Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 21 Jun 2024

นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมลายูชาวจังหวัดเรียว อินโดเนเซีย

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนได้เดินทางไปยังจังหวัดเรียว ประเทศอินโดเนเซีย หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมงานด้านวรรณกรรม วัฒนธรรม ที่มีเจ้าภาพจัดโดยองค์กรรัฐและเอกชนของชาวมลายูเรียว และผู้เขียนก็ได้พบปะ นายเตาฟิก อิคราม ยามิล หลายครั้ง แต่ที่ทำให้ผู้เขียนกับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) มีความใกล้ชิดขึ้นเมื่อมีการจัดงานครบรอบ 3 ปีของการที่องค์กร UNESCO ให้การยอมรับวรรณกรรมกลอนเปล่าที่เรียกว่า ปันตุน (Pantun) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์กร UNESCO  หรือที่เรียกว่า Warisan Budaya Dunia Takbenda ซึ่งกลอนเปล่าปันตุน มีประเทศมาเลเซีย และอินโดเนเซีย เป็นเจ้าของร่วม การจัดงานนี้จัดโดยองค์กรที่ชื่อว่า Assosiasi Tradisi Lisan หรือ Tradition Oral Assiciation ของอินโดเนเซีย  สำหรับประธานองค์กรนี้ คือ Raja Yose Rizal ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเรียว จังหวัดที่มีประชากรเกือบจะ 7 ล้านคน สำหรับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) มาในนามของประธานสภาจรีตประเพณีชาวมลายูของจังหวัดเรียว หรือ Lembaga Adat Melayu Provinsi Riau ซึ่งถือเป็นองค์กรสูงสุดทางจารีตประเพณีของชาวมลายูในจังหวัดเรียว

ผู้เขียนขอวกกลับมายังประวัติของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil)  สำหรับนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เกิดเมื่อ 19 กันยายอนน 1963 เป็นนักเขียนชาวอินโดนีเซีย ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางผ่านผลงานของเขาในรูปแบบของบทละครนวนิยายและเรื่องสั้นที่ตีพิมพ์ในสื่อมวลชนต่างๆ นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เป็นหนึ่งในผู้รับรางวัล Sagang Award ในปี 1997  สำหรับรางวัล Sagang Award ถือเป็นรางวัลระดับสูงสุดของจังหวัดเรียว ด้านศิลปะ วัฒนธรรม


Anugerah Sagang เป็นรางวัลในโลกมลายูที่มอบให้กับบุคคลหรือบุคคลที่อุทิศตนเพื่อชีวิตศิลปะผลงานที่ถือว่าเหนือกว่าคุณภาพและยิ่งใหญ่ตลอดจนความคิดที่สามารถเคลื่อนย้ายพลวัตของวัฒนธรรมมลายูในอาณาจักรหนึ่ง รางวัล Sagang มอบให้โดยมูลนิธิ Sagang ซึ่งเป็นมูลนิธิในกลุ่มหนังสือพิมพ์ Riau Pos ที่ให้การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมมลายู การมอบรางวัล Sagang เป็นความมุ่งมั่นของมูลนิธิ


นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เกิดที่ตะโล๊ะกือมัง  (Teluk Belitung) อำเภอเบ็งกาลิส (Bengkalis) จังหวัดเรียว เมื่อ 19 กันยายน 1963 การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของเขา ได้รับการศึกษาเบ็งกาลิส หลังจากนั้นเขาศึกษาต่อที่คณะศึกษาศาสตร์ (Fakultas Keguruan dan Iilmu Pendidikan) มหาวิทยาลัยเรียว (Universitas Riau) สำเร็จการศึกษาในปี 1987 ในปี 1988 นอกจากงานเขียนแล้วเขายังประกอบอาชีพเป็นนักข่าวที่ หนังสือพิมพ์รายวัน Kompas ในปี 1999 นายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอ่านมรดกเรียว หรือ Yayasan Membaca Pusaka Riau (Riau Heritage Reading Foundation) ซึ่งดำเนินกิจกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรม และสิ่งพิมพ์

สถาบันศิลปะมลายูเรียว 

ในปี 2002 เขาลาออกจากหนังสือพิมพ์รายวัน Kompas เพื่ออุทิศความคิดและความคิดสร้างสรรค์ของเขาเพื่อความก้าวหน้าของศิลปะ เขาได้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ  ชื่อว่า สถาบันศิลปะมลายูเรียว หรือ Akademi Kesenian Melayu Riau (AKMR) ในเมืองเปอกันบารู ซึ่งเป็นสถาบันศิลปะแห่งเดียวในเกาะสุมาตรา


สถาบันศิลปะมลายูเรียว หรือ Akademi Kesenian Melayu Riau (AKMR)

ก่อตั้งเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2002 ตั้งอยู่ในเมืองเปอกันบารู จังหวัดเรียว เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญา มี 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรอนุปริญญาสาขาการดนตรี หลักสูตรอนุปริญญาสาขานาฎศิลป์มลายู  และหลักสูตรอนุปริญญาสาขาการแสดง สถาบันศิลปะมลายูเรียวเดิมอยู่ภายใต้มูลนิธิ Sagang ภายหลังเพื่อความก้าวหน้าของสถาบันศิลปะมลายูเรียว ในปลายปี 2018 ทางมูลนิธิ  Sagang  ภายใต้การนำของนาย Kazzaini Ks ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง และเคยมาร่วมงานใน Pertemuan Penyair Nusantara VIII ซึ่งจัดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อหลายปีก่อน  ซึ่งทำงานในหนังสือพิมพ์ Riau Pos เจ้าของมูลนิธิ Sagang และทางมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี (Yayasan Raja Ali Haji) ซึ่งมีจังหวัดเรียวเป็นเจ้าของมูลนิธิ และมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning) มูลนิธิราชาอาลีฮัจญี มีประธานมุลนิธิชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. อิรวัน เอฟเฟนดี (Prof. Dr. Irwan Effendy) ดังนั้นทั้งสองมูลนิธิจึงทำข้อตกลง ทำการโอนสถาบันศิลปะมลายูเรียว จาก มูลนิธิ Sagangมาเป็นของมูลนิธิราชาอาลีฮัจญี  โดยโอนหลักสูตรของสถาบันศิลปะมลายูเรียว มาเป็นส่วนหนึ่งของคณะวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning) นับเป็นการพัฒนาจากสถาบันศิลปะมลายูเรียว สู่การเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยลันจังกูนิง (Universitas Lancang Kuning)


งานของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) ในโลกศิลปะ มีชื่อเสียงมากขึ้นเมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานทั่วไปของสภาศิลปัฒนธรรมจังหวัดเรียว หรือ Dewan Kesenian Riau ระหว่างปี 2002 ในโลกของวรรณกรรมนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil) ได้ผลิตผลงานมากมายที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Riau Pos, Kompas, Berita Buana, Republika, Suara Pembaruan, Kartini, Horison, Kalam และ Ulumul Qur'an บทกวีชุดแรกของเขาคือ Terkarena Haku Melayu ตามด้วยรวมเรื่องสั้น Sendiwara Hang Tuah


ผลงานของนายเตาฟิก อิคราม ยามิล (Dato’ Taufik Ikram Jamil)

Tersebab Haku Melayu Buku Sajak Penggal Pertama (1994)

Membaca Hang Jebat. (1995)

Sandiwara Hang Tuah (1996)

Negeri Bayang-bayang (1996)

Hempasan Gelombang (1999)

Dari Per­cikan Kisah

Membentuk Provinsi Riau (หนังสือประวัติศาสตร์ 2001)

Gelombang Sunyi (2001)

Hikayat Batu-Batu (2005)

Soeharto dalam Cerpen Indonesia 2001 Menagerie 4 (รวมเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ)

Jumat Pagi Bersama Amuk


มีสิ่งหนึ่งที่น่าประทับใจ คือที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง คือ โรงเรียนมัธยมเฉพาะที่ชื่อว่า Sekolah Menengah Atas Binaan khusus Dumai เป็นโรงเรียนระดับนำของเมืองดูไม จังหวัดเรียว โรงเรียนแห่งนี้ มีห้องสมุดชื่อว่า ห้องสมุดเตาฟิก อิคราม ยามิล (Perpustakaan Taufik Ikram Jamil) เมื่อสำรวจดูห้องสมุดแห่งนี้ น่าที่โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาระดับมัธยม หรือ ห้องสมุดประชาชนอำเภอของบ้านเรา น่าจะนำมาเป็นตัวอย่าง ด้วยห้องสมุดแห่งนี้ มีระบบ OPAC ที่สามารถตรวจสอบรายชื่อหนังสือ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำ Ebook ซึ่งผู้คนสามารถอ่านหนังสือ Ebook ได้  




Tiada ulasan:

Catat Ulasan