Ekonomi/Bisnis
▼
Sabtu, 28 Jun 2014
นักศึกษาสาขาวิชามลายูศึกษา มอ. ปัตตานี ฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
Isnin, 16 Jun 2014
ชาวปาตานีในโลกมลายู (ตอนที่ 3)
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
การอพยพของชาวปาตานีในโลกมลายูตอนนี้จะกล่าวถึงการอพยพของชาวปาตานีไปยังเกาะสุลาเวซีมาตราและเกาะบูตน
ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับเกาะสุลาเวซี รวมทั้งการอพยพของชาวปาตานีไปยังเกาะชวา
ครั้งหนึ่งในงานสัมมนาที่จัดขึ้นในรัฐเปรัค
ประเทศมาเลเซีย ผู้เขียนได้พบกับนักเขียนศิลปินแห่งชาติของมาเลเซียท่านหนึ่ง
นักเขียนนามอุโฆษที่มีนามปากกาว่า อาเรนา วาตี และเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 1985 ซึ่งผู้เขียนติดตามงานเขียนของท่านในหนังสือพิมพ์มาเลเซียตลอด
ในครั้งนั้นสร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้เขียนเป็นอย่างมาก
เพราะผู้เขียนเข้าใจว่าท่านเป็นผู้ที่อพยพมาจากเกาะสุลาเวซี จึงเป็นชนชาวบูกิส
แต่ปรากฏว่าท่านอธิบายว่าแม้จะเกิดที่เกาะสุลาเวซี มีบิดามารดาเป็นชาวเกาะสุลาเวซี
แต่ความจริงท่านเป็นลูกหลานของชาวปาตานีที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในเกาะดังกล่าวเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
ก่อนหน้านั้นนักเขียนชาวเกาะสุลาเวซีอีกคน
คือ นายซัฟรุลลอฮ ซันเร
ก็ได้บอกกับผู้เขียนว่าเขาคือลูกหลานอีกคนหนึ่งของชาวปาตานีที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในเกาะสุลาเวซี
จากการค้นคว้า ทำให้พบว่าเรือสินค้าจากปาตานีไปทำการค้าระหว่างปาตานีกับเกาะสุลาเวซีมาเป็นเวลานานแล้ว
และในปี 1602-1632
ในช่วงที่มีสงครามระหว่างสยามกับปาตานีนั้น
ชาวปาตานีภายใต้การนำของดาโต๊ะมหาราชาเลลา
พร้อมเรือนับหลายสิบลำไปอพยพไปตั้งถิ่นฐานในเกาะสุลาเวซี
ในครั้งนั้นได้นำธงปาตานีที่ชื่อว่าธง Buluh Perindu ไปด้วย ที่เมืองโกวา ทางดาโต๊ะมหาราชาเลลาขออนุญาตตั้งถิ่นฐานในเมืองดังกล่าว
ทางกษัตริย์เมืองโกวาที่ชื่อว่า กษัตริอีมางารางี ดาเอง มารับเบีย
ก็ยินดีให้ชาวปาตานีตั้งถิ่นฐานในเมืองโกวา พร้อมแต่งตั้ง ดาโต๊ะมหาราชาเลลาให้เป็นผู้นำของชุมชนชาวมลายูดังกล่าว
โดยชุมชนที่ตั้งขึ้นมามีชื่อว่าหมู่บ้านปาตานี เมื่อครั้งได้ร่วมงานสัมมนาด้านเอกสารโบราณที่เมืองยอกยาการ์ตา
ประเทศอินโดเนเซีย ทางผู้เข้าร่วมงานที่มาจากเกาะสุลาเวซีได้ยืนยันถึงการมีอยู่ของชุมชนชาวปาตานีในเกาะดังกล่าว
สำหรับเกาะบูตนนั้น
กล่าวกันว่ารัฐบูตนเป็นรัฐที่เข้ารับอิสลามในยุคกษัตริย์บูตนองค์ที่ 6 ซึ่งมีชื่อว่ากษัตริย์ลากีปนโต
ซึ่งพระองค์ได้เข้ารับศาสนาอิสลามโดยนักการศาสนาที่มาจากปาตานีที่ชื่อว่า เชคอับดุลวาฮิด
บินชารีฟสุไลมาน อัลฟาตานี กล่าวกันว่าท่านมาจากโยโฮร์-ปาตานี
ส่วนการมีอยู่ของชุมชนชาวปาตานีในเกาะชวานั้น
จะกล่าวในส่วนที่ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตาในปัจจุบัน ซึ่งรู้จักในชื่อว่า
หมู่บ้านมลายู หรือ กำปงมลายู ตั้งอยู่ในเขตยาตีเนอฆารา จาการ์ตาตะวันออก
กล่าวกันว่าเป็นชุมชนชาวมลายูที่ตั้งขึ้นมาในศตวรรษที่ 17 โดยมีผู้นำครั้งนั้นคือวันอับดุลบาฆุส
ซึ่งเป็นบุตรของเจ๊ะบาฆุส เป็นชาวปาตานี วันอับดุลบาฆุสสิ้นชีวิตในปี 1716 สำหรับผู้นำต่อมาคือวันมูฮัมหมัด ถึงอย่างไรก็ตามด้วยกาลเวลาที่ยาวนาน
ทำให้ร่องรอยของชาวปาตานีเหล่านั้นได้มีการผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมือง
ซึ่งอาจเรียกได้ว่าความเป็นชาวปาตานีได้สูญหายไปแล้ว จากการเดินทางของผู้เขียนไปยังชุมชนดังกล่าว
ทำให้ผู้เขียนได้รับเอกสารความเป็นมาและรายชื่อบรรดาอิหม่ามของมัสยิดในชุมชนดังกล่าว
ซึ่งก็ยังคงร่องรอยของมลายูอยู่บ้าง
การค้นหาร่องรอยของชุมชนชาวปาตานีในโลกมลายู
เป็นสิ่งที่สมควรที่จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อสร้างเครือข่าย
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างปาตานีกับลูกหลานของชาวปาตานีที่ตั้งถิ่นฐานในโลกมลายู
สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการที่จะให้ปาตานีเป็นประตูสู่โลกมลายูต่อไป
Jumaat, 13 Jun 2014
ชาวปาตานีในโลกมลายู (ตอนที่ 2)
โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
การอพยพของชาวปาตานีในโลกมลายูครั้งนี้จะเป็นการอพยพสู่เกาะสุมาตรา
ซึ่งเกาะสุมาตรานี้ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ ถึง 11 จังหวัดนั้น ปรากฎว่ามีหลายจังหวัดที่มีร่องรอยการชาวอพยพของชาวปาตานี
เช่น การอพยพไปยังจังหวัดเรียว
จังหวัดหมู่เกาะเรียว และจังหวัดจัมบี
เริ่มด้วยจังหวัดเรียว
ซึ่งเป็นจังหวัดที่ถือว่าร่ำรวยมากจังหวัดหนึ่ง
ในจังหวัดนี้มีร่องรอยการเดินทางของชาวปาตานีในยุคก่อนอินโดเนเซียได้รับเอกราชไปยังอาณาจักรเซียะอินทราปุรา
ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเรียว
เป็นการเดินทางของนักการศาสนาที่ชื่อว่าเชคอับดุลราห์มาน ฆูดัง ว่ากันว่าท่านเป็นมิตรสหายของโต๊ะกลาพอ
นักการศาสนานามอุโฆษแห่งบ้านกลาบอ อำเภอสายบุรี จังหวักปัตตานี
ท่านเดินทางไปยังอาณาจักรเซียะอินทราปุรา โดยสอนศาสนา รวมทั้งวิชาดาราศาสตร์ในราชสำนักเซียะอินทราปุรารวมทั้งแก่ประชาชนทั่วไป
ต่อมาบุตรของท่านที่ชื่อว่า ฮัจญีมูฮัมหมัดซอและห์ อัล-ฟาตานี
ได้แต่งงานกับบุตรสาวของดาโต๊ะฮัมซะห์
บินเอนดุตขุนนางที่สำคัญของราชสำนักเซียะอินทราปุรา ฮัจญีมูฮัมหมัดซอและห์
อัล-ฟาตานีเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงกิจการศาสนาของอินโดเนเซีย
มีบุตรหลานจำนวนหนึ่ง
สำหรับจังหวัดจัมบีนั้นก็มีร่องรอยของชาวอินโดเนเซียเชื้อสายปาตานีเช่นกัน
ด้วยเต็งกูมาห์มุดซุหดี อัล-ฟาตานี นักการศาสนาจากบ้านสมเด็จ กรุงเทพฯ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองจัมบี
ต่อมาเมื่อท่านได้รับการเชิญจากสุลต่านสุไลมานแห่งรัฐสลังงอร์ มาเลเซียให้เป็นมุฟตี(ผู้นำศาสนา)ของรัฐสลังงอร์
แต่ชาวจัมบียังต้องการท่านอีก ท่านจึงให้บุตรชายที่ชื่อเต็งกูมูฮัมหมัด อัล-ฟาตานีไปทำหน้าที่แทนท่านที่จังหวัดจัมบี
และบุตรหลานเชื้อสายปาตานีของท่านก็ยังคงตั้งถิ่นฐานในจังหวัดจัมบีจนถึงปัจจุบัน
นอกจากสองจังหวัดดังกล่าวแล้ว
อีกจังหวัดหนึ่งคือจังหวัดหมู่เกาะเรียว ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเรียว
บรรดาเกาะต่างๆในจังหวัดหมู่เกาะเรียว เช่น เกาะนาตูนา เกาะเซียนตัน เกาะเยอมายา
และเกาะตัมเบอลัน
ล้วนเป้นเกาะที่เคยเป็นที่แวะพักของบรรดานักเดินเรือชาวปาตานี
สำหรับเกาะนาตูนานั้นกล่าวกันว่าเกาะนี้บุกเบิกโดยชาวปาตานี
ผู้ปกครองเกาะนาตูนาล้วนมาจากผู้ที่มีคำว่า”วัน”นำหน้าชื่อ ซึ่งคำว่า”วัน”นี้มาจากชื่อชาวปาตานี ส่วนที่เกาะบูงูรัน มีสุสานหนึ่งที่มีชื่อเสียง
รู้จักในนามของ “กรามัตบินไย ”ว่ากันว่าเป็นสุสานของนักการศาสนาที่มาจากปาตานี
บนเกาะมีได
มีนักการศึกษาจากเชื้อสายปาตานีได้เดินทางเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่นั่น
ท่านผู้นี้มีชื่อว่า วันอับดุลราห์มาน บินวันอาบูบาการ์ ท่านได้สร้างมัสยิดบัยตุรราห์มาน
และได้รับเลือกให้เป็นอิหม่ามคนแรกของมัสยิดดังกล่าว ไม่เพียงการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานและเผยแพร่ศาสนาของชาวปาตานีเท่านั้น
แม้แต่ศิลปะการแสดงประเภทหนึ่งของชาวมลายูบริเวณเกาะต่างๆ เช่น เกาะนาตูนา
เกาะบูงูรัน เกาะเซียนตัน ที่เรียกว่า “มึนดู” ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลมาจากปาตานี แต่ที่แน่ๆ การแสดงมะโหย่ง
ที่มีต้นกำเนิดจากปาตานีนั้น ก็มีการแสดงที่หมู่เกาะเรียว
เพียงแต่มะโหย่งที่หมู่เกาะเรียวจะแตกต่างจากปาตานี-กลันตัน
ตรงที่นั่นจะใส่หน้ากาก
ผู้เขียนได้เดินทางไปยังเกาะบินตัน
ก็ได้พบเอกสารบันทึกการละเล่นมะโหย่ง ซึ่งกล่าวว่ามาจากปาตานีโดยผ่านสิงคโปร์ จะเห็นได้ว่าเกาะสุมาตรา และหมู่เกาะเรียว
ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เป็นแหล่งตั้งถื่นฐานของชาวปาตานีในโลกมลายู