Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 1 Mac 2013

การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ บี.อาร.เอ็น. คอร์โอดีเน็ต

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
ในวันนี้ 28 กุมภาพันธ์ 2013 รัฐบาลได้สร้างความตกตะลึง และแปลกใจให้กับหลายฝ่าย เมื่อปรากฏภาพตัวแทนรัฐบาลไทย โดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จับมือกับ นายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี หรือ "บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต"ซึ่งถือเป็นกลุ่มขบวนการหลักที่เคลื่อนไหวอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้



ภาพการเริ่มต้นของการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ บี. อาร์. เอ็น.
คนส่วนใหญ่ยังงงว่านายฮัสซัน ตอยิบ คือใคร เป็นตัวจริงหรือตัวปลอม ทางสื่อมวลชนไทยได้สืบค้นประวัติของนายฮัสซัน ตอยิบ ซึ่งมีความถูกต้องอย่างไร ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด 
เอกสารที่มีการลงนามระหว่างทั้งสองฝ่าย
ประวัตินายฮัสซัน ตอยิบ ตามที่มีการเผยแพร่ในสื่อมวลชนไทย
ชื่อจริง: อาแซ เจ๊ะหลง
ชื่อจริง (มาเลเซีย):  Hassan bin Toyib
ชื่ออื่น: อาแซ ตอยิบ หรือ  ฮาซัน ตอยิบ
วันเกิด 1 มกราคม 2488
ภูมิลำเนาเดิม 46 ม.7 ต.บาโงสโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส
ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านยือเลาะ รัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย
สถานภาพคนสองสัญชาติ

การศึกษา
จบโรงเรียนปอเนาะพ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยปาจาจารัน ประเทศอินโดนีเซีย (Universitas Padjadjaran) ปี 2519
เคยประธานสมาคมนักศึกษาปาตานีในอินโดนีเซีย ( ()หรือpmipti   ปี 2518
ร่วมก่อตั้ง BRN-C
ปัจจุบันดำรงสถานะเป็นสมาชิก DPP (Dewan Pimpinan Pusat)  ของ ขบวนการ  BRN

โครงสร้างต่างๆข้างล่างนี้เป็นโครงสร้างที่ได้จากสื่อมวลชนไทย ความถูกต้องยังจำเป็นต้องมีการพิสูจน์







ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
เป็นข้อมูลจากอินเตอร์ ซึ่งความถูกต้องจำเป็นต้องมีการพิสูจน์อีกครั้ง
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (มีชื่อเป็นภาษามลายูว่า   Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า   Patani Malayu National Revolutionary Front) หรือบีอาร์เอ็นก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 โดยอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน 
บีอาร์เอ็นมีความเข้มแข็งมากใน พ.ศ. 2511 ได้จัดตั้งหน่วยทหารใช้ชื่อว่า กองกำลังติดอาวุธปลดแอกอิสลามปัตตานี เคลื่อนไหวอยู่ในแถบ อ.ศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ความแตกแยกในองค์กร
1. บีอาร์เอ็น คองเกรส
2. บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต
3. บีอาร์เอ็น อูลามา

ความแตกแยกในองค์กร
 พ.ศ. 2520 เกิดความแตกแยกในหมู่แกนนำบีอาร์เอ็น จน พ.ศ. 2522 มีการแยกตัวไปตั้ง บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต พ.ศ. 2526 มีการประชุมสมัชชา เลือกผู้นำใหม่และตั้งชื่อขบวนการใหม่ว่าบีอาร์เอ็น คองเกรส ส่วนอุสตาซ อับดุลการิม ฮัสซัน ผู้นำเดิมหมดอำนาจลงโดยสิ้นเชิง จึงรวบรวมกำลังไปตั้งองค์กรใหม่เรียก บีอาร์เอ็น อูลามา

บีอาร์เอ็น คองเกรส
เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีเป้าหมายเพื่อก่อกวนและสร้างปัญหาทางสังคมจิตวิทยา เพื่อดำรงสภาพของตนไว้ เน้นการรบแบบจรยุทธ์ ไม่สร้างที่พักถาวร แต่ใช้การหลบหนีข้ามพรมแดน ฐานทางเศรษฐกิจมาจากการเรียกเก็บค่าคุ้มครอง และขู่กรรโชกส่วนแบ่งจากการซื้อขายที่ดิน การสนับสนุนจากต่างประเทศมีน้อย 
ศักยภาพการเคลื่อนไหวขององค์กรลดลงหลังไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเมื่อ พ.ศ. 2523 

บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต
ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน การข่าวของไทยเชื่อว่า เป็นกลุ่มที่อิงผู้นำทางศาสนาและนักการเมือง โดยใช้การเคลื่อนไหวทางศาสนาเป็นเกราะกำบังเพื่อขยายเครือข่ายสู่กลุ่มเยาวชน เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุด จากคำอ้างของกลุ่ม มีสมาชิกเป็นแสนคน และเป็นผู้บงการขบวนการก่อความไม่สงบสุขอาร์เคเค

บีอาร์เอ็น อูลามา
ไม่มีรายงานความเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ในปัจจุบัน

Tiada ulasan:

Catat Ulasan