPherson
7. Mountbatten
8. Pioneer
9. Potong Pasir
10. Punggol East
11. Radin Mas
12. Sengkang West
13. Yuhua
Four-member GRCs:
1. Chua Chu Kang
2. East Coast
3. Holland-Bukit Timah
4. Jalan Besar
5. Marsiling-Yew Tee
6. West Coast
Five-member GRCs:
1. Aljunied
2. Bishan-Toa Payoh
3. Jurong
4. Marine Parade
5. Nee Soon
6. Sembawang
7. Tampines
8. Tanjong Pagar
Six-member GRCs:
1. Ang Mo Kio
2. Pasir Ris-Punggol