Ekonomi/Bisnis

Isnin, 26 November 2007

สภาพกฎหมายอิสลามในรัฐธรรมนูญประเทศมาเลเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
สถานภาพของกฎหมายอิสลามก่อนได้รับเอกราช
ตามประวัติศาสตร์มาเลเซียได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของสังคมมลายูกับประชาชนอินโดนีเซีย โดยเฉพาะเกาะสุมาตรา ดังเช่นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า Adat Perpatih  ในรัฐนัครีซึมบีลันและนานิง(เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐมะละกา) ซึ่งดั้งเดิมมาจากมีกาเบา  เกาะสุมาตรา

จากอิทธิผลของพ่อค้าอาหรับและพ่อค้าอินเดียทำให้ศาสนาอิสลามเริ่มเผยแพร่เข้าสู่แหลมมลายูในศตวรรษที่15 ซึ่งขณะนั้น รัฐมะละกาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กฎหมายอิสลามก่อนได้รับเอกราชนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาด้วยกันคือ

1.สถานภาพของกฎหมายอิสลามก่อนการเข้ามาของอังกฤษ
กฎหมายอิสลามในช่วงแรกคือ จะเป็นกฎเกี่ยวกับการแต่งงาน กฎหมายอาชญากรรม กฎหมายการซื้อขาย และคำอธิบายของการใช้กฎหมายอิสลาม มีการทำกฎหมายอิสลามมาใช้ในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนพื้นเมืองที่เรียกว่า Adat ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ Adat Temenggung และAdat Perpatih กฎหมายต่างที่ทำมาใช้คือ



1.1 กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka)
มีทั้งหมด 44 บท liaw Yock Fong (1976) ได้แบ่งโครงสร้างของกฎหมายมะละกาออกเป็น 6 ชนิด

คือ กฎหมายมะละกา(Undang-Undang Melaka), กฎหมายทะเล (Undang-Undang laut), ส่วนหนึ่งกฎหมายการแต่งงานของชาวมุสลิม (Undang-Undang Perkahwinan Orang Islam), กฎหมายการขายและขั้นตอนของมุสลิม (Undang-Undang Jualan dan prosedur Islam),กฎหมายของรัฐ (Undang-Undang Negeri), และกฎหมายโยโฮร์ (Undang-Undang Johor)

ตัวอย่างของเนื้อหากฎหมายมะละกามีดังนี้
ตอน 25.2 การแต่งงานและความสมบูรณ์ของการแต่งงาน

ตอน18.1 เกี่ยวกับชนิดของการหย่าร้าง (ตาละ)

ตอน 28.2 ประเภทของสตรีที่สามารถแต่งงานได้

ตอน29 เกี่ยวกับการชั่งและการวัด

ตอน30 เกี่ยวกับกฎหมายการขายและการห้ามการมีดอกเบี้ยในการทำธุรกิจ

ตอน 31 เกี่ยวกับการขายที่ดิน

ตอน 32.1เกี่ยวกับการล้มละลาย

ตอน32.3 และ 32.4 เกี่ยวกับการประกันและการกู้ยืม

ตอน 36 เกี่ยวกับการมูรตัด (Murtad)

ตอน 39 เกี่ยวกับการฆ่าคน

ตอน 40 เกี่ยวกับการผิดประเวณี

ตอน 42 เกี่ยวกับการดื่มสุราเมรัย



1.2กฎหมายปาหัง
กฎหมายปาหังเขียนขึ้นในสมัยสุลต่านอับดัลกาฟูร์ มูฮัยยุดดิน ชาห์ (1592-1614) โดยใช้กฎหมายมะละกาเป็นแกนหลัก และปรากฎว่ากฎหมายปาหังนี้ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามมากกว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมลายู ตัวอย่างของเนื้อหากฎหมายปาหังมีดังนี้

