Rabu, 24 April 2013

การฝึกงานของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา มอ. ปัตตานีในประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
วิชาเอกมลายูศึกษา ม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นสาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรมมลายู  แม้จะไม่มีการบังคับให้นักศึกษามลายูศึกษาฝึกงานในช่วงเวลาปิดเทอมฤดูร้อน แต่ส่วนใหญ่นักศึกษาจะมีการฝึกงานในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน นอกจากที่ได้มีการฝึกงานในประเทศแล้ว บางคนยังไปฝึกงานในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะที่สถานกงสุลของประเทศไทยในเมืองชายแดนของมาเลเซีย เช่น เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน เมืองยอรจเทาว์น รัฐปีนัง

ผู้เขียนเชื่อว่าการฝึกงานในประเทศเพื่อนบ้านเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานของหน่วยงานในประเทศเพื่อนบ้าน แต่สำหรับการฝึกงานในสถานกงสุลไทยในประเทศมาเลเซียนั้น แม้จะต้องมีการใช้ภาษามลายู หรือภาษาอังกฤษกับผู้คนที่มาติดต่อ แต่วิธีการทำงานเชื่อว่าก็ยังคงมีวิธีการทำงานแบบไทยอยู่ ผู้เขียนเชื่อว่าการฝึกงานกับหน่วยงานของชาวมาเลเซียโดยตรงน่าจะให้ประสบการณ์กับนักศึกษามากกว่า

เมื่อปีที่ผ่านๆมา ผู้เขียนเคยประสานงานกับหน่วยงานราชการในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อทางหน่วยงานดังกล่าวยินดีรับนักศึกษาของสาขาวิชาเอกมลายูศึกษาแล้ว จึงทำเรื่องขอฝึกงาน แต่ปรากฎว่าด้วยนักศึกษาของเราเป็นนักศึกษาต่างชาติ จึงต้องอนุญาตจากหน่วยงานที่สูงกว่า  ซึ่งทางหน่วยงานดังกล่าวก็ได้ประสานกับหน่วยงานที่สูงกว่า แต่ด้วยหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าวสุขภาพไม่ดี เขาจึงไม่ได้ไปติดต่อประสานขออนุญาตจากหน่วยงานที่สูงกว่า ทั้งๆที่ทางหน่วยงานที่สูงกว่าแทงหนังสือมาว่ายินดีใหเฝึกงาน แต่สถานที่จะฝึกงานตั้งอยู่ห่างจากที่ตั้งหน่วยงานที่สูงกว่าประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร ทำให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา

แต่ในปีนี้นับเป็นเรื่องโชคดีที่สามารถประสานงานกับหน่วยงานราชการในประเทศมาเลเซีย เพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกงาน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ก็จะเป็นบรรทัดฐานของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาในการขอฝึกงานของรุ่นต่อๆไป

ประมวลภาพการฝึกงานของนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา


การฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐกลันตัน
การฝึกงานที่มหาวิทยาลัยเบสตารี  อำเภอสติว  รัฐตรังกานู

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐกลันตัน มีชื่อเต็มว่า Perbadanan Muzium Negeri Kelantan หรือ องค์กรพิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐกลันตัน โดยทำหน้าที่ดูแล บริหารพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จำนวน 6 แห่งในเมืองโกตาบารู เช่น พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน พิพิธภัณฑ์อิสลาม พิพิธภัณฑ์สงคราม พิพิธภัณฑ์เจ้าผู้ครองรัฐ พิพิธภัณฑ์หัตถกรรม ฯลฯ สำหรับการฝึกงานของนักศึกษามลายูศึกษา จะเป็นการฝึกงาน ช่วยงานร่วมกับนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมาเลเซียกลันตัน 1 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบะห์ 2 คน โดยทำหน้าที่จัดระเบียบหนังสือที่ครอบครัวนักเขียนนามอุโฆษ ชื่อ นายอับดุลลอฮ  นากูนา ได้บริจาคหลังจากที่เขาเสียชีวิต

ทางพิพิธภัณฑ์ได้แจ้งว่าแม้เวลาราชการของทางพิพิธภัณฑ์จะอยู่ระหว่าง 09.00 - 17.00 น. นั้นคือถ้าเป็นเวลาไทยก็จะเป็น 08.00-16.00 น. นับว่าเป็นเวลาที่ค่อนข้างจะเช้าสำหรับพวกเราในประเทศไทย แต่บังคับให้นักศึกษาฝึกงานต้องมาถึงสำนักงานเวลา 08.00 น. หรือเวลาตามประเทศไทยก็  07.00 น. ด้วยตั้งแต่เวลา 08.00-09.00 น. ก่อนเวลาทำการของสำนักงานนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จะใช้เวลาช่วงนั้นเป็นการทำกิจกรรมทางศานาอิสลาม ที่เรียกว่า Tazkirah เป็นการบรรยายธรรม ถกปัญหาศาสนา ฯลฯ ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับการที่รัฐกลันตันอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือ Parti Islam SeMalaysia (PAS)
คุณอับดุลราห์มาน  บินอับดุลลอฮ ผอ. พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน
มหาวิทยาลัยเบสตารี หรือ University College Bestari (UCB) ได้รับการยกฐานะจากวิทยาลัยเบสตารีเมื่อปี 2011 ส่วนวิทยาลัยเบสตารีนั้นจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ทั้งหมด 700 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่าปุตราจายา อำเภอสติว รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย เปิดสอนในระดับอนุปริญญาจนถึงปริญญาโท ในสาขาต่างๆ เช่น บริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ พยาบาลศาสตร์ ฯลฯ


 ท่องเที่ยวที่รัฐตรังกานู ก่อนเริ่มการฝึกงาน
การฝึกงานของสามนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษานั้น ทางมหาวิทยาลัยได้จัดในนักศึกษาทั้งสามคนฝึกในหน่วยงานที่แตกต่างกัน คือ หน่วยงานฝ่ายห้องสมุด หน่วยงานฝ่ายบริหาร และหน่วยงานฝ่าย ICT แต่ทั้งสามคนก็ต้องร่วมกันในการแปลเอกสารต่างๆสำหรับประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเบสตารีเป็นภาษาไทย นักศึกษาที่ฝึกงานที่มหาวิทยาลัยเบสตารี ประกอบด้วย นางสาวรุสมีมี  หะยีมือลี  นางสาวรุสนี  เดะซอ  และนางสาวพีรดาว  ปูแล

การฝึกงานในมหาวิทยาลัยเบสตารี รัฐตรังกานูของนางสาวรุสมีมี หะยีมือลี

การฝึกงานของนางสาวรุสนี  เดะซอ

การฝึกงานของนางสาวพีรดาว  ปูแล

สามนักศึกษาฝึกงานกับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเบสตารี รัฐตรังกานู

Tiada ulasan: