Ekonomi/Bisnis

Khamis, 28 November 2013

Arena Wati : นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 1985 และรางวัลศิลปินแห่งชาติของมาเลเซีย เกิดที่อินโดเนเซีย เสียชีวิตที่มาเลเซีย แต่เป็นผู้มีรากเหง้าเชื้อสายปาตานี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

Arena Wati นักเขียนเชื้อสายปาตานีจากเกาะสุลาเวซี อินโดเนเซีย ไปสร้างชื่อในมาเลเซีย

มีชื่อเดิมว่านายมูฮัมหมัดดะห์ลัน บินอับดุลเบียง (Muhammad Dahlan bin Abdul Biang)หรือ อันดีโมฮาลัน อันดีเบียง (Andi Mohalan Andi Beang) แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักเขาในนามของ อาเรนาวาตี (Arena Wati) เกิดเมื่อ 30 กรกฎาคม 1925 และเสียชีวิตเมื่อ 25 มกราคม 2009 ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติในปี 1988  นอกจากนั้นเขายังมีนามปากกาว่า Duta Muda และ Patria  นอกจากนั้นเขายังได้รับรางวัลซีไรต์ (SEA Write Award) ของประเทศไทยในปี 1985 อีกด้วย

Arena Wati เกิดที่ Kalumpang Kabupaten, Jeneponto, Makasar เกาะสุลาเวซี  เขาเคยบอกกับผู้เขียนว่าเขาเป็นลูกหลานของชาวปาตานีในอดีตที่อพยพไปยังเกาะสุลาเวซี ภายใต้การนำของดาโต๊ะมหาราชาเลลา โดยลำเรือพร้อมชาวปาตานี 40 ลำเดินทางไปยังเกาะสุลาเวซี   เขาได้รับการศึกษาเริ่มแรกจากโรงเรียนของฮอลันดาที่ชื่อว่า Hollands Indische School ซึ่งเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาประกอบอาชีพเป็นนักเดินเรือสินค้าในปี 1943 ประสบการณ์จากการเป็นนักเดินเรือสินค้า เขาสามารถนำประสบการณ์เหล่านั้นไปใช้ในการเขียนหนังสือและเขียนนวนิยาย เขาจบชั้นมัธยมที่มากัสซาร์ในปี 1953


ภายหลังจากจบการศึกษา เขาได้ไปทำงานกับสำนักพิมพ์ในสิงคโปร์ ต่อมาไปทำงานในรัฐโยโฮร์ ประเทศมาเลเซีย และบรูไน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้รับสัญชาติมาเลเซียแล้ว และระหว่างปี 1962 ถึงปี 1974 เขาได้ทำงานกับสำนักพิมพ์ Pustaka Antara ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์


Arena Wati เข้าสู่วงการหนังสือพิมพ์ราวปี 1954 และเคยเป็นบรรณาธิการที่สำนักพิมพ์ Pustaka Antara และในที่สุดได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติของมาเลเซีย หรือ Sasterawan Negara ในปี 1988 งานเขียนของเขามีลักษณะวิชาการ งานเชิงจินตนาการ 

เขาแต่งงานกับนางฮาลีมะห์ สุหลง (Halimah Sulong) ภรรยาเขาก็เคยบอกผู้เขียนว่าตนเองก็มีเชื้อสายปาตานีเหมือนกัน  โดยเขากล่าวว่าตนเองเป็นลูกหลานของปังลีมาอามีเนาะห์ ซึ่งเป็นนักรบสตรีชาวปาตานีที่หนี้ภัยไปยังรัฐโยโฮร์ เขามีบุตรธิดา 6 คน คือ Rahmahwati, Hiryati, Ilhamuddin, Ratna Siti Akbari, Hasanudin และ Kamaluddin Rostov

ผลงานเขียนของเขา

งานนวนิยายชิ้นแรกของเขา คือ Kisah Tiga Pelayaran พิมพ์ในปี 1959 ที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็จะมีงานเขียนต่อๆมา เช่น

Lingkaran (1962)

Sandera (1971)

Rontok (1980)

Bunga Dari Kuburan (1987)

Kuntum Tulip Biru (1987)

Sakura Mengorak Kelopak (1987)

Panrita (1993).

Sukma Angin (1999)

Cakra Waruga (KN)

Sebuah Trilogi Tiga Genre(KN)

Sebuah Trilogi Tiga Genre(KT)

Trilogi Busa - Busa Hati

Trilogi Busa - Busa Sukma

Trilogi Busa - Busa Kalbu

Trilogi Armageddon : Mandala (2004)

Trilogi Armageddon : Menorah

Trilogi Armageddon : Pentagon

Warna Sukma Usia Muda

นอกจากนั้นยังมีงานเขียนอื่นๆ เช่น

Eno (1985)

Syair Pangeran Syarif (1989)

Syair Pangeran Syarif Hasyim Al-Qudsi (1989)

Syair Perang Cina Di Monterado (1989)

Burung Badai (1990)

Turina (1991)

Citra (1991)

Memoir Arena Wati Enda Gulingku (1991)

Ombak Samudera (1992)

Meniti Kala by Arena Wati (1993)

 Panrita (1993)

Sudara (1994)

ในปกหลังของนวนิยายเรื่อง Sudara เขาได้ใส่เนื้อหาเป็นภาษาบูกิส โดยเนื้อหาดังกล่าวได้กล่าวถึงการอพยพของชาวปาตานีไปยังเกาะสุลาเวซี โดยการนำของดาโต๊ะมหาราชาเลลา ผู้นำชาวปาตานีพร้อมลูกเรือจำนวน 40 ลำเพื่อไปตั้งถิ่นฐานในเกาะสุลาเวซี และเขาก็เป็นหนึ่งในบรรดาลูกหลานชาวปาตานีกลุ่มนั้น

Mevrouw Toga (1995)

Begawan (1996)

Jejak Kreatif oleh Dewan Bahasa dan Pustaka (1996)

Koleksi Terpilih Arena Wati (1996)

Sukma Angin (1999)

Getar-Getir Maya Kumpulan Cerpen (2000)

Trilogi Busa (2002).

Armageddon (2004)

Kutukan Dari Langit (2004)

Langkah Pertama Kumpulan Cerpen Awal, 1954-1959 (2004)

7 Tegak Bersama (2005)

Warna Sukma Usia Muda (2005)


และงานเขียนสุดท้ายคือ Cakra Waruga (2006)

งานเขียนของเขาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของปัญญาคนผู้ใช้แรงงานและชนชั้นล่าง รวมทั้งงานเขียนปกป้องชนผู้ถูกกดขี่ โดยนำประสบการณ์ของตนเองจากการเดินทางจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งในภูมิภาคมลายู  


นวนิยายเรื่อง Sandera ได้รับเลือกให้เป็นวรรณกรรมสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมปลาย(ระดับ SPM)ของมาเลเซียในช่วงปีทศวรรษที่ 1980


สำหรับงานเขียนที่ชื่อว่า Trilogi Bara-Baraya เป็นงานเขียนที่เขียนเสร็จในช่วงที่เขารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (HUKM)  งานเขียนชิ้นนี้เป็นเรื่องราวการต่อสู้ของชาวมลายูในภูมิภาคมลายู นักเขียนรางวัลศิลปินแห่งชาติอีกคน ซึ่งเป็นเพื่อนของเขา คือนายอับดุลซามัด  ซาอิด (A. Samad Said) กล่าวว่า Arena Wati เป็นนักเขียนที่มีคุณค่าในวงการวรรณกรรมของประเทศ


รางวัลเกียรติยศ

เขาได้รับรางวัลซีไรต์ (SEA Write Award) ในปี 1985

ศิลปินแห่งชาติ (Sasterawan Negara)ในปี  1987

งานเขียนเรื่อง Sukma Angin (1999) ดั้บรางวัล Hadiah Sastera Perdana Malaysia ประจำปี 1998/99

เขาได้รับรางวัลนักเขียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Hadiah Sastera Majlis Sastera Asia Tenggara (Hadiah MASTERA) ในปี 2003 การเสียชีวิตเขาเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปอด เขารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (HUKM) ตั้งแต่ 20 กันยายน 2008 สุสานของเขาตั้งอยู่ที่สุสานอิสลามบูกิตเกียรา (Tanah Perkuburan Islam Bukit Kiara)ส่วนหนึ่งของงานเขียนของ Arena Wati










Tiada ulasan:

Catat Ulasan