Ekonomi/Bisnis

Khamis, 30 Mei 2024

สานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ สิ่งที่ได้สัมผัสจากการร่วมงาน

 โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ก่อนหน้านี้ นับแต่ผู้เขียนเป็นโรคเส้นสมองตีบ ผู้เขียนต้องหยุดทำการสอน ต้องย้ายจากแฟลตอาจารย์ มอ. ปัตตานี มาพักรักษาตัวที่อำเภอของผู้เขียน ถือเป็นการพักยาว หยุดงาน พักฟื้นที่บ้าน เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะหมดกำหนดการลาพักฟื้นจึงได้เดินทางไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยตามปกติ ในช่วงที่พักฟื้นที่บ้าน สิ่งที่ภรรยาผู้เขียนทำได้ คือ ปิดประตูบ้าน งดการเยี่ยมของเพื่อนบ้านเรือนเคียง ทำให้ช่วงนั้นผู้เขียนกับเพื่อนบ้านเรือนเคียงค่อนข้างจะมีช่องว่างระหว่างกัน  แม้ส่วนหนึ่งต้องการที่จะมาเยี่ยมเยียนผู้เขียน แต่เกรงใจเพราะภรรยาไม่ต้องการที่จะให้มาเยี่ยม เพราะต้องการที่จะให้ผู้เขียนได้พักผ่อนเต็มที่ นอกจากมีนักศึกษาจากสาขาวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี และเพื่อน คนที่รู้จักจาก่างถิ่น ที่มาเยี่ยม ซึ่งไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้


การมาเยี่ยมเยียนของคนจากต่างอำเภอ จากต่างถิ่นนั้น ปรากฏว่า นักศึกษา มีเพื่อน มีคนรู้จัก มาเยี่ยมแทบจะทุกวัน ไม่เพียงมาเยี่ยม แต่เมื่ออาการของผู้เขียนดีขึ้น ดันมาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และในช่วงเวลานี้แหละ ที่ผู้เขียนได้หวนนึกถึง การทำกิจกรรมที่ผ่าน ทั้งใน มอ. ปัตตานี รวมทั้งกิจกรรมภายนอก เช่น การนำนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา  มอ. ปัตตานี ไปแสดงยังต่างประเทศ ไม่ว่า อินโดเนเซีย และสิงคโปร์ ในนามกลุ่มศิลปะการแสดง Sri Patani โดยไม่ใช้งบประมาณการเดินทางจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี แต่อย่างใด และการนำนักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา  มอ. ปัตตานี แบกเป้ ลุยกลุ่มประเทซอาเซียน จนครบทั้ง 10 ประเทศ สามารถกล่าวได้ว่าสาขาวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี ถือได้ว่า น่าจะเป็นสาขาวิชาเดียวใน มอ. ทั้งห้าวิทยาเขต จนเรียกได้ว่า นักศึกษาได้เดินทางแบกเป้ ลุยกลุ่มประเทศอาเซียนครับทุกประเทศ ซึ่งก็ยังคงเหมือนเดิม คือ โดยไม่ใช้งบประมาณการเดินทางจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ. ปัตตานี เช่นเคย หรือโครงการกิจกรรมครอบครัวอุปถัมภ์ที่ได้จัดทำทั้งที่รัฐปาหัง รัฐมะละกา รัฐเปรัค และรัฐนัครีซัมบีลัน ล้วนเป็นกิจกรรมที่ผ่านแล้ว ผ่านไป ไม่ได้มีการต่อยอด หรือ สานสัมพันธ์ระหวางนักศึกษากับครอบครัวอุปถัมภ์ ให้มีตลอดไป

เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ถึงกิจกรรมสัมมนาต่างๆ ทำให้เห็นว่า การร่วมงานสัมมนาไม่ว่า จะเป็นภายในประเทศ หรือต่างประเทศ ล้วนแต่ซ้ำซาก สัมมนาเสร็จ ก็แยกย้ายกลับ การที่ผู้เขียนต้องพักฟื้นระยะยาวนี้เอง ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ จนความคิดเห็นของผู้เขียนได้เปลี่ยนแบบ 360 องศา นั้นคือเห็นว่า เมื่อสัมมนา อะไรต่างๆ แล้ว ควรที่จะต้องมีการปฏิบัติบ้าง  ไม่ควรเพียงมโนถึงนามธรรม เมื่อชาวบ้านยังต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจ และการศึกษา สังคมจะดีขึ้น ไม่เพียงจะตะโกน แต่ควรที่จะปฏิบัติด้วย  นับแต่นั้น ความคิดของผู้เขียนจึงเปลี่ยนมามีลักษณะที่เป็น Oriented Action นั้นคือการกระทำที่มุ่งเน้นมุ่งเน้นการปฏิบัติ ไม่อยากจะให้มีการสัมมนาอย่างเดียว ภายหลังการสัมมนา ก็แยกย้ายกลับ ไม่ได้มีการกระทำใดๆ  และนับจากสุขภาพฟื้นดีขึ้น ผู้เขียนแทบจะไมได้เข้าร่วมสัมมนาในประเทศไทยอีกเลย เพราะรู้สึกว่า ซ้ำซาก ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนเรียกว่า มีอาการเบื่อการสัมมนายิ่ง ส่วนการร่วมสัมมนาในต่างประเทศ ก็ได้ไปบ้างตามสมควร โดยเฉพาะงานด้านวัฒนธรรม วรรณกรรม ในอินโดเนเซีย และมาเลเซีย แต่สิ่งที่ไปนั้น เพื่อเพียงสานสัมพันธ์กับเพื่อนๆเก่า หลังจากห่างไปนาน ช่วงหลังๆแทบจะไม่ได้ไปทั้งมาเลเซีย และอินโดเนเซีย เพราะสุขภาพ ไม่ค่อยดี ไม่เหมือนสุขภาพตอนเริ่มฟื้นใหม่ๆ


เมื่อเดือนพฤษาคม 2567 ได้รับโทรศัพท์จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย วงศ์ตานี อาจารย์ประจำสถาบันสันติวิธี มอ. หาดใหญ่ เพื่อสอบถามไฟล์ที่เราเคยร่วมงานโครงการค้นหาเอกสารประวัติศาสตร์ปัตตานี ได้ความว่า จะมีการสัมมนาเรื่องสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ ถามต่อว่า จะจัดที่ไหน ได้ความว่า จะจัดที่โรงแรมซีเอส. ปัตตานี จึงเอยว่า ถ้าจัดที่จังหวัดนราธิวาส ก็แจ้งด้วย ยินดีที่จะไปร่วมงาน  เพราะระยะทางจากบ้านผู้เขียนไปยังตัวเมืองนราธิวาส เพียง 30 กิโลเมตร หรือ ราว ครึ่งชั่วโมง แต่คุยไปคุยมา หลวมตัวต้องไปปัตตานี ก็ได้เดินทางไปยังโรงแรมซีเอส ปัตตานี  จึงชวนลูกชาย นายนิฮัสซันฮามีดีปุตรา บินนิฮัสซัน ร่วมเดินทางไปปัตตานีด้วย ดังนั้น จึงถือว่าเป็นการเข้าร่วมสัมมนาครั้งแรกในประเทศของผู้เขียนหลังจากเป็นโรคเส้นสมองตีบ


การร่วมสัมมนาครั้งนี้ ก็คงตามที่ผู้เขียนคาดไว้ นั้นคือ มาร่วมประชุมสัมมนา การร่วมกินข้าว นอนโรงแรม หลังเสร็จสัมมนา ก็แยกย้ายกลับบ้าน  การสัมมนาครั้งนี้มีการอธิบายว่า เป็นการสัมมนาระหว่างวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2567 ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ในโครงการสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างพื้นที่กลางในการสร้างสังคมสมานมิตร ด้วยกระบวนการสานเสวนาทางประวัติศาสตร์ จัดโดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะเป็นการสัมมนาแบบ Focus Group

การสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ ครั้งนี้ก็นับว่า แปลก เพราะเชื่อว่า ผู้เข้าร่วมส่วนหนึ่ง แทบจะไม่มีความรู้ รู้ภูมิหลังของประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ ดังนั้น จะสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้อย่างไร มันก็ไม่ถึงจุดที่ต้องการ  ตอนที่ผู้เขียนกำลังจะกลับ รอรถมอเตอร์ไซค์มารับอยู่ มีกลุมครูที่เข้าร่มสัมมนา จากจังหวัดนราธิวาส กลุ่มหนึ่ง คุยกับผู้เขียน แล้วถามว่า พวกเขาจะเขียนประวัติศาสตร์อย่างไร กถามกลับว่า พวกเขาสอนอยู่ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า สอนอยู่โรงเรียนเขาตันหยง ซึ่งก็น่าจะเป็นโรงเรียนบ้านเขาตันหยง มิตรภาพที่ 153 แต่รถมอเตอร์ไซค์มาก่อน ผู้เขียนไม่ทันตอบพวกครูเหล่านั้น ซึ่งถ้าทันตอบ ผู้เขียนก็จะบอกว่า เราต้องศึกษาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ดินแดนส่วนที่เป็นเขาตันหยงนั้น ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนใต้  แต่เป็นประวัติศาสตร์ของรัฐกลันตัน ด้วยบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนบ้านเขาตันหยง มิตรภาพที่ 153 นี้เพิ่งมาเป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อปี 1909 หรือเมื่อ 100กว่าปีมานี้เอง ดังนั้น ต้องให้ผู้คนบริเวณนี้ หรือนักเรียนของโรงเรียนนี้เข้าใจว่า ในอดีตนั้น บรรพบุรุษของพวกเขา ล้วนเป็นพี่น้องร่วมรัฐกับคนในฝั่งรัฐกลันตัน  และจะต้องสร้างประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ขั้นแรก คือ นำนักเรียนของโรงเรียนนั้น ไปสร้างความสัมพันธ์กับโรงเรียนในฝั่งรัฐกลันตัน และเน้นให้นักเรียนสานสัมพันธ์ตลอดไปกับเพื่อนนักเรียนของเขาในรัฐกลันตัน ปกติประสบการณ์ของผู้เขียน นักศึกษาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่รู้จัก ครอบครัวอุปถัมภ์ พี่น้องอุปถัมภ์ เมื่อจบโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ ก็ถือวว่าจบโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ พี่น้องอุปถัมภ์ ซึ่งแตกต่างจากฝั่งมาเลเซีย เพราะคำว่า ครอบครัวอุปถัมภ์ พี่น้องอุปถัมภ์ พวกเขาจะสานสัมพันธ์ตลอดไป และหลังจากการสานสัมพันธ์กันตลอดไป ก็จะเป็นการสานสัมพันธ์เชิงพัฒนาการศึกษา การพัฒนาเชิงเศรษฐกิจต่อไป

ในการร่วมโครงการสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ครั้งนี้ ได้พูดคุยกับผู้เข้าร่วมโครงการว่า พวกเรามักเห่อกับกลุ่มชาวอาเจะห์ ที่มาบรรยายเรื่องแนวทางสันติวิธีสงครามอาเจะห์ในบ้านเรา  ไม่เพียงกลุ่มคนบ้านเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มอ. ปัตตานี อีกด้วย ที่พวกเรามักมองเหรียญด้านเดียว คือ เหรียญด้านเขตปกครอองอิสระ หรือ Otonomi พวกเรามักจะตะโกน Otonomi !!! Otonomi !!! แต่ไม่เคยมองเหรียญอีกด้านของอาเจะห์ ไม่ว่าจะด้านความล้มเหลวในการปกครองของพรรคอาเจะห์ ซึ่งเป็นพรรคที่แปรสภาพจากขบวนการอาเจะห์เสรี หรือ GAM Geraan Aceh Merdeka หรือเหรียญด้านการแก้ปัญหาความยากจนของอาเจะห์ นับว่าเป็นความล้มเหลวของพรรคอาเจะห์

                              สนธิสัญญาเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดเนเซีย 

หลังจากขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM Gerakan Aceh Merdeka) ได้ร่วมทำสนธิสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลอินโดเนเซีย เมื่อ 15 สิงหาคม 2005 ทางขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM Gerakan Aceh Merdeka) ก็ได้มีการจัดตั้งพรรคของตนเอง ชื่อว่า พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh เป็นพรรคการเมืองท้องถิ่นของอาเจะห์ มีบันทึกว่า นายมาลิก มาห์มุด (Malik Mahmud) ผู้นำฝ่ายการเมืองของขบวนการอาเจะห์เสรี หรือ GAM Geraan Aceh Merdeka ได้มอบอำนาจให้ นายเต็งกูยาห์นา มุอาด (Tengku Yahya Mu’ad) หรืออีกชื่อ นายมูฮัมหมัด ยาห์ยา มุอาด (Muhammad Yahya Mu’ad) จัดตั้งพรรคอาเจะห์ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007. พรรคอาเจะห์เดิมชื่อว่า Partai Gerakan Aceh Merdeka (GAM) ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น Partai Gerakan Aceh Mandiri ต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh ได้เข้าร่วมครั้งแรกในการเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 2009 และได้รับคะแนนเสียงถึง 33 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 69 ที่นั่ง หรือ  46,91%. ทำให้ พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh กลายเป็นพรรคที่ปกครองจังหวัดอาเจะห์ ที่มีประชากร 5.5 ล้านคน  ต่อมาในการเลือกตั้งท้องถิ่น คะแนนเสียงของพรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh ลดลง เหลือ 29 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง หรือ 35,30% นั้นแสดงว่า การบริหารของพรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh เริ่มที่จะไม่ได้รับการยอมรับจากชาวอาเจะห์  ต่อมาในการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2019 พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh  ได้ที่นั่ง 18 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2024 พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh  ได้ที่นั่งเพิ่มเป็น 20 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง สิ่งนี้น่าจะมาจากปัจจัยที่พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh สนับสนุนนายอานีส บาสเวดัน (Anies Baswedan) และนายมูฮีมิน อิสกันดาร์ (Muhaimin Iskandar) เป็นผู้สมัครประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีขของอินโดเนเซีย โดยทั้งสองคน มีแนวคิดไปทางอิสลามนิยม ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของชาวอาเจะห์ ที่ค่อนข้างเคร่งศาสนา  สิ่งเกิดขึ้นกับพรรค พรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh  คือจากเดิมในการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2019 ที่ได้ที่นั่ง 18 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง มาเพิ่มการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2024 เพิ่มเป็น 20 ที่นั่ง จากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง  และพรรคฟื้นฟูแห่งชาติ หรือ Partai Kebangkitan Bangsa ที่มีนายมูฮีมิน อิสกันดาร์ (Muhaimin Iskandar) เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ที่นั่งเพิ่ม ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2019 ที่ได้ที่นั่ง 3 จากทั้งหมด 81 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ปี 2024 เพิ่มเป็น 9 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 81 ที่นั่ง


สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของพรรคอาเจะห์ หรือ Partai Aceh หรือในชื่อเดิมก็คือขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM Gerakan Aceh Merdeka) ในการบริหารจังหวัดนังโกรอาเจะห์ดารุสสาลาม (Nanggroe Aceh Darussalam) นั้นเอง


เหรียญอีกด้านหนึ่งที่คนบ้านเรา ไม่เคยนึกถึงอาเจะห์ คือการแก้ปัญหาความยากจน นับแต่การทำสนธิสัญญาเจรจาสันติภาพ ในปี 2005 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ปัญหาความยากจนของอาเจะห์ก็ได้ไม่สามารถแก้ไขความยากจนได้

เมื่อดูสถิติความยากจนของชาวอาเจะห์ จากข้อมูล ปรากฏว่า ระหว่างปี 2003-2005 ในปี 2005 ปรากฏว่าความยากจนของชาวอาเจะห์ อยู่ที่  28.69 % ซึ่งนั้นเป็นปีที่มีการทำสนธิสัญญาระหว่างขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM Gerakan Aceh Merdeka) กับทางรัฐบาลอินโดเนเซีย  ในช่วงนี้ ความยากจนมีสูงมาก อาจด้วยอยู่ในช่วงเกิดปัญหาสงครามภายในระหว่าง ขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM Gerakan Aceh Merdeka) กับทางอินโดเนเซีย 


ต่อมาความยากจนของอาเจะห์ ก็ยังไม่สามารถกำจัดลง  เพราะตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศสาธารณรัฐอินโดเนเซีย  จังหวัดอาเจะห์ ก็ยังต้องมีความยากจนอยู่ในระดับสูงมาก เพราะในปี 2024 จังหวัดอาเจะห์ มีความยากจนสูงถึง 14 % จากประชากรทั้งหมด จังหวัดอาเจะห์ อยู่อันดับที่รองลงมาจากต่อไปนี้ 


จังหวัดปาปัวเทือกเขา     มีความยากจนสูงถึง 32.97 %   

จังหวัดปาปัวกลาง         มีความยากจนสูงถึง 29.76 %   

จังหวัดปาปัวตะวันตก      มีความยากจนสูงถึง 21.66 %

จังหวัดนูซาเต็งการาเหนือ  มีความยากจนสูงถึง 19.48 %  

จังหวัดปาปัวตะวันตกเฉียงใต้  มีความยากจนสูงถึง 18.13 %   

จังหวัดปาปัวใต้             มีความยากจนสูงถึง 17.44 %   

จังหวัดปาปัว                มีความยากจนสูงถึง 17.26 %   

จังหวัดมาลูกุ                 มีความยากจนสูงถึง 16.05 %

จังหวัดอาเจะห์ มีความยากจนสูงถึง 14 %

นับว่าจังหวัดอาเจะห์ เป็นจังหวัดที่อยู่บนเกาะสุมาตรา เกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่กลายเป็นจังหวัดอาเจะห์ อยู่กลุ่มเดียวกันกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีความยากจน

เมื่อดูจังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา จะปรากฎว่า จังหวัดอาเจะห์ เป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดบนเกาะสุมาตรา  หนังสือพิมพ์ Kompas รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดเนเซีย หรือ Badan Pusat Statistik (BPS) สาขาอาเจะห์รายงานว่า จังหวัดอาเจะห์ ยังคงเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดของเกาะสุมาตรา นั้นคือมีประชากรที่ยากจนเพิ่มขึ้นจาก 806,8200 คน เป็น 818,470 คน นั้นแสดงว่า มีประชากรยากจน มากกว่าประชากรจังหวัดปัตตานี ทั้งหมด หรือ มีจำนวนพอๆกับประชากรทั้งจังหวัดของจังหวัดนราธิวาส


สำหรับการสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ครั้งนี้ ผู้เขียนได้กล่าวว่า คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มีนักประวัติศาสตร์ที่เรียนระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ แต่ส่วนใหญ่เป็นคนสนใจประวัติศาสตร์ เหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะ ผู้เขียนเชื่อว่า มีในหมู่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สนใจประวัติศาสตร์ แต่เริ่มที่จะหลงตัวเองว่า ตัวเองเป็นนักประวัติศาสตร์ ทั้งที่บุคคลเหล่านั้น เป็นนักบรรยายทางประวัติศาสตร์มากกว่า บรรยายถูกบ้าง ผิดบ้าง ไร้ร่องรอย ไร้หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ้าง หรือพูดแบบไม่มีหลักฐานมาแสดง เพราะนักประวัติศาสตร์จริงๆ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ระเบียบวิธีการวิจัยทางประวัติศาสตร์


ผู้เข้าร่วมสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ มีการพูดคุย คนละมุม ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอว่า เราต้องศึกษาประวัติศาสตร์เชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ จะทำอย่างไรก็ได้ที่จะพัฒนาคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าจะพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ โดยใช้ประวัติศาสตร์เป็นตัวเชื่อมกัน แทนที่จะมาขัดแย้งกัน  และความรู้ประวัติศาสตร์นั้นกว้าง หลักฐานทางประวัติศาสตร์มีอยู่อย่างกระจัดกระจายและปะทะกันได้ตลอด หลายครั้งสิ่งที่เรารู้ว่าเป็นความจริงทางประวัตศาสตร์ แต่ภายหลังอาจมีหลักฐานมาหักล้างความจริงนั้นได้ การใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ การเปิดใจกว้าง จะสามารถใช้ประวัติศาสตร์เป็นสะพานสู่การพัฒนาการศึกษา และเศรษฐกิจได้ ดั่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงการสอนประวัติศาสตร์ สำหรับโรงเรียนบ้านเขาตันหยง มิตรภาพที่ 153


สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้สัมผัสถึงกลุ่มบุคคลหนึ่ง ที่ผู้เขียนเรียกว่า นักสัมมนา หรือ Seminarist ในกลุ่มผู้เข้าร่วมสานเสวนาประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ นี้ ได้รับทราบว่าจะเป็นกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มหน้าเดิมๆ  มีเพียงบางกลุ่ม บางคน ที่เป็นกลุ่มหน้าใหม่ และอีกกลุ่มบุคคลหนึ่ง จะเป็นกลุ่มบุคคลที่ผู้เขียนเรียกว่า นักสัมมนา หรือ Seminarist กลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่รู้กับฝ่ายจัดสัมมนา ไม่ได้ทำอะไร เป็นชิ้น เป็นอัน ที่เข้าร่วมสานเสวนา ประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนใต้ ก็ไม่ได้แสดงความคิด แสดงทัศนคติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา เพียงมาสัมมนา มีค่าเดินทางให้ มีที่พักโรงแรมฟรีให้  มีอาหารให้  ผู้เขียนเคยได้รับทราบว่า ยิ่งเกิดเหตุการณ์รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แทนที่โรงแรมจะเงียบเหงา โรงแรมกลายเป็นที่คึกคัก เป็นที่น่าเศร้าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


Tiada ulasan:

Catat Ulasan