โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางผู้เขียนและนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา เช่น ภาควิชาประวติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขปัตตานี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมกันวิจัยในหัวข้อ "หนึ่งร้อยเอกสารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ปาตานี" เป็นการศึกษาเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี คำว่าปาตานีในที่นี้หมายถึงจังหวัดปัตตานี ยะละ และนราธิวาส การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาที่เก็บอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ คณะของเราใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการเดินทาง ค้นคว้า ค้นหา เอกสารต่างๆที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอจดหมายเหตุ ในรัฐต่างๆของประเทศมาเลเซีย ในการเดินทางครั้งนี้เราอาศัยรถตู้จากจังหวัดปัตตานี จากจังหวัดปัตตานีถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ เราใช้คนขับหนึ่งคน จากกรุงกัวลาลมเปอร์ไปยังประเทศสิงคโปร์เราใช้คนขับอีกคหนึ่ง คนขับคนที่สอง กลายเป็นเพื่อนเก่าของผู้เขียนที่เราไม่ได้เจอกันเกือบยีสิบปี หลังจากคนขับคนนี้จบการศึกษาจากกรุงเทพฯ เขาไปทำงานด้านวิศวกรรมโยธา ที่ประเทศทันซาเนีย ต่อมาไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ ด้วยเหตุที่เขาเคยทำงานที่ประเทศสิงคโปร์นี้เอง ทำให้เขาอาสามาเป็นคนขับรถตู้ให้คณะของเรา
คณะทำงานบนรถตู้ระหว่างการเดินทางค้นหาเอกสารประวัติศาสตร์ปาตานี
เราออกจากจังหวัดปัตตานีแต่เช้า เพื่อเดินทางไปยังชายแดนประเทศไทย-มาเลเซีย โดยมีเป้าหมายเขตแดนบริเวณตลาดตาบา-ตลาดปังกาลันกูโบร์ เมื่อข้ามแม่น้ำสุไหงโกลกเข้าตลาดปังกาลันกูโบร์ เราจึงมุ่งไปยังบ้านของนักเขียน นักประวัติศาสตร์ปัตตานีนามอุโฆษ ที่ชื่อว่า นายอาหมัด ฟัตฮี อัล-ฟาตานี (Ahmad Fathy Al3Fatani) ซึ่งหนังสือที่ชื่อว่า Pengantar Sejarah Patani ผู้เขียนก็ได้แปลในนามของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขปัตตานี โดยใช้ชื่อว่า ประวัติศาสตร์ปัตตานี คาดว่าในอนาคต หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนจะนำมาขัดเกลาคำแปลใหม่ให้ดีขึ้น ครั้งแรกใช้คำว่า "ผู้แปล" แต่ครั้งใหม่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแนะว่า น่าจะเป็น "ผู้แปลและเรียบเรียง" เพื่อที่ผู้เขียนจะสามารถนำส่วนแทรก หรือคำเพิ่มเติมในส่วนที่ผู้เขียนค้นหามา หรือได้ข้อมูลใหม่ๆ
คณะทำงานกับคุณ Ahmad Fathy Al-Fatani
หลังจากที่ได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่รัฐกลันตันแล้ว คณะของเราจึงเดินทางไปยังรัฐตรังกานู โดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู เราก็สามารถดูเอกสารประวัติศาสตร์ปาตานีที่เขียนลงบนแผ่นไม้ ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ผู้เขียนสร้างวีรกรรมที่ไม่น่าให้อภัยกันได้ เมื่อเดินทางถึงพิพิธภัณฑ์ตามที่เราได้นัดกัน ทางผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูแจ้งว่ากำลังดูแล Tetamu (แขกผู้มาเยี่ยม)คนหนึ่ง คณะเราก็เข้าไปร่วมสมทบด้วย ชมการแสดงการเล่นกับงูในพิพิธภัณฑ์ เมื่อผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูทักทาย Tetamu (แขกผู้มาเยี่ยม)คนนั้น ผู้เขียนก็เข้าไปพูดคุยกับผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู หนึ่ง แล้วขอตัวไปดูสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ก่อน เมื่อเขาเสร็จภาระกิจแล้ว กะว่าคณะเราจะได้ไปร่ำลากับเขา พอเห็นว่าใช้เวลาได้สักพัก จึงไปถามเจ้าหน้าที่ว่าผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานูเสร็จภาระกิจแล้วยัง คำตอบทำให้ตกใจพอสมควร เขาเสร็จจากภาระกิจแล้ว และ Tetamu (แขกผู้มาเยี่ยม)คนนั้นคือ Tengku Temenggong (พระอุปราชแห่งรัฐตรังกานู) นั้นคือน้องชายของพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียองค์ปัจจุบัน คณะเราจึงบ่นกันว่าถ้ารู้ตั้งแต่แรก คงขอถ่ายรูปเก็บเป็นที่ระลึกกันแล้วหละ
