นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในช่วงเดือนถือศีลอดที่ผ่านมา ผู้เขียนไปเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางเป็นเพื่อนของลูกชายที่เดินทางไปสอบวิชาต่างๆที่ลงทะเบียนเรียนสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยในช่วงที่ผู้เขียนได้ไปกรุงเทพฯ ที่หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็คิดถึงตระกูลของผู้เขียน ซึ่งสายของผู้เขียน แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีสักคนในสายตระกูล ที่มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือแม้แต่สถาบันปอเนาะที่การจัดตั้งค่อนข้างจะไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้าเรามีความพร้อม ในสายตระกูลของผู้เขียนมีจำนวนหนึ่งที่มีการศึกษา มีศักยภาพ มีความพร้อม และเพื่อนฝูงผู้เขียน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็มีความพร้อมทั้งวิชาการ และศักยภาพ ดังนั้นหลังจากที่ผู้เขียนและเพื่อนๆในมหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง “ศูนย์นูซันตาราศึกษา” หรือ Nusantara Studies Center เป็นศูนย์ที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก่อนที่ย้าย“ศูนย์นูซันตาราศึกษา” ออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มาสังกัดมูลนิธิหนึ่ง เพื่อรองรับตามกฎหมาย ซึ่งประธานมูลนิธินี้อยู่ระหว่างการจะกำเนินการเปลี่ยนชื่อมูลนิธิเพื่อความเหมาะสม
และทาง“ศูนย์นูซันตาราศึกษา” จะดำเนินกิจกรรมในลักษณะของ “คลังสมอง” หรือ Think Tank ในการเผยแพร่บทความวิชาการ ข้อมูลวิชาการผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ว่า จะเป็นเฟสบุ๊ค บล็อกสปอต ยูทูบ ฯลฯ ทาง“ศูนย์นูซันตาราศึกษา”ได้สร้างเครือข่ายกับเพื่อนมิตรทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ศรีลังกา อัฟริกาใต้ และเพื่อสร้างสถาบันทางการศึกษา ผู้เขียนจึงมีไอเดีย ณ ที่นั่งอ่านหนังสืออยู่ในหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าน่าจะถึงเวลาที่จะต้องมีสถาบันทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีความเห็นว่า นายอิสมาแอล หะยียูโซ๊ะ มีความเป็นผู้นำ และมีศักยภาพในการนำ “สถาบันนูซันตาราศึกษา” เดินไปข้างหน้า
โดยเริ่มแรกผู้เขียนได้เริ่มทาบทามเพื่อนนักวิชาการต่างๆในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เพื่อมาเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ โดยใช้เกณฑ์นักวิชาการที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือ มีตำแหน่งวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ และจากที่ทาบทามทั้งหมด ปรากฏว่า ทุกคนยินดีให้การสนับสนุน และบางคนเริ่มให้คำปรึกษา บางคนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส และบางคนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ และผู้เขียนเห็นว่า สมควรที่จะนำรูปแบบการจัดการศึกษาของสถาบันต่างๆมาใช้ เช่น สถาบันพระปกเกล้า และ ผู้เขียนมีความประทับใจกับกิจกรรมของสถาบันทางธุรกิจหนึ่งที่จัดกิจกรรม เดอะบอสส์ เป็นการรวมสร้างเครือข่ายนักธุรกิจ กิจกรรมเดอะบอสส์ จัดดำเนินการโดย สถาบันการบริหารและจิตวิทยา หรือ Management & Psychology Institute (MPI)
ในการนี้ผู้เขียนขอนำเรื่องราวของ Management & Psychology Institute (MPI) ซึ่งสถาบันนี้จัดตั้งโดย "ศ.ดร.หลุย จำปาเทศ" ต่อมาบุตรสาว "ดร. มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ" ก็เข้ามาสานต่อธุรกิจจึงถือเป็นเจนเนอเรชั่นที่สอง
และเป็นเพราะดร.
มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ ต้องการเดินบนเส้นทางสายธรรม เลยได้ฝากฝัง Management
& Psychology Institute (MPI) ไว้ให้อยู่ภายใต้การดูแลของ
"ดร.วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์" ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กับ
"พิเชษฐ์ เวชสุภาพร" ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการฝ่ายวิชาการของสถาบัน
Management & Psychology Institute (MPI) ในวิสัยทัศน์เจนเนอเรชั่นที่ 3
ดร.วิสุทธิ
กล่าวว่าจากนี้ไป Management
& Psychology Institute (MPI) จะมีการบริหารจัดการในรูปแบบของ Committee
คือมีคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยนักธุรกิจที่ล้วนจบหลักสูตร The
Boss เป็นลูกศิษย์ของ ดร.หลุยส์ จำปาเทศ ตลอดจนนักวิชาการที่มีชื่อเสียง
"พวกเราตกลงกันว่าจะยังรักษา และคงไว้ซึ่งปรัชญาของ Management & Psychology Institute (MPI) ที่ว่าด้วยการเพิ่มคุณค่าของคน และองค์กร ให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่ต้องการจะมุ่งเน้นให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ คุณธรรมและจริยธรรมของนักธุรกิจ เนื่องจากเห็นว่ามีความจำเป็นต่อบ้านเมือง ต่อโลกใบนี้ และต่อธุรกิจเอง"
นักธุรกิจไม่ควรนำผลประโยชน์สูงสุดเป็นตัวตั้งในการดำเนินธุรกิจ
แต่ควรตระหนักถึงการสร้างประโยชน์ต่อสังคมต่อส่วนรวม
นอกจากนั้น
ยังจะมีการปรับสัดส่วนของการเรียนการสอน
โดยไม่มุ่งสอนในตำราทว่าจะมีนักธุรกิจที่มากประสบการณ์มาช่วยชี้แนะแนวทางมากขึ้น
อย่างไรก็ตามยังจะมีการคงความเข้มข้นในเชิงวิชาการเช่นเดิม
One Stop Service คือเป้าหมายใหญ่ของ Management & Psychology Institute (MPI)
ความหมายก็คือ
การเป็นที่พึ่งพาของนักธุรกิจและธุรกิจได้ในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้
ความร่วมมือ เงินทุน ฯลฯ ซึ่งดร.วิสุทธิบอกว่าภายในเวลา 5-7
ปีจากนี้จะต้องทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้
วิธีการก็คือ
การนำ Management
& Psychology Institute (MPI) เข้าตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการขยายงานเพื่อยกระดับ 'สถาบัน'
สู่ความเป็น 'มหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ทั้งนั้นในเวลานี้เอง
Management
& Psychology Institute (MPI) ก็ไม่ได้ยืนอยู่โดดๆ เพียงลำพัง
"หลักสูตร
The
Boss ที่มีชื่อเสียงของ Management & Psychology
Institute (MPI) นั้นปัจจุบันมีลูกศิษย์ที่เป็นผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ
ทั่วประเทศไทยมากกว่า 4,000 คน ตัวของผมเองเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ
และเป็นผู้ก่อตั้งสมาคม รวมถึงมูลนิธิ The Boss ด้วย
ดังนั้นเมื่อพูดถึง The Boss จึงหมายถึง 3 องค์กร นั่นคือ MPI
,สมาคม และมูลนิธิ ซึ่งเปรียบเป็นฐานที่แข็งแกร่ง"
ส่วนบทบาทขององค์กรทั้งสามยังได้ครอบคลุมถึงปรัชญาของ
The
Boss ที่ว่า สร้างสรรค์สังคม(มูลนิธิเป็นผู้รับผิดชอบ)
สั่งสมวิชาการ (MPIเป็นผู้รับผิดชอบ) และประสานประโยชน์
(สมาคมเป็นผู้รับผิดชอบ)
โดยในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
ดร.วิสุทธิ บอกว่าจะมีการจัดงาน Home Coming Day เพื่อเป็นการเชื่อมโยงสานสัมพันธ์
คณาจารย์ มวลสมาชิก และศิษย์เก่าของMPI ให้มาร่วมกันผนึกกำลังในการสร้างสรรค์สังคม
อย่างไรก็ดี
ดร.วิสุทธิบอกว่า เมื่อทุกๆ เรื่องบรรลุเป้าหมายแล้ว
เขาก็จะวางมือแล้วส่งต่อให้เจนเนอเรชั่นที่ 4 ต่อไป
สำหรับ พิเชษฐ์
ในฐานะที่ต้องดูแลงานด้านวิชาการ
ซึ่งชีวิตจริงของเขาเป็นนักธุรกิจหาได้เป็นนักวิชาการแต่อย่างไรได้กล่าวว่า
หลักสูตรการเรียนการสอนของ MPI จากนี้จะอยู่ภายใต้หลักการ 3 ข้อ
ได้แก่
1. Customer
Centric หรือการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
"เราจะดีไซน์หลักสูตรตามจริตของผู้เรียน
ถ้าเป็นผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นเรื่องของมุมมองวิสัยทัศน์
ถ้าเป็นระดับผู้จัดการต้องเป็นเรื่องของความรู้และวิธีปฏิบัติให้มากขึ้น
และพอลงลึกไปถึงระดับหัวหน้างานเราก็จะสอนการปฏิบัติการจริงๆ"
2. Up to date หรือมีความทันยุคทันสมัย
3. Implementation
หรือต้องนำไปใช้ได้จริง
พิเชษฐ์ บอกว่า
ส่วนตัวของเขานั้น ทุกหลักสูตรของ MPI ไม่ว่าจะเป็นThe
Boss ,The Manager ฯลฯ
สามารถตอบโจทย์ในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้เป็นเพราะวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของดร.หลุย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ 25
ปีก่อนหลักสูตร The Boss ได้สอนเขาถึงเรื่องของความยั่งยืน
หรือ Sustainability ทั้งที่ประเทศไทยเพิ่งมาได้ยินเรื่องนี้กันถี่ๆ
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เป็นต้น
"สัญลักษณ์ของหลักสูตร
The
Boss ก็คือนกอินทรี ซึ่งมีจุดเด่น 3 ข้อ นั่นคือ วิสัยทัศน์กว้างไกล
ใฝ่บินสูง และจูงใจคน "
และแน่นอนด้วย
32 วิชาที่บรรจุหลักสูตร The
Boss สามารถทำให้ลูกศิษย์เป็นนกอินทรีได้ทุกคน
MPI เตรียมความพร้อมอะไรเกี่ยวกับ AEC แล้วบ้าง?
"เป็นคำถามที่ถูกถามอยู่เสมอ ซึ่งที่เราได้ทำไปแล้วก็คือ การจัดสัมมนาหัวข้อ Perspective on AEC เพื่อให้ความรู้ วิสัยทัศน์ และทิศทางของ AEC กับนักธุรกิจ เราได้เติมความรู้เกี่ยวกับ AEC ลงในหลักสูตรการเรียนการสอน และได้มีการจัดโครงการ Learn on the road นำนักธุรกิจศึกษาเส้นทางการทำธุรกิจยังสถานที่จริงบนเส้นทางเมืองคุนหมิงสู่กรุงเทพ"