เศรษฐกิจและการค้าขาย
ตอน 25 การค้าขายบ้านละที่ดิน

ตอน 27 เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ต้องใช้ค้ำหนี้สิน

ตอน 32 สิ่งของที่สามารถให้ยืมได้

ตอน 33 เกี่ยวกับการการลงทุนและการร่วมมีส่วนในกำไร

ตอน 35 เกี่ยวกับการซื้อขายสวนผลไม้

ตอน 36 เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง

ตอน 37 เกี่ยวกับการเช่าบ้าน

ตอน 38 เกี่ยวกับการเช่าที่ดิน

ตอน 42 เกี่ยวกับการให้รางวัลและวากัฟ

ตอน 49 เกี่ยวกับการผิดประเวณีและบทลงโทษ

ตอน 51 เกี่ยวกับการปรับสำหรับการกล่าวหาผู้อื่น

ตอน 52 เกี่ยวกับการดื่มสุราเมรัย

ตอน 53 เกี่ยวกับการปรับสำหรับผู้ที่ขโมยสิ่งของ

ตอน 54 เกี่ยวกับการปรับสำหรับผู้ที่ปล้นผู้อื่น

ตอน 59 เกี่ยวกับการปรับสำหรับผู้ที่มูรตัด (Murtad)

1.3 กฎหมายมลายูอื่นๆ (ในแหลมมลายู)
มีกฎหมายอีกหลายฉบับในแหลมมลายูเช่น ที่รัฐเคดะห์เรียกว่า Undang-Undang Kedah

เช่นในส่วนของ Undang-Undang Dato’Sri Paduka Tuan มีเนื้อหาบางส่วนดังนี้

1.3.1 ผู้ขโมย ผู้ปล้น ผู้ชนไก่ ผู้จำหน่ายฝิ่น ผู้บูชาต้นไม้และหิน ผู้เมาสุรา ผู้กระทำดังกล่าวย่อมผิดกับกลักการของศาสนาอิสลาม ชาวบ้านต้องแจ้งต่อหัวหน้าหมู่บ้าน ผู้ไม่แจ้งถือเป็นความผิดต้องปรับ

1.3.2 หัวหน้าหมู่บ้านต้องใช้ลูกบ้านละหมาดวันละ 5 เวลา ถือศีลอด ละหมาดวันศุกร์ ผู้ไม่ปฏิบัติตามจะถูกนำไปยังมัสยิดและถูกลงโทษ โดยการนำไข่เหลืองตั้งไว้รอบคอของผู้นั้น

1.3.3 เจ้าของที่ดินต้องจ่ายซากาต

ในรัฐกลันตัน William R. Roff กล่าวว่า มีการใช้กฎหมายอิสลามในช่วงทศวรรษที่1830 หรือก่อนหน้านั้นเสียอีก

ในรัฐตรังกานู มีการใช้กฎหมายอิสลามในต้นศตวรรษที่19 ในสมัยสุลต่านอูมาร์ซึ่งขึ้นครองรัฐเมื่อปี1837 และในปี1911 รัฐธรรมนูญรัฐตรังกานูที่รู้จักกันในนาม Itqanulmuluk fi-al ta’dil al-Suluk โดยในรับธรรมนูญของตรังกานูฉบับนี้ในบทที่ 51 ได้กล่าวว่า “ตรังกานูเป็นรัฐอิสลามและศาสนาอิสลามเป็นศาสนาทางการของงรัฐตรังกานู”

ในรัฐโยโฮร์ได้มีกฎหมายโยโฮร์โดยใช้หลักของ Risalah Hukum Kanun ในศตวรรษทรี่19ได้มีรัฐธรรมนูญรัฐโยโฮร์ โดยมาตราที่2 กล่าวว่าสุลต่านต้องมาจากชนชาติมลายูที่มีสายเลือดกษัตริย์ เป็นลูกหลานของสุลต่านแห่งราชวงศ์โยโฮร์ นับถือศาสนาอิสลาม รัฐธรรมนูญรัฐโยโฮร์ฉบับนี้มีส่วนคล้ายกับรัฐธรรมนูญรัฐตรังกานู ที่ใช้ในปี1911

1.3.4 กฎหมายศาลมลายูรัฐซาราวัค (Undang-Undang Mahkamah Melayu Sarawak) กฎหมายฉบับนี้ได้ร่างขึ้นเมื่อ1915 และนำมาใช้เป็นกฎหมายสำหรับชาวมลายู-อิสลาม มีทั้งหมด 66มาตรา และกฎหมายนี้เป็นเพียงกฎหมายเดียวที่ยังนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน โดยมีการแก้ไขเมื่อปี1985 รู้จักในนามของ Undang-Undang Mahkamah Syariah Sarawak Order 1985

