Khamis, 8 Mei 2025

โลกมลายูกับมุมมองต่อสมาชิกกลุ่ม BRICS

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

BRICS เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลประกอบด้วยประเทศ 10 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย อินโดเนเซีย อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  โดยในเดือนมกราคม 2025 อินโดนีเซียได้กลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของ BRICS อย่างเป็นทางการ


แนวคิดของกลุ่ม BRICS สามารถย้อนไปถึงสมัยที่นาย Yevgeny Primakov เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียจากการที่มีการประชุม  ทั้งการประชุม RIC (รัสเซีย อินเดีย จีน) และการประชุม IBSA (อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้) เขาเสนอความคิดการวมตัวที่กรุงนิวเดลี อินเดียในปี 1998  สำหรับคำว่า BRIC เดิมทีเป็นคำที่คิดขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ ดร. Jim O'Neill Building โดยเขาได้เขียนงานขึ้นมาในชื่อ Better Global Economic BRICs เขาทำงานเป็นนักวิจัยเศษฐกิจโลกที่บริษัท Goldman Sachs และต่อมาได้รับการสนับสนุนเป็นประธานบริษัท Goldman Sachs


รัฐมนตรีต่างประเทศจาก 4 ประเทศแรกของกลุ่ม BRIC ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ได้พบกันในนครนิวยอร์กในเดือนกันยายน 2006  ในช่วงการประชุมสมัชชาของสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประชุมระดับสูงชุดหนึ่ง ต่อมามีการประชุมทางการทูตเต็มรูปแบบครั้งแรกจัดขึ้นที่เมือง Yekaterinburg ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2009 โดยมี ประธานาธิบดี Luiz Inácio Lula da Silva แห่งประเทศบราซิล  ประธานาธิบดี Dmitry Medvedev แห่งประเทศรัสเซีย นายกรัฐมนตรี Manmohan Singh แห่งประเทศอินเดีย และประธานาธิบดีหู จิ่นเทา แห่งประเทศจีน


หลังจากการประชุมสุดยอดที่เมือง Yekaterinburg ในปี 2009 ประเทศกลุ่ม BRIC ได้ประกาศถึงความจำเป็นของสกุลเงินสำรองโลกใหม่ ซึ่งจะต้อง "มีความหลากหลาย มีเสถียรภาพ และคาดเดาได้


การขยายตัวกลุ่ม BRICS ในปี 2010

ในปี 2010 ประเทศแอฟริกาใต้ได้รับคำเชิญอย่างเป็นทางการจากจีน  ประเทศแอฟริกาใต้เริ่มมีความพยายามที่จะเข้าร่วมกลุ่ม BRIC และกระบวนการสำหรับการยอมรับอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมของปี 2010 ประเทศอัฟริกาใต้กลายเป็นประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2010 และต่อมาภายหลังจากประเทศอัฟริกาใต้ได้รับการเข้าร่วมกับกลุ่ม BRIC แล้ว ชื่อกลุ่ม BRIC ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น BRICS เพื่อเพิ่มชื่อของประเทศอัฟริกาใต้เข้าในกลุ่ม BRIC ที่มีสมาชิกเดิมสี่ประเทส ในการประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 3 ในปี 2011 ที่เมืองซันยา ประเทศจีน ประธานาธิบดี Jacob Zuma ของประเทศอัฟริกาใต้เป็นตัวแทนของประเทศในฐานะสมาชิกเต็มตัวเป็นครั้งแรก สำหรับเมืองซันยา บนเกาะไหหนาน เป็นเมืองที่มีชุมชนชาวจามอยู่สองชุมชน เป็นชาวจามที่อพยพมาจากประเทศเวียดนาม


ในเดือนสิงหาคม 2023 ในการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 15 ประธานาธิบดี Cyril Ramaphosa ของประเทศอัฟริกาใต้ประกาศว่าประเทศกลุ่มตลาดเกิดใหม่ 6 ประเทศ (อาร์เจนตินา อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดีอาราเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกลุ่ม BRICS สมาชิกภาพเต็มตัวมีกำหนดจะมีพิจารณาผลในวันที่ 1 มกราคม 2024


อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศอาร์เจนตินาในเดือนพฤศจิกายน 2023 ส่งผลให้ประธานาธิบดีเปลี่ยนมาเป็นประธานาธิบดี Javier Milei ซึ่งให้คำมั่นว่าจะถอนการสมัครเป็นสมาชิกของประเทศ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2023 นาง Diana Mondino รัฐมนตรีต่างประเทศอาร์เจนตินาคนใหม่ ยืนยันว่าอาร์เจนตินาจะไม่เข้าร่วมกลุ่ม BRICS เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2023 รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ส่งจดหมายถึงผู้นำทุกคนของกลุ่ม BRICS ประกาศอย่างเป็นทางการว่าถอนตัวจากกลุ่ม BRICS


ในเดือนมกราคม 2023 ประเทศอียิปต์ ประเทศเอธิโอเปีย ประเทศอิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เข้าร่วมกลุ่ม ทำให้สมาชิกกลุ่ม BRICS เพิ่มขึ้นจาก 5 ประเทศเป็น 9 ประเทศ ในขณะที่ประเทศซาอุดีอาราเบียได้ชะลอการเป็นสมาชิก และทางประเทศซาอุดีอาราเบียไม่ได้เข้าร่วมสมาชิกกลุ่ม BRICS ในปี 2024 ตามที่วางแผนไว้ และในช่วงกลางเดือนมกราคมประเทศซาอุดีอาราเบียก็ประกาศว่ายังคงพิจารณาเรื่องนี้อยู่   หนังสือพิมพ์ China Daily ได้เสนอข่าวว่า มีประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากขึ้นที่สนใจจะเข้าร่วมสมาชิกกลุ่ม BRICS


เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 มีประเทศเพิ่มเติมอีก 13 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย เบลารุส โบลิเวีย คิวบา อินโดเนเซีย คาซัคสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ไทย ตุรกี ยูกันดา อุซเบกิสถาน และเวียดนาม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในฐานะ "ประเทศคู่ค้า"


เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2025 อินโดเนเซียได้เข้าร่วมกลุ่ม BRICS อย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิกเต็มตัว ทำให้เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมกลุ่ม BRICS  และอินโดเนเซียเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ของกลุ่ม BRICS การเสนอตัวของอินโดเนเซียได้รับการขานรับจากกลุ่ม BRICS ในปี 2023 แต่ประเทศอินโดเนเซียได้ขอเข้าร่วมหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จัดขึ้นในปี 2024


การตัดสินใจของอินโดนีเซียที่จะเข้าร่วม BRICS ถือเป็นบทใหม่ของการทูต บราซิลในฐานะประธาน BRICS ในปัจจุบันได้ประกาศให้อินโดนีเซียเป็นสมาชิก BRICS ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 การตัดสินใจครั้งนี้ได้รับการเร่งรัดอย่างไม่ต้องสงสัย โดยประเทศสมาชิก BRICS ทั้งหมดตกลงที่จะรวมอินโดนีเซียเข้าไว้ในกลุ่มภายในเวลาไม่ถึงสามเดือน


Tiada ulasan: