Ekonomi/Bisnis

Isnin, 26 November 2007

ระบบศาลยุติธรรมของประเทศมาเลเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ระบบศาลยุติธรรมของมาเลเซีย
ศาลฎีกา ( Mahkamah Agong )

องค์ประกอบของศาลฎีกานั้นมี
1. ประธานศาลแห่งชาติ (Ketua Hakim Negara ) และประธานศาลฎีกา

2. หัวหน้าผู้พิพากษา(Hakim Besar)ของศาลสูงแห่งมาลายา และศาลสูงแห่งบอร์เนียว

3. ผู้พิพากษาจำนวน 7 ท่านของศาลฎีกา

ในการดำเนินคดีนั้นศาลฎีกาจะประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 3 ท่านโดยได้รับกาเลือกการเลือกจากประธานศาลแห่งชาติ ( ประธานศาลฎีกา )แต่ในกรณีที่เป็นคดีสำคัญทางศาลฎีกาจะมีผู้พิพากษาจำนวน 5 ท่าน

ศาลสูง (Mahkamah Tinggi)
องค์ประกอบของศาลสูงนั้นมีดังนี้

1. หัวหน้าผู้พิพากษา ( Hakim Besar ) จำนวน 2 ท่าน โดย 1ท่าน มาจากแหลมมลายู (Malaya ) และอีก 1ท่านมาจากรัฐซาบาห์ และรัฐซาราวัค

2. ผู้พิพากษาจำนวน35 ท่านโดย 8 ท่าน มาจากรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัคและจำนวน 27 ท่านมาจากแหลมมลายู ( Malaya )

ศาลสูงมีอำนาจที่ไม่จำกัด แต่ส่วนใหญ่แล้วคดีที่อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลต้นเท่านั้นที่จะไปพิจารณาในศาลสูง และศาลสูงจะรับพิจารณาคดีที่มีการอุทธรณ์จากการตัดสินของศาลชั้นต้น

Mahkamah Rayuan ( ศาลอุธรณ์)
ประกอบด้วยประธานศาล และผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งอีก 10 ท่าน

Mahkamah Rendah ( ศาลต้น )
ศาลต้นในแหลมมลายูประกอบด้วย Mahkamah Sesyen, Mahkamah Majistret, Mahkamah Juvenile และ Mahkamah Penghulu

Mahkamah Sesyen
เป็นศาลที่สูงที่สุดในศาลต้น มีอำนาจในการตัดสินคดียกเว้นคดีที่มีการลงโทษประหารชีวิต ผู้พิพากษาสามารถลงโทษจำเลยได้ยกเว้นแต่ลงโทษประหารชีวิต ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน100,000 ริงกิต ยกเว้นกรณีอหังสาริมทรัพย์ มรดก การหย่า การล้มละลาย

Mahkamah Majistret
เป็นศาลที่ตัดสินเกี่ยวกับคดีทั่วไปและคดีอาชญากรรม ผู้พิพากษาชั้น2 สามารถตัดสินคดีในกรณีลงโทษไม่เกิน 12 เดือน ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน 3,000 ริงกิต ส่วนผู้พิพากษาชั้น1 ของMahkamah Majistretมีอำนาจที่กว้างขวางโดยสามารถลงโทษในกรณีไม่เกิน 10 ปี ในกรณีคดีแพ่งมีอำนาจมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน25,000ริงกิต

Mahkamah Juvenil
เป็นศาลเด็กที่ผู้พิพากษาชั้น 1 สามารถพิพากษาความผิดได้ทุกประเภทลงโทษได้ยกเว้นประหารชีวิต และผู้พิพากษาต้องมี “ที่ปรึกษา (Law Adviser )” จำนวน 2 ท่าน การพิพากษาในศาลนี้จะทำแบบปิดไม่อนุญาตให้สาธาณชนเข้าฟังสามารถลงโทษผู้ผิดไปยังสถาบันดัดนิสัยที่รัฐบาลอนุญาตหรือปล่อยผู้กระทำความผิด

Mahkamah Penghulu
เป็นศาลที่มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า Mahkamah Penghulu ถือเป็นศาลที่ต่าที่สุดในบรรดาศาลต้น ส่วนใหญ่มักไม่ต้องพิจารณาคดี เพาระผู้ใหญ่บ้านสามารถเกลี้ยกล่อมคู่กรณีได้ ศาลชนิดนี้สามารถพิจารณาคดีที่มีความขัดแย้งในวงเงินไม่เกิน 50 ริงกิต และปรับโทษได้ไม่เกิน 25 ริงกิต
ศาลต้นในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัก มีการขยายพ.ร.บ.ศาลต้นปี 1948 ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักเมื่อ 1 มิถุนายน 1981 จึงทำให้มีการจัดตั้ง Mahkamah juvenil และ Mahkamah sesyen ขึ้นในรัฐทั้งสอง โดยมีอำนาจหน้าที่เหมือนกับในแหลมมลายู โดยทั้งสองศาลดังกล่าวในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักมีผู้พิพากษาชั้น1และ2 เช่นกัน ส่วนศาลที่เรียกว่า Mahkamah Penghulu นั้นในรัฐซบาห์ละรัฐซาราวัคไม่มี

Tiada ulasan:

Catat Ulasan