2. สถานภาพของอิสลามภายใต้การปกครองของอังกฤษ

การเข้ามาของโปรตุเกสในมะละกาเมื่อปี 1511 และการยึดครองของฮอลันดาต่อมะละกาใน 1641 รวมทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของอังกฤษในเกาะปีนังเมื่อปี 1786 รวมทั้งการเข้ามาของอังกฤษในรัฐเปรัคในปี 1874 ได้มีอิทธิผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมลายู โดยเฉพาะอังกฤษต่อสังคมมุสลิมอังกฤษเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมมลายูดังนี้

2.1 กฎหมายทั่วไป (Undang-Undang Am)
     มาเลเซียเกิดจากการรวมตัวของดินแดน 4 ส่วน คือ รัฐสเตทเซ็ทเติลเมนส์ (Negeri-Negeri Selat Melayu Bersekutu ประกอบด้วยรัฐปีนัง รัฐมะละกา และสิงคโปร์)

สหพันธรัฐมลายู (Negeri-Negeri Melayu Bersekutu ประกอบด้วยรัฐนัครีซึมบีลัน รัฐสลังงอร์

รัฐเปรัค และรัฐปาหัง) รัฐมลายูที่ไม่ใช่สหพันธรัฐ (Negeri-Negeri Melayu tidak Bersekutu ประกอบด้วยรัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐกลันตันและรัฐโยโฮร์)

อังกฤษเริ่มเข้ามายังเกาะปีนังเมื่อปี1786 โดยมีการทำสัญญาระหว่างสุลต่านเคดะห์กับFrancis light ในมะละกาเมื่อปี1824 และสิงคโปร์โดยsultan Hussein และTemenggong Johor ทำสัญญากับอังกฤษผ่านบริษัทอังกฤษ(โดยStamford Raffles)เมื่อปี1919 อังกฤษได้ออกกฎหมายเรียกว่า Piagam keadilan Kedua 1826

เป็นการรวมรัฐปีนัง มะละกา และสิงคโปร์อยู่ภายใต้ระบบการปกครองเดียวกันสำหรับรัฐที่เรียกว่าสหพันธรัฐมลายูนั้น อังกฤษเข้าไปยังรัฐเปรัคเมื่อปี1874 เข้าไปยังรัฐสลังงอร์เมื่อ 1875 เข้าไปยังรัฐปาหังในปี 1888 และรัฐนัครีซึมบีลันในปี 1889 สำหรับรัฐมลายูที่ไม่ใช่สหพันธรัฐนั้น อังกฤษได้เข้าไปทำสัญญากับรัฐกลันตันเมื่อปี1910 กับรัฐตรังกานูปี1919 กับรัฐเคดะห์และรัฐเปอร์ลิสเมื่อปี 1923และ1930

ผลจากการทำสัญญาดังกล่าวทำให้การบริหารถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารการปกครองรัฐและการบริหารกิจการศาสนา จาการถูกแบ่งแยกดังกล่าวทำให้กฎหมายอิสลามเป็นเพียงกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน การหย่าร้าง มรดก พิธีกรรมศาสนาและกิจการภายในที่เกี่ยวกับธุรกิจ สัญญากฎหมายเกี่ยวกับส่วนบุคคลจะถูกนำมารวมไว้ในกฎหมายทั่วไปหรือ Common Law ซึ่งเป็นกฎหมายของอังกฤษ

กฎหมายอังกฤษที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในสหพันธรัฐมลายูคือรัฐเปรัค โดยใช้กฎหมายอาชญากรรมของรัฐสเตทเซ็ทเติลเมนส์ ซึ่งมีรากฐานมาจากกฎหมายอาชญากรรมของอินเดีย

เมื่อปี1884 ต่อมาถูกนำมาใช้ในรัฐอื่นๆที่อยู่ในสหพันธรัฐมลายู พ.ร.บ คอนแทรกต์อินเดียได้ถูกนำไปใช้เป็นการออกกฎหมายรัฐเปรัค รัฐสลังงอร์ นัครีซึมบีลัน ในปี1899 และรัฐปาหัง ในปี 1900

ต่อมา พ.ร.บ นี้ถูกนำมาใช้ในฉบับปรับปรุงปี 1936ในบทที่ 52 กฎหมายขั้นตอนอาชญากรรมอินเดียถูกนำมาใช้เป็นกฎหมาย ในปี1900 และต่อมาการออกกฎหมายที่ดินในปี1987 การนำกฎหมายเหล่านี้มาใช้เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นการนำกฎหมายอังกฤษมาแทนที่กฎหมายอิสลามของชาวมลายู

