สำหรับการแต่งงานตามหลักการอิสลามนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาจากหลายๆที่มาเป็นหนึ่ง สำหรับการแต่งงานของชาวมลายู ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามนั้น แม้ว่าชาวมลายูจะมีประเพณีการแต่งงานที่มีพิธีกรรมหลากหลาย แต่ในบรรดาพิธีกรรมต่างๆนั้น จะต้องมีพิธีกรรมที่เป็นหลักของการแต่งงานตามหลักการในศาสนาอิสลาม นั้นคือพิธีนิกะห์
การสมรส คือ การผูกความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง
โดยมีเป้าหมาย ทื่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน อย่างสามีภรรยา ที่สอดคล้องกับหลักการชัรอียะฮ และกฎหมาย อิสลามถือว่า การสมรส เป็นอิบาดะฮ ประเภทหนึ่ง ที่ส่งเสริมให้มี สำหรับผ้ที่มีความสามารถ ในด้านต่างๆ ที่กำหนด ทั้งนี้ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีงาม จากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ดังปรากฏในอัลกรุอาน ความว่า “และโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูล มาก่อนหน้าเจ้า และเราได้ให้พวกเขา มีภรรยา และลูกหลาน” (อัรฺเราะอฺดุ:38)
และอัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา ได้กล่าว ความว่า “อัลลอฮฺทรงสร้างคู่ครอง ที่มาจากหมู่พวกเจ้า ให้แก่พวกเจ้าเอง พระองค์ทรงทำให้เกิดลูก และหลาน จากภรรยาของพวกเจ้า และทรงประทานปัจจัยยังชีพ จากสิ่งดีๆ แก่พวกเจ้า” (อันนะหฺลุ:72)
การหมั้น หมายถึง การตกลงระหว่างฝ่ายชาย กับฝ่ายหญิง ที่จะผูกพัน ด้วยการสมรส ในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ได้รู้จักซึ่งกันและกัน และเพื่อความพร้อม ในการใช้ชีวิตคู่ต่อไป
เงื่อนไขการหมั้น มีดังนี้
1. ฝ่ายหญิงจะต้องปราศจากข้อห้ามต่างๆ ตามบัญญัติอิสลาม
2. ฝ่ายหญิงจะต้องไม่มีชายใดหมั้นไว้ก่อน และหวังจะแต่งงานด้วย ดังรายงานจากอุกบะฮฺ อิบนุอามีรฺ ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว ความว่า “ผู้ศรัทธานั้น เป็นพี่น้องของผู้ศรัทธา ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ขายตัดหน้า พี่น้องของเขา และไม่หมั้นซ้อน พี่น้องของเขา จนกว่าคนนั้น เขาจะปล่อยไป” (บันทึกโดย อะหมัด และมุสลิม)
3. ฝ่ายหญิงไม่อยู่ในช่วงของอิดดะฮฺ สามีคนก่อน ยกเว้นสามีเสียชีวิต ก็อนุญาตให้พูดเป็นนัยๆ ไว้ก่อนได้
เมื่อทั้งสองฝ่าย ได้หมั้นหมายกันแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็มีสิทธิ ที่จะมองกันและกันได้ เฉพาะส่วนที่อนุมัติให้มอง เช่น ใบหน้าและฝ่ามือ แต่ห้ามทั้งสอง อยู่ในที่ลับตา หรือโดยลำพัง จนกว่าจะได้สมรสถูกต้อ งตามหลักของศาสนาอิสลาม
การรับนิกะห์
การสมรสจะมีผล ตามหลักศาสนาอิสลาม ก็ต่อเมื่อมีการอะกัดนิกะห ซึ่งประกอบด้วย อีญาบ และกอบูล
อีญาบ หมายถึง คำเสนอที่บ่งบอก ถึงการสมรสระหว่างใครกับใคร และทรัพย์มะฮัร (สินสอด) เท่าไร เช่นกล่าวว่า “ ฉันแต่งงานคุณ กับนางสาวอามีนะฮ บุตรีฉันด้วยมะฮัร 2,000 บาท’’เป็นต้น
กอบูล หมายถึง การต้อนรับของฝ่ายชาย เมื่อผู้เสนอกล่าวคำอีญาบเสร็จ เช่น กล่าวว่า “ฉันรับการแต่งงาน ดังกล่าวแล้ว” หรืออาจจะตอบรับ โดยละเอียด ตามที่เสนอก็ได้
ทั้งอีญาบ และกอบูล จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ แต่ควรจะเป็นภาษาทั้งสองฝ่าย เข้าใจความหมาย และต้องกล่าวตอบรับ ในทันที โดยไม่มีคำพูดอื่นใด มาแทรกในระหว่างคำอีญาบ และกอบูล ในขณะเดียวกัน การรับนิกะห์ จะต้องมีพยานรู้เห็นไม่น้อยกว่า 2 คน โดยพยานต้องเป็นบุคคล ที่มีคุณสมบัติ
หญิงต้องห้ามแต่งงาน
ในการสมรสตามหลักการอิสลามนั้น ได้มีข้อกำหนด เกี่ยวกับคุณสมบัติของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังได้กำหนดรายละเอียด ผู้ที่อิสลามห้ามทำการสมรส ไว้ด้วยเช่นกัน
ชายหญิงจะสมรสกันไม่ได้ เนื่องจากเหตุ 3 ประการ ได้แก่
1. ต้องห้ามเพราะสืบสกุล คือ
- แม่ แม่ของแม่ และสูงขึ้นไป
- ลูกสาว ลูกของลูกสาว และระดับต่ำลงไป
- พี่สาว น้องสาว
- อาหญิง
- ป้าหญิง
- ลูกสาวของพี่ชาย หรือน้องชาย
- ลูกสาวของพี่ชาย หรือน้องสาว
2. ต้องห้ามด้วยสาเหตุการแต่งงาน คือ
- แม่ของภรรยา แม่ของแม่ภรรยา แม่ของพ่อของภรรยา และระดับสูงขึ้นไป
- ลูกสาวภรรยาของเขา ที่เขามีเพศสัมพันธ์กับนางแล้ว และลูกสาวของลูกชายของนาง และ ระดับต่ำลงไป
- ภรรยาของลูกชาย ลูกสาวของลูกชาย ลูกสาวของลูกสาว และระดับต่ำลงไป
- ภรรยาของพ่อ
3.ต้องห้ามเพราะการดื่มนม คือ
- หญิงที่เป็นแม่นม เพราะนางถือเป็นแม่ของเด็ก
- แม่ของสามีแม่นม เพราะนางถือเป็นย่าของเด็ก
- พี่สาว น้องสาวของแม่นม เพราะเป็นน้าสาวของเด็ก
- พี่สาว น้องสาว ของสามีแม่นม เพราะถือเป็นป้าของเด็ก
- ลูกสาวของลูกชาย และลูกสาวของแม่นม เพราะพวกนาง เป็นลูกสาวของพี่น้องชายหญิงของเขา
̣ทั้งนี้ การดื่มนมต้องมีเงื่อนไขว่า ดื่มนมจริงๆ จากเต้านมของผู้ให้นมดังกล่าว โดยได้ดื่มนมจนอิ่ม ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง และอายุของเด็ก ไม่เกิน 2 ขวบ
วลีย์
วลีย์ คือ ชายผู้ซึ่งมีเอกสิทธิ์ ที่จะประกอบพิธีนิกะห์ หรือสมรสให้กับหญิง หรือสมรสให้กับชาย ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ เพราะมีรายงานจากกอบูมูซา ว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวความว่า “ ไม่ถือเป็นการแต่งงาน นอกจากต้องมีวลีย์ ” (รายงานโดย ติรมีซีย์ )
วลีย์ แบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท
1. วลีย์คอส ได้แก่ ผู้ชายที่เป็นญาติสนิทของหญิง ที่มีสิทธิ์เป็นวลีย์ได้ก่อน และหลัง ตามลำดับ ดังนี
1.1 บิดา
1.2 ปู่
1.3 พี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา มารดา
1.4 พี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา
1.5 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา มารดา
1.6 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา
ถ้าวลีย์ในลำดับที่ 1.6 ไม่มี ก็ให้บุตรชายในลำดับที่ 1.5 เป็นวลีย์ ถ้าวลีย์ในลำดับที่ 1.5 ไม่มี ก็ให้บุตรชายของวลีย์ ในลำดับที่ 1.6 เป็นวลีย์ ถ้าบุตรชายของวลีย์ลำดับที่ 1.6 ไม่มี ก็ให้หลานชายของวลีย์ ลำดับที่ 1.5 เป็นวลีย์ ถ้าหลานชายของวลีย์ลำดับที่ 1.5 ไม่มี ก็ให้หลานชายของวลีย์ลำดับที่ 1.6 เป็นวลีย์ โดยสลับกันไปเช่นนี้ จนกว่าจะขาด ชายผู้สืบสันดาน ของวลีย์ ในลำดับที่ 1.5 หรือที่ 1.6
1.7 พี่ชาย หรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมบิดา มารดา
1.8 พี่ชาย หรือน้องชายของบิดา ที่ร่วมบิดา
1.9 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา มารดา
1.10 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชาย ที่ร่วมบิดา
1.11 พี่ชาย หรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมบิดา มารดา
1.12 พี่ชาย หรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมบิดา
1.13 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชายปู่ ที่ร่วมบิดา มารดา
1.14 บุตรชายของพี่ชาย หรือน้องชายของปู่ ที่ร่วมแต่บิดา
2. วลีย์อักรอบ ได้แก่ วลีย์คอสที่สนิท หรือใกล้ชิดที่สุด ตามลำดับ ของวลีย์คอส ที่มีตัวตนอยู่ในขณะนั้น
3. วลีย์อับอัฏ ได้แก่ วลีย์คอสที่ห่างลดหลั่นจากวลีย์อักรอบออกไปตามลำดั บ
4. วลีย์มุจญบิร วลีย์ที่เป็นบิดา หรือปู่ในเมื่อไม่มีบิดา
5. วลีย์หะกิม คือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง โดยพระมหากษัตริย์ ให้ทำหน้าที่สมรสผู้หญิง ที่บรรลุศาสนภาวะแล้วทั่วไป
6. วลีย์อาม คือผู้ทรงสิทธิ์จะประกอบพิธีสมรส ให้กับหญิงที่บรรลุศาสนภาวะทั่วไป
7. วลีย์ตะห์กิม คือผู้ชายที่ผู้หญิง กล่าวแต่งตั้ง ให้ทำหน้าที่เป็นวลีย์ และสมรสให้กับนาง
ในส่วนของวลีย์คอส จะต้องเรียงลำดับก่อน หลัง จากลำดับที่ 1-14 จะสับเปลี่ยน โดยที่วลีย์ ยังคงมีตัวตนอยู่ และมีคุณสมบัติครบถ้วนไม่ได้
เงื่อนไขของผู้ทำหน้าที่เป็นวลีย์ในการสมรส มีดังนี้
1. มุสลิม
2. ไม่มีจิตฟั่นเฟือน
3. ไม่เป็นเสมือนบุคคลไร้ความสามารถ
4. ไม่เป็นฟาซิก
5. มีสติปัญญาเยี่ยงสามัญชน
6.ไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีหัจญ์
พยาน
