Ekonomi/Bisnis

Isnin, 26 November 2007

รัฐธรรมนูญประเทศมาเลเซีย ฉบับแปลเฉพาะบางมาตรา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เนื้อหาบางส่วนของรัฐธรรมนูญประเทศมาเลเซีย


รัฐธรรมนูญมาเลเซีย
มีทั้งหมด 15 ตอน
มีทั้งหมด 183 มาตรา

ตอนที่ 1 รัฐต่างๆศาสนา และกฎหมายสหพันธรัฐ

มาตรา 1 ชื่อประเทศคือ มาเลเซีย เขียนเป็นภาษามลายูและภาษาอังกฤษว่า Malaysia[1]

2 . รัฐต่างๆประกอบด้วย ( 13รัฐ ) รัฐต่อไปนี้ คือ รัฐโยโฮร์, รัฐเคดะห์, รัฐกลันตัน, รัฐมะละกา, รัฐนัครีซึมบีลัน, รัฐปาหัง, รัฐเปรัค, รัฐเปอร์ลิส, รัฐปีนัง, รัฐซาบะห์, รัฐซาราวัค, รัฐสลังงอร์ และรัฐตรังกานู

3. ดินแดนของรัฐต่างๆเป็นดินแดนของรัฐนั้นๆก่อนวันมาเลเซีย (Hari Malaysia) (16 กันยายน 1963)
4. ดินแดนรัฐสลังงอร์ ไม่รวมถึงดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ (Wilayah Persekutuan Kuala Lumpur ) ซึ่งตั้งตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1973 และดินแดนสหพันธรัฐปุตราจายา (Wilayah Persekutuan Putrajaya ) ซึ่งตั้งตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2001 รวมทั้งดินแดนสหพันธรัฐลาบวน (Wilayah Persekutuan Labuan) ซึ่งตั้งในความการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1984

มาตรา 2 : การเข้าร่วมของดินแดนใหม่ในสหพันธรัฐ

a รัฐสภาสามารถนำรัฐอื่นเข้าร่วมในสหพันธรัฐ

b สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงดินแดนรัฐต่างๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงดินแดนนั้นต้องได้รับการยินยอมจากรัฐดังกล่าว

มาตรา 3: ศาสนาประจำสหพันธรัฐ

(1) ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสำหรับสหพันธรัฐ แต่ศาสนาอื่นสามารถนับถือและประกอบศาสนพิธีในดินแดนต่างๆของสหพันธรัฐ

(2) ในรัฐต่างๆยกเว้นรัฐที่ไม่มีกษัตริย์( Raja) นั้น กษัตริย์ หรือ Raja มีสถานะเป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามภายในรัฐของพระองค์ การกระทำการ หรือ พิธีการทางศาสนาใดๆที่ได้รับเห็นชอบจากสภาเจ้าผู้ครองรัฐ ดังนั้นเจ้าผู้ครองรัฐต้องเห็นชอบให้พระราชาธิบดีเป็นตัวแทนในนามของเจ้าผู้ครองรัฐ

( 3) รัฐธรรมนูญของรัฐ (Perlembangaan Negeri) ของรัฐมะละกา ปีนัง ซาบะห์และซาราวัค ต้องให้อำนาจแก่พระราชาธิบดี ในการเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของรัฐดังกล่าว

( 5) พระราชาธิบดี (Yang Di Pertuan Agong) ต้องเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของดินแดนสหพันธรัฐเช่น ดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ดินแดนสหพันธรัฐลาบวน(Labuan) และ ดินแดนสหพันธรัฐปุตรจายา (Putrajaya)

มาตรา 4 : กฎหมายหลักของสหพันธรัฐ

(1)รัฐธรรมนูญนี้เป็นกฎหมายหลักของสหพันธรัฐ และกฎหมายต่างๆที่ออกหลังวันเอกราชและขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้คือเป็นโมฆะ

ตอน 2 เสรีภาพขั้นพื้นฐาน

มาตรา 5 เสรีภาพของตนเอง (Kebebasan diri)

(1)ไม่สามารถที่จะประหารชีวิตบุคคลใด หรือยกเลิกสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของเขาได้ นอกจากโดยอาศัยอำนาจของกฏหมาย

(2) เมื่อมีการอุทธรณ์ต่อศาลสูง (Mahkamah Tinggi)หรือผู้พิพากษาศาลสูงใดๆว่าบุคคลถูกจับโดยมีความแย้งกับกฎหมาย ทางศาลสูงจะต้องทำการพิจารณา ยกเว้นจนกว่าศาลจะพอใจว่าบุคคลนั้นถูกจับโดยชอบตามกฎมาย ศาลต้องให้บุคคลนั้นขึ้นศาลและปล่อยเขาไป

(3) ถ้าบุคคลใดถูกจับต้องแจ้งเหตุผล(ข้อหา)ของการจับและต้องอนุญาตให้เขาพบกับทนายความที่เขาเลือก

มาตรา 6 การห้ามการทำงานโดยการบังคับและการเป็นข้าทาส

(1)ไม่สามารถบังคับ(Tahan) บุคคลใดเป็นทาสได้

(2)การทำงานโดยการบังคับได้รับการห้าม ยกเว้นรัฐสภาได้ออกกฎหมายเกณฑ์บังคับประชาชนเพื่อทำงานแก่ประเทศชาติ

มาตรา 8 ความเสมอภาพ
(1)ทุกคนมีความเสมอภาพในด้านกฎหมายและมีสิทธิ์ได้รับการปกป้องจากกฎหมายด้วยความเสมอภาพ

(3)ไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างในการได้รับผลประโยชน์จากบุคคลนั้นเป็นประชาชนของ Raja แห่งรัฐใดๆ

(5)สิ่งเหล่านี้ไม่อาจห้ามหรือยกเลิกได้
b ตำแหน่งที่มีการจำกัดที่เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือมูลนิธิ (yayasan) ที่ดำเนินการโดยศาสนานิกชนนั้นๆ

c การพิทักษ์/การพัฒนาคนพื้นเมือง(Orang Asli)ในแหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu) ( รวมทั้งสงวนสิทธิ์ที่ดินสำหรับคนพื้นเมืองชาวมลายู หรือ Malay Reserve Land (Rezab Tanah Melayu)หรือ การสงวนสิทธิ์ตำแหน่งต่อคนพื้นเมืองตามความเหมาะสม[2]

มาตร 9 (1) บุคคลผู้มีสัญชาติไม่สามารถเนรเทศออกนอกหรือการห้ามเข้ามายังสหพันธรัฐ

(2) บุคคลผู้มีสัญชาติสามารถเคลื่อนไหว (bergerak) โดยอิสระทั่วสหพันธรัฐและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ใดๆของสหพันธรัฐ[3]
มาตรา10 : ความอิสระในการพูด ชุมนุม และจัดตั้งสมาคม

(1)(b) ผู้มีสัญชาติทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชุมนุมโดยสันติและปราศจากอาวุธ

(c) ผู้มีสัญชาติทุกคนมีสิทธิ์จัดตั้งสมาคม

มาตรา 11 ความอิสระในการนับถือศาสนา

(1) ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะนับถือศาสนาและประกอบพิธีทางศาสนาของตนเอง
(2) ทุกคนไม่อาจถูกบังคับให้เสียภาษีใดๆ ถ้ารายได้จากภาษีนั้นๆไม่ว่าจะเป็นทั้งหมด หรือ บางส่วนเป็นภาษีเพื่อการเฉพาะกิจการสำหรับศาสนาใดๆที่ไม่ใช่ศาสนาที่ตนเองนับถือ

(4) กฎหมายของรัฐต่างๆ, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ดินแดนสหพันธรัฐลาบวน และ ดินแดนสหพันธรัฐPutrajaya สามารถควบคุม หรืสกัดกั้นการเผยแพร่ความเชื่อหรือศาสนาอื่นในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

มาตรา 12 สิทธิในการศึกษา

(2)ทุกกลุ่มศาสนามีสิทธ์ในการจัดตั้งและดำเนินการสถาบันเพื่อการศึกษาของเยาวชนในกลุ่มศาสนาตนเอง แต่สหพันธรัฐหรือรัฐใดๆมีสิทธ์ที่จะดำเนินจัดตั้งสถาบันอิสลามหรือให้ความช่วยเหลือต่อการสอนศาสนาอิสลามด้วยงบประมาณใดๆเพื่อวัตถุประสงค์นั้น

มาตรา 13 สิทธิในทรัพย์สิน
(1) บุคคลใดๆไม่อาจยกเลิกสิทธ์ในทรัพย์สิน ยกเว้นโดยการใช้กฎหมาย

(2) ไม่มีกฎหมายใดๆที่สามารถนำมาซึ่งทรัพย์สิน หรือนำทรัพย์สินโดยการบังคับซึ่งปราศจากการให้ค่าชดเชยตามความเหมาะสม

ตอน 3 สัญชาติ

บท 1 การได้มาซึ่งสัญชาติ

มาตรา 14: บุคคลที่ได้รับสัญชาติตามกฎหมาย

(1) บุคคลต่อไปนี้ที่ได้รับสัญชาติตามอำนาจของกฎหมาย

a- บุคคลที่เกิดก่อนวันมาเลเซีย (16 Seb 1963) และเป็นบุคคลสัญชาติสหพันธรัฐ

b- บุคคลที่เกิดในหรือภายหลังวันมาเลเซีย และมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ใน ตอน 2 ตาราง 2

c- ยกเลิก

(2)ยกเลิก

(3)ยกเลิก

มาตรา15 : การได้สัญชาติโดยการยืนจดทะเบียน (Pendaftaran) (ภรรยาและบุตรของผู้มีสัญชาติ)
(1) สตรีต่างชาติที่มีสามีเป็นผู้ที่มีสัญชาติ ผู้มีสัญชาติตั้งแต่ ตุลาคม1962
a มีถิ่นฐานอยู่ในสหพันธรัฐเป็นเวลา 2ปี ก่อนที่จะยืนจดทะเบียน

b มีความประพฤติดี

(2) บิดามารดาหรือผู้ปกครอง (Penjaga) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี ยืนคำร้องต่อรัฐบาลสหพันธรัฐ ทางรัฐบาลสหพันธรัฐสามารถสั่งให้บุคคลผู้นั้นยืนจดทะเบียนสัญชาติ ในกรณีที่มีบิดาหรือมารดา(หรือขณะที่เสียชีวิต)มีสัญชาติ

(4) ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานถาวรในก่อนวันจัดตั้งประเทศมาเลเซียในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ให้ถือเป็นผู้ตั้งถ่นฐานถาวรในสหพันธรัฐด้วย

15a : อำนาจพิเศษในการจดทะเบียนสำหรับเยวชน

รัฐบาลสหพันธรัฐมีอำนาจพิเศษตามที่เห็นว่าสมควรในการสั่งให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีให้จดทะเบียนเป็นบุคคลมีสัญชาติ

16: การได้สัญชาติโดยการยื่นจดทะเบียน (สำหรับคนที่เกิดในสหพันธรัฐก่อนวันเอกราช 31สิงหาคม 1957 )[4]

16a: การได้สัญชาติโดยการยื่นจดทะเบียน ( สำหรับคนที่ตั้งถิ่นฐานในรัฐซาราวัค รัฐซาบะห์ในวันมาเลเซีย

มาตรา19 : การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ ( Cara Kemasukan)

(1)คนทีมีอายุ 21 ปี หรือเกินกว่านั้นที่ไม่ใช่สัญชาติ สามารถขอสัญชาติได้ โดยเมื่อทางรัฐบาลมีความพอใจ
a โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1 อาศัยอยู่ในสหพันธรัฐตามเวลาที่กำหนด[5] และมีความประสงค์จะอาศัยถาวรอยู่ในสหพันธรัฐ

2 ยกเลิก

b มีความประพฤติดี

c มีความรู้(สามารถพูด) ในภาษามลายู

บท 2 การยุติ /ยกเลิกสัญชาติ

มาตรา 23 การปฏิเสธสัญชาติ

(1)บุคคลที่ต้องการได้รับสัญชาติอื่น สามรถยื่นเรื่องขอยกเลิกสัญชาติสหพันธรัฐได้

มาตรา24 การหลุดจากสัญชาติโดยได้รับสัญชาติอื่น

(1)บุคคลผู้มีสัญชาติอื่นโดยการยื่นจดทะเบียน การโอนสัญชาติ (Kemasukan) หรือวิธีใด ยกเว้นด้วยการแต่งงาน รัฐบาลสหพันธรัฐสามารถยุติการมีสัญชาติของบุคคลผู้นั้นได้

(2)บุคคลผู้ได้รับผลประโยชน์จากการมีสิทธิผลประโยชน์ตามสัญชาติอื่น ทางรัฐบาลสามารถยุติสัญชาติของบุคคลผู้นั้นได้

บท3 เพิ่มเติม


มาตรา 29 สัญชาติเครือจักรภพ (Commonwealth)

(1)ด้วยสหพันธรัฐอยู่ในเครือจักรภพ ดังนั้นผู้มีสัญชาติย่อมได้รับสถานะสัญชาติของเครือจักรภพเท่าเทียบกับสัญชาติอื่นๆที่อยู่ในเครือจักรภพ

(มาตราที่เกี่ยวกับสัญชาติ ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 31 โดยมาตรา 17,19a, 20, 21,30a, 30b มีการยกเลิก และมีการยกเลิกในบางวรรคของมาตราต่างๆ)

ตอน 4 สหพันธรัฐ
บท 1 : ผู้นำประเทศ

มาตรา 32 : ผู้นำประเทศของสหพันธรัฐและพระราชินี

(1)ผู้นำประเทศเรียกว่า Yang Di Pertuan Agong ผู้ไม่สามารถถูกกล่าวหาต่อศาลใดๆยกเว้นในศาลพิเศษ ( Mahkamah Khas ) ที่จัดตั้งขึ้นในตอนที่15

(2)พระราชินีเรียกว่า Raja Permaisuri Agong

(3)Yang Di pertuan Agong ได้รับเลือกโดยสภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja มีวาระ 5 ปี

มาตรา 33 รองผู้นำประเทศของสหพันธรัฐ
(1 ) ต้องมีรองผู้นำประเทศรียกว่า Timbalan Yang Di Pertuan Agong
(2 ) รองผู้นำประเทศ หรือ Timbalan Yang Di Pertuan Agong ได้รับการเลือกตั้งจาก สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja มีวาระ 5 ปี

33a พระราชาธิบดี หรือ Yang Di Pertuan Agong ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา

(1) ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีถูกตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายที่กำหนดในศาลพิเศษ

(2)ระยะเวลาการยุติการปฏิบัติหน้าที่ของ Yang Di Pertuan Agong ถือเป็นระยะเวลาในตำแหน่งของ Yang Di Pertuan Agong

มาตรา 34 สิ่งที่ Yang Di Pertuan Agong ไม่สามารถกระทำได้

(1)ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำของรัฐตนเอง ยกเว้นผู้นำทางศาสนาอิสลามภายในรัฐตนเอง

(3)ไม่สามารถดำเนินธุรกิจ

บท 2 สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja

มาตรา 36 ตรายางใหญ่หรือ Mohor Besar

พระราชาธิบดี หรือ Yang Di Pertuan Agong เป็นผู้เก็บและใช้ตรายางใหญ่ หรือ Mohor Besar[6]

มาตรา 38 สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja

(2)หน้าที่ของ สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Rajaคือ

a-เลือก Yang Di Pertuan Agong และ Timbalan Yang Di Pertuan Agong

b-เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการกระทำการใด การปฏิบัติหรือพิธีทางศาสนาครอบคลุมทั่วสหพันธรัฐ

c-เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกฎหมายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้

d- แต่งตั้งสมาชิกศาลพิเศษ (Mahkamah Khas)

e- ให้การอภัยโทษและสามารถให้การพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายของประเทศ

บท 3 ผู้ปกครอง

มาตรา41 Yang Di Pertuan Agong คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพสหพันธรัฐ

มาตรา43 คณะรัฐมนตรี
(1)Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คำปรึกษาต่อ Yang Di Pertuan Agong ในการปฏิบัติหน้าที่

(2) คณะรัฐมนตรีต้องมีเงื่อนไขดังนี้
a Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับความไว้วางใจจากส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภา

b โดยการแนะนำของนายกรัฐมนตรี ทาง Yang Di Pertuan Agong ได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งจากสมาชิกรัฐสภา[7]

43a –รัฐมนตรีช่วย

(1) Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยจากสมาชิกรัฐสภา ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

(2) รัฐมนตรีช่วยมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ

43b-เลขานุการฝ่ายรัฐสภา หรือ Setiausaha Parlimen

(1) นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเลานุการฝ่ายรัฐสภาจากสมาชิกรัฐสภา

(2) เลขานุการฝ่ายรัฐสภามีหน้าที่ให้การช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วย

43c-เลขานุการฝ่ายการเมือง หรือ Setiausaha Politik

(1) นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลต่างๆเป็นเลานุการฝ่ายการเมือง


(2) บุคคลต่างๆเป็นเลานุการฝ่ายการเมืองมีเงื่อนไขคือ

a ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา

b สามารถลาออกได้ทุกเวลา

บท 4 องค์กรนิติบัญญัติสหพันธรัฐ

มาตรา 44 สมาชิกรัฐสภา (Parliment)

อำนาจนิติบัญญัติตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Parliament ซึ่งประกอบด้วย Yang Di Pertuan Agong และอีก 2 สภา คือ 1. วุฒิสภา หรือ Dewan Negara 2. สภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Rakyat

มาตรา 45 สมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ถูกเลือก(dipilih)และถูกแต่งตั้ง (dilantik)

a- ได้รับการถูกเลือกจำนวน 2 คนต่อทุกๆรัฐ

aa-ได้รับการแต่งตั้งจาก Yang Di Pertuan Agong เนจำนวน 2 คน สำหรับดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอรร์ 1 คน สำหรับดินแดน Labuan 1 คน สำหรับดินแดนสหพันธรัฐ Putrajaya

b- 40 คน ได้รับการ แต่งตั้ง (dilantik) โดยYang Di Pertuan Agong

(2)คนได้รับการแต่งตั้งจาก Yang Di Pertuan Agong เป็นผู้ที่มีความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ด้านข้าราชการพลเรือน หรือในสายอาชีพ การค้า อุตสาหกรรม การเกษตร และวัฒนธรรม[8] ตัวแทนของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรจำนวนน้อย(เช่นชุมชนไทย คนพื้นเมือง หรือ คนอัสรี)

(3) มีวาระ 3 ปี

(3a)ไม่สามารถเป็นได้ 2 สมัยไม่ว่าจะต่อเนื่องหรือเว้นวาระ

มาตรา46 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Dewan Rakyat

(1 )ประกอบด้วยสมาชิก 219 คนที่ถูกเลือก (dipilih)

(2)สมาชิกดังกล่าวประกอบด้วย

a- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 206 คนจากรัฐต่างๆในมาเลเซียคือ

1. จำนวน 20 คน จากรัฐโยโฮร์ 2. จำนวน 15 คน จากรัฐเคดะห์

3. จำนวน 14 คน จากรัฐกลันตัน 4. จำนวน 6 คน จากรัฐมะละกา

5. จำนวน 8 คน จากรัฐนัครีซึมบีลัน 6. จำนวน 14 คน จากรัฐปาหัง

7. จำนวน 13 คนจากรัฐเปีนัง 8. จำนวน24 คน จากรัฐเปรัค

9. จำนวน 3 คนจากรัฐเปอร์ลิศ 10.จำนวน 25 คน จากรัฐซาบะห์

11. จำนวน 28 คนจากรัฐซาราวัค 12.จำนวน 22 คน จากรัฐสลังงอร์

13. จำนวน 8 คนจากรัฐตรังกานู


b- 13 คนจากดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ลาบวน และ Putrajaya มีดังนี้

1. จำนวน11 คนจากกัวลาลัมเปอร์

2. จำนวน1 คนจาก Labuan

3. คนจำนวน1 คน จาก Putrajaya

มาตรา47 การเป็นสมาชิก Parliament

a- สมาชิก Dewan Negara มีอายุไม่ต่ำกว่า 30ปี

b- สมาชิก Dewan Rakyat มีอายุไม่ต่ำกว่า21 ปี

มาตรา 49 บุคคลหนึ่งจะเป็นสมาชิก 2 สภา (Dewan Negara- Dewan Rakyat ) พร้อมๆ กันไม่ได้ และจะต้องไม่ได้ถูกเลือกเป็นตัวแทนมากกว่า1 รัฐ และจะเป็นสมาชิกที่ถูกเลือก (dipilih) และถูกแต่งตั้ง(dilantik)ในเวลาเดียวกันไม่ได้

มาตรา56 ประธานสภาและรองประธานสภาของ Dewan Negara

(4)บุคคลที่เป็นสมาชิกของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐที่ได้รับเลือกเป็นประธาน Dewan Negara จะต้องลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ

มาตรา57 ประธานสภาและรองประธานสภา Dewan Rakyat

(1) Dewan Rakyat จะต้องเลือก
a- ประธานสภา Dewan Rakyat 1 คน
b- รองประธานสภา 2คน

มาตรา 58 : เงินเกษียณ (บำนาญ) สำหรับประธาน รองประธาน Dewan Negara- Dewan Rakyat

มาตรา 63 : สิทธิพิเศษของสมาชิก Parliament

(2)ไม่สามารถฟ้องร้องในช่วงปฏิบัติงานใน Parliament

มาตรา64: เงินเกษียร (บำนาญ) ของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตอน 5 รัฐต่างๆ

มาตรา70 ความสำคัญของสุลต่าน และYang Di Pertuan Negeri (ผู้ว่าการรัฐ)

Raja (สุลต่าน) และ Yang Di Pertuan Agong Negeri (ผู้ว่าการรัฐ) ย่อมมีความสำคัญในรัฐของตนเองมากกว่า Raja และ Yang Di Pertuan Agong Negeri (ผู้ว่าการของรัฐอื่นๆ)

(2) Raja มีความสำคัญกว่าผู้ว่าการรัฐ และในบรรดา Raja ผู้ที่อาวุโสคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นRaja ก่อนโดยคิดตามวันเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งสำหรับบรรดาผู้ว่าการรัฐก็เช่นกัน ผู้ที่อาวุโสคือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งก่อน ในกรณีที่ผู้ว่าการรัฐได้รับการแต่งตั้งในวันเวลาเดียวกันให้ถือผู้มีอายุมากกว่าเป็นสำคัญ
มาตรา71 หลักประกันของสหพันธรัฐต่อรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ

(1) สหพันธรัฐรับประกันสิทธิของRaja ในรัฐต่อการสืบราชทายาทและสืบราชบังลังก์ รับประโยชน์ และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญของรัฐ แต่กรณีเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการสืบราชบังลังก์ของ Raja จะถูกตัดสินโดยผู้มีอำนาจตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งรัฐเท่านั้น

(2) ถ้ามีการแก้ไข( ถ้าจำเป็นต้องแก้ไขใน(1) สำหรับผู้ปกครองของรัฐก็ใช้ตามมาตรานี้สำหรับรัฐอื่น)

มาตรา72 ความสำคัญของ Dewan Negeri

ตอน 6 ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐกับรัฐต่างๆ

มาตรา73 ขอบเขตของกฎหมายสหพันธรัฐและรัฐต่างๆ

(1)รัฐสภาสามารถออกกฎหมายครอบคลุมสหพันธรัฐหรือส่วนใดของสหพันธรัฐรวมทั้งกฎหมายที่ใช้ภายนอกและภายในสหพันธรัฐ

(2)สภานิติบัญญัติแห่งรัฐสามารถออกกฎหมายครอบคลุมหรือส่วนใดของรัฐดังกล่าวได้

มาตรา75 กฎหมายของรัฐที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐ

กฎหมายใดๆของรัฐที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐนั้น ต้องใช้กฎหมายสหพันธรัฐและกฎหมายรัฐต้องเป็นโมฆะ ในส่วนที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐ

หน้าที่ของรัฐที่มีต่อสหพันธรัฐ

(1) กฎหมายต่างๆของสหพันธรัฐที่ใช้ในรัฐนั้นได้รับการปฏิบัติและ
(2)ไม่ขัดขวางหรือกระทบการปฏิบัติของผู้ปกครองสหพันธรัฐ

บทที่ 3 ภาระทางด้านการเงิน

มาตรา 82 ภาระความรับผิดชอบทางด้านการเงิน

(a)โดยสหพันธรัฐ ถ้างบประมาณดัวยความยินยอมของสหพันธรัฐหรือความยินยอมของรัฐต่างๆในการปฏิบัติตามนโยบายของสหพันธรัฐ โดยความเห็นชอบของรัฐบาลสหพันธรัฐ

(b)โดยรัฐ ถ้างบประมาณดังกล่าวด้วยความยินยอมของรัฐหรือผู้ปกครองของรัฐดังกล่าว

บทที่ 4 ที่ดิน

มาตรา 85 การทำที่ดินเพื่อสหพันธรัฐ

(1)ถ้ารัฐบาลสหพันธรัฐมีความพอใจในที่ดินของส่วนใดๆในรัฐที่ไม่ใช่ที่ดินนี้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อวัตถุประสงค์ของสหพันธรัฐ ภายหลังจากได้มีการเจรจากับรัฐนั่นแล้ว รัฐดังกล่าวต้องมอบที่ดินที่สหพันธรัฐต้องการ


มาตรา89 เกี่ยวกับที่ดิน Adat ที่ Naning และMelaka และการถือครองของคนมลายูในรัฐตรังกานู

(1)ไม่มีสิ่งใดที่รัฐธรรมนูญนี้สามารถก้าวก่าย (Menyentuh sahnya)เกี่ยวกับการดำเนินการโดยกฎหมายโอนกรรมสิทธ์ (pemindahan Milik) หรือเช่าที่ดินขนบธรรมเนียม(Pemajakan tanah Adat) ที่ Naning หรือMelaka (Naning Alor Gajah)[9]

(2)กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของคนมลายูในรัฐตรังกานูต้องดำเนินต่อไป

บทที่7 สภาแห่งชาติสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น Majlis Negara bagi kerajaan Tempat

มาตรา95a สภาแห่งชาติ สำหรับรัฐบาลท้องถิ่น

(1)ต้องมีสภาฯโดยมีรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้แทนรัฐละ 1 คน โดยRaja หรือผู้ว่าการรัฐเป็นผู้แต่งตั้งและอีกผู้แทนรัฐบาลสหพันธรัฐอีกจำนวนหนึ่งมีรัฐบาลสหพันธรัฐเป็นผู้แต่งตั้ง แต่ไม่เกิน 10คน

(3)ประธานสภาฯเป็นผู้เรียกประชุมตามที่เห็นสมควร แต่อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง

บทที่ 8 การใช้สำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา95B การปรับปรุงแก้ไขสำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัคเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจทางกฎหมาย
มาตรา95D รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคอยู่นอกอำนาจของรัฐสภาในการออกกฎหมายกับที่นั้นหรือรับบาลท้องถิ่น

มาตรา 95E รัฐซาบะห์และซาราวัคอยู่นอกโครงการแห่งชาติที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน รัฐบาลท้องถิ่น การพัฒนาฯลฯ

ตอนที่ 7 งบประมาณ

มาตรา108 โดยประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างๆที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีและผู้แทนจากรัฐต่างๆรัฐ, 1 คนโดยได้รับการแต่งตั้งจากRaja หรือผู้ว่าการรัฐ

มาตรา111 การห้ามการกู้ยืม

(1)สหพันธรัฐไม่สามารถกู้ยืมได้นอกจากอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายสหพันธรัฐ

(2)รัฐต่างๆไม่สามารถกูยืมได้นอกจากอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายรัฐนั้น

และกฎหมายรัฐต่างๆไม่สามารถอนุญาตให้รัฐนั้นทำการกู้ยืมยกเว้นจากสหพันธรัฐหรือในระยะเวลาไม่เกิน 5ปี จากธนาคารหรือแหล่งเงินที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลสหพันธรัฐ

มาตรา112 ห้ามการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งภายในรัฐ

(1)รัฐใดไม่สามารถดำเนินการโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสหพันธรัฐในการเพิ่มตำแหน่ง หรือตำแหน่งอื่นๆในหน่วยงานหรือเปลี่ยนแปลงเงินเดือนที่ได้กำหนดไว้

บทที่ 2 สำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัค
มาตรา112B อำนาจในการกู้ยืมสำหรับรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคไม่เป็นการห้ามสำหรับรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคในการกู้ยืมภายใต้อำนาจของกฎหมายรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค เมื่อธนาคารแห่งชาติ (Bank Negara) ได้มีการอนุมัติแล้ว

มาตรา112c การให้พิเศษและการมอบรายได้แก่รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

(a) สหพันธรัฐจะต้องให้แก่รัฐซาบะห์และซาราวัคทุกๆปีตามปีงบประมาณ

(b) ทุกๆรัฐจะได้รับรายได้จากภาษี แต่ bayaran (ค่าธรรมเนียม) และdiu ดังที่ได้ทำการเก็บหรือได้กำหนดอัตราได้

ตอน 8 การเลือกตั้ง
มาตรา113การดำเนินการเลือกตั้ง

มาตรา119 คุณสมบัติ

(1)พลเมืองผู้มีสัญชาติที่มี

(a)อายุครบ 21ปี
(b)ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเลือกตั้ง หรือถ้าไม่ตั้งถิ่นฐานต้องเป็น pengundi tak hadir

(c)ลงทะเบียนตามกฎหมายเลือกตั้ง

ตอนที่ 9 ศาล
มาตรา121 อำนาจของศาลสำหรับสหพันธรัฐ

(1) มีศาลสูงอยู่ 2 ศาล คือ
(a)หนึ่ง: ตั้งอยู่ในแหลมมลายูเรียกว่า Mahkamah Tinggi Malaya มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur

(b)หนึ่ง: ตั้งอยู่รัฐซาบะห์และซาราวัคเรียกว่า Makamah Tinggi di Sabah และSarawak[10] ตั้งอยู่ในพื้นที่รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ตามที่ได้กำหนดไว้โดย Yang Di Pertuan Agong

(1A)ศาลที่ได้กล่าวไว้ในวรรค(1ไม่ได้มีอำนาจเกี่ยวกับศาลชารีอะห์

(1B)มีศาลอุทธรณ์(Mahkamah Rayuan ) มีสำนักงานอยู่ในKL

(2)จำต้องมีศาลที่เรียกว่า Mahkamah persekutuan มีสำนักงานอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur และศาลสูงสุด (Mahkamah Agong)

มาตรา122 สมาชิกศาลสหพันธรัฐ
(1) ศาลสหพันธรัฐต้องมีผู้นำศาลหรือเรียกว่า Ketua Hakim Negara Mahkamah Persekutuan ,Presiden ศาลอุทธรณ์ บรรดาผู้พิพากษาศาลสูง (Hakim Besar Mahkamah Tinggi) ผู้พิพากษาสมทบอีกจำนวนหนึ่ง

มาตรา122a สมาชิกศาลอุทธรณ์
(1)ศาลอุทธรณ์ (Mahkamah Rayuan ) ประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งเรียกว่าPresiden Mahkamah Rayuan

(2)ผู้พิพากษาศาลสูงสามารถตัดสินความในฐานะของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ในกรณีประธานอุทธรณ์เห็นความสำคัญของความยุติธรรม

มาตรา122aa สมาชิกศาลสูง (mahkamah Tinggi)

(1)ทุกศาลสูงประกอบด้วย Hakim Besar คนหนึ่งและไม่น้อยกว่าผู้พิพากษาอื่นๆอีก4คน แต่จำนวนผู้พิพากษาอื่นนั้นต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้โดยพระราชาธิบดีคือ

a- 47 คนที่ศาลสูงที่ Malaya

b-10 คน ที่ศาลสูงที่รัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา137 สภาทหาร

(1)ต้องมีสภาทหารขึ้น มีความรับผิดชอบภายใต้อำนาจของพระราชาธิบดีหรือผู้ปกครอง

(3)สภาทหารประกอบด้วยสมาชิก

(a) รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหารเป็นประธานสภา

(b) ตัวแทนเจ้าผู้ครองรัฐๆละ1คน แต่งตั้งโดย สภาเจ้าผู้ครองรัฐ (Majlis Raja-Ra)

(c) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระราชาธิบดี

(d) พลเรือน1 คนผู้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาทหาร

(e)นายทหารชั้นสูง 2 นาย ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(f)นายทหารชั้นสูง(ทหารเรือ)แห่งสหพันธรัฐ 1คน ที่ได้รับแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(g)นายทหารชั้นสูง(ทหารอากาศ) แห่งสหพันธรัฐ 1 คน

ที่ได้รับแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(h)สมาชิกเพิ่มเติมอีก 2คน จากนายทหารหรือพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

มาตรา150การประกาศภาวะฉุกเฉิน
(1) พระราชาธิบดีสามารถประกาศภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่เห็นว่าจะเกิดภาวะฉุกเฉินในด้านความปลอดภัยหรือเศรษฐกิจหรือความสงบภายในสหพันธรัฐ
ตอนที่ 12 บททั่วไป

มาตรา152 ภาษาแห่งชาติ

(1)ภาษาแห่งชาติคือภาษามลายู และต้องเขียนด้วยอักขระที่ได้กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

(a)ไม่สามารถห้ามหรือกีดกั้นผู้ใดจากการใช้(ด้วยวัตถุประสงค์ใดๆนอกจากวัตถุประสงค์ทางการ)หรือจากการสอนหรือเรียนภาษาใดๆและ

(b)ไม่มีสิ่งใดในวรรคนี้ที่สามารถกระทบสิทธิของรัฐบาลสหพันธรัฐหรือสิทธิของรัฐบาลแห่งรัฐในการรักษาและดำเนินการใช้ภาษาและการเรียนภาษาของกลุ่มชนใดๆในสหพันธรัฐ

(2)ตาม(1) ภายหลังจากวันเอกราช 10 ปี และภายหลังจากนั้นที่ได้กำหนดโดยรัฐสภา ภาษาอังกฤษสามารถใช้ในรัฐสภาทั้งสอง (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) ในสภานิติบัญญัติแห่งรัฐของรัฐต่างๆและในที่เป็นทางการอื่นๆ

วันเอกราช
(3)ตาม(1) ภายหลังจาก 10 ปี และภายหลังจากเวลาดังกล่าวที่ได้กำหนดโดยรัฐสภาเอกราชฉบับดังนี้

a. กฎหมายที่ต้องการออกประกาศหรือแก้ไขในรัฐสภาและ

b.พระราชบัญญัติรัฐสภาและกฎหมายลูกที่ออกโดยรัฐบาลสหพันธรัฐจะต้องเขียนในภาษาอังกฤษ

(4)ตาม(1) ภายหลังจากวันเอกราช10 ปี และภายหลังจากเวลาดังกล่าวที่ได้กำหนดโดยรัฐสภาการพิจารณาคดีความในศาลสหพันธรัฐ ศาลอุทธรณ์หรือศาลสูง จะต้องดำเนินการในภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขว่าทางศาลและทนายความมีความยินยอม การเบิกความของพยานไม่จำเป็นต้องบันทึกและแปลเป็นภาษาอังกฤษ

มาตรา153 ความแตกต่างของโควตาเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ใบอนุญาตและอื่นๆสำหรับคนมลายู

(1) เป็นภาระหน้าที่ของพระราชาธิบดีต้องพิทักษ์สถานภาพพิเศษของคนมลายูและภูมิบุตร (Bumiputra) ของรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค และผลประโยชน์ของชนเผ่าอื่นๆที่ได้กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ[11]

(8A)ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ถ้ามหาวิทยาลัย วิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน

มาตรา 154 เมืองหลวงของสหพันธรัฐ

(1)กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองของสหพันธรัฐ

(2)รัฐสภามีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อกำหนดเขตแดนของเมืองหลวงสหพันธรัฐ

มาตรา155 การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติกับรัฐอื่นๆในเครือจักรภพ

(1) ถ้ามีกฎหมายในส่วนใดๆของเครือจักรภพที่ให้สิทธิหรือความพิเศษแก่ผู้มีสัญชาติของสหพันธรัฐจึงมีความชอบธรรมแก่รัฐสภาที่จะให้สิทธิหรือความพิเศษเหมือนกันแก่ผู้มีสัญชาติของเครือจักรภพที่ไม่ใช่ผู้มีสัญชาติสหพันธรัฐ

(2) ตาม(1) ที่กล่าวถึง สัญชาติของส่วนหนึ่งของเครือจักรภพที่เกี่ยวกับราชอาณาจักร (อังกฤษ) หรือส่วนหนึ่งอื่นส่วนใดๆของเครือจักรภพหรือไม่ใช่ดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลของเครือจักรภพที่ไม่ใช่ราชอาณาจักร จะต้องหมายถึงผู้มีสัญชาติของราชอาณาจักรและดินแดนภายใต้การปกครองของราชอาณาจักร

(3)วรรคนี้ใช้สำหรับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ดังที่ใช้สำหรับประเทศเครือจักรภพ

มาตรา160 การอธิบาย

(2)ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้ามีใช้เกิดความหมายที่แตกต่างจะต้องมีความหมายดังนี้

Orang Asli” (คนพื้นเมือง) หมายถึง คนพื้นเมืองในแหลมมลายู

“พระราชบัญญัติรัฐสภา” (akta Parlimen) หมายถึง กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา

“อัยการสูงสุด” (Peguam Negara) หมายถึง อัยการสูงสุดสำหรับสหพันธรัฐ

“มุขมนตรี” (Ketua Menteri Besar) หมายถึง ผู้นำของสภาผู้บริหารแห่งรัฐในรัฐหนึ่งๆไม่ว่าจะเรียกตำแหน่งดังกล่าวว่าอะไรก็ตาม

“ผู้มีสัญชาติ” (warga negara)หมายถึง สัญชาติสหพันธรัฐ

“รัฐเครือจักรภพ” (Negara komanwel ) หมายถึง รัฐที่ได้รับการยอมรับโดยพระราชาธิบดีว่าเป็นรัฐเครือจักรภพ และส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ (bahagian Komanwel) หมายถึงรัฐใดๆในเครือจักรภพ ดินแดนอาณานิคม ดินแดน

“สภาผู้บริหารแห่งรัฐ ” (Majlis Mesyuaratan Kerajaan) หมายถึง คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรใดๆไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม ในรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐหนึ่งไม่ว่าสมาชิกจะเป็นรัฐมนตรี หรือไม่เช่นเดียวกันกับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของสหพันธรัฐ (รวมทั้งSupreme Council ในซาราวัค)

“กฎหมายสหพันธรัฐ” หมายถึง

1.กฎหมายที่รัฐสภาเป็นผู้ออกประกาศ

2.พระราชบัญญัติของรัฐสภา

“รัฐอื่น” (Negara Asing) หมายถึง รัฐที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐเครือจักรภพ หรือสาธารณรัฐไอร์แลนด์

“สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ” (Dewan Negari) หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตามภายในรัฐหนึ่งๆรวมทั้ง State Council ของรัฐซาราวัค

“มลายู” หมายถึง บุคคลใดๆที่นับถือศาสนาอิสลาม ต้องพูดภาษามลายู ดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูและ

(a) เกิดก่อนวันเอกราชในสหพันธรัฐหรือสิงคโปร์ หรือมารดาหรือบิดาเกิดในสหพันธรัฐหรือในสิงคโปร์ หรือในวันเอกราชโดยตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหพันธรัฐหรือสิงคโปร์หรือ

(b)เป็นลูกหลานของบุคคลดังกล่าว

“วันเอกราช” หมายถึง วันที่ 31 สิงหาคม 1957

“รัฐ” (Negeri) หมายถึงรัฐในสหพันธรัฐ

“กฎหมายของรัฐ” (Undang –Undang Negeri) หมายถึง กฎหมายใดๆที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐเป็นผู้ออกประกาศ

“สหพันธรัฐ” หมายถึง สหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา (Pasekutuan Tanah Melayu) ปี 1957
มาตรา161 การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาภูมิบุตรในรัฐซาบะห์และซาราวัค

(2)การใช้ภาษาอังกฤษได้ดังนี้
(a)การใช้ภาษาอังกฤษในสภาใดๆของรัฐสภาโดยสมาชิกจากรัฐซาบะห์และซาราวัค
(b)การใช้ภาษาอังกฤษในศาลสูงของรัฐซาบะห์และซาราวัค หรือศาลต้นในรัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา161A สถานภาพพิเศษของ Bumi putra ในรัฐซาบะห์และซาราวัค

(4)รัฐธรรมนูญของรัฐซาบะห์และซาราวัค สามารถออกกฎเช่นเดียวกันกับมาตรา153

(6) ความหมายของ Bumi putra หมายถึง

(a) สำหรับรัฐซาราวัค ผู้มีสิทธิและมีการกำหนดชนเผ่าตามวรรค(7) ถือเป็นชนเมือง (Bumiputra)หรือมีเลือดผสมของชนพื้นเมืองดังกล่าว

(b) สำหรับรัฐซาบะห์ ผู้มีสัญชาติและลูกหลานของชนพื้นเมืองรัฐซาบะห์และเกิดในรัฐซาบะห์ หรือบิดาขณะที่เกิดเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์

(7) ชนพื้นเมืองที่ถือเป็นภูมิบุตร (Bumiputra) ของรัฐซาราวัคตามวรรค(6)คือ
Bukitan,
Bisayah,
Dusun,
Dayak Laut,
Dayak Darat,
Kadayan,
Kalabit,
Kayan,
Kehyah (รวมทั้ง Sabup และSipeng),
Kajang, (รวมทั้ง Sekapan,Kejamah,Lehanan,Punan,Tanjung,และKanowit),
Lugat,
lisum,
Melayu,
Melano,
Murut,
Penan,
Sian,
Tagal,
Tabun และ Ukit

มาตรา 161B การว่าความในศาลในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค
การว่าความของทนายความที่ไม่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้นสามารถว่าความในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคได้ตามพระราชบัญญัติของรัฐสภาจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากรัฐดังกล่าว

ตอนที่14สถานภาพขอเจ้าผู้ครองรัฐ

มาตรา181 สถานภาพของเจ้าผู้ครองรัฐ

(1)รัฐธรรมนูญนี้จะไม่กระทบถึงสถานภาพ สิทธิของสถานภาพ อำนาจของบรรดาผู้เจ้าครองรัฐและสิทธิของสถานภาพ อำนาจของกษัตริย์ท้องถิ่น (Pembesar-2) ที่ปกครองรัฐนัครีซึมบีลันในดินแดนที่พวกเขาปกครอง

(2)ไม่สามารถฟ้องเจ้าผู้ครองรัฐของรัฐใดๆในศาลใดๆก็ตาม ยกเว้นศาลพิเศษ (Mahkamah Khas) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ตอนที่15

ตอนที่ 15
มาตรา 182 ศาลพิเศษ

(1)ศาลพิเศษประกอบด้วยหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ (Ketua Hakim Negara Mahkamah persekutuan) เป็นประธาน หัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูง (Hakim besar mahkamah Tinggi) และอีก 2 คนที่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐหรือศาลสูงที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภาเจ้าผู้ครองรัฐ (Mahkamah Raja-Raja)

มาตรา 183 ไม่สามารถฟ้องร้องพระราชาธิบดีหรือเจ้าผู้ครองรัฐโดยปราศจากการเห็นชอบจากอัยการสูงสุด

[1] ชื่อของประเทศมาเลเซียนั้น ผู้ที่แรกๆเริ่มใช้คือ นาย Wenceslao Q. Vinzons ชาวฟิลิปปินส์ โดยเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 1932 นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ (Wenceslao Q. Vinzons) ได้บรรยายถึงเรื่องโลกมลายูโปลีเนเซีย เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัฟิลิปปินส์ ตามหัวข้อหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “Malaysia Irredenta” เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “Malaysia” ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

[2] การสงวนที่ดินสำหรับคนพื้นเมือง หรือ คนอัสรีนั้น มีหน่วยงานที่เรียกว่า Jabatan Hal Ehwal Orang Asli เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับคนมลายูเองก็มีการสงวนที่ดินเช่นกัน มีการสงวนที่ดินสำหรับคนมลายู หรือ Malay Reserve Land (Tanah RezabMelayu) ส่วนรัฐกลันตันมีความพิเศษอีกด้วย นั้นคือ แม้ที่ดินสงวนสำหรับคนมลายูก็ตาม แต่ถ้าคนมลายู คนนั้นไม่ใช่คนกลันตัน เขาผู้นั้นไม่สามารถที่จะซื้อที่ดินสงวนสำหรับคนมลายูในรัฐกลันตันได้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บ้านเรือนนั้น มี 2 ชนิด คือ ที่ดินสงวนสำหรับคนมลยู หรือ Tanah Rezab Melayu และที่ดินที่บุคคลใดๆไม่จำกัดศาสนา เชื้อชาติ หรือ รัฐที่ตั้งถิ่นฐานทำการซื้อขาย หรือที่เรียกว่า Tanah Pegangan bebas หรือ Free Hold Land

[3] สำหรับประชาชนชาวมาเลเซียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมมลายู ( 11 รัฐ) เมื่อต้องการจะเดินทางไปยังรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค นั้น เดิมต้องใช้พาสปอร์ตที่เรียกว่า Pasport Terhad สามารถอาศัยอยู่ในรัฐทั้งสองเป็นเวลา 3 เดือน ตอมาเมื่อ ดร. มหาเดร์ โมฮัมหมัด เป็นนานยกรัฐมนตรี เขาได้ยกเลิกการใช้หนังสือเดินทางดังกล่าว แต่การให้อยู่ ในรัฐทั้งสองเป็นเวลา 3 เดือนก็ยังคงมีอยู่ ด้วยเมื่อครั้งจัดตั้งมาเลเซียนั้น สิทธิและอำนาจด้านตรวจคนเข้าเมืองของรัฐทั้งสองคงเป็นของรัฐทั้งสอง ส่วนข้าราชการที่มาจากรัฐในแหลมมลายูนั้นเมื่อต้องทำงานในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค พวกเขาต้องขออนุญาตทำงานกับตรวจคนเข้าเมืองของรัฐทั้งสอง โดยต้องทำใบอนุญาตทำงานหรือ Permit Work เป็นเวลา 1 ปี

[4] วันเอกราชของประเทศมาเลเซีย คือ 31 สิงหาคม 1957 โดยเป็นวันเอกราชของมาลายา สำหรับวันจัดตั้งประเทศมาเลเซียคือ 16 กันยายน 1963

เป็นการรวมตัวของมาลายา, สิงคโปร์ และ รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ( รู้จักในนามของบอร์เนียว)

[5] มีระยะเวลาตามมีกำหนด คือ 5 ปี

[6] ผู้เก็บและใช้ตรายางใหญ่ หรือ Mohor Besar เรียกว่า ผู้ถือตรายางใหญ่ หรือ Pemegang Mohor Besar

[7] คณะรัฐมนตรีมาเลเซียนั้นคือนายกรัฐมนตรีและบรรดารัฐมนตรีว่าการเท่านั้น ส่วนรัฐมนตรีช่วยถือว่าไม่ใช่คณะรัฐมนตรี


[8] สมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Gabungan Persatuan Penulis Nasional Malaysia (Gapena) เคยขอตำแหน่งดังกล่าวแต่ไม่สำเร็จ ปัจจุบันมีนักแสดงคนหนึ่ง คือ Jins Shamsuddin เป็นอยู่ ส่วนชนกลุ่มน้อยชาวไทยนั้น คนไทยที่ชื่อว่า ดาโต๊ะ เจริญ อินทรชาติ ชาวรัฐเคดะห์ เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในนามตัวแทนชนกลุ่มน้อย ปัจจุบันนางซิว ชุน บุตรสาวนาย เอี่ยม ชาวรัฐเปอร์ลิส ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภ ส่วนคนอัสรี ดาโต๊ะฮีตัม ยีดิน ชาวคนอัสลี เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

[9] พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ Adat ของชนชาวมีนังกาเบา

[10] บางครั้งจะรู้จักในนาม Mahkamah Tinggi Borneo

[11] คนมลายู หมายถึง คนที่มีเชื้อชาติมลายู พูดภาษามลายู ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมลายู นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนชาวภูมิบุตร หรือ Bumiputra หมายถึงผู้เป็นคนดั้งเดิมของประเทศมาเลเซีย นอกจากที่เป็นชาวมลายูแล้ว ยังมีที่เป็นชนเผ่าดั้งเดิมต่างๆในรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ในที่นี้ยังรวมถึงชาวมลายูดั้งเดิม หรือ คนอัสลี ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธในรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส อีกด้วย สำหรับชาวภูมิบุตรนั้นไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาอิสลาม


Tiada ulasan:

Catat Ulasan