Ekonomi/Bisnis

Isnin, 31 Disember 2007

Temasek Holdings : องค์กรการลงทุนของประเทศสิงคโปร์

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
Temasek Holdings : องค์กรการลงทุนของประเทศสิงคโปร์
กองทุนการเงินเตมาซิก เป็นกองทุนการเงินชองรัฐบาลสิงคโปร์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์มีกองทุนการเงินอยู่ 2 แห่งที่รัฐบาลสิงคโปร์ถือหุ้น 100 % คือ กองทุนการเงินเตมาซิก (Temasek Holding) และอีกแห่งหนึ่งคือ กองทุน GIC หรือ The Government of Singapore Investment Corporation สำหรับกองทุนการเงิน เตมาซิกนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีเจ้าหน้าที่อยู่กว่า 300 คน ทำหน้าที่บริหารการเงินมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหนึ่งมการลงทุนีอยู่ในประเทศสิงคโปร์ มีการดำเนินธุรกิจต่างๆ เช่น การธนาคาร สถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การคมนาคม การขนส่ง สาธารณุปโภค โทรคมนาคม การสื่อสาร การศึกษา วิศวกรรม เทคโนโลยี่

ประวัติความเป็นมา
ในต้นทศวรรษที่ 1960 รัฐบาลสิงคโปร์ได้เข้าถือหุ้นในหลายบริษัทท้องถิ่น เช่น การผลิต และการสร้างเรือ ในปี 1974 มีการจัดตั้งบรรษัทในนามของ เตมาซิกโฮลดิง หรือ Temasek Holdings โดยมรกระทรวงการคลังของประเทศสิงคโปร์ถือหุ้นทั้งหมด

นอกจากนั้นทางรัฐบาลสิงคปร์ก็ได้จัดตั้งองค์กรขึ้นอีกแห่งโดยมีชื่อว่า The Government of Singapore Investment Corporation หรือ GIC เพื่อการลงทุนในต่างประเทศ

นางโฮ ชิง ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของ Temasek Holdings ในปี 2002 สำหรับนางโฮ ชิงนั้นเป็นภรรยาคนที่สองของนายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) ผู้เป็นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ในปี 2004

การลงทุน
ในปี 2004 มีการลงทุนในบริษัทใหญ่ๆ ของสิงคปร์ เช่น SingTel, DBS Bank, Singapore Airlines, PSA International, SMRT Corporation, Singapore Power and Neptune Orient Lines นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในบริษัททั่วไป เช่น โรงแรมที่ชื่อว่า Raffles Hotel และสวนสัตว์ เช่น Singapore Zoo และมีการลงทุนในบริษัทการพนันแห่งเดียวของสิงคโปร์ คือ บริษัทที่ชื่อว่า Singapore Pools


สำหรับการลงทุนในต่างประเทศนั้น เช่นการเข้าร่วมลงทุนในบริษัทโทรคมนาคม เช่น Telekom Malaysia การร่วมลงทุนในสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารที่ชื่อว่า PT Bank Danamon ในประเทศอินโดเนเซีย และธนาคาร NIB Bank ในประเทศปากีสถาน นอกจากนั้นบริษัทลูกของ Temasek Holdings เช่น SingTel เข้าไปถือหุ้นใน telco Optus ของประเทศออสเตรเลีย ส่วนสายการบิน Singapore Airlines เข้าไปถือหุ้น49% ในบริษัทสายการบิน Virgin Atlantic นอกจากนี้ Temasek Holdings ยังได้จัดตั้งสำนักงานในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย โดยดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทลูกที่ชื่อว่า First India Credit Ltd.

กิจการต่างๆที่ Temasek Holdings เข้าไปถือหุ้น
สถาบันการเงินและธนาคาร
· DBS Group Holdings (ถือหุ้น 28% ตามข้อมูลปี 2007)

· PT Bank Danamon Indonesia (ถือหุ้น 59% ตามข้อมูลปี 2007)

· PT Bank Internasional Indonesia(ถือหุ้น 34% ตามข้อมูลปี 2007)

· Hana Financial (ถือหุ้น 10% ตามข้อมูลปี 2007)

· ICICI Bank (ถือหุ้น 10% ตามข้อมูลปี 2007)

· Fullerton Fund Management

· China Minsheng Banking Corporation

· China Construction Bank (ถือหุ้น 6% ตามข้อมูลปี 2007)

· Bank of China (ถือหุ้น 5% ตามข้อมูลปี 2007)

· NIB Bank Pakistan (ถือหุ้น 72.6% ตามข้อมูลปี 2005 )

· Standard Chartered Bank (ถือหุ้น 18%)

· E.Sun Financial Holding Company (ถือหุ้น 6%)

· Barclays Bank (ถือหุ้น 2.1%)

· Merrill Lynch (ถือหุ้นมากกว่า 9.9%)

โทรคมนาคม และสื่อมวลชน
· MediaCorp (80% ตามข้อมูลปี 2007)

· Singapore Press Holdings

· Singapore Telecommunications (56% ตามข้อมูลปี 2007)

· Shin Corporation (42% ตามข้อมูลปี 2007)

· ST Telemedia (100% ตามข้อมูลปี 2007)

· Telekom Malaysia (5% ตามข้อมูลปี 2004)

· TeleSystem (2.6%)

อุตสาหกรรม
· Singapore Technologies

· Keppel Corporation

· SembCorp Industries

คมนาคมและการขนส่ง
· PSA International (100% ตามข้อมูลปี 2007)

· SIA (55% ตามข้อมูลปี 2007)

· Jetstar Asia Airways (19% ตามข้อมูลปี 2004)

· Tiger Aviation (11% ตามข้อมูลปี 2003)

· SpiceJet

· Neptune Orient Lines (66% ตามข้อมูลปี 2007)

· SMRT Corporation (55% ตามข้อมูลปี 2007)

อสังหาริมทรัพย์
· CapitaLand (ถือหุ้น 40% ตามข้อมูลปี 2007)

· Mapletree Investments (ถือหุ้น 100%)

· Keppel Land

· The Ascott Group

· Raffles Holdings

สาธารณุปโภค อุตสาหกรรม และวิศวกรรม
· Keppel Corporation (ถือหุ้น 21%)

· Singapore Technologies Engineering (ถือหุ้น 53%)

· SembCorp Industries (ถือหุ้น 49%)

พลังงานและทรัพยากร
· Singapore Power (ถือหุ้น 100%)

· PowerSeraya (ถือหุ้น 100%)

· Senoko Power (ถือหุ้น 100%)

· Tuas Power (ถือหุ้น 100%)

· City Gas

· Gas Supply

· China Power

เทคโนโลยี่
· Chartered Semiconductor Manufacturing (60%)

· STATS ChipPAC (ถือหุ้น 83% ตามข้อมูลปี 2007)

อาหารและเครื่องดืม
· Wildlife Reserves Singapore (ถือหุ้น 88%)

· Fraser and Neave (ถือหุ้น 15%)

· Singapore Food Industries (ถือหุ้น 70%)

ผลิตภัณฑ์ยา
· Quintiles (ถือหุ้น 16% ตามข้อมูลปี 2004)

· Matrix Laboratories (ถือหุ้น 14% ตามข้อมูลปี 2004)


การเข้าไปลงทุนที่เกิดวิกฤติการณ์
· ในวันที่ 23 มกราคม 2549 ทาง Temasek Holdings ได้ซื้อหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดยใช้บริษัท Aspen Holdings และ Cedar Holdings ในการซื้อหุ้นดังกล่าว

ในวันที่ 28 มีนาคม 2549 Temasek Holdings ได้ซื้อหุ้นจำนวน 11.55% ของธนาคาร Standard Chartered bank ซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หุ้นดังกล่าวซื้อมาจากนาย Khoo Teck Puat มหาเศรษฐีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

หลังจากที่มีการประกาศเปิดซื้อขายหุ้นของธนาคารจีนที่ชื่อว่า the Bank of China (BOC) ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ปรากฏว่า ในวันที่ 6 มิถุนายน 2549 ทาง Temasek Holdings ได้เข้าซื้อหุ้นธนาคารดังกล่าว โดยผ่านบริษัทลูกของตนเองที่ชื่อว่า Asia Financial Holdings Pte. Ltd. เป็นจำนวนิ 4.765% หรือจำนวนหุ้นทั้งหมด 11,785,825,118 หุ้น

เหตุการณ์วิกฤต
การที่ทาง Temasek Holdings ถือหุ้นโดยรัฐบาลสิงคโปร์ทั้งหมด เมื่อได้เข้าถือหุ้นในบริษัทของประเทศต่างๆจึงเหตุการณ์วิกฤติ เช่น เมื่อบริษัท ST Telmedia โดย Temasek Holdings ถือหุ้นทั้งหมดได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทโทรคมนาคมอินโดเนเซีย ซึ่งเป็นเจ้าของดาวเทียมที่ชื่อ Indosat ทางคนงานของประเทศอินโดเนเซียจึงมีการประท้วง จนต้องเทขายหุ้นไป ส่วนในปี 2546 บริษัท ST Telmedia ก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท Global Crossing จนสามารถถือหุ้นได้สองในสามของหุ้นบริษัททั้งหมด แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐจะอนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าว แต่รัฐบาลของรัฐก็ขอมีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานในบริษัทดังกล่าว สำหรับในประเทศำไทยนั้น การขายหุ้นลบริษัทชินคอร์ปของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แก่ Temasek Holdings นั้นนำมาซึ่งการประท้วง ต่อต้านพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จนต่อมาเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โดย คมช. ที่มี พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน

นักหนังสือพิมพ์ที่ชื่อ Eric Ellis ได้กล่าวว่า รัฐบาลสิงคโปร์ได้ให้การรัฐบาลพม่าโดยผ่าน Temasek Holdings แต่ทางเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประพเทศพม่าได้ปฏิเสธข่าวนี้

Orang Melayu: The story of Sri Lanka's Malay folks


By Asiff Hussein
Renowned for their martial prowess and happy go-lucky attitude, Sri Lanka"s Malay folk have but a relatively short history in the country, albeit a very fascinating one.

This small Muslim community which comprises of about 50,000 persons are mainly descended from Javanese political exiles (nobles and chieftains), soldiers and convicts, who arrived in the island from Dutch-occupied Java during the period of Dutch colonial rule in Sri Lanka from 1658 " 1796.

Although the vast majority of Sri Lankan Malays are of Javanese ancestry, there are also considerable numbers descended from the folk of other islands in the Indonesian archipelago such as the Balinese, Tidorese, Madurese, Sundanese, Bandanese and Amboinese.

Thus the ethnic term "Malay" should not be misconstrued as indicating their origin from the Malayan peninsula. Although there do exist Sri Lankan Malays descended from the folk of the Malayan peninsula, their numbers are very few indeed.

The local Malays refer to themselves as orang Java (people of Java) and orang Melayu (Malay people) while the majority Sinhalese community call them Ja-minissu (Javanese people).

Indonesian political exiles comprised a significant portion of the early Malay population brought hither by the Dutch.

These exiles posed a serious political threat to the Dutch East India company (or "vereenigde oost indische compagnie", known as the VOC for short) which had its headquarters in Batavia (the Dutch name for Jakarta).

Sri Lanka and the Cape of Good Hope in South Africa were the principal centres of banishment for such exiles.

According to B.A. Hussainmiya (Lost cousins, the Malays of Sri Lanka. 1987) there must have been at least 200 members of this eastern nobility including the younger members of aristocratic families born in the island, in the latter part of the 18th century.

This is indeed a significant number considering the fact that during this time, the entire Malay population in the island amounted to about 2400 persons.

However, during the early British period, Governor Maitland (1805 " 1811) who believed the exiles to be "a great pecuniary burden to the colonial revenue, besides being a danger to the British interests in the island", took measures to expel them.

Although the Dutch authorities in Batavia were reluctant to take back the exiles, Maitland"s threat that he would forcibly "send them in one his Majesty"s cruises to the Eastward to be landed among these islands", sufficed to change their minds. However, a few exiles who had espoused local women stayed back and gave rise to a small community of Malays claiming aristocratic status.

However, it was the Malay soldiers brought hither by the Dutch to garrison their strongholds, who comprised the bulk of the Malay community in the island. By the turn of the 18th century, there were about 2200 Malay soldiers in the island.

Malay troops are said to have taken part in the wars of the Dutch against the Portuguese such as the storming of Galle (1640), the siege of Colombo (1656) and the capture of Jaffna (1658).

The Malays also served in the Dutch wars against the Kandyan Kingdom (17th "18th centuries). With the surrender of the Dutch to the British in 1796, the Malay soldiers were absorbed by the British military, and so served them as they had done their predecessors, the Dutch.

The British authorities who were not unaware of the martial prowess of the Malays, imported over 400 Madurese soldiers and about 228 Javanese soldiers along with their families from 1813 " 1816. This was during the brief period of British rule over Java from 1811 " 1816. Following the Dutch takeover of Java in 1816, the British had to turn elsewhere for the supply of Malay soldiers and set up recruiting offices, which were however a miserable failure.

Captain Tranchell"s mission (1856 " 1857) which travelled extensively in the East Indies including stopovers in Brunei, Lubuan, Pahang and Kelatan, managed to recruit only seven Malays, which prompted a contemporary British officer, Cowan, to remark:

"The expedition and the expenditure as compared with the proceeds of it must show these four of five (Malay recruits) to be about the most expensive in the British army." He says that everyone of them were subsequently set at liberty as they were physically unfit for fighting when they arrived at headquarters.

As for convicts, these comprised petty officials and commoners deported by the VOC. However, these were very few compared to the soldiers. It has been shown that in 1731, there were 131 of these convicts serving the VOC in Sri Lanka, besides those convicts serving in the army and those who had been set free.

Although it appears that the majority of Malays did not bring their womenfolk with them, there is evidence to show that a good many of them did.

Christopher Schwitzer, a German resident of Dutch Ceylon alludes (1680) to Amboinese soldiers in the Dutch service who had Amboinese Sinhalese, and Tamil wives, so that we may assume that some of the Malays, especially the soldiery, brought their wives with them.

However, as borne out by later Dutch records, the Malays preferred to marry local Moor women, due to their common religious background. Intermarriage with Sinhalese women has however also been considerable since the 19th century. It is for this reason that local Malays somewhat differ physically from their brethren in the Indonesian archipelago.

As for Malay culture, we know that the Malay language (known to local Malays as "bahasa Melayu") is still a living one and is spoken in Malay homes, though there is evidence to show that it is being fast replaced by Sinhala.

The local Malay language which somewhat differs from standard Indonesian (bahasa Indonesia) and standard Malaysian (bahasa Malaysia) was however a thriving one in the olden days, so much so that two Malay newspapers, Alamat Lankapuri and Wajah Selong in Arabic script (known to local Malays as the Gundul script) were published in the latter part of the 19th century.

As Hussainmiya (Lost cousins 1987) has noted, Sri Lanka"s Malays have belonged to a fairly literate society. Although a great part of their literature, which includes "Hikayats" (prose works) and "Syairs" (works in verse) have had their origins from classical Malay works popular throughout the Malay world, a considerable number of such works have had their origins amongst the local Malay community.

The Hikayats which have derived from Arabian, Persian, Indian and Javanese sources, comprise of fantastic tales including romances, legends and epics. Some of the notable Hikayats found in Sri Lanka are the Hikayat Amir Hamzah, Hikayat Isma Yatim and Hikayat Indera Kuraisy. According to Hussainmiya (1987) the Hikayat Indera Kuraisy is peculiar to Sri Lanka.

This fantastic Malay romance, which is interspersed with pantuns (traditional Malay quatrains) relate the adventures of the hero Indera Kuraisy who departs from his homeland Sarmadan in order to win the heart of the inapproachable princess, Indera Kayangan. The Syairs are Malay classic poetry that have for long captured the fancy of local Malay folk.

Two notable local syairs are the syair syaikh Fadlun, a romance-epic narrating the story of the pious Fadlun who lived in Arabia during the times of the Caliph Omar, and the syair Kisahnya Khabar Orang Wolenter Bengali which describes the armed skirmish between Malay and Bengali soldiers in Colombo on New Years Day 1819. These Hikayats and Syairs were also written in the Gundul script.

However, despite attempts at reviving the Malay language, it is fast dying out and giving way to Sinhala. The vast majority of vernacular- educated Malay youth today speak Sinhala at home.

In spite of all this, it can still be said that the local Malays have been much more conservative than their brethren domiciled in South Africa (Cape Malays) who have had similar beginnings but have ceased to speak that Malay language long ago (as far back as the 19th century, as evident from John Mason"s "Malays of Cape Town" 1861). This is despite the fact that the Cape Malays constitute a community three times as large as the Sri Lankan Malay community.

There have of course been numerous attempts at reviving the local Malay language and culture by such organizations as the Sri Lanka Malay Confederation, an umbrella organization of the local Malay community.

The second Malay world symposium held in Colombo in August 1985, and co-sponsored by the Malay Confederation and Gapena, the Malaysian Writers Federation, is a case in point.

To this day, the Malays have jealously retained certain aspects of their culture, examples being the honorific Tuan which precedes the names of Malay males, their family names, social customs and culinary habits.

Today there exist many Malay family names that have fiercely resisted the inroads made by Islamic Arab names; these include Jaya, Bongso, Tumarto, Kitchil, Kuttilan, Kuncheer and Singa Laksana.

Although Malay social customs such as those pertaining to births, circumcisions and marriages are not significantly different from those of their Moorish co-religionists, there nevertheless do exist a few practices that do differ. A practice peculiar to the Malays until fairly recent times was the singing of pantuns on such festive occasions.

The Malays have also retained some of their traditional fare such as nasi goreng (Fried rice), satay and Malay Kueh (cakes and puddings). Pittu (rice-cake) and babath (tripe) is another favourite dish that has found much favour amongst other communities as well.

Traditional Malay dress has however ceased to exist for some time. Local Malay women, like their Moorish sisters, dress in sari (Indian-style with a hood left at the back to cover the head when going outdoors) instead of the traditional Malay Baju and Kurung.

However, it is possible that the sarong which Malay men as well as those of other communities wear at home is a recent introduction from the archipelago.

It appears that in the olden days, Sinhalese, Moor and Tamil folk wore a lower garment similar to the Indian dhoti and not exactly the same garment we know as the sarong, whose name itself is of Malay origin.

The arts of batik printing and rattan weaving, both lucrative cottage industries in the country, also owe their origins to the Malay.

Isnin, 26 November 2007

พรรคอิสลามแห่งมาเลเซียหรือพรรคปาส กับการปกครองรัฐกลันัน มาเลเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 
พรรคอิสลามแห่งมาเลเซียหรือพรรค Parti Islam SeMalaysia (Pas)

พรรคนี้ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 1951 ส่วนหนึ่งของแกนนำพรรค PAS มาจากการแยกตัวของฝ่ายศาสนาในพรรค UMNO ภายใต้การนำของนายหะยีอับบัส อัลเลียส (Haji Abbas Alias)ปัจจุบันมีนายหะยีอับดุลฮาดี บินอาวัง (Haji Abdul Hadi Awang) อดีตมุขมนตรีรัฐตรังกานู เป็นหัวหน้าพรรค PAS ส่วนนายนิอับดุลอาซีซ นิมัต ( Nik Abdul Aziz Nik Mat) ผู้เป็นมุขมนตรีรัฐกลันตันมีตำแหน่งเป็นมูรชิดุลอาม (Murshidul Am)[46] มีสถานะคล้ายผู้นำจิตวิญญาณ ในช่วงทศวรรษที่ 1970 พรรค PAS เคยเป็นรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐกลันตัน ต่อมาเกิดความขัดแย้งจนมีการแยกพรรคเช่น พรรค BERJASA, HAMIM จนทำให้พรรค UMNO สามารถยึดครองรัฐกลันตันมาไป ต่อมาเมื่อพรรค UMNO เกิดความแตกแยก จนส่วนหนึ่งของสมาชิกพรรค UMNO ได้จัดตั้งพรรคใหม่ โดยมีชื่อว่าพรรคสปิริต46 หรือ Parti Semangat 46 

ในการเลือกตั้งปี 1990 พรรค Parti Semangat 46 BERJASA, HAMIM PAS ได้จัดตั้งเป็นพันธมิตรภายใต้ชื่อ พันธมิตรเพื่อเอกภาพของประชาชาติ หรือ Angkatan Perpaduan Ummah (APU)[47] จนสามารถยึดรัฐกลันตันในปี 1990 จนถึงปัจจุบัน พรรค PAS ค่อนข้างมีอิทธิพลในรัฐที่มีชนชาวมลายูอยู่อย่างหนาแน่น เช่น รัฐกลันตัน, รัฐตรังกานู, รัฐเคดะห์ และรัฐเปอร์ลิส การที่อิทธิพลของพรรค PAS มีค่อนข้างสูง ทำให้พรรค UMNO ต้องปรับนโยบายของตนเองให้มีความเป็นอิสลามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยุคที่นายอันวาร์ อิบราฮิม เป็นรองนายกรัฐมนตรีที่พยายามแทรกอุดมการณ์อิสลามเข้าไปในพรรค 

ส่วนในปัจจุบันนายอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีก็ได้สร้างความเป็นอิสลาม โดยการเสนอหลัการอิสลามฮาดารี (Islam Hadhari)[48] จนได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น ทำให้การเลือกตั้งในปี 2004 ทำให้พรรคเกือบสามารถยึดรัฐกลันตันคืนจากพรรค โดยได้รับเลือกในสภานิติบัญญัติแห่งรัฐจำนวน 21 45 UMNO PAS ที่นั่ง ที่นั่ง การที่พรรค PAS สามารถปกครองรัฐกลันตัน ทำให้พรรค PAS พยายามที่จะใช้หลักการอิสลามในการปกครองการบริหารรัฐ

การที่พรรค PAS เป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แนวทางอิสลาม แต่ในการบริหารการปกครองรัฐ ปรากฎว่าประชาชนที่ไม่ใช่ผู้นับถือศาสนาอิสลามไม่ได้มีผลกระทบแต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการออกกฎหมายที่มีประโยชน์ต่อประชนโดยรวม กฎหมายบางข้อ

การดำเนินการเพื่อใช้หลักชารีอะห์อิสลามในรัฐกลันตัน
มีความพยายามที่จะดำเนินการนำหลักการชารีอะห์อิสลามมาใช้โดยพรรค PAS โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกลันตันและรัฐตรังกานู นับตั้งแต่การก่อตั้งพรรค PAS ในปี1951 พรรค PAS มีความพยายามที่จะนำหลักการศาสนาอิสลามมาใช้ แต่การนำบางส่วนของหลักการซารีอะห์อิสลาม เริ่มมีผลให้เห็นนับตั้งแต่พรรค PAS ได้สามารถยึดครองรัฐกลันตันตั้งแต่ปี 1990 โดยพรรค PAS ได้พยายามทำให้รัฐกลันตันเป็นรัฐที่ปกครองตามหลักศาสนาอิสลาม มีการประกาศให้รัฐกลันตันเป็นรัฐระเบียงแห่งนครมักกะห์ ( Negeri Kelantan Negari Serambi Makkah) และประกาศให้เมืองโกตาบารู เมืองเอกของกลันตันเป็นเมืองอิสลาม หรือ Islamic City โดยมีชื่อเป็นทางการว่า เมืองโกตาบารู เมืองแห่งอิสลาม หรือ Kota Bharu Bandar raya Islam

ระบบศาลยุติธรรมของประเทศมาเลเซีย


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ระบบศาลยุติธรรมของมาเลเซีย
ศาลฎีกา ( Mahkamah Agong )

องค์ประกอบของศาลฎีกานั้นมี
1. ประธานศาลแห่งชาติ (Ketua Hakim Negara ) และประธานศาลฎีกา

2. หัวหน้าผู้พิพากษา(Hakim Besar)ของศาลสูงแห่งมาลายา และศาลสูงแห่งบอร์เนียว

3. ผู้พิพากษาจำนวน 7 ท่านของศาลฎีกา

ในการดำเนินคดีนั้นศาลฎีกาจะประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 3 ท่านโดยได้รับกาเลือกการเลือกจากประธานศาลแห่งชาติ ( ประธานศาลฎีกา )แต่ในกรณีที่เป็นคดีสำคัญทางศาลฎีกาจะมีผู้พิพากษาจำนวน 5 ท่าน

ศาลสูง (Mahkamah Tinggi)
องค์ประกอบของศาลสูงนั้นมีดังนี้

1. หัวหน้าผู้พิพากษา ( Hakim Besar ) จำนวน 2 ท่าน โดย 1ท่าน มาจากแหลมมลายู (Malaya ) และอีก 1ท่านมาจากรัฐซาบาห์ และรัฐซาราวัค

2. ผู้พิพากษาจำนวน35 ท่านโดย 8 ท่าน มาจากรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัคและจำนวน 27 ท่านมาจากแหลมมลายู ( Malaya )

ศาลสูงมีอำนาจที่ไม่จำกัด แต่ส่วนใหญ่แล้วคดีที่อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลต้นเท่านั้นที่จะไปพิจารณาในศาลสูง และศาลสูงจะรับพิจารณาคดีที่มีการอุทธรณ์จากการตัดสินของศาลชั้นต้น

Mahkamah Rayuan ( ศาลอุธรณ์)
ประกอบด้วยประธานศาล และผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งอีก 10 ท่าน

Mahkamah Rendah ( ศาลต้น )
ศาลต้นในแหลมมลายูประกอบด้วย Mahkamah Sesyen, Mahkamah Majistret, Mahkamah Juvenile และ Mahkamah Penghulu

Mahkamah Sesyen
เป็นศาลที่สูงที่สุดในศาลต้น มีอำนาจในการตัดสินคดียกเว้นคดีที่มีการลงโทษประหารชีวิต ผู้พิพากษาสามารถลงโทษจำเลยได้ยกเว้นแต่ลงโทษประหารชีวิต ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน100,000 ริงกิต ยกเว้นกรณีอหังสาริมทรัพย์ มรดก การหย่า การล้มละลาย

Mahkamah Majistret
เป็นศาลที่ตัดสินเกี่ยวกับคดีทั่วไปและคดีอาชญากรรม ผู้พิพากษาชั้น2 สามารถตัดสินคดีในกรณีลงโทษไม่เกิน 12 เดือน ในคดีแพ่งมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน 3,000 ริงกิต ส่วนผู้พิพากษาชั้น1 ของMahkamah Majistretมีอำนาจที่กว้างขวางโดยสามารถลงโทษในกรณีไม่เกิน 10 ปี ในกรณีคดีแพ่งมีอำนาจมีอำนาจตัดสินในกรณีไม่เกิน25,000ริงกิต

Mahkamah Juvenil
เป็นศาลเด็กที่ผู้พิพากษาชั้น 1 สามารถพิพากษาความผิดได้ทุกประเภทลงโทษได้ยกเว้นประหารชีวิต และผู้พิพากษาต้องมี “ที่ปรึกษา (Law Adviser )” จำนวน 2 ท่าน การพิพากษาในศาลนี้จะทำแบบปิดไม่อนุญาตให้สาธาณชนเข้าฟังสามารถลงโทษผู้ผิดไปยังสถาบันดัดนิสัยที่รัฐบาลอนุญาตหรือปล่อยผู้กระทำความผิด

Mahkamah Penghulu
เป็นศาลที่มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า Mahkamah Penghulu ถือเป็นศาลที่ต่าที่สุดในบรรดาศาลต้น ส่วนใหญ่มักไม่ต้องพิจารณาคดี เพาระผู้ใหญ่บ้านสามารถเกลี้ยกล่อมคู่กรณีได้ ศาลชนิดนี้สามารถพิจารณาคดีที่มีความขัดแย้งในวงเงินไม่เกิน 50 ริงกิต และปรับโทษได้ไม่เกิน 25 ริงกิต
ศาลต้นในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัก มีการขยายพ.ร.บ.ศาลต้นปี 1948 ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักเมื่อ 1 มิถุนายน 1981 จึงทำให้มีการจัดตั้ง Mahkamah juvenil และ Mahkamah sesyen ขึ้นในรัฐทั้งสอง โดยมีอำนาจหน้าที่เหมือนกับในแหลมมลายู โดยทั้งสองศาลดังกล่าวในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักมีผู้พิพากษาชั้น1และ2 เช่นกัน ส่วนศาลที่เรียกว่า Mahkamah Penghulu นั้นในรัฐซบาห์ละรัฐซาราวัคไม่มี

รัฐธรรมนูญประเทศมาเลเซีย ฉบับแปลเฉพาะบางมาตรา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
เนื้อหาบางส่วนของรัฐธรรมนูญประเทศมาเลเซีย


รัฐธรรมนูญมาเลเซีย
มีทั้งหมด 15 ตอน
มีทั้งหมด 183 มาตรา

ตอนที่ 1 รัฐต่างๆศาสนา และกฎหมายสหพันธรัฐ

มาตรา 1 ชื่อประเทศคือ มาเลเซีย เขียนเป็นภาษามลายูและภาษาอังกฤษว่า Malaysia[1]

2 . รัฐต่างๆประกอบด้วย ( 13รัฐ ) รัฐต่อไปนี้ คือ รัฐโยโฮร์, รัฐเคดะห์, รัฐกลันตัน, รัฐมะละกา, รัฐนัครีซึมบีลัน, รัฐปาหัง, รัฐเปรัค, รัฐเปอร์ลิส, รัฐปีนัง, รัฐซาบะห์, รัฐซาราวัค, รัฐสลังงอร์ และรัฐตรังกานู

3. ดินแดนของรัฐต่างๆเป็นดินแดนของรัฐนั้นๆก่อนวันมาเลเซีย (Hari Malaysia) (16 กันยายน 1963)
4. ดินแดนรัฐสลังงอร์ ไม่รวมถึงดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ (Wilayah Persekutuan Kuala Lumpur ) ซึ่งตั้งตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1973 และดินแดนสหพันธรัฐปุตราจายา (Wilayah Persekutuan Putrajaya ) ซึ่งตั้งตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2001 รวมทั้งดินแดนสหพันธรัฐลาบวน (Wilayah Persekutuan Labuan) ซึ่งตั้งในความการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1984

มาตรา 2 : การเข้าร่วมของดินแดนใหม่ในสหพันธรัฐ

a รัฐสภาสามารถนำรัฐอื่นเข้าร่วมในสหพันธรัฐ

b สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงดินแดนรัฐต่างๆ

แต่การเปลี่ยนแปลงดินแดนนั้นต้องได้รับการยินยอมจากรัฐดังกล่าว

มาตรา 3: ศาสนาประจำสหพันธรัฐ

(1) ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสำหรับสหพันธรัฐ แต่ศาสนาอื่นสามารถนับถือและประกอบศาสนพิธีในดินแดนต่างๆของสหพันธรัฐ

(2) ในรัฐต่างๆยกเว้นรัฐที่ไม่มีกษัตริย์( Raja) นั้น กษัตริย์ หรือ Raja มีสถานะเป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามภายในรัฐของพระองค์ การกระทำการ หรือ พิธีการทางศาสนาใดๆที่ได้รับเห็นชอบจากสภาเจ้าผู้ครองรัฐ ดังนั้นเจ้าผู้ครองรัฐต้องเห็นชอบให้พระราชาธิบดีเป็นตัวแทนในนามของเจ้าผู้ครองรัฐ

( 3) รัฐธรรมนูญของรัฐ (Perlembangaan Negeri) ของรัฐมะละกา ปีนัง ซาบะห์และซาราวัค ต้องให้อำนาจแก่พระราชาธิบดี ในการเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของรัฐดังกล่าว

( 5) พระราชาธิบดี (Yang Di Pertuan Agong) ต้องเป็นผู้นำศาสนาอิสลามของดินแดนสหพันธรัฐเช่น ดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ดินแดนสหพันธรัฐลาบวน(Labuan) และ ดินแดนสหพันธรัฐปุตรจายา (Putrajaya)

มาตรา 4 : กฎหมายหลักของสหพันธรัฐ

(1)รัฐธรรมนูญนี้เป็นกฎหมายหลักของสหพันธรัฐ และกฎหมายต่างๆที่ออกหลังวันเอกราชและขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้คือเป็นโมฆะ

ตอน 2 เสรีภาพขั้นพื้นฐาน

มาตรา 5 เสรีภาพของตนเอง (Kebebasan diri)

(1)ไม่สามารถที่จะประหารชีวิตบุคคลใด หรือยกเลิกสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของเขาได้ นอกจากโดยอาศัยอำนาจของกฏหมาย

(2) เมื่อมีการอุทธรณ์ต่อศาลสูง (Mahkamah Tinggi)หรือผู้พิพากษาศาลสูงใดๆว่าบุคคลถูกจับโดยมีความแย้งกับกฎหมาย ทางศาลสูงจะต้องทำการพิจารณา ยกเว้นจนกว่าศาลจะพอใจว่าบุคคลนั้นถูกจับโดยชอบตามกฎมาย ศาลต้องให้บุคคลนั้นขึ้นศาลและปล่อยเขาไป

(3) ถ้าบุคคลใดถูกจับต้องแจ้งเหตุผล(ข้อหา)ของการจับและต้องอนุญาตให้เขาพบกับทนายความที่เขาเลือก

มาตรา 6 การห้ามการทำงานโดยการบังคับและการเป็นข้าทาส

(1)ไม่สามารถบังคับ(Tahan) บุคคลใดเป็นทาสได้

(2)การทำงานโดยการบังคับได้รับการห้าม ยกเว้นรัฐสภาได้ออกกฎหมายเกณฑ์บังคับประชาชนเพื่อทำงานแก่ประเทศชาติ

มาตรา 8 ความเสมอภาพ
(1)ทุกคนมีความเสมอภาพในด้านกฎหมายและมีสิทธิ์ได้รับการปกป้องจากกฎหมายด้วยความเสมอภาพ

(3)ไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างในการได้รับผลประโยชน์จากบุคคลนั้นเป็นประชาชนของ Raja แห่งรัฐใดๆ

(5)สิ่งเหล่านี้ไม่อาจห้ามหรือยกเลิกได้
b ตำแหน่งที่มีการจำกัดที่เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือมูลนิธิ (yayasan) ที่ดำเนินการโดยศาสนานิกชนนั้นๆ

c การพิทักษ์/การพัฒนาคนพื้นเมือง(Orang Asli)ในแหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu) ( รวมทั้งสงวนสิทธิ์ที่ดินสำหรับคนพื้นเมืองชาวมลายู หรือ Malay Reserve Land (Rezab Tanah Melayu)หรือ การสงวนสิทธิ์ตำแหน่งต่อคนพื้นเมืองตามความเหมาะสม[2]

มาตร 9 (1) บุคคลผู้มีสัญชาติไม่สามารถเนรเทศออกนอกหรือการห้ามเข้ามายังสหพันธรัฐ

(2) บุคคลผู้มีสัญชาติสามารถเคลื่อนไหว (bergerak) โดยอิสระทั่วสหพันธรัฐและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ใดๆของสหพันธรัฐ[3]
มาตรา10 : ความอิสระในการพูด ชุมนุม และจัดตั้งสมาคม

(1)(b) ผู้มีสัญชาติทุกคนมีสิทธิ์ที่จะชุมนุมโดยสันติและปราศจากอาวุธ

(c) ผู้มีสัญชาติทุกคนมีสิทธิ์จัดตั้งสมาคม

มาตรา 11 ความอิสระในการนับถือศาสนา

(1) ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะนับถือศาสนาและประกอบพิธีทางศาสนาของตนเอง
(2) ทุกคนไม่อาจถูกบังคับให้เสียภาษีใดๆ ถ้ารายได้จากภาษีนั้นๆไม่ว่าจะเป็นทั้งหมด หรือ บางส่วนเป็นภาษีเพื่อการเฉพาะกิจการสำหรับศาสนาใดๆที่ไม่ใช่ศาสนาที่ตนเองนับถือ

(4) กฎหมายของรัฐต่างๆ, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ดินแดนสหพันธรัฐลาบวน และ ดินแดนสหพันธรัฐPutrajaya สามารถควบคุม หรืสกัดกั้นการเผยแพร่ความเชื่อหรือศาสนาอื่นในหมู่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

มาตรา 12 สิทธิในการศึกษา

(2)ทุกกลุ่มศาสนามีสิทธ์ในการจัดตั้งและดำเนินการสถาบันเพื่อการศึกษาของเยาวชนในกลุ่มศาสนาตนเอง แต่สหพันธรัฐหรือรัฐใดๆมีสิทธ์ที่จะดำเนินจัดตั้งสถาบันอิสลามหรือให้ความช่วยเหลือต่อการสอนศาสนาอิสลามด้วยงบประมาณใดๆเพื่อวัตถุประสงค์นั้น

มาตรา 13 สิทธิในทรัพย์สิน
(1) บุคคลใดๆไม่อาจยกเลิกสิทธ์ในทรัพย์สิน ยกเว้นโดยการใช้กฎหมาย

(2) ไม่มีกฎหมายใดๆที่สามารถนำมาซึ่งทรัพย์สิน หรือนำทรัพย์สินโดยการบังคับซึ่งปราศจากการให้ค่าชดเชยตามความเหมาะสม

ตอน 3 สัญชาติ

บท 1 การได้มาซึ่งสัญชาติ

มาตรา 14: บุคคลที่ได้รับสัญชาติตามกฎหมาย

(1) บุคคลต่อไปนี้ที่ได้รับสัญชาติตามอำนาจของกฎหมาย

a- บุคคลที่เกิดก่อนวันมาเลเซีย (16 Seb 1963) และเป็นบุคคลสัญชาติสหพันธรัฐ

b- บุคคลที่เกิดในหรือภายหลังวันมาเลเซีย และมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ใน ตอน 2 ตาราง 2

c- ยกเลิก

(2)ยกเลิก

(3)ยกเลิก

มาตรา15 : การได้สัญชาติโดยการยืนจดทะเบียน (Pendaftaran) (ภรรยาและบุตรของผู้มีสัญชาติ)
(1) สตรีต่างชาติที่มีสามีเป็นผู้ที่มีสัญชาติ ผู้มีสัญชาติตั้งแต่ ตุลาคม1962
a มีถิ่นฐานอยู่ในสหพันธรัฐเป็นเวลา 2ปี ก่อนที่จะยืนจดทะเบียน

b มีความประพฤติดี

(2) บิดามารดาหรือผู้ปกครอง (Penjaga) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี ยืนคำร้องต่อรัฐบาลสหพันธรัฐ ทางรัฐบาลสหพันธรัฐสามารถสั่งให้บุคคลผู้นั้นยืนจดทะเบียนสัญชาติ ในกรณีที่มีบิดาหรือมารดา(หรือขณะที่เสียชีวิต)มีสัญชาติ

(4) ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานถาวรในก่อนวันจัดตั้งประเทศมาเลเซียในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ให้ถือเป็นผู้ตั้งถ่นฐานถาวรในสหพันธรัฐด้วย

15a : อำนาจพิเศษในการจดทะเบียนสำหรับเยวชน

รัฐบาลสหพันธรัฐมีอำนาจพิเศษตามที่เห็นว่าสมควรในการสั่งให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีให้จดทะเบียนเป็นบุคคลมีสัญชาติ

16: การได้สัญชาติโดยการยื่นจดทะเบียน (สำหรับคนที่เกิดในสหพันธรัฐก่อนวันเอกราช 31สิงหาคม 1957 )[4]

16a: การได้สัญชาติโดยการยื่นจดทะเบียน ( สำหรับคนที่ตั้งถิ่นฐานในรัฐซาราวัค รัฐซาบะห์ในวันมาเลเซีย

มาตรา19 : การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ ( Cara Kemasukan)

(1)คนทีมีอายุ 21 ปี หรือเกินกว่านั้นที่ไม่ใช่สัญชาติ สามารถขอสัญชาติได้ โดยเมื่อทางรัฐบาลมีความพอใจ
a โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1 อาศัยอยู่ในสหพันธรัฐตามเวลาที่กำหนด[5] และมีความประสงค์จะอาศัยถาวรอยู่ในสหพันธรัฐ

2 ยกเลิก

b มีความประพฤติดี

c มีความรู้(สามารถพูด) ในภาษามลายู

บท 2 การยุติ /ยกเลิกสัญชาติ

มาตรา 23 การปฏิเสธสัญชาติ

(1)บุคคลที่ต้องการได้รับสัญชาติอื่น สามรถยื่นเรื่องขอยกเลิกสัญชาติสหพันธรัฐได้

มาตรา24 การหลุดจากสัญชาติโดยได้รับสัญชาติอื่น

(1)บุคคลผู้มีสัญชาติอื่นโดยการยื่นจดทะเบียน การโอนสัญชาติ (Kemasukan) หรือวิธีใด ยกเว้นด้วยการแต่งงาน รัฐบาลสหพันธรัฐสามารถยุติการมีสัญชาติของบุคคลผู้นั้นได้

(2)บุคคลผู้ได้รับผลประโยชน์จากการมีสิทธิผลประโยชน์ตามสัญชาติอื่น ทางรัฐบาลสามารถยุติสัญชาติของบุคคลผู้นั้นได้

บท3 เพิ่มเติม


มาตรา 29 สัญชาติเครือจักรภพ (Commonwealth)

(1)ด้วยสหพันธรัฐอยู่ในเครือจักรภพ ดังนั้นผู้มีสัญชาติย่อมได้รับสถานะสัญชาติของเครือจักรภพเท่าเทียบกับสัญชาติอื่นๆที่อยู่ในเครือจักรภพ

(มาตราที่เกี่ยวกับสัญชาติ ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 31 โดยมาตรา 17,19a, 20, 21,30a, 30b มีการยกเลิก และมีการยกเลิกในบางวรรคของมาตราต่างๆ)

ตอน 4 สหพันธรัฐ
บท 1 : ผู้นำประเทศ

มาตรา 32 : ผู้นำประเทศของสหพันธรัฐและพระราชินี

(1)ผู้นำประเทศเรียกว่า Yang Di Pertuan Agong ผู้ไม่สามารถถูกกล่าวหาต่อศาลใดๆยกเว้นในศาลพิเศษ ( Mahkamah Khas ) ที่จัดตั้งขึ้นในตอนที่15

(2)พระราชินีเรียกว่า Raja Permaisuri Agong

(3)Yang Di pertuan Agong ได้รับเลือกโดยสภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja มีวาระ 5 ปี

มาตรา 33 รองผู้นำประเทศของสหพันธรัฐ
(1 ) ต้องมีรองผู้นำประเทศรียกว่า Timbalan Yang Di Pertuan Agong
(2 ) รองผู้นำประเทศ หรือ Timbalan Yang Di Pertuan Agong ได้รับการเลือกตั้งจาก สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja มีวาระ 5 ปี

33a พระราชาธิบดี หรือ Yang Di Pertuan Agong ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา

(1) ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีถูกตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายที่กำหนดในศาลพิเศษ

(2)ระยะเวลาการยุติการปฏิบัติหน้าที่ของ Yang Di Pertuan Agong ถือเป็นระยะเวลาในตำแหน่งของ Yang Di Pertuan Agong

มาตรา 34 สิ่งที่ Yang Di Pertuan Agong ไม่สามารถกระทำได้

(1)ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำของรัฐตนเอง ยกเว้นผู้นำทางศาสนาอิสลามภายในรัฐตนเอง

(3)ไม่สามารถดำเนินธุรกิจ

บท 2 สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja

มาตรา 36 ตรายางใหญ่หรือ Mohor Besar

พระราชาธิบดี หรือ Yang Di Pertuan Agong เป็นผู้เก็บและใช้ตรายางใหญ่ หรือ Mohor Besar[6]

มาตรา 38 สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Raja

(2)หน้าที่ของ สภาเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ Majlis Raja-Rajaคือ

a-เลือก Yang Di Pertuan Agong และ Timbalan Yang Di Pertuan Agong

b-เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการกระทำการใด การปฏิบัติหรือพิธีทางศาสนาครอบคลุมทั่วสหพันธรัฐ

c-เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกฎหมายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้

d- แต่งตั้งสมาชิกศาลพิเศษ (Mahkamah Khas)

e- ให้การอภัยโทษและสามารถให้การพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายของประเทศ

บท 3 ผู้ปกครอง

มาตรา41 Yang Di Pertuan Agong คือ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพสหพันธรัฐ

มาตรา43 คณะรัฐมนตรี
(1)Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คำปรึกษาต่อ Yang Di Pertuan Agong ในการปฏิบัติหน้าที่

(2) คณะรัฐมนตรีต้องมีเงื่อนไขดังนี้
a Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกรัฐสภา ที่ได้รับความไว้วางใจจากส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภา

b โดยการแนะนำของนายกรัฐมนตรี ทาง Yang Di Pertuan Agong ได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งจากสมาชิกรัฐสภา[7]

43a –รัฐมนตรีช่วย

(1) Yang Di Pertuan Agong แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยจากสมาชิกรัฐสภา ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

(2) รัฐมนตรีช่วยมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ

43b-เลขานุการฝ่ายรัฐสภา หรือ Setiausaha Parlimen

(1) นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเลานุการฝ่ายรัฐสภาจากสมาชิกรัฐสภา

(2) เลขานุการฝ่ายรัฐสภามีหน้าที่ให้การช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วย

43c-เลขานุการฝ่ายการเมือง หรือ Setiausaha Politik

(1) นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลต่างๆเป็นเลานุการฝ่ายการเมือง


(2) บุคคลต่างๆเป็นเลานุการฝ่ายการเมืองมีเงื่อนไขคือ

a ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา

b สามารถลาออกได้ทุกเวลา

บท 4 องค์กรนิติบัญญัติสหพันธรัฐ

มาตรา 44 สมาชิกรัฐสภา (Parliment)

อำนาจนิติบัญญัติตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Parliament ซึ่งประกอบด้วย Yang Di Pertuan Agong และอีก 2 สภา คือ 1. วุฒิสภา หรือ Dewan Negara 2. สภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Rakyat

มาตรา 45 สมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ถูกเลือก(dipilih)และถูกแต่งตั้ง (dilantik)

a- ได้รับการถูกเลือกจำนวน 2 คนต่อทุกๆรัฐ

aa-ได้รับการแต่งตั้งจาก Yang Di Pertuan Agong เนจำนวน 2 คน สำหรับดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอรร์ 1 คน สำหรับดินแดน Labuan 1 คน สำหรับดินแดนสหพันธรัฐ Putrajaya

b- 40 คน ได้รับการ แต่งตั้ง (dilantik) โดยYang Di Pertuan Agong

(2)คนได้รับการแต่งตั้งจาก Yang Di Pertuan Agong เป็นผู้ที่มีความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ด้านข้าราชการพลเรือน หรือในสายอาชีพ การค้า อุตสาหกรรม การเกษตร และวัฒนธรรม[8] ตัวแทนของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรจำนวนน้อย(เช่นชุมชนไทย คนพื้นเมือง หรือ คนอัสรี)

(3) มีวาระ 3 ปี

(3a)ไม่สามารถเป็นได้ 2 สมัยไม่ว่าจะต่อเนื่องหรือเว้นวาระ

มาตรา46 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Dewan Rakyat

(1 )ประกอบด้วยสมาชิก 219 คนที่ถูกเลือก (dipilih)

(2)สมาชิกดังกล่าวประกอบด้วย

a- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 206 คนจากรัฐต่างๆในมาเลเซียคือ

1. จำนวน 20 คน จากรัฐโยโฮร์ 2. จำนวน 15 คน จากรัฐเคดะห์

3. จำนวน 14 คน จากรัฐกลันตัน 4. จำนวน 6 คน จากรัฐมะละกา

5. จำนวน 8 คน จากรัฐนัครีซึมบีลัน 6. จำนวน 14 คน จากรัฐปาหัง

7. จำนวน 13 คนจากรัฐเปีนัง 8. จำนวน24 คน จากรัฐเปรัค

9. จำนวน 3 คนจากรัฐเปอร์ลิศ 10.จำนวน 25 คน จากรัฐซาบะห์

11. จำนวน 28 คนจากรัฐซาราวัค 12.จำนวน 22 คน จากรัฐสลังงอร์

13. จำนวน 8 คนจากรัฐตรังกานู


b- 13 คนจากดินแดนสหพันธรัฐกัวลาลัมเปอร์ ลาบวน และ Putrajaya มีดังนี้

1. จำนวน11 คนจากกัวลาลัมเปอร์

2. จำนวน1 คนจาก Labuan

3. คนจำนวน1 คน จาก Putrajaya

มาตรา47 การเป็นสมาชิก Parliament

a- สมาชิก Dewan Negara มีอายุไม่ต่ำกว่า 30ปี

b- สมาชิก Dewan Rakyat มีอายุไม่ต่ำกว่า21 ปี

มาตรา 49 บุคคลหนึ่งจะเป็นสมาชิก 2 สภา (Dewan Negara- Dewan Rakyat ) พร้อมๆ กันไม่ได้ และจะต้องไม่ได้ถูกเลือกเป็นตัวแทนมากกว่า1 รัฐ และจะเป็นสมาชิกที่ถูกเลือก (dipilih) และถูกแต่งตั้ง(dilantik)ในเวลาเดียวกันไม่ได้

มาตรา56 ประธานสภาและรองประธานสภาของ Dewan Negara

(4)บุคคลที่เป็นสมาชิกของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐที่ได้รับเลือกเป็นประธาน Dewan Negara จะต้องลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ

มาตรา57 ประธานสภาและรองประธานสภา Dewan Rakyat

(1) Dewan Rakyat จะต้องเลือก
a- ประธานสภา Dewan Rakyat 1 คน
b- รองประธานสภา 2คน

มาตรา 58 : เงินเกษียณ (บำนาญ) สำหรับประธาน รองประธาน Dewan Negara- Dewan Rakyat

มาตรา 63 : สิทธิพิเศษของสมาชิก Parliament

(2)ไม่สามารถฟ้องร้องในช่วงปฏิบัติงานใน Parliament

มาตรา64: เงินเกษียร (บำนาญ) ของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ตอน 5 รัฐต่างๆ

มาตรา70 ความสำคัญของสุลต่าน และYang Di Pertuan Negeri (ผู้ว่าการรัฐ)

Raja (สุลต่าน) และ Yang Di Pertuan Agong Negeri (ผู้ว่าการรัฐ) ย่อมมีความสำคัญในรัฐของตนเองมากกว่า Raja และ Yang Di Pertuan Agong Negeri (ผู้ว่าการของรัฐอื่นๆ)

(2) Raja มีความสำคัญกว่าผู้ว่าการรัฐ และในบรรดา Raja ผู้ที่อาวุโสคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นRaja ก่อนโดยคิดตามวันเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งสำหรับบรรดาผู้ว่าการรัฐก็เช่นกัน ผู้ที่อาวุโสคือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งก่อน ในกรณีที่ผู้ว่าการรัฐได้รับการแต่งตั้งในวันเวลาเดียวกันให้ถือผู้มีอายุมากกว่าเป็นสำคัญ
มาตรา71 หลักประกันของสหพันธรัฐต่อรัฐธรรมนูญแห่งรัฐ

(1) สหพันธรัฐรับประกันสิทธิของRaja ในรัฐต่อการสืบราชทายาทและสืบราชบังลังก์ รับประโยชน์ และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญของรัฐ แต่กรณีเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการสืบราชบังลังก์ของ Raja จะถูกตัดสินโดยผู้มีอำนาจตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งรัฐเท่านั้น

(2) ถ้ามีการแก้ไข( ถ้าจำเป็นต้องแก้ไขใน(1) สำหรับผู้ปกครองของรัฐก็ใช้ตามมาตรานี้สำหรับรัฐอื่น)

มาตรา72 ความสำคัญของ Dewan Negeri

ตอน 6 ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐกับรัฐต่างๆ

มาตรา73 ขอบเขตของกฎหมายสหพันธรัฐและรัฐต่างๆ

(1)รัฐสภาสามารถออกกฎหมายครอบคลุมสหพันธรัฐหรือส่วนใดของสหพันธรัฐรวมทั้งกฎหมายที่ใช้ภายนอกและภายในสหพันธรัฐ

(2)สภานิติบัญญัติแห่งรัฐสามารถออกกฎหมายครอบคลุมหรือส่วนใดของรัฐดังกล่าวได้

มาตรา75 กฎหมายของรัฐที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐ

กฎหมายใดๆของรัฐที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐนั้น ต้องใช้กฎหมายสหพันธรัฐและกฎหมายรัฐต้องเป็นโมฆะ ในส่วนที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหพันธรัฐ

หน้าที่ของรัฐที่มีต่อสหพันธรัฐ

(1) กฎหมายต่างๆของสหพันธรัฐที่ใช้ในรัฐนั้นได้รับการปฏิบัติและ
(2)ไม่ขัดขวางหรือกระทบการปฏิบัติของผู้ปกครองสหพันธรัฐ

บทที่ 3 ภาระทางด้านการเงิน

มาตรา 82 ภาระความรับผิดชอบทางด้านการเงิน

(a)โดยสหพันธรัฐ ถ้างบประมาณดัวยความยินยอมของสหพันธรัฐหรือความยินยอมของรัฐต่างๆในการปฏิบัติตามนโยบายของสหพันธรัฐ โดยความเห็นชอบของรัฐบาลสหพันธรัฐ

(b)โดยรัฐ ถ้างบประมาณดังกล่าวด้วยความยินยอมของรัฐหรือผู้ปกครองของรัฐดังกล่าว

บทที่ 4 ที่ดิน

มาตรา 85 การทำที่ดินเพื่อสหพันธรัฐ

(1)ถ้ารัฐบาลสหพันธรัฐมีความพอใจในที่ดินของส่วนใดๆในรัฐที่ไม่ใช่ที่ดินนี้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อวัตถุประสงค์ของสหพันธรัฐ ภายหลังจากได้มีการเจรจากับรัฐนั่นแล้ว รัฐดังกล่าวต้องมอบที่ดินที่สหพันธรัฐต้องการ


มาตรา89 เกี่ยวกับที่ดิน Adat ที่ Naning และMelaka และการถือครองของคนมลายูในรัฐตรังกานู

(1)ไม่มีสิ่งใดที่รัฐธรรมนูญนี้สามารถก้าวก่าย (Menyentuh sahnya)เกี่ยวกับการดำเนินการโดยกฎหมายโอนกรรมสิทธ์ (pemindahan Milik) หรือเช่าที่ดินขนบธรรมเนียม(Pemajakan tanah Adat) ที่ Naning หรือMelaka (Naning Alor Gajah)[9]

(2)กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินของคนมลายูในรัฐตรังกานูต้องดำเนินต่อไป

บทที่7 สภาแห่งชาติสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น Majlis Negara bagi kerajaan Tempat

มาตรา95a สภาแห่งชาติ สำหรับรัฐบาลท้องถิ่น

(1)ต้องมีสภาฯโดยมีรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้แทนรัฐละ 1 คน โดยRaja หรือผู้ว่าการรัฐเป็นผู้แต่งตั้งและอีกผู้แทนรัฐบาลสหพันธรัฐอีกจำนวนหนึ่งมีรัฐบาลสหพันธรัฐเป็นผู้แต่งตั้ง แต่ไม่เกิน 10คน

(3)ประธานสภาฯเป็นผู้เรียกประชุมตามที่เห็นสมควร แต่อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง

บทที่ 8 การใช้สำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา95B การปรับปรุงแก้ไขสำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัคเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจทางกฎหมาย
มาตรา95D รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคอยู่นอกอำนาจของรัฐสภาในการออกกฎหมายกับที่นั้นหรือรับบาลท้องถิ่น

มาตรา 95E รัฐซาบะห์และซาราวัคอยู่นอกโครงการแห่งชาติที่เกี่ยวกับการใช้ที่ดิน รัฐบาลท้องถิ่น การพัฒนาฯลฯ

ตอนที่ 7 งบประมาณ

มาตรา108 โดยประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างๆที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีและผู้แทนจากรัฐต่างๆรัฐ, 1 คนโดยได้รับการแต่งตั้งจากRaja หรือผู้ว่าการรัฐ

มาตรา111 การห้ามการกู้ยืม

(1)สหพันธรัฐไม่สามารถกู้ยืมได้นอกจากอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายสหพันธรัฐ

(2)รัฐต่างๆไม่สามารถกูยืมได้นอกจากอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมายรัฐนั้น

และกฎหมายรัฐต่างๆไม่สามารถอนุญาตให้รัฐนั้นทำการกู้ยืมยกเว้นจากสหพันธรัฐหรือในระยะเวลาไม่เกิน 5ปี จากธนาคารหรือแหล่งเงินที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลสหพันธรัฐ

มาตรา112 ห้ามการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งภายในรัฐ

(1)รัฐใดไม่สามารถดำเนินการโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสหพันธรัฐในการเพิ่มตำแหน่ง หรือตำแหน่งอื่นๆในหน่วยงานหรือเปลี่ยนแปลงเงินเดือนที่ได้กำหนดไว้

บทที่ 2 สำหรับรัฐซาบะห์และซาราวัค
มาตรา112B อำนาจในการกู้ยืมสำหรับรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคไม่เป็นการห้ามสำหรับรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคในการกู้ยืมภายใต้อำนาจของกฎหมายรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค เมื่อธนาคารแห่งชาติ (Bank Negara) ได้มีการอนุมัติแล้ว

