Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 23 Januari 2010

ชนพื้นเมืองในเกาะสุลาเวซี ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

แผนที่เกาะสุลาเวซี

ในเกาะสุลาเวซีนั้นมีกลุ่มชนเผ่าเป็นจำนวนมาก นับสิบๆเผ่า เช่น

จังหวัดสุลาเวซีเหนือ (Sulawesi Utara)
มีประมาณ 20 เผ่า คือ
Bantik
Bintauna
Bolaang Itang
Bolaang Mongondaw
Bolaang Uki
Borgo
Gorontalo
Kaidipang
Minahasa
Mongondow
Polahi
Ponosakan
Ratahan
Sangir
Talaurd
Tombulu
Tonsawang
Tonsea
Tonteboran
Toulour

จังหวัดสุลาเวซีกลาง (Sulawesi Tengah)
มีประมาณ 16 เผ่า คือ
Bada
Bajau
Balaesang
Balantak
Banggai
Bungku
Buol
Dampelas
Dondo
Kahumamahon
Kailli
Muna
Tomia
Wakotobi
Wawonii
Kulawi

จังหวัดสุลาเวซีใต้ (Sulawesi Selatan)และจังหวัดสุลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ (Tenggara)
มีประมาณ 19 เผ่า คือ
Abung Bunga Mayang
Bentong Duri
Luwu
Makasar
Mandar
Massenrempulu
Bugis
Daya Selayar
Toala
Toraja
Towala - wala
Duri
Wiwirano
Tolaki
Tomboki
Moronene
Labeau
Nuna
Buton

พิธีงานศพเผ่าโตรายา (Toraja)

สุสานเผ่าโตรายา (Toraja)

สุสานเผ่าโตรายา(Toraja)

สำหรับชนเผ่าต่างๆเหล่านั้น เรามาทำความรู้จักกับชนเผ่าบูกิส ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีความสำคัญทั้งในประเทศอินโดเนเซียและประเทศมาเลเซีย

ชนชาวบูกิส
ชาวบูกิส ตั้งถิ่นฐานอยู่บนหมู่เกาะสุลาเวซี มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน อาศัยอยู่ในจังหวัดสูลาเวซีใต้ การยึดครองของชาวลันดาในศตวรรษที่ 17 ทำให้ส่วนหนึ่งของชาวบูกิสอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะสุมาตรา เกาะกาลิมันตัน เกาะชวา แหลมมลายู รัฐซาราวัคและรัฐซาบะห์ ชนชาวบูกิสมีชื่อเสียงเรื่องด้านการเดินเรือ และการค้า นอกจากนั้นยังรู้จักในหมู่เกาะมลายูถึงความกล้าหาญของชาวบูกิส ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชาวบูกิสคือเมืองอูจุงปันดัง (Ujung Pandang )หรือรู้จักในนามของเมืองมากัสซาร์ (Makassar)ชาวบูกิสจะนับถือศาสนาอิสลาม ตามบทกวีชาวบูกิสที่ชื่อว่า La Galigo กล่าวว่าอาณาจักรชาวบูกิสแรกคือ Wewang Nriwuk Luwuk และ Tompoktikka

รูปทรงบ้านของชาวบูกิส

การแต่งกายของผู้ชายชาวบูกิส

เครื่องแต่งกายในงานแต่งงานของชาวบูกิส

เครื่องแต่งกายของชาวบูกิส

การเข้ารับอิสลาม
ในศตวรรษที่ 16 เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงขึ้นในหมู่ชาวบูกิส ด้วยชุมชนชาวบูกิสและมากัสซาร์ได้เปลี่ยนหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยนักเผยแพร่ที่ชื่อว่า Abdul Makmur ชาวมีนังกาเบา ในกลางศตวรรษที่ 16 เกาะสุลาเวซีได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักร Gowa และ Bone ทั้งสองอาณาจักรเกิดการชิงอำนาจกัน ปรากฏว่า อาณาจักร Gowa ชนะเหนืออาณาจักร Bone และเพื่อเป็นการแก้แค้น เจ้าชายของอาณาจักร Bone ที่ชื่อว่า Arung Palakka ได้ร่วมมือกับฮอลันดาโจมตี Makassar ในปี 1667-1771 Makassar ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวฮอลันดา และทำให้มีชาวบูกิส ได้อพยพไปยังเกาะสุมาตราและแหลมมลายู ในปี 1799 ฮอลันดาได้มีอิทธิพลเหนือสุลาเวซีใต้ทั้งหมด และในช่วงการปกครองของฮอลันดานั้นปรากฏว่าฮอลันดาได้นำระบบการเก็บภาษีและการเกณฑ์แรงงาน

การอพยพของชาวบูกิสไปยังแหลมมลายู
ชาวบูกิสมีบทบาทอย่างสูงต่อประวัติศาสตร์ในแหลมมลายู ชาวบูกิสมีเรื่องร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเมืองในแหลมมลายู โดยเฉพาะมีส่วนในเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างผู้นำชาวมลายูในขณะนั้น จนต่อมาชาวบูกิสสามารถเป็นเจ้าผู้ครองรัฐโยโฮร์ และรัฐสลังงอร์ในที่สุด

สุลต่านอิบราฮิม อิสมาแอล แห่งรัฐโยโฮร์ ราชวงศ์โยโฮร์สืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าบูกิส

นายมูฮัมหมัดนายิบ ตุนอับดุลราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ผู้มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าบูกิสในชุดเครื่องกายประจำชนเผ่าบูกิส

ภาษาชาวบูกิส
ชาวบูกิสมีภาษาเป็นของตนเองเรียกว่าภาษาบูกิส หรือบางครั้งจะเรียกว่าภาษาอูฆี (bahasa ugi) และภาษาบูกิสมีอักขระเป็นของตนเอง

หนังสือของชาวบูกิส

อักขระบูกิสที่เรียกว่าพยัญชนะมากัสซาร์

อักขระบูกิสที่เรียกว่าพยัญชนะลอนตารา

หนังสืออักขระบูกิส

ขนบธรรมเนียม ประเพณีชาวบูกิส หรือ Adat Bugis
ชนชาวบูกิส เดิมอาศัยอยู่ในกาะสุลาเวซี (Sulawesi) ของประเทศอินโดนีเซีย ต่อมาประมาณศตวรรษที 17 เมืองของชาวบูกิสที่ชื่อว่าเมืองอูยจุงปันดัง(Ujung Pandang)ได้ถูกชาวฮอลันดายึดครอง กองทัพฮอลันดาภายใต้การนำของแม่ทัพฮอลันดาที่ชื่อว่า Admiral Speeman ซึ่งครั้งนั้นนับว่าชาวบูกิสได้อพยพออกจากเกาะสุลาเวซีเป็นขนานใหญ่ ต่อมาชาวบูกิส จึงมีบางส่วนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเกาะกาลีมันตัน, แหลมมลายู และรวมทั้งอยุธยาด้วย ที่อยุธยาเกิดปัญหาทางการเมืองกับชาติฝรั่ง จึงได้อพยพมาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีชื่อเรียกว่ามักกะสันชาวบูกิส จะเรียกตนเองว่าอูฆี (Ugi)และมากัสซาร์ (Makasar)

ความเชื่อของชนชาวบูกิส
คนบูกิส(Bugis)นั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับ Siri’
Siri’ หมายถึง Malu, Merendah diri, Bengga atas diri sendiri
Malu คือการอาย,ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
Merendah diri คือการถ่อมตัว ไม่หยิ่งยะโส โอ้อวดตัวเอง
Bangga atas diri sendiri คือการภาคภูมิใจในตนเอง ภาคภูมิใจต่อการเป็นคน
ดังนั้น siri ถือเป็นสิ่งที่สำคัญใน Adat ของชาว Bugis Siri เป็นสิ่งที่ควรรักษาไว้ ห้ามไม่ให้ใครมาเหยียดหยามดูหมิ่น Siri ใครก็ตามที่ดูหมิ่นบุคคลคนนั้นคน สามารถที่จะฆ่าได้ Adat Bugis ถือว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่ด้านกฎหมายหันเมืองย่อมเป็นผิดอย่างหนึ่ง

Tiada ulasan:

Catat Ulasan