ต่อมากฎหมายอาญาถูกนำไปใช้ในสหพันธรัฐมลายูในปี 1937 และต่อมาได้ขยายไปยังมะละกาและปีนังในฐานะเป็นกฎหมายอาญาในปี 1956 และหลังจากนั้นกฎหมายนี้ถูกนำไปใช้ในรัฐมลายูที่ไม่ใช่สหพันธรัฐ เช่นรัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐโยโฮร์

2.2 กฎหมายอิสลาม
สถานภาพของกฎหมายอิสลามเองก็อยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายอังกฤษครั้งแรกที่อังกฤษออกกฎหมายเกี่ยวกับอิสลาม คือ กฎหมายอิสลามปี1880 (Ordinan Undang-Undang Islam tahun 1880) โดยนำมาใช้ในรัฐสเต็ทเซ็ทเติลเมนส์

ภายหลังจากอังกฤษได้เข้ามาในสหพันธรัฐมลายู ทางอังกฤษได้ออกกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนแต่งงาน และการหย่าร้างของชาวมลายูในปี1885 ที่รัฐเปรัค และออกกฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้างปี 1900 ที่รัฐสลังงอร์ รัฐนัครีซึมบีลันรัฐปาหัง

ต่อมามีการขยายออกกฎหมายในรัฐมลายูที่ไม่ใช่สหพันธรัฐ คือรัฐโยโฮร์ ออกกฎหมายการแต่งงานของชาวมุสลิมปี1914 ออกกฎหมายอาชญากรรมของชาวมุสลิมปี1919 รัฐเปอร์ลิส ออกกฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้างหมายเลข 9 ปี1913

รัฐเคดะห์ออกกฎหมายชารีอะห์หมายเลข 109 ปี1934 รัฐตรังกานูออกกฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้างของชาวมุสลิม หมายเลข6 ปี1922 และรัฐกลันตันออกกฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้างของชาวมุสลิม หมายเลข22ปี 1938

3.ช่วงก่อนสู่เอกราช
ช่วงก่อนจะได้รับเอกราช ภายหลังจากอังกฤษล้มเหลวจากการจัดตั้ง Malayan Union ก็มีการจัดตั้งสหพันธรัฐมาลายาขึ้นในปี 1948 และรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมาลายาปี1948 นั้นมีส่วนที่กล่าวถึงสถานภาพของศาสนาอิสลามในสหพันธรัฐ โดยมีการเขียนว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาทางการของรัฐ ด้วยมาตรา48 กำหนดให้ข้าหลวงใหญ่อังกฤษและบรรดาสุลต่านสามารถออกกฎหมายในสหพันธรัฐมาลายา ในมาตรา100 ให้สภาแห่งรัฐ (Majlis Negeri) ที่ได้จัดตั้งขึ้นทุกรัฐมีอำนาจออกกฎหมายต่างๆรวมทั้งกฎหมายอิสลาม

สถานภาพของกฎหมายอิสลามภายหลังจากได้รับเอกราช
1. สถานภาพของศาสนาอิสลามในรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ

ในรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐมีการกล่าวถึงศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาทางการของสหพันธรัฐมีการพิทักษ์ศาสนาอิสลามจากอิทธิผลการเผยแพร่ของศาสนาอื่นต่อชาวมุสลิม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาทางการของรัฐต่างๆยกเว้นรัฐปีนัง รัฐะละกา และรัฐซาราวัค

ถึงอย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของรัฐปีนัง รัฐมะละกา รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคได้ ให้อำนาจแก่พระราชาธิบดีในการเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของรัฐดังกล่าว เช่นรัฐธรรมนูญของรัฐปีนัง ปี 1957 บทที่ 2 มาตรา (5) ได้กำหนดให้พระราชาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐปีนัง ส่วนรัฐซาบะห์นั้นรัฐธรรมนูญของรัฐซาบะห์ฉบับปรับปรุงปี1973

มาตรา 5A ได้กำหนดให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาทางการของรัฐซาบะห์ (ดังนั้นผู้ว่าการรัฐซาบะห์จึงต้องเป็นชาวมุสลิม และในบรรดาชาวมุสลิมซาบะห์นั้นชนเผ่ายาจาว แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐซาบะห์ แต่พวกเขาเป็นชนกลุ่มใหญ่ในหมู่ชาวมุสลิมซาบะห์ ผู้ว่าการรัฐจึงตกเป็นของชนเผ่ายาจาว)

2. กฎหมายรัฐและอำนาจการบริหารกฎหมายอิสลาม
แม้ว่าสาสนาอิสลามจะเป็นศาสนาทางการของสหพันธรัฐ แต่ไม่มีผู้นำทางศาสนาอิสลามของสหพันธรัฐทั้งหมด ถึงพระราชาธิบดีจะเป็นผู้นำศาสนาของสหพันธรัฐก็จริง แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำของรัฐตนเอง รวมทั้งผู้นำทางศาสนาอิสลามของดินแดนสหพันธรัฐกังลาลัมเปอร์ ลาบวน ปุตราจายา รัฐปีนัง รัฐมะละกา รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค สถานภาพของผู้ว่าการรัฐปีนัง รัฐมะละกา รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้นมีสถานะเป็นตัวแทนผู้นำทางศาสนาของพระราชาธิบดี

รัฐสลังงอร์ถือเป็นรัฐแรกที่ได้ออกกฎหมายอิสลามปี1952 ต่อมารัฐต่างๆได้ออกประกาศตามด้วยดังนี้
รัฐสลังงอร์ ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1952 และออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1989

รัฐตรังกานู ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1955 และออกกฎหมายกิจการเกี่ยวกับศาสนาอิสลามปี1986

รัฐปาหัง ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1956 และออกกฎหมายการบริหารกิจการศาสนาอิสลามและขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูปี1982

รัฐมะละกา ออกกฎหมายอิสลามปี 1959 แก้ไขครั้งสุดท้ายปี1984

รัฐปีนัง ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี 1959 แก้ไขปี 1964

รัฐนัครีซึมบีลัน ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1960 แก้ไขปี1974

รัฐเคดะห์ ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี1962 และกฎหมายชารีอะห์ปี1983

รัฐเปอร์ลิส ออกกฎมายชารีอะห์และอำนาจเกี่ยวกับสามีภรรยาปี1966

ออกกฎหมายคณะกรรมการอิสลามและขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูปี1966 ออกกฎหมายครอบครัวอิสลามปี 1983 และออกกฎหมายการบริหารชารีอะห์ปี 1982

รัฐโยโฮร์ ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี 1978

รัฐซาบะห์ ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี 1977

รัฐซาราวัค กฎหมายศาลชาวมลายูซาราวัคปี 1915 และปรับปรุงปี 1985 โดยเรียกว่า กฎหมายศาลชารีอะห์ซาราวัคปี 1985

รัฐเปรัค ออกกฎหมายการบริหารกฎหมายอิสลามปี 1965 แก้ไขปี 1982



กฎหมายอิสลามของรัฐสลังงอร์ถูกนำมาใช้ในดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์(กัวลาลัมเปอร์แยกออกจากรัฐสลังงอร์เมื่อ 1974 อย่างไรก็ตามมีการออกกฎหมายเฉพาะเรียกว่า

พ ร บ กฎหมายครอบครัวอิสลาม (ดินแดนสหพันธรัฐ) ปี 1984

สรุปได้ว่ากฎหมายอิสลามในแต่ละรัฐจะมีตัวบทกฎหมายที่เป็นของตัวเอง ความแตกต่างของกฎหมายอิสลามในรัฐต่างๆนั้นย่อมมีบ้าง

แต่โดยรวมแล้วจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการศาสนาอิสลาม ความแตกต่างเล็กๆที่เห็นเช่น อัตราการใช้ในการจ่ายซากาตฟิตเราะห์ ในแต่ละรัฐจะมีอัตราที่แตกต่างกัน หรือบทลงโทษของผู้ที่ไม่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ในแต่ละรัฐก็มีบทลงโทษที่แตกต่างกัน บางรัฐถูกปรับและจำ l สัปดาห์ แต่บางรัฐกลับเป็นถูกปรับและจำ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนก็มี

รัฐธรรมนูญของรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซียมีอยู่ 13 ฉบับ ตามจำนวนของรัฐในประเทศมาเลเซีย และรัฐธรรมนูญของรัฐ (State Constitution) ย่อมมีความแตกต่างในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การที่จะศึกษารัฐธรรมนูญของรัฐทั้ง 13 รัฐ ย่อมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะเป็นภาระที่หนัก จึงมาศึกษาเพียงรัฐธรรมนูญของรัฐกลันตัน ซึ่งเป็นรัฐที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศไทยด้านจังหวัดนราธิวาส

Tiada ulasan:

Catat Ulasan