Ekonomi/Bisnis

Khamis, 23 April 2015

การแต่งงานตามประเพณีชาวมีนังกาเบา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
การแต่งงานของชาวมีนังกาเบา มีส่วนที่แตกต่างกันบ้างจากการแต่งงานของชาวมลายู ด้วยชาวมีนังกาเบา เป็นชนชาวที่นอกจากนับถือศาสนาอิสลามแล้ว ยังยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า Adat Perpatih   ซึ่งยึดหลักตามสายมารดาเป็นใหญ่ (matrilineal) ดังนั้นเงื่อนไขของชาวมีนังกาเบา ตามที่ Fiony Sukmasari ได้เขียนไว้ในหนังสือที่เขาเขียนเรื่อง  Perkawinan Adat Minangkabau มีดังนี้

1. คู่บ่าวสาวจะต้องเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
2. คู่บ่าวสาวจะต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ในโคตรตระกูล (suku)
3.คู่บ่าวสาวจะต้องเคารพนับถือบิดา มารดาของแต่ละฝ่าย
4. ฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องมีความสามารถในการเลี้ยงดูฝ่ายหญิง

จากหนังสือ Adat Minangkabau, Pola & Tujuan Hidup Orang Minang กล่าวว่า ชาวมีนังกาเบาที่แต่งงานนอกเหนือจากเงื่อนไขข้างต้น หรือละเมิดเงื่อนไขข้างต้น ถือว่าเป็นการแต่งงานที่ไม่สมบูรณ์ หรือ perkawinan sumbang สำหรับการแต่งงานนั้นชาวมีนังกาเบาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ด้วยการแต่งงานนั้นมีครั้งเดียวในชีวิต โดยถือว่าการแต่งงานนั้น เป็น “Perkawinan itu sesuatu yang agung”
ขั้นตอนการแต่งงานของชาวมีนังกาเบา

1. MARESEK
ขั้นตอนนี้เหมือนของชาวมลายู นั้นคือการสืบและการดูดวง ดูความเหมาะสม สำหรับขั้นตอนแรกนี้ ไม่เพียงเป็นประเพณีของชาวมลายูเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักในศาสนาอิสลาม เพราะเราจำเป็นต้องรู้สถานะของผู้ที่เราต้องการจะแต่งงานด้วย ในขั้นตอนนี้ทางฝ่ายผู้ชาย แม้จะรู้แล้วว่าสถานะของฝ่ายหญิงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายผู้ชายต้องส่งตัวแทนเพื่อไปพบครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อพบและสอบถามว่าฝ่ายหญิงมีเจ้าของแล้วยัง หรือว่าหมั้นหมายกับใครแล้วยัง

2. MAMINANG/BATIMBANG TANDO (BERTUKAR TANDA)
การหมั้นและแลกเปลี่ยนสิ่งของ
ครอบครัวฝ่ายชายเดินทางไปยังครอบครัวฝ่ายหญิง เมื่อฝ่ายหญิงยอมรับฝ่ายชายแล้ว ก็จะมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ เพื่อเป็นหลักประกันว่าทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับการหมั้น สำหรับ tando/batuka tando (bertukar tanda) นั้น จะเป็นสิ่งของที่ให้แก่ฝ่ายหญิง/ฝ่ายชาย เช่น กริช สิ่งของ เสื้อผ้าประจำเผ่ามีนังกาเบา เชี่ยนหมาก ขนม นมเนย ผลไม้ รวมทั้งสิ่งของที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติ ความเป็นมาของวงศ์ตระกูล

3. MAHANTA SIRIAH/MINTA IZIN

ฝ่ายชายแจ้งการแต่งงานแก่ญาติ พี่น้องของตนเอง ฝ่ายหญิงก็เฉกเช่นเดียวกัน จากนั้นฝ่ายหญิงได้ส่งพานพลู ส่วนฝ่ายชายได้ส่งของที่เช่น ยาเส้น แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบุหรี่ สำหรับครอบครัวฝ่ายหญิง ก็มีการประชุม หารือ เพื่อช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายของงานแต่ง เท่าที่ตนเองสามารถช่วยเหลือได้

4. BABAKO-BABAKI
บิดาของฝ่ายหญิงที่เรียกว่า bako ที่ต้องการจะแสดงถึงความรักของตนเอง โดยการช่วยเหลือออกค่าใช้จ่ายตามความสามารถของตนเอง ปกติแล้วพิธีนี้จะทำก่อนวันนิกะห์ไม่กี่วัน  มีการส่งสิ่งของที่ประกอบด้วย พานพลู ข้าวเหนียวเหลือง แกงไก่ เครื่องทอง กับข้าวที่ทำแล้ว หรือว่ายังสด ฝ่ายหญิง เดินทางไปยังบ้านของบิดาตนเอง หลังจากนั้นฝ่ายหญิงจึงเดินทางกลับไปยังบ้านของตนเอง

5. MALAM BAINAI
การทำเฮนนาให้กับฝ่ายหญิง มักจะทำเฮนนาในตอนกลางคืน ก่อนที่จะมีการทำพิธีนิกะห์ เป็นพิธีสำหรับฝ่ายหญิงเท่านั้น โดยทำเฮนนาที่นิ้ว และเล็บ รวมทั้งฝามือ  เล็บเท้า  และรอบฝามือ

6. MANJAPUIK MARAPULAI
พิธีนี้ถือว่าสำคัญที่สุดของจารีตประเพณีตาม Adat Perpatih โดยฝ่ายชายจะถูกเชิญไปยังบ้านของฝ่ายหญิง เพื่อพิธีนิกะห์ โดยฝ่ายหญิงจะต้องมีการเตรียมสิ่งของ เช่น เชี่ยนพลู เครื่องแต่งกายของผู้ชาย ข้าวเหลือง ขนมนมเนย กับข้าว ผลไม้ สำหรับพื้นที่ชายฝั่งของเกาะสุมาตรานั้น จะมีการนำสิ่งของที่เป็น ดาบ หอก ร่มเหลืองด้วย

7. PENYAMBUTAN DI RUMAH ANAK DARO
การต้อนรับฝ่ายชายที่เดินทางไปบ้านฝ่ายหญิง จะมีการแสดงดนตรี การรำพื้นบ้านของชาวมีนังกาเบา เช่น talempong dan gandang tabuk barisan Gelombang Adat timbal balik yang terdiri dari pemuda-pemuda berpakaian silat, serta disambut para dara berpakaian adat yang menyuguhkan sirih ครอบครัวฝ่ายหญิงจะมีการแสดงรำ tari Gelombang Adat Timbal Balik ฝ่ายชายจะเดินสู่บ้านฝ่ายหญิง โดยมีการประน้ำ (diperciki air) เป็นสัญลักษณ์ถึงการล้างสิ่งสกปรก ทำให้สะอาด และเดินบนพรมหรือผ้าสีขาว เพื่อสู่พิธีนิกะห์ (Akad nikah)


8. TRADISI USAI AKAD NIKAH
มีพิธีกรรมอยู่ 5 อย่าง ที่ชาวมีนังกาเบาต้องทำ หลังจากที่พิธีนิกะห์เสร็จสิ้น นั้นคือ

1. memulang tanda
เมื่อฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง ได้ทำการนิกะห์ เสร็จแล้ว ทั้งสองฝ่ายต้องมอบสิ่งของที่แต่ละฝ่ายมอบให้แก่กัน ตอนที่มีการหมั้น คืนให้แก่แต่ละฝ่าย

2. mengumumkan gelar pengantin pria
เรียกว่า Malewakan Gala Marapulai เป็นการประกาศมอบชื่อบรรดาศักดิ์ให้แก่ฝ่าย เพื่อแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายชายได้แต่งงานแล้ว
3. mengadu kening
มีการชนคิ้วกัน

4. mengeruk nasi kuning
ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงต้องแย่งกันหาเนื้อที่ซ่อนไว้ในข้าวเหลืองที่เตรียมไว้


 5. bermain coki
การเล่นคล้ายหมากรุกของชาวมีนังกาเบา การเล่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของคู่บ่าวสาวที่จะต้องมีความอดกลั้น อดทนในการเป็นคู่ชีวิตกัน  เพื่อให้ทั้งคู่เป็นคู่ชีวิตที่ราบรื่น สามารถอยู่ด้วยกันตลอดไป


การแต่งงานของชาวมีนังกาเบานี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เรียกว่า Pariaman นั้น ยังแปลกกว่า พื้นที่อื่น นั้นคือ นอกจากฝ่ายชายต้องให้ค่าสินสอดแก่ฝ่ายหญิงแล้ว ฝ่ายหญิงยังต้องมอบเงินที่เรียกว่า Wang hangus หรือ  Wang hilang ให้แก่ฝ่ายชายอีกด้วย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีค่ามากกว่าค่าสินสอดเสียอีก

Tiada ulasan:

Catat Ulasan