การสมรสจะมีผล ตามหลักของศาสนาอิสลาม จะต้องมีพยานการสมรส รู้เห็น ไม่น้อย กว่า 2 คน ดังรายงานจากท่าหญิงอาชีชะฮฺว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อาลัฮิวะซัลลัม กล่าว ความว่า “ไม่ถือเป็นการแต่งงาน นอกจากจะต้องมีวะลีย์ (ผู้ปกครอง) และมีพยานที่เที่ยงธรรม 2 คน” (บันทึกโดย อัดดารุกฏนี)
และมีรายงานจากอิบนีอับบาสว่า แท้จริงท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว ความว่า “ถือเป็นพวกกบฏ สำหรับหญิงที่แต่งงาน โดยไม่มีพยาน” (บันทึกโดยติรฺมีซีย์)
จากหลักฐานที่กล่าวอ้าง จะเห็นได้ว่า พยานมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่ง อิสลามจึงได้กำหนดคุณสมบัติ ของพยานทั้งสอง ดังนี้
1. เป็นมูสลิม
2. ไม่มีจิตรฟั่นฟ์อน
3. มีสติปัญยาเยี่ยงสามัญชน
4. เป็นบุคคลอาดิล (ยุติธรรม) ไม่กระทำบาปใหญ่ หรือบาปเล็ก โดยสม่ำเสมอ
5. มองเห็น ได้ยิน และพูดได้
6. ไม่ผู้เสมือนไร้ความสามารถ
7. ประกอบอาชีพ ที่มีเกียรติ ตามสภาพสังคม
8. มีมารยาทดี
มะฮัร (สินสอด)
มะฮัร หมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง หรือคุณประโยชน์อื่นๆ ที่ฝ่าชายต้องมอบ ให้กับฝ่ายหญิง เนื่องจากการสมรส ดังปรากฏในอัลกรอ่าน ความว่า “และพวกเจ้าจงให้ทรัพย์มะฮัร แก่บรรดาหญิง (ที่พวกเจ้าแต่งงาน) ด้วยความเต็มใจ” (อัลนิซาอ :4)
สาระที่ควรรุ้ของมะฮัร มีดังนี้
ฝ่ายหญิงมีสิทธิ ที่จะเรียกรองมะฮัร จากฝ่ายชาย ได้ตามความเหมาะสม
บิดามารดา หรือวะลีย์ ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินมะฮัรดังกล่าว เว้นแต่ฝ่ายหญิงมอบให้ ยกให้ หรืออนุญาตให้ใช้จ่ายได้
ฝ่ายชายไม่มีสิทธิ ขอลดปริมาณทรัพ์มะฮัร ที่ได้ตกลงกันแล้ว
ถ้าฝ่ายชายเสีชีวิตก่อนได้ร่วมประเวณี ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องมะฮัร ที่คงค้างได้ ไม่เกินครึ่งหนึ่งของมะฮัรทั้งหมด
ก่อนร่วมประเวณีครั้งแรกฝ่าหิงมีสิทธิที่จะขัดขืนไม่ยินยอมให้ฝ่ายชายร่วม ประเวณีได้ จนกว่าฝ่ายชายจะจ่าทรัพย์มะฮัรตามที่ได้ตกลงกันไว้
ถ้าฝ่าชายหย่าร้างก่อนร่วมประเวณีอันเนื่องมาจากฝ่ายหญิงไม่ยินยอมฝ่ายชายมิ สิทธิเรียกทรัพย์มะฮัรกลับคืนได้ทั้งหมด
การที่ฝ่ายหญิงจะกำหนดปริมาณทรัพย์มะฮัร ควรจัได้พิจารณาปริมาณทรัพย์มะฮัรของพี่สาหรือน้องสาวของบิดา หรือญาติผู้หญิงของบิดาเป็ยเกณฑ์ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในระยะเวลาที่ห่างกันไม่มากนัก
ทั้งฝ่ายชายและหญิง มีสิทธิที่จะตกลงกำหนดเวลาชำระ เพิกถอน เพิ่มเติม หรือลดทรัพย์อยย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้วก็ย่อมได้
ข้อควรคำนึงสำหรับฝ่ายหญิง คือไม่ควรกำหนดค่ามะฮัร มากจนเกินไป เพราะมีรายงานจากท่านหญิงอาอีชะฮ รอฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่า “ความดีของสตรีนั้น คือทรัพย์มะฮัรน้อย การแต่งงานง่าย ๆ อุปนิสัยดี และที่ชั่ว ๆ ของนาง คือทรัพย์มะฮัรแพง การแต่งงานแบบลำบาก อุปนิสัยไม่ดี ”
นอกจากนั้น การกำหนดค่ามะฮัรแพง เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระ ให้แก่ฝ่ายชาย ซึ่งจะเกิดผลกระทบ กับการใช้ชีวิตในอนาคต
งานวะลีมะฮฺ
เมื่อทั้งสองฝ่ายชายหญิง ตกลงพร้อมใจที่จะนิกะหฺ และอยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภรรยา ในอนาคต จะมีกิจกรรมหนึ่ง ส่งเสริมให้กระทำ คือการจัดงานวะลีมะตุลอุรูส คืองานเลี้ยงสมรส เพื่อประกาศให้สังคมทั่วไปทราบว่า ชายหญิงคู่ดังกล่าว ได้สมรสกันแล้ว
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ อับดุรฺเราะฮฺมาน บุตรของโอ๊ฟ ความว่า “จงจัดงานวะลีมะฮฺ แม้เป็นแกะเพียงตัวเดียวก็ตาม” (รายงานโดย ท่านบุคอรีย์)
และรายงาน จากอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า เมื่ออาลีได้หมั้นหมาย กับฟาติมะฮฺ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว ความว่า “ความจริงจำเป็น สำหรับการแต่งงาน มันต้องมีงานวะลีมะฮฺ” (รายงานโดย ท่านอะหฺมัด)
นักวิชาการ สรุปจากหะดีษดังกล่าว ว่า งานวะลีมะฮฺ เป็นสุนัตมุอักกาดะฮฺ ส่งเสริมให้จัด แต่ไม่ใช่จัดแบบฟุ่มเฟือย หรือจัดเพื่อเป็นเกียรติ และศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล สำหรับแขกผู้ถูกเชิญ จำเป็น (วาญิบ) ต้องไปร่วมงานดังกล่าว เพราะมีรายงานจากอิบนุอุมัรฺว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าว ความว่า “เมื่อคนใดในหมู่พวกเจ้า ได้ถูกเชิญไปงานวะลีมะฮฺแล้ว เขาจงไปเถิด” (รายงานโดย มุสลิม)
เงื่อนไขการเชิญร่วมงานวะลีมะฮฺ ต้องมีดังนี้
1. ผู้เชิญต้องบรรลุศาสนภาวะ
2. จะต้องไม่เชิญเฉพาะผู้ที่ร่ำรวย
3. จะต้องไม่แสดงออกถึงการรักใคร หรือเกลียดใคร
4. ผู้เชิญต้องเป็นมุสลิม
5. ต้องเป็นงานวันแรกกรณีจัดงานหลายวัน
6. ไม่เจาะจงว่าต้องไปงานก่อนคนอื่น
7. จะต้องไม่มีกิจกรรมที่ขัดต่อหลักการของศาสนาปะปนอยู่
8. จะต้องไม่มีอุปสรรคในการเดินทางไปร่วมงาน
ข้อควรคำนึง เกี่ยวกับการเชิญแขก ไปร่วมงาน ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตำหนิการเชิญแขก ที่มีฐานะดี และไม่สนใจผู้ที่ฐานะด้อย ดังรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว ความว่า “อาหารที่เลวที่สุด คือ อาหารของงานวะลีมะฮฺ ซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนที่อยากมา แต่ไปเชิญคนที่ไม่อยากมา และผู้ใดไม่ตอบรับเชิญ (ไม่ไปร่วมงาน) แน่นอนเขาได้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺและรอซูล”