Ahad, 17 November 2013

นโยบายภูมิบุตร (Bumiputra) ของมาเลเซีย : สิ่งที่ผู้สนใจหลักการนี้ไม่เคยกล่าวถึง "สัญญาประชาคม (Social Contract)"

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้รับอีเมล์ฉบับหนึ่งจากนักศึกษาภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาแถวสามย่านกรุงเทพฯ สอบถามเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศมาเลเซีย ในเรื่องของนโยบายภูมิบุตราของประเทศมาเลเซีย  


คำถามของนักศึกษาคนนั้นน่าสนใจยิ่ง โดยให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องภูมิบุตร คำถาม เช่น นโยบายภูมิบุตราขัดกับหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมมาเลซียหรือไม่ เพราะเหตุใด ในขณะที่กระแสโลกกาภิวัฒน์ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค เป็นที่รัฐควรมีให้กับพลเมืองโดยเท่าเทียมกัน


ผมถึงคิดว่าคำถามนี้ไม่สมควรที่จะตอบนักศึกษาผู้นั้นคนเดียว น่าจะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะได้รับรู้อีกด้วย เพื่อว่าเราจะได้รับความเป็นมาของหลักนโยบายดังกล่าว ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมนโยบายดังกล่าวยังคงต้องมีอยู่ต่อไป
ก่อนที่เราจะมารับรู้ถึงทำไมต้องมีนโยบายภูมิบุตร ทำไมชาวมลายูต้องได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม เราควรมารับรู้ถึงการเกิดขึ้นของหลักการหนึ่งในประเทศมาเลเซีย นั้นคือหลักการ Social Contract หรือว่า การตกลงทางสังคม

Social Contract (สัญญาประชาคม)เมื่อเราศึกษาถึงประเทศมาเลเซีย  จะต้องกล่าวถึงหลักการ Social Contract ด้วย  คำนี้อาจไม่เป็นที่เผยแพร่มากนัก  ในรัฐธรรมนูญมาเลเซียไม่มีการกล่าวถึงคำว่า Social Contract หรือ kontrak sosial โดยชัดเจน นอกจากนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายหรือเอกสารทางราชการที่กล่าวถึง Social Contract อย่างละเอียด[1]    

การเกิดขึ้นของ Social Contract ในสังคมมาเลเซียนั้น  เป็นความเห็นชอบของบรรดาผู้นำทางการเมืองเชื้อชาติต่างๆในประเทศมาเลเซียในช่วงยุคการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศมาเลเซีย  

ด้วยเดิมนั้นชาวมลายูและชนพื้นเมืองดั้งเดิมถือว่าพวกเขาเป็นเจ้าของประเทศมาตั้งแต่เดิม  เมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองมาลายา  ได้นำเข้าแรงงานชาวจีนจากประเทศจีนและชาวอินเดียจากบรรดาประเทศในชมพูทวีป  เมื่อมาลายาจะได้รับเอกราชนั้น  จึงมีความเห็นชอบของบรรดาผู้นำเชื้อชาติต่างๆ ทั้งชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดียต่อหลักการ Social Contract  โดยชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆต้องยอมรับให้ชาวจีนและชาวอินเดีย รวมทั้งชนเชื้อสายอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวมลายูและชนพื้นเมืองสามารถเป็นผู้มีสัญชาติมาลายาได้  

ในทางกลับกันชาวจีนและชาวอินเดีย รวมทั้งชนเชื้อสายอื่นๆที่ไม่ใช่ชาวมลายูและชนพื้นเมืองก็ต้องยอมรับถึงการมีสิทธิพิเศษ และการคงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ของชาวมลายู  และเมื่อมีการจัดตั้งประเทศมาเลเซียขึ้นมา  หลักการ Social Contract จึงครอบคลุมถึงรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัคด้วย[2]

เป็นการตกลงของบรรดาผู้นำทางการเมืองโดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยได้กำหนดไว้ในมาตรา 14-18 เกี่ยวกับการให้สัญชาติมาเลเซียแก่บุคคลที่ไม่ใช่ชาวมลายู กับมาตรา 153 ที่ได้กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของพระราชาธิบดีในการปกป้องผลประโยชน์ชาวมลายูและภูมิบุตร


มาตรา 153 รัฐธรรมนูญมาเลเซียให้อำนาจต่อพระราชาธิบดีในการปกป้องสิทธิพิเศษของคนมลายูและภูมิบุตรมาเลเซีย (Bumiputra Malaysia)
รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(Kuota)ในด้านต่างๆ เช่น

ข้าราชการพลเรือน
-ข้าราชการพลเรือน(Perkhidmatan Awam)
-ทุนการศึกษา(Biasiswa)
-การศึกษา(Pendidikan)
รัฐบาลกลางได้ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มดังกล่าวโดยการจัดโควตา(Kuota)ในด้านต่างๆ เช่น-ข้าราชการพลเรือน(
-ข้าราชการพลเรือน( -ข้าราชการพลเรือน(Perkhidmatan Awam)
-ทุนการศึกษา(Biasiswa)
-การศึกษา(Pendidikan)การมีนโยบายเพื่อปกป้องชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆ ที่รวมเรียกว่าชาวภูมิบุตร หรือ Bumiputra นี้ เพื่อเป็นหลักประกันทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของชาวภูมิบุตร  ด้วยสถานะทางเศรษฐกิจนั้นปรากฏว่าชาวภูมิบุตรยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าชนเชื้อชาติอื่นๆ


แม้ชาวภูมิบุตรจะเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่มีอำนาจทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆค่อนข้างห่างกันมาก ภายหลังเกิดเหตุการณ์นองเลือดในประเทศมาเลเซีย ทางรัฐบาลมาเลเซียจึงมีนโยบายในการลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆ


จาก ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาเศรษศาสตร์เรื่อง The Political Economy of Restructuring in Malaysia ของ Low Kam Yoke จากมหาวิทยาลัยมาลายา ปี 1985 หน้า 26 เขียนว่า ในสมัยตนกูอับดุลอับดุลราห์มานปุตรา ก็มีการพยายามที่จะส่งเสริมทุนนิยมของชาวภูมิบุตร แต่ไม่ได้ผลมากนัก   


โดยในปี 1970 ชาวภูมิบุตรที่เป็นชาวเจ้าหรือหุ้นส่วนในอุตสาหกรรมสำคัญๆยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก มีชาวภูมิบุตรเป็นเจ้าของกิจการเพียง 1.9 %  ส่วนชาวจีนมี 22.5 %  ชาวอินเดีย 1.0 % และชาวยุโรปรวมทั้งอังกฤษ เป็นเจ้าของกิจการสูงถึง 60.7 %  


เมื่อรัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายภูมิบุตร ส่งเสริมชาวภูมิบุตรในมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางช่องว่างระหว่างชาวภูมิบุตรกับชนชาวอื่นๆ 


ดร. ชัยโชค จุลศิริวงศ์ ในงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง มาเลเซีย หน้า 146-147 ได้อ้างอิงจากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซีย ฉบับที่ 3-4-6-7 ได้กล่าวว่า
ความยากจนแยกตามอัตราส่วนของกลุ่มเชื้อชาติแหลมมลายูในปี 1970
ความยากจนของชาวมลายูในแหลมมลายู มี 64.8 %
 ความยากจนของชาวจีนในแหลมมลายู มี 26.0 %
ความยากจนของชาวอินเดียในแหลมมลายู มี 39.2 %


ในปี 1990
ความยากจนของชาวมลายูในแหลมมลายู มี 20.8 %
ความยากจนของชาวจีนในแหลมมลายู มี 5.7 %
ความยากจนของชาวอินเดียในแหลมมลายู มี 8.0 %


รัฐซาบะห์  ในปี 1976
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาบะห์  มี 82.9 %
 ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาบะห์  มี 5.7 %
ในปี 1990
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาบะห์  มี 41.2 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาบะห์  มี 4.0 %


รัฐซาราวัค  ในปี 1976
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาราวัค  มี 85.9 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาราวัค  มี 14.0 %
ในปี 1990
ความยากจนของชาวภูมิบุตรในรัฐซาราวัค    มี 28.5 %
ความยากจนของชาวจีนในรัฐซาราวัค  มี 4.4 %


อัตราส่วนการถือหุ้นในบริษัทจำกัด ในปี 1970, 1990 และ 1995ชาวภูมิบุตร ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 2.4 %  1990 มี 19.3 % และ 1995 มี 20.6 %
ชาวจีน ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 27.2 %  1990 มี 45.5 % และ 1995 มี 40.9 %
ชาวอินเดีย ปี 1970 การถือหุ้นในบริษัทจำกัด 1.1 %  1990 มี 1.0 % และ 1995 มี 1.5 %

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่านโยบายภูมิบุตร เป็นนโยบายที่สร้างขึ้นว่าเพื่อพิทักษ์ ปกป้องชนชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆ แม้ว่าจะมีนโยบายภูมิบุตร จะในนามของนโยบายเศรษฐกิจ หรือ Dasar Ekonomi Baru (New Economy Policy) และนโยบายพัฒนาประเทศ หรือ Dasar Pembangunan Negara (National Development Policy) ขึ้นมา 

และปัจจุบันได้ใช้ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ Model Ekonomi Baru (New Economy Model) ก็เพื่อลดชิองว่างความยากจน ลดช่องว่างของการถือสินทรัพย์ของประเทศ และจนถึงปัจจุบัน ชาวมลายูและชาวพื้นเมืองอื่นๆ ที่รวมกันถูกเรียกว่าชาวภูมิบุตร โดยรัฐบาลมีเป้าหมายจะให้ชาวภูมิบุตรมีอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเพียง 30 % ของทั้งหมด แต่จนถึงปัจจุบันเป้าหมายดังกล่าวก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้
[1] สัมภาษณ์ ดร. กุสนี  ซาอัด (Dr. Gusni  Saad) อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย   เมื่อ 21
    มกราคม  2551
[2] Mahdi Shuid, Pengajian Malaysia, Petaling Jaya : Longman , 1998 หน้า 46

Tiada ulasan: