Ekonomi/Bisnis

Isnin, 26 November 2007

กฏหมายแรงงานในประเทศมาเลเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

กฎหมายแรงงาน
ในประเทศมาเลเซียความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างถูกควบคุม โดยกฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน เริ่มมีเมื่อแรงงานชาวจีนและชาวอินเดียเข้าสู่แหลมมลายู เพื่อเข้าทำงานในเหมืองดีบุกและสวนยาง การขยายตัวของเหมืองดีบุกและสวนยางมีมากขึ้นในแหลมมลายู ซึ่งทำให้แรงงานทั้งชาวจีนและชาวอินเดียเพิ่มจำนวนไปด้วย

โดยชาวอังกฤษผู้เป็นเจ้าของกิจการเหมืองดีบุกและสวนยาง เป็นผู้นำเข้าแรงงานผ่านเอเยนต์หรือคนกลาง ในขณะนั้นไม่มีกฎหมายแรงงาน นายจ้างนายอังกฤษจะใช้วิธีแต่งตั้งหัวหน้าในหมู่แรงงาน เพื่อเป็นผู้ประสานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เช่นในปี 1877 มีชาวจันคนหนึ่งได้รับแต่งตั้งในรัฐสเตร์ทเซ็ทเติลเมนส์ เพื่อดูแลแรงงานชาวจีนจากการถูกกดขี่

กฎหมายแรงงานนั้นมีการร่างในศตวรรษที่19 และต้นศตวรรษที่20 ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวกับการอพยพ เงื่อนไขลักษณะงานที่สามารถนำแรงงานเข้ามา ที่อยู่อาศัยและสุขภาพของแรงงาน ในปี1912 สำนักงานแรงงานและรัฐสหพันธรัฐมลายู กฎหมายแรงงาน (Kanun Buruh) ฉบับหนึ่งถูกประกาศใช้ในรัฐสหพันธรัฐมลายู 1912 และ ในรัฐสเตร์ทเซ็ทเติลเมนส์ในปี 1920

กฎหมายแรงงานในปัจจุบัน
พื้นฐานของกฎหมายแรงงานในประเทศมาเลเซียมาจาก 3 แหล่งด้วยกันคือ

1. Common Law

2. กฎหมายที่มีการเขียนในมาเลเซีย

3. คดีความที่มีการตัดสินโดยศาลอุตสาหกรรม (Mahkamah Perusahaan)

และศาลอาญา(Mahkamah Sivil)

อิทธิผลของCommon Law ในมาเลเซีมีค่อนข้างมาก ยกเว้นกฎหมายเกี่ยวกับศาสนาและ

ครอบครัว Common Law เข้ามายังมาเลเซียด้วย 2 วิธี คือ ผ่านกฎหมายและการตัดสินคดีความของผู้พิพากษา

กฎหมายที่ใช้การเขียนหรือกฎหมายที่ลายลักษณ์อักษร เข้ามายังมาเลเซีย โดยการเลียนแบบมาจากกฎหมายแรงงานของอังกฤษและอินเดีย แต่กฎหมายแรงงานไม่เหมือนทั้งหมดของอังกฤษและอินเดีย มีการปรับปรุงเพื่อความเหมาะสมกับประเทศมาเลเซีย

กฎหมายแรงงานในมาเลเซียมีดังนี้
1. พ.ร.บ แรงงาน(Akta pekerjaan)ปี1955 ปรับปรุงปี 1981 และ 1989

2. พ.ร.บ สหภาพแรงงาน(Akta Kesatuan Sekerja)ปี1959 ปรับปรุงปี 1981ปละ1989

3. พ.ร.บความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม(Akta Perhubungan perusahaan) ปี1957 ปรับปรุงแก้ไขปี 1980 และ1989

4. พ.ร.บประกันสังคมแรงงาน(Akta Keselamatan Sosial pekerja)ปี 1969

5. พ.ร.บ โรงงานและเครื่องจักร(Akta Kilang dan Jentera)ปี1967

6. พ.ร.บ แรงงานเด็กและวัยรุ่น(Akta Pekerjaan Kanak-kanak dan orang Muda)ปี1966

เมื่อมีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็จะใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวโดยไม่ทำ Common Law มาใช้ แต่ถ้าข้อกฎหมายในกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์มีปัญหา เรื่องการตีความ ก็จะใช้หลักพื้นฐานของCommon Law ในการตัดสินคดี

งานผิดกฎหมาย
จะต้องไม่ทำแรงงานที่จ้างไปทำงานในสิ่งที่ผิดกฎหมาย นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เขียนไว้ หรือCommon Law

งานอันตราย
จะต้องไม่นำแรงงานที่จ้างไปทำงานที่อันตราย หรือสั่งให้ทำงานในสถานที่อันตราย

เตรียมระบบการทำงานที่ปลอดภัย
ในปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัย นายจ้างต้องให้การอบรมความรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรดังกล่าวแก่แรงงาน

ความจริงของแรงงาน
แรงงานจะต้องทำงานกับนายจ้างด้วยความจริงใจ ไม่เจตนาทำให้นายจ้างเกิดความเสียหาย

