โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ
บินนิฮัสซัน
เมื่อสัก 20 ปีก่อน ทางคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย ประกอบด้วยอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ด้านวรรณกรรม และด้านเศรษฐกิจ ได้ลงพื้นที่มายังสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และภาคใต้ตอนบน ส่วนนักศึกษาร่วมลงพื้นที่ มีผมจะศึกษาด้านสังคมวัฒนธรรม มีอาจารย์ @ แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะศึกษาด้านวรรณกรรม ผมได้บรรยายระหว่างจากด่านสุไหงโกลกจนถึงสุสานสุลต่านอิสมาแอลชาห์ สุสานรายาบีรู รายาอูงู อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ถามว่า บริเวณนี้ยังมีสถานที่สำคัญอีกไหม ผมตอบว่า หมดแล้วครับ ท่านเลยถามต่อว่า แล้วกูโบร์รายาโต๊ะกี (นิยูโซ๊ะ)อยู่ที่ไหน ผมตกม้าตาย จากความมั่นใจในตัวเองว่า รู้เรื่องประวัติศาสตร์ปาตานีกว่าอาจารย์ชาวมาเลเซีย ก็ตอบท่านว่า ไม่ทราบครับ ท่านเลยพาไปรู้จักกูโบร์รายาโต๊ะกี(นิยูโซ๊ะ) ขอใช้ของภาพคุณกูนาเซร์ อับดุลบุตร แม้ผมจะรู้จักเรื่องราวของรายาโต๊ะกี(นิยูโซ๊ะ) ตั้งแต่สมัยยังเรียนที่สำนักลูกพ่อขุน แต่สถานที่และเรื่องราวลึกๆไม่ทราบ
ยังสงสัยว่า
เด็กน้อยจะเดินทางกับกองทัพสยามไปยังกรุงเทพได้อย่างไร แต่คุณกูนาเซร์ อับดุลบุตร ก็ได้อธิบายว่า เด็กน้อยได้เดินทางไปกับพ่อชื่อวันฟาตัน
คงจะไปในฐานะเชลยศึก ข้อมูลส่วนกลางกับข้อมูลท้องถิ่นยังมีความคลาดเคลื่อนกันเสมอ
อย่างชื่อบุคคล พงศาวดารภาคที่ 3 พิมพ์ปี 2457 เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ปาตานีทีไร ผมจะนึกถึงกูโบร์ของรายาโต๊ะกี(นิยูโซ๊ะ)เสมอ
ในฐานะที่เป็นจุดที่ทำให้ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ปาตานีเชิงลึกมากขึ้น
และอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์จากคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยมาลายาท่านนี้
ฝั่งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ค่อยรู้จักท่านมากนัก
และท่านค่อนข้างไม่เปิดตัวในฝั่งไทย ท่านคืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ
ผศ.ดร. มูฮัมหมัดอุมาร์ จะปากียา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาตอนี จังหวัดปัตตานี
Tiada ulasan:
Catat Ulasan