กล่องเก็บแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
คณะทำงานกำลังศึกษาแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
สองนักศึกษากับแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
จากรัฐตรังกานู คณะเราเข้าไปยังรัฐปาหัง ที่รัฐปาหังได้หนังสือชิ้นสำคัญมาชิ้นหนึ่ง ชื่อว่า Kanun Pahang หรือกฎหมายรัฐปาหัง หนังสือเขียนด้วยมือเล่มนี้ ซื้อมาจากปัตตานี (สามจังหวัดชายแดนภาคใต้)ที่เชื่อกันว่าราชาอูงู (Raja Ungu) พระราชินีแห่งปาตานี ที่แต่งงานกับสุลต่านอับดุลกาฟูร์(Sultan Abdul Ghafur)แห่งรัฐปาหัง เมื่อสุลต่านสิ้นชีพลง ราชาอูงูพร้อมผู้ติดตามได้กลับมายังปัตตานี คณะเราจะทำการศึกษาว่า Kanun Pahang หรือกฎหมายรัฐปาหัง นี้มีอิทธิพลต่อโครงสร้างการปกครองปัตตานีในอนาคตอย่างไร
หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยเดินทางไปยัง Institute of South East Asia Studies ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์ ที่สถาบันทั้งสองแห่ง คณะทำงานได้เอกสารมาจำนวนหนึ่ง สิ่งที่ผู้เขียนประทับใจที่สุดคือ Institute of South East Asia Studies หวังว่าสถาบันลักษณะอย่างนี้ (การทำงาน การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล)คงจะเกิดขึ้นเป็นจริงใน ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ไม่ใช่สถาบันที่แขวนป้ายโก้หรู สถาบันโน้น สถาบันนี้ แต่หนังสือ หนังหา น้อยมาก จนแปลกใจว่า นี้หรือคือสถาบันที่แขวนป้ายชื่อใหญ่โต การเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์ครั้งนี้ เป็นผลงานของ ดร. นุมาน มะแซ ผู้เคยทำงานระยะส้นๆที่ Asian Resreasch Institute ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
สองนักศึกษากับหนังสือเกี่ยวกับปัตตานีที่ Institute of South East Asia Studies ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
คณะทำงานหน้าสถาบันวิชาการที่ชื่อว่า Institute of South East Asia Studies ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ต่อมาคณะทำงานก็เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ โดยเดินทางเข้ากรุงกัวลาลมเปอร์อีกครั้ง ในครั้งนี้เราเดินทางไปหลายแห่ง ไปยังที่หอสมุด มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย หอสมุดมหาวิทยาลยมาลายา หอจดหมายเหตุ และอื่นๆ
กล่องบันทึกประวัติศาสตร์ปาตานีในไมโครฟิล์ม ที่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานีในไมโครฟิล์ม ที่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
แผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
แผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
หนึ่งในแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
หนึ่งในแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
สองนักศึกษากับแผ่นไม้บันทึกประวัติศาสตร์ปาตานี
จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ คณะได้เดินทางไปยังรัฐเปรัค ที่รัฐเปรัคแห่งนี้ ได้เดินทางไปพบกับนักประวัติศาสตร์ปาตานีนามอุโฆษอีกท่าน ข้อมูลหลายอย่างที่คณะเราได้รบจะเป็นประโยชน์ยิ่ง
ตราประจำสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี