ก่อนที่เราจะมารับรู้ถึงทำไมต้องมีนโยบายภูมิบุตร
ทำไมชาวมลายูต้องได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม เราควรมารับรู้ถึงการเกิดขึ้นของหลักการหนึ่งในประเทศมาเลเซีย
นั้นคือหลักการ Social Contract หรือว่า การตกลงทางสังคม
Social Contract
(สัญญาประชาคม)เมื่อเราศึกษาถึงประเทศมาเลเซีย จะต้องกล่าวถึงหลักการ Social Contract ด้วย คำนี้อาจไม่เป็นที่เผยแพร่มากนัก ในรัฐธรรมนูญมาเลเซียไม่มีการกล่าวถึงคำว่า Social
Contract หรือ kontrak sosial โดยชัดเจน
นอกจากนั้นยังไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายหรือเอกสารทางราชการที่กล่าวถึง Social
Contract อย่างละเอียด[1]
การเกิดขึ้นของ Social Contract ในสังคมมาเลเซียนั้น
เป็นความเห็นชอบของบรรดาผู้นำทางการเมืองเชื้อชาติต่างๆในประเทศมาเลเซียในช่วงยุคการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศมาเลเซีย
จาก ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาเศรษศาสตร์เรื่อง
The Political Economy
of Restructuring in Malaysia ของ Low Kam Yoke จากมหาวิทยาลัยมาลายา ปี 1985
หน้า 26 เขียนว่า
ในสมัยตนกูอับดุลอับดุลราห์มานปุตรา ก็มีการพยายามที่จะส่งเสริมทุนนิยมของชาวภูมิบุตร
แต่ไม่ได้ผลมากนัก
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่านโยบายภูมิบุตร
เป็นนโยบายที่สร้างขึ้นว่าเพื่อพิทักษ์ ปกป้องชนชาวมลายูและชนพื้นเมืองอื่นๆ
แม้ว่าจะมีนโยบายภูมิบุตร จะในนามของนโยบายเศรษฐกิจ หรือ Dasar Ekonomi Baru (New Economy Policy) และนโยบายพัฒนาประเทศ
หรือ Dasar Pembangunan Negara (National Development Policy) ขึ้นมา
และปัจจุบันได้ใช้ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ Model Ekonomi Baru (New Economy Model) ก็เพื่อลดชิองว่างความยากจน ลดช่องว่างของการถือสินทรัพย์ของประเทศ
และจนถึงปัจจุบัน ชาวมลายูและชาวพื้นเมืองอื่นๆ ที่รวมกันถูกเรียกว่าชาวภูมิบุตร
โดยรัฐบาลมีเป้าหมายจะให้ชาวภูมิบุตรมีอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเพียง 30 %
ของทั้งหมด แต่จนถึงปัจจุบันเป้าหมายดังกล่าวก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นได้[1]สัมภาษณ์
ดร. กุสนี ซาอัด (Dr. Gusni Saad)
อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย
เมื่อ 21 มกราคม 2551 [2] Mahdi Shuid, Pengajian Malaysia,
Petaling Jaya : Longman , 1998 หน้า 46
Tiada ulasan:
Catat Ulasan