Ekonomi/Bisnis

Ahad, 24 Januari 2010

ชนเผ่าซุนดา ในเกาะชวา ประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ในเกาะชวานั้น นอกจากมีชนเผ่าชวาอาศัยอยู่เป็นจำนวนนับร้อยล้านคนแล้ว ยังมีอีกชนเผ่าหนึ่งที่มีประชากรนับสิบๆล้านคน นั้นคือชนชาวซุนดา ประชากรชาวซุนดามีประมาณ 33 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตน
ชาวซุนดาไม่เหมือนชาวเผ่าอื่น ด้วยชนชาวซุนดาไม่มีตำนานความเป็นมาของชนเผ่าตนเอง เพียงตำนานแรกกล่าวว่าคนซุนดาส่วนใหญ่จะเป็นคนงานในสวนมากกว่าจะเป็นชาวนา

แผนที่ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวซุนดา

รูปร่างชาวซุนดา

การแต่งกายชุดแต่งงานของชาวซุนดา

การรำที่เรียกว่า รำไยปง (Jaipong)ของชาวซุนดา

ระบบความเชื่อของชาวซุนดา
ชาวซุนดาส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มากก็ตาม แต่น่าสนใจแนวความเชื่อของชาวซุนดาเหล่านี้ มีบันทึกอยู่ในบทกวีโบราณ หรือที่รู้จักในนามของ Wawacanและในบรรดาชนเผ่าบาดุย (Baduy) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเชิงเขาซึ่งยังยึดถือความเชื่อที่เรียกว่า Sunda Wiwitan โดยพวกเขาเรียกว่าศาสนาซุนดา วีวิตัน ศาสนาซุนดา วีวิตันถือเป็นศาสนาดั้งเดิมที่ชาวซุนดานับถือ ต่อมาชาวซุนดานับถือศาสนา ฮินดู

ศาสนาซุนดา วีวิตัน Sunda Wiwitan
เป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดา ก่อนการเข้ามาของเจ้าอาณานิคม ปัจจุบันยังเป็นความเชื่อที่ยึดถือโดยชาวซุนดาวีวิตัน ตั้งอยู่ในอำเภอ Lebak จังหวัด Banten ส่วนใหญ่จะรู้จักชาวซุนดาวีวิตัน ว่าชาวบาดุย ซึ่งสันนิษฐานว่าแรกเริ่มเรียกโดยนักวิชาการชาวฮอลันดา เพื่อเปรียบเทียบกับชาวอาหรับบาดาวี (Arab Badawi) แต่บางข้อมูลกล่าว่า มาจากชื่อแม่น้ำที่ชื่อแม่น้ำบาดุย (Sungai Baduy) และภูเขาบาดุย(Gunung Baduy) ) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของพื้นที่ดังกล่าว สำหรับชาวบาดุยเองจะเรียกตนเองว่า ชาวกาเนเกส (Urang Kanekes)หรือ Orang Kanekes เป็นชื่อสถานที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่ Desa Kanekes ตำบลLevwidamarอำเภอ Lebak Rangkas bitang จังหวัดBanten เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขา Kendeng

ภาษาของชาวบาดุย
พวกเขาจะพูดภาษาซุนดา สำเนียงจังหวัด Banten ความเป็นมาของชาวบาดุย Kanekes บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าบริเวณที่ตั้งของชาวบาดุยนั้นถือเป็นเขตบริสุทธ์ศักดิ์สิทธ์ ผู้จัดตั้งเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์คือกษัตตริย์ซุนดาที่ชื่อว่าRakayan Darmasiksa ดินแดนนี้เป็นที่ตั้งของKabuyatan สถานที่บูชาบรรพบุรุษของชาวซุนดา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูหรือพุทธ Kabuyatan บริเวณนี้รู้จักในนาม หรือ Sunda Wiwitan คำว่า Wiwitan มีความหมายว่า ดั้งเดิม ดังนั้นศาสนาของพวกเขาจึงมีชื่อว่า Sunda Wiwitan โดยความเชื่อหรือศาสนานี้เป็นการนับถือบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ

สังคม Kanekes
สังคมซุนดาแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 3 พวกคือ

โครงสร้างการปกครองของชาวบาดุย

Tangtu เป็นกลุ่มที่เรียกว่า Baduy Luar แต่งกายเสื้อผ้าและผ้าโพกสีดำ
Panangping หรือที่รู้จักในนามของ Baduy dalam บาดุย เป็นกลุ่มที่ยึดถือ หลักของ Sunda Wiwitan อย่างมั่นคง เป็นกลุ่มที่เครื่องแต่งกายสีขาวกับสีฟ้าเข้มและศรีษะโพกผ้าขาว
Dangka เป็นกลุ่มบาดุยที่ตั้งพื้นฐานอยู่นอกพื้นที่ Kanekas กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สามารถเรียกได้ว่า เป็นหมู่บ้านกันชนจากอิทธิพลภายนอก
บ้านชาวบาดุย

บ้านชาวบาดุย

ภายในบ้านชาวบาดุย

ชาวบาดุยนอก หรือ Baduy luar ในชุดสีดำกำลังจับปลา

เด็กชาวบาดุยนอก หรือ Baduy luar ในชุดสีดำ

ชาวบาดุยใน หรือ Baduy dalam ในชุดสีขาว

ชาวบาดุยใน หรือ Baduy dalam ในชุดสีขาว

Tiada ulasan:

Catat Ulasan