Rabu, 7 Julai 2010

นักศึกษามหาวิทยาลัยบรูไนพบปะนักศึกษา มอ. ปัตตานี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
สำหรับการเรียนการสอนของข้าพเจ้าในม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีนั้น ข้าพเจ้ามักบอกนักศึกษาว่าการสอนของข้าพเจ้าในชั้นเรียนนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความรู้ที่พวกเขาจะได้รับ พวกเขาต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในหอสมุด จอห์น เอฟ. เคเนดี้ของม. สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือหอสมุดอื่นๆ นอกจากนั้นวิชาของข้าพเจ้าส่วนหนึ่งจะเป็นการลงพื้นที่ภาคสนาม ทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรืออินโดเนเซีย การลงภาคสนามก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่พวกเขาจะได้รับความรู้ ประสบการณ์นอกจากในชั้นเรียน และเป็นเรื่องปกติของข้าพเจ้าที่เมื่อมีคนรู้จักจากถิ่นอื่นมาเยี่ยมมหาวิทยาลัย มักได้รับเชิญให้บรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่คนเหล่านั้นมีความชำนาญเฉพาะ หรือเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สัมผัสมา ในในโอกาสที่คณะนักศึกษาอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม เดินทางมาลงภาคสนาม มาช่วยสอนภาษามลายูและภาษาอังกฤษเป็นเวลา 1 เดือนที่จังหวัดปัตตานี และในโอกาสที่ก่อนจะเดินทางกลับประเทศบรูไน ข้าพเจ้าจึงเชิญพวกเขามาพบปะ พูดคุยกับนักศึกษาวิเอกมลายูศึกษา ด้วยนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาต้องเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศบรูไนตั้งแต่ปี 2 จนถึงจบการศึกษา สำหรบการพบปะของนักศึกษาบรูไนในครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือประสานงานจากผศ.อาริน สะอีดี, ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี

สภาพภายในห้องเรียนที่นักศึกษาบรูไนพบปะกับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา

ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหน้าห้องเรียน

ผศ.อาริน สะอีดี, ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มอ.ปัตตานี ร่วมสังเกตุการณ์ด้วย

นางสาวไลลา อาแว ตัวแทนนักศึกษากำลังกล่าวขอบคุณนักศึกษาบรูไน

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลามที่เป็นนักศึกษาอาสาสมัครมาสอนภาษามลายูและภาษาอังกฤษแก่โรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามและโรงเรียนสาธิต ม. สงขลานครินทร์ ปัตตานี ที่ได้เข้าร่วมพบปะกับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษามี 8 คนประกอบด้วยนักศึกษาชาย 2 คน และนกศึกษาหญิง 6 คน มีดังนี้

นางสาว Azimah bt. Haji Salleh นักศึกษาสาขาการบัญชีและการเงิน

นางสาว Noraimah bt. Said นักศึกษาสาขาประวัติศาสตร์

นางสาว Dayangku Siti Hasinah bt. Pengiran Sazali นักศึกษาสาขานโยบายศึกษา

นาย Aizuddin นักศึกษาสาขานโยบายศึกษา

นาย Azri นักศึกษาสาขานโยบายศึกษา

นางสาว Siti Salmiah นักศึกษาสาขานโยบายศึกษา

นางสาว Norhidayah bt. Naruddin นักศึกษาสาขานโยบายศึกษา

นางสาว Ayshah bt. Kamaruddin นักศึกษาสาขาสังคมวิทยา

กำลังพูดภาษามลายูบรูไน และภาษาเกอดายันให้นักศึกษาฟัง ปรากฎว่านักศึกษาสั่นหัวไม่เข้าใจภาษาเดอกายัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดเผ่าของชาวมลายูบรูไน

กำลังอธิบายเกี่ยวกับประเทศบรูไน

กำลังอธิบายเกี่ยวกับประเทศบรูไนให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาฟัง

กำลังอธิบายเกี่ยวกับประเทศบรูไนให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาฟัง

กำลังร้องเพลงชาติบรูไนที่ชื่อว่า "Allah Peliharakan Sultan"ให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาฟัง

กำลังอธิบายเกี่ยวกับประเทศบรูไนให้นักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษาฟัง

นักศึกษาบรูไนกำลังเขียนชื่อกลุ่มชนเผ่าต่างๆในประเทศบรูไน

การเมืองการปกครองประเทศบรูไน
ประเทศบรูไนแบ่งการปกครองออกเป็นเขตหรืออำเภอ เรียกเป็นภาษามลายูว่า daerah
มีเขตหรืออำเภอดังต่อไปนี้ :
•1.Brunei Muara
•2.Belait
•3.Tutong
•4.Temburong

ในเขตหรืออำเภอต่างๆของประเทศบรูไนนั้นแบ่งออกเป็น 38 ตำบล ประกอบด้วย
•1.Mukim Kianggeh
•2.Mukim Berakas 'A'
•3.Mukim Berakas 'B'
•4.Mukim Kota Batu
•5.Mukim Gadong
•6.Mukim Kilanas
•7.Mukim Sengkurong
•8.Mukim Pengkalan Batu
•9.Mukim Lumapas
•10.Mukim Sungai Kebun
•11.Mukim Tamoi
•12.Mukim Burung Pinggai Ayer
•13.Mukim Sungai Kedayan
•14.Mukim Kampong Peramu
•15.Mukim Saba
•16.Mukim Serasa
•17.Mukim Mentiri
•18.Mukim Kuala Belait
•19.Mukim Seria
•20.Mukim Liang
•21.Mukim Kuala Balai
•22.Mukim Labi
•23.Mukim Bukit Sawat
•24.Mukim Sukang
•25.Mukim Melilas
•26.Mukim Pekan Tutong
•27.Mukim Keriam
•28.Mukim Telisai
•29.Mukim Tanjong Maya
•30.Mukim Kiudang
•31.Mukim Ukong
•32.Mukim Lamunin
•33.Mukim Rambai
•34.Mukim Bangar
•35.Mukim Labu
•36.Mukim Batu Apoi
•37.Mukim Amo
•38.Mukim Bokok

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศบรูไน
ประชากรชาวบรูไนมีประมาร 388,000 คน
ตามรัฐธรรมนูญประเทศบรูไน ฉบับปี 1984 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถือว่าเป็นชนพื้นเมืองของประเทศบรูไนประกอบด้วย 7 ชนเผ่า คือ
1.Melayu Brunei
2.Kedayan
3.Tutong
4.Dusun
5.Belait
6.Murut
7.Bisaya
นอกจากนั้นยังมีชาวอังกฤษ จีน อินเดีย และชนกลุ่มน้อยที่มาจากรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคของมาเลเซีย

หลังจากที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลามได้อธิบายเกี่ยวกับประเทศบรูไนเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศบรูไน การเมืองการปกครอง อาหารการกินของชาวบรูไน ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบรูไน และตอบคำถามต่างๆของนักศึกษาแล้ว ก่อนจบรายการก็ได้มีการถ่ายรูปร่วมกันระหว่างนักศึกษาบรูไนกับนกศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา

ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการพบปะระหว่างนักศึกษาบรูไนกับนักศึกษาวิชาเอกมลายูศึกษา คือการที่นักศึกษาของวิชาเอกมลายูศึกษามีความกล้าในการตั้งคำถาม มีการถามด้วยภาษามลายูกลาง ไม่มีใครถามด้วยภาษาไทย แล้วต้องแปลเป็นภาษามลายู

นายฮัมดัน ประธานนักศึกษาปีสี่กำลังปรึกษาว่าจะถามอะไรเรื่องอะไรดี

สภาพบรรยากาศในห้องเรียนวันที่นักศึกษาบรูไนมาพบปะกับนักศึกษา มอ. ปัตตานี

นักศึกษาบรูไนได้แบ่งเนื้อหาที่แต่ละคนจะพูดคุย บางคนพูดสภาพภูมิศาสตร์ของบรูไน แล้วเปิดโอกาสให้นักศึกษา มอ. ปัตตานีถามในสิ่งที่ตนเองสงสัย หรือไม่เข้าใจ สำหรับคำตอบนั้นบางครั้งนักศึกษาบรูไนที่พูดก็จะตอบคำถาม บางครั้งก็โยนให้เพื่อนอีกคนเป็นคนตอบ

สภาพบรรยากาศในห้องเรียน

สภาพบรรยากาศในห้องเรียน

นักศึกษา มอ.ให้ความสนใจในการฟัง

นักศึกษา มอ. ปัตตานี เมื่อฟังการอธิบายถึงสภาพภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน การเมือง การปกครอง ของนักศึกษาบรูไนแล้ว ไม่เพียงมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหารการกิน การเมือง การปกครองของประเทศบรูไนเท่านั้น แต่นักศึกษาหลายคนถามถึงความรู้สึกของนักศึกษาบรูไนที่มีต่อมอ. ปัตตานี และจังหวดชายแดนภาคใต้ทั้งก่อนการเดินทางมาและหลังจากที่ได้มาอยู่ที่จังหวัดปัตตานีเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้ว

สภาพในห้องเรียนวันที่นักศึกษาบรูไนมาร่วมพบปะนักศึกษา มอ. ปัตตานี

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียน

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียน

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียน

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียน

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียน

นักศึกษา มอ. ในห้องเรียนกำลังฟังการอธิบายของนกศึกษาบรูไน

สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน

ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม
มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม(Universiti Brunei Darussalam)เขียนเป็นภาษามลายูอักขระยาวีว่า يونيبرسيتيبرونيدارالسلام มีชื่อย่อว่า UBD เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศบรูไน นอกจากนั้นยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่รับจำนวนนักศึกษาและมีจำนวนของหลักสูตรที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เป็นเวลาหลังจากกประเทศได้รับเอกราชเพียงหนึ่งปี โดยมีการรับนักศึกษาครั้งแรกจำนวน 176 คน ต่อมาในปี 1988 ก็ได้มีการรวมสถาบันการศึกษาที่ชื่อว่า Sultan Hassanal Bolkiah Institute of Education เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย

ตราสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม

พันธกิจของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศบรูไนดารุสสาลาม จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นเลิศโดยผ่านการสอน การวิจัย และการบริการในทุกพื้นที่ที่สำคัญต่อประเทศบรูไน

การสอนถือเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม โดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในด้านความเป็นเลิศของความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม คุณธรรมและจิตสำนึก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตามความต้องการของประเทศและสอดคล้องกับปรัชญาของชาติ

การวิจัยเป็นภารกิจที่สองของมหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของประเทศ มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลามจะส่งเสริมและดำเนินการวิจัยโดยเฉพาะในด้านจุดเด่นและเชิงเปรียบเทียบตามความต้องการของชาติ

ภารกิจที่สามของมหาวิทยาลัยเป็นภารกิจการบริการเพื่อชุมชน สร้างเพิ่มจำนวนบุคคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความสามารถและทักษะที่สูง และมีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้การบริการต่อชุมชน

นำโปรแกรม GenNextมาใช้ โดยเริ่มในปี 2009 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบใหม่ของบัณฑิต อันจะทำให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนที่เป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลยที่ดีที่สุดในโลก

อาคารต่างๆของมหาวิทยาลัยบรูไนดารุสสาลาม

คณะต่างๆของมหาวิทยาลัย
1.สถาบันสุลต่านฮัสซันนาลบอลเกียะห์เพื่อการศึกษา (Sultan Hassanal Bolkiah Institute of Education)
2.สถาบันแพทยศาสตร์ (Institute of Medicine)
3.คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Arts and Social Sciences)
4.คณะบริหารธุรกิจ, เศรษฐศาสตร์และนโยบายศึกษา(Faculty of Business, Economics and Policies Studies)
5.สถาบนสุลต่านฮัจญีโอมาร์อาลีซัยฟุดดินเพื่ออิสลามศึกษาSultan Haji Omar Ali Saifuddien Institute of Islamic Studies (SHOAIIS)
6.คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)
7.สถาบันบรูไนศึกษา (Academy of Brunei Studies)

Tiada ulasan: