Ekonomi/Bisnis

Rabu, 22 April 2015

ประเพณีการแต่งงานของชาวมลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ประเพณีการแต่งงานแบบมลายูในบทความนี้ เป็นของชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ไม่ใช่ชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะในจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจมีแตกต่างจากนี้บ้าง 

ทุกสังคม ทุกเชื้อชาติย่อมมีประเพณีการแต่งงานตามแบบของแต่ละเชื้อชาติ ชนเผ่า  ชาวมลายูก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีประเพณีการแต่งงานตามแบบของชาวมลายู  สำหรับชาวมลายูแล้วมีการยึดถือว่า "Biar mati anak jangan mati adat" หรือความหมายว่า ยอมที่จะให้ลูกตาย เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งมีความหมายในเชิงลึกว่า ขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นจำเป็นต้องรักษาไว้ เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไป สำหรับปรเพณีในการแต่งงานของชาวมลายูนั้นประกอบด้วย

ขั้นตอนแรกของพิธีแต่งงานของชาวมลายู
1.Merisik dan menengok (การสืบและการดูดวง ดูความเหมาะสม)
การสืบและการดูดวง ดูความเหมาะสม สำหรับขั้นตอนแรกนี้ ไม่เพียงเป็นประเพณีของชาวมลายูเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักในศาสนาอิสลาม เพราะเราจำเป็นต้องรู้สถานะของผู้ที่เราต้องการจะแต่งงานด้วย ในขั้นตอนนี้ทางฝ่ายผู้ชาย แม้จะรู้แล้วว่าสถานะของฝ่ายหญิงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายผู้ชายต้องส่งตัวแทนเพื่อไปพบครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อพบและสอบถามว่าฝ่ายหญิงมีเจ้าของแล้วยัง หรือว่าหมั้นหมายกับใครแล้วยัง มีบทกวีที่กล่าวถึงขั้นตอนนี้ว่า

Orang Jawa turun ke dusun,
Singgah sejenak dipinggir kota,
Kami membawa sirih tersusun,
Sudilah sepiak membuka kata.
Orang dusun pergi ke huma,
Bawa ke pekan seikat keladi,
Sirih tersusun kami terima,
Sila nyatakan hasrat di hati.

2.Meminang (การหมั้น)
ขั้นตอนของ ”การหมั้น” ถือเป็นขั้นตอนแรกของการแต่งงานในขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวมลายู ปกติในขั้นตอนนี้ ฝ่ายชายจะนำแหวนหนึ่งวง เรียกว่า “cincin tanda” รวมทั้ง “tepak sirih” หรือเชี่ยนหมาก หนึ่งสำรับที่ประกอบด้วยหมาก พลู สีเสียด(Gambir) สำหรับเชี่ยนหมากนี้ จะเรียกอีกอย่างว่า “sirih meminang” ถ้าฝ่ายหญิงการทาบทามการหมั้น ฝ่ายชายจะยื่นเชี่ยนหมากนี้ให้แก่ฝ่ายหญิง สำหรับแหวน “cincin tanda” ถือเป็นแหวนที่ไว้สัญญาไว้
การหมั้นถือเป็นการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ปกติตามประเพณีก็จะมีการกำหนดระยะเวลาของการหมั้น

2) Menghantar Belanja, Akad Nikad (การส่งค่าสินสอด การแต่งงาน ตามหลักศาสนาอิสลาม)
ฝ่ายชายจะมีการมอบ “เงินค่าสินสอด” ที่เรียกว่า “belanja” และสิ่งของให้แก่ฝ่ายหญิง สิ่งของต่างๆนั้นมีดังต่อไปนี้ 
1. sirih junjung ชุดพลู มีการจัดรูปแบบที่สวยงาม เป็นสิ่งของที่ฝ่ายชายส่งให้ฝ่ายหญิง
2. cincin pertunangan แหวนสำหรับการหมั้น
3. satu set bahan persolekan ชุดเครื่องสำอางจำนวน 1 ชุด 
4. bunga rampai  บุหงารำไป
5. sepasang baju เสื้อผ้า 1 ชุด
6. kuih muih ขนม นมเนย
7. buah-buahan  ผลไม้
ปกติสิ่งของเหล่านี้จะใส่ไว้บนพา โดยพานชุดพลูจะอยู่ข้างมาสุด และสำหรับชุดต่างๆนั้นจะจัดในจำนวนเป็นเลขคี่

ชุดขนม และชุดผลไม้ ถือว่าเป็นชุดที่ต้องมี เพราะเป็นปรัชญา และสื่อถึงความหวาน และความหอม อันมีความหมายว่าจะมีความหอม หวานจนถึงวันแต่งงาน

ขั้นตอนที่สองของพิธีแต่งงานของชาวมลายู
1.Berandam Berasah gigi
เป็นพิธีที่ต้องทำในที่มิดชิด ปลอดจากผู้คน  ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด คือ mak andam ปกติจะทำก่อนวันขึ้นบัลลังภ์ 1 วัน มีการตกแต่งคิ้ว  รวมทั้งมีการทำความสะอาด จัดถูฟันให้มีความเป็นระเบียบ  สำหรับสิ่งที่ใช้ในพิธีนี้ คือ kain putih, limau purut (จำนวนเป็นเลขคี่), bertih, pisau cukur, gunting, sikat, setengah meter kain putih, sirih, air semangkuk, bedak, bunga tujuh jenis และสิ่งของอื่นๆอีกจำรวนหนึ่ง 

2) Istiadat Berinai
พิธีเฮนนา นี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
2.1 berinai curi 
2.2 berinai kecil 
2.3 berinai besar

berinai curi และ berinai kecil หลายๆวันก่อนพิธีการแต่งงาน เป็นพิธีสำหรับฝ่ายหญิงเท่านั้น โดยทำเฮนนาที่นิ้ว และเล็บ รวมทั้งฝามือ เล็บเท้า  และรอบฝามือ


ขั้นตอนที่สามของพิธีแต่งงานของชาวมลายู
1) Bersanding
พิธีนั่งบัลลังค์ เป็นพิธีที่บรรดาแขกรับเชิญจะมาร่วมงานกัน  โดยฝ่ายชายจะเดินทางไปยังบ้านของฝ่ายหญิงในกรณีจัดงานที่บ้าน หรือไปยังสถานที่จัดงาน พร้อมมีการรับโดยการตีกลอง ที่เรียกว่า pukulan kompang

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการประกอบพิธีขั้นตอนการแต่งงานของชาวมลายู

Tiada ulasan:

Catat Ulasan