กำไรพิเศษ
แรงงานจะต้องมีความรับผิดชอบต่อนายจ้างไม่ว่าเรื่องการเงินหรือทรัพย์สินในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ แรงงานไม่อาจนำกำไรพิเศษหรือจากกำไรอื่นจากการทำธุรกิจของนายจ้างมาเป็นของส่วนตัวทำงานกับนายจ้างอื่น

แม้ว่าใน Common Law จะไม่ได้ห้ามแรงานทำงานในสิ่งที่มีเวลาว่างเพิ่มสร้างรายได้เพิ่ม แต่สิ่งนั้นจะต้องไม่กระทบกับนายจ้างที่แรงงานทำงานประจำ ถ้าแรงงานสร้างความเสียหายต่อนายจ้างที่ทำงานประจำ ทางนายจ้างสามารถขออำนาจศาลให้แรงงานประจำยุติ

การทำงานในสถานที่อื่นขณะมีเวลาว่าง

สิทธิของแรงงาน
ส่วนที่ 12 ของ พ.ร.บ แรงงานได้ให้สิทธิแก่คนงานที่จะมีวันหยุด เวลาทำงาน ลางานและอื่นๆ ส่วนที่12นี้ไม่ได้ห้ามให้นายจ้างและคนงานตั้งเงื่อนไขที่แตกต่างกันโดยไม่กระทบต่อคนงานหรือขัดแย้งต่อ พ.ร.บแรงงาน ในส่วนที่ 12 นี้ ใช้สำหรับคนงานที่ได้รับการคุ้มครองจาก พ ร บ แรนงงานเท่านั้น ส่วนผู้ที่ทำงานนอกเหนือจากนี้ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

วันหยุด

พ.ร.บ แรงงานกำหนดให้ใน 7 วัน คนงานสามารถมีวันหยุดได้ 1 วัน ส่วนวันหยุดที่สองถือว่าเป็นวันหยุดภายใต้ พ.ร.บ แรงงาน ปี 1955 มาตรา 59 (1)

เวลางาน
คนงานไม่สามารถทำงานได้โดยเกินกว่า 5 ชั่วโมง ติดต่อกัน โดยไม่หยุดพักไม่น้อยกว่า 30 นาที (สำหรับผู้ทำงาน 8 ชั่วโมง เวลาพักไม่น้อยกว่า 45 นาที)

1.เกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน

2.เกินกว่า 10 ชั่วโมงต่อวันโดยมีการขาดช่วง

3.เกินกว่า 48 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

(นายจ้างสามารถเพิ่มเวลาทำงานเป็น 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

ทำงานล่วงเวลา
นายจ้างไม่อนุญาตให้คนงานทำงานมากกว่า 64 ชั่วโมงในหนึ่งเดือน ค่าจ้างในวันธรรมดา

ต้องไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าต่อค่าจ้างในวันหยุด จะมีความแตกต่างกัน

วันหยุด (Cuti Umum)

พ.ร.บ แรงงานมาตรา 60 (D) ได้กำหนดให้มีวันหยุด 10วันโดยได้รับเงินค่าจ้างโดยโดย 4วัน กำหนดโดย พ ร บ และอีกที่เหลือกำหนดโดยนายจ้าง 4วัน หยุดดังกล่าวนี้คือ

วันชาติ

1. วันเกิดพระราชาธิบดี

2. วันเกิดสุลต่านหรือผู้ว่าการรัฐที่คนงานทำงานเต็มเวลาหรือเวลาส่วนใหญ่ในรัฐนั้นๆ

3.วันสหพันธรัฐสำหรับคนงานเต็มเวลาหรือเวลาส่วนใหญ่ในดินแดนสหพันธรัฐ (Kuala Lupur, Putrajaya, Labuan)

วันแรงงาน

ถ้าวันหยุด วันหนึ่งวันใดใน 10 วัน นี้เป็นวันหยุดปกติจะต้องถือวันถัดมาเป็นวันหยุดที่ได้รับค่าจ้าง

ถ้าวันหยุดที่ได้รับค่าจ้างตรงกับวันหยุดประจำปีและวันหยุดลาป่วย ทางนายจ้างจะต้องให้วันหยุดอื่นเพื่อทดแทนวันหยุด ( Cuti Umum ) แก่คนงาน

วันหยุดประจำปี

ตามมาตรา 60(E) พ.ร.บ แรงงาน คนงานสามารถลาลาหยุดประจำปีทุกๆ 12 เดือน ของการปฏิบัติงานติดต่อกันโดย

1. ลาหยุด 8 วัน ในกรณีเวลาปฏิบัติงานน้อยกว่า 2 ปี

2. ลาหยุด 12 วัน ในกรณีเวลาปฏิบัติงานระหว่าง 2-5 ปี

3. ลาหยุด 16 วัน ในกรณีเวลาปฏิบัติงานมากกว่า 5 ปี

คนงานต้องใช้เวลาวันหยุดดังกล่าวเมื่อครบเวลา 12 เดือน ของการปฏิบัติงาน ในกรณีคนงานไม่ทำวันดังกล่าวเป็นวันหยุด คนงานจะสูญเวลาของวันหยุดดังกล่าว แต่จากการแก้ไขกฎหมายปี 1989 คนงานที่ได้รับค่าทดแทนในกรณีคนงานยินยอมทำงานในวันดังกล่าวโดยการขอของนายจ้าง

ลาป่วย

ตาม พ.ร.บ แรงงาน มาตรา 60F (1) คนงานที่มีสิทธิลาป่วยในกรณีได้รับการตรวจจาก

1.ทันตแพทย์

2.นายแพทย์ที่นายจ้างจดทะเบียนไว้ หรือ

3. ในกรณีไม่อาจพบนายแพทย์ที่นายจ้างจดทะเบียนไว้ ด้วยเหตุจากเวลา ระยะทาง คนงานสามารถพบนายแพทย์ใดๆก็ได้ ค่าใช้จ่ายจาการรักษาหรือการตรวจทางนายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบ ใน 1 ปีคนงานมีสิทธิ์ลาป่วย 12-20 วันโดยได้รับค่าจ้างตามเงื่อนไขของระยะเวลาการปฏิบัติงาน

อัตราค่าจ้าง
ใน พ.ร.บ แรงงาน มีคำว่าอัตราค่าจ้าง ซึ่งหมายถึง ค่าจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายแก่คนงานในวันต่อไปนี้

1.ทำงานล่วงเวลา 2.วันหยุด (Cuti Umum)

2.ลาป่วย 4.ลาคลอด

5.ลาประจำปี 6.ทำงานในวันหยุด (Hari Rehat)

7.ทำงานในวันหยุด (Cuti Umum)

การเลิกสัญญา

ตาม พ.ร.บ แรงงานปี 1955 มาตรา11 (1) กล่าวว่า ระยะเวลาของการหมดสัญญาคือ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญา และในกรณีที่ทำสัญญาโดยกำหนดการแล้วเสร็จของงาน เมื่องานแล้วเสร็จก็ถือได้ว่าสัญญาได้ยุติลง

ในมาตรา 11(2) ได้กำหนดว่าสัญญาที่ไม่ได้กำหนดเวลา จะต้องดำเนินต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จตามงานที่ได้ทำ

ตาม พ.ร.บ แรงงานมาตรา 12(1) ได้กล่าวว่า นายจ้างสามารถจะยุติสัญญาได้โดยแจ้งต่อลูกจ้างในกรณีดังนี้

1.เมื่อลูกจ้างขาดทักษะในการทำงาน ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือความสามารถ

2.เมื่อลูกจ้างขาดคุณสมบัติ เมื่อลูกจ้างแจ้งคุณวุฒิไม่ตรงกับความจริง

3.เมื่อลูกจ้างมีปัญหาสุขภาพ

การกระทำความผิด ลูกจ้างสามารถถูกยกเลิกสัญญาได้เมื่อ
1.นอนในขณะปฏิบัติหน้าที่

2.ประมาทขณะปฏิบัติหน้าที่

3.ขโมยทรัพย์สินของนายจ้างหรือคนงานอื่น

4.เมาขณะปฏิบัติหน้าที่

5.ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ถูกต้องของนายจ้าง

ยกเลิกสัญญาจ้างโดยแจ้งประกาศ

ตาม พ.ร.บ แรงงาน มาตรา12 (2) ได้กล่าวว่า นายจ้างสามารถแจ้งประกาศยกเลิกสัญญา

ต่อลูกจ้างได้ และมาตรา12 (2) ได้กำหนดระยะเวลาของแจ้งประกาศยกเลิกสัญญาโดยไม่น้อยกว่าดังนี้

1.ต้องแจ้ง 4 สัปดาห์ในกรณีคนงานทำงานน้อยกว่า 2 สัปดาห์นับแต่การแจ้งประกาศ

2.ต้องแจ้ง 6 สัปดาห์ ในกรณีคนงานทำงาน 2 ปี หรือมากกว่าแต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่แจ้งประกาศ

3. ต้องแจ้ง 8 สัปดาห์ ในกรณีคนงานทำงาน 5 ปี หรือมากกว่านับแต่แจ้งประกาศ

การยกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่แจ้งประกาศ

ตาม พ.ร.บ แรงงาน มาตรา 14 (1) นายจ้างสามารถที่จะดำเนินการต่อไปนี้ได้

1. ยกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่แจ้งประกาศ

2. ลดขั้นของคนงาน หรือ

3. ลงโทษสถานเบาตามที่เห็นสมควร

พ.ร.บ ประกันคนงาน (Akta Pampasan pekerja / Workmen’s Compensation Act)

เมื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะที่ทำงาน ทางลูกจ้างจะต้องทำกรมธรรม์ประกันตัวเอง อันจะได้รับค่าทดแทน เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

กองทุนเงินสะสม (Kumpulan Wang Sempanan /Provident Fund) มีกองทุนคล้ายกองทุนประกันสังคมของไทย โดยทางนายจ้างออกเงินสมทบกองทุนดังกล่าว ในสิงคโปร์ มีการจัดตั้งกองทุนนี้ในปี1955

Tiada ulasan:

Catat Ulasan