มาตรา112c การให้พิเศษและการมอบรายได้แก่รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค

(a) สหพันธรัฐจะต้องให้แก่รัฐซาบะห์และซาราวัคทุกๆปีตามปีงบประมาณ

(b) ทุกๆรัฐจะได้รับรายได้จากภาษี แต่ bayaran (ค่าธรรมเนียม) และdiu ดังที่ได้ทำการเก็บหรือได้กำหนดอัตราได้

ตอน 8 การเลือกตั้ง
มาตรา113การดำเนินการเลือกตั้ง

มาตรา119 คุณสมบัติ

(1)พลเมืองผู้มีสัญชาติที่มี

(a)อายุครบ 21ปี
(b)ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเลือกตั้ง หรือถ้าไม่ตั้งถิ่นฐานต้องเป็น pengundi tak hadir

(c)ลงทะเบียนตามกฎหมายเลือกตั้ง

ตอนที่ 9 ศาล
มาตรา121 อำนาจของศาลสำหรับสหพันธรัฐ

(1) มีศาลสูงอยู่ 2 ศาล คือ
(a)หนึ่ง: ตั้งอยู่ในแหลมมลายูเรียกว่า Mahkamah Tinggi Malaya มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur

(b)หนึ่ง: ตั้งอยู่รัฐซาบะห์และซาราวัคเรียกว่า Makamah Tinggi di Sabah และSarawak[10] ตั้งอยู่ในพื้นที่รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ตามที่ได้กำหนดไว้โดย Yang Di Pertuan Agong

(1A)ศาลที่ได้กล่าวไว้ในวรรค(1ไม่ได้มีอำนาจเกี่ยวกับศาลชารีอะห์

(1B)มีศาลอุทธรณ์(Mahkamah Rayuan ) มีสำนักงานอยู่ในKL

(2)จำต้องมีศาลที่เรียกว่า Mahkamah persekutuan มีสำนักงานอยู่ในกัวลาลัมเปอร์ Kuala Lumpur และศาลสูงสุด (Mahkamah Agong)

มาตรา122 สมาชิกศาลสหพันธรัฐ
(1) ศาลสหพันธรัฐต้องมีผู้นำศาลหรือเรียกว่า Ketua Hakim Negara Mahkamah Persekutuan ,Presiden ศาลอุทธรณ์ บรรดาผู้พิพากษาศาลสูง (Hakim Besar Mahkamah Tinggi) ผู้พิพากษาสมทบอีกจำนวนหนึ่ง

มาตรา122a สมาชิกศาลอุทธรณ์
(1)ศาลอุทธรณ์ (Mahkamah Rayuan ) ประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งเรียกว่าPresiden Mahkamah Rayuan

(2)ผู้พิพากษาศาลสูงสามารถตัดสินความในฐานะของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ในกรณีประธานอุทธรณ์เห็นความสำคัญของความยุติธรรม

มาตรา122aa สมาชิกศาลสูง (mahkamah Tinggi)

(1)ทุกศาลสูงประกอบด้วย Hakim Besar คนหนึ่งและไม่น้อยกว่าผู้พิพากษาอื่นๆอีก4คน แต่จำนวนผู้พิพากษาอื่นนั้นต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้โดยพระราชาธิบดีคือ

a- 47 คนที่ศาลสูงที่ Malaya

b-10 คน ที่ศาลสูงที่รัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา137 สภาทหาร

(1)ต้องมีสภาทหารขึ้น มีความรับผิดชอบภายใต้อำนาจของพระราชาธิบดีหรือผู้ปกครอง

(3)สภาทหารประกอบด้วยสมาชิก

(a) รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหารเป็นประธานสภา

(b) ตัวแทนเจ้าผู้ครองรัฐๆละ1คน แต่งตั้งโดย สภาเจ้าผู้ครองรัฐ (Majlis Raja-Ra)

(c) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระราชาธิบดี

(d) พลเรือน1 คนผู้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาทหาร

(e)นายทหารชั้นสูง 2 นาย ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(f)นายทหารชั้นสูง(ทหารเรือ)แห่งสหพันธรัฐ 1คน ที่ได้รับแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(g)นายทหารชั้นสูง(ทหารอากาศ) แห่งสหพันธรัฐ 1 คน

ที่ได้รับแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

(h)สมาชิกเพิ่มเติมอีก 2คน จากนายทหารหรือพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชาธิบดี

มาตรา150การประกาศภาวะฉุกเฉิน
(1) พระราชาธิบดีสามารถประกาศภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่เห็นว่าจะเกิดภาวะฉุกเฉินในด้านความปลอดภัยหรือเศรษฐกิจหรือความสงบภายในสหพันธรัฐ
ตอนที่ 12 บททั่วไป

มาตรา152 ภาษาแห่งชาติ

(1)ภาษาแห่งชาติคือภาษามลายู และต้องเขียนด้วยอักขระที่ได้กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

(a)ไม่สามารถห้ามหรือกีดกั้นผู้ใดจากการใช้(ด้วยวัตถุประสงค์ใดๆนอกจากวัตถุประสงค์ทางการ)หรือจากการสอนหรือเรียนภาษาใดๆและ

(b)ไม่มีสิ่งใดในวรรคนี้ที่สามารถกระทบสิทธิของรัฐบาลสหพันธรัฐหรือสิทธิของรัฐบาลแห่งรัฐในการรักษาและดำเนินการใช้ภาษาและการเรียนภาษาของกลุ่มชนใดๆในสหพันธรัฐ

(2)ตาม(1) ภายหลังจากวันเอกราช 10 ปี และภายหลังจากนั้นที่ได้กำหนดโดยรัฐสภา ภาษาอังกฤษสามารถใช้ในรัฐสภาทั้งสอง (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) ในสภานิติบัญญัติแห่งรัฐของรัฐต่างๆและในที่เป็นทางการอื่นๆ

วันเอกราช
(3)ตาม(1) ภายหลังจาก 10 ปี และภายหลังจากเวลาดังกล่าวที่ได้กำหนดโดยรัฐสภาเอกราชฉบับดังนี้

a. กฎหมายที่ต้องการออกประกาศหรือแก้ไขในรัฐสภาและ

b.พระราชบัญญัติรัฐสภาและกฎหมายลูกที่ออกโดยรัฐบาลสหพันธรัฐจะต้องเขียนในภาษาอังกฤษ

(4)ตาม(1) ภายหลังจากวันเอกราช10 ปี และภายหลังจากเวลาดังกล่าวที่ได้กำหนดโดยรัฐสภาการพิจารณาคดีความในศาลสหพันธรัฐ ศาลอุทธรณ์หรือศาลสูง จะต้องดำเนินการในภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขว่าทางศาลและทนายความมีความยินยอม การเบิกความของพยานไม่จำเป็นต้องบันทึกและแปลเป็นภาษาอังกฤษ

มาตรา153 ความแตกต่างของโควตาเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ใบอนุญาตและอื่นๆสำหรับคนมลายู

(1) เป็นภาระหน้าที่ของพระราชาธิบดีต้องพิทักษ์สถานภาพพิเศษของคนมลายูและภูมิบุตร (Bumiputra) ของรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค และผลประโยชน์ของชนเผ่าอื่นๆที่ได้กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ[11]

(8A)ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ถ้ามหาวิทยาลัย วิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน

มาตรา 154 เมืองหลวงของสหพันธรัฐ

(1)กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองของสหพันธรัฐ

(2)รัฐสภามีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อกำหนดเขตแดนของเมืองหลวงสหพันธรัฐ

มาตรา155 การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติกับรัฐอื่นๆในเครือจักรภพ

(1) ถ้ามีกฎหมายในส่วนใดๆของเครือจักรภพที่ให้สิทธิหรือความพิเศษแก่ผู้มีสัญชาติของสหพันธรัฐจึงมีความชอบธรรมแก่รัฐสภาที่จะให้สิทธิหรือความพิเศษเหมือนกันแก่ผู้มีสัญชาติของเครือจักรภพที่ไม่ใช่ผู้มีสัญชาติสหพันธรัฐ

(2) ตาม(1) ที่กล่าวถึง สัญชาติของส่วนหนึ่งของเครือจักรภพที่เกี่ยวกับราชอาณาจักร (อังกฤษ) หรือส่วนหนึ่งอื่นส่วนใดๆของเครือจักรภพหรือไม่ใช่ดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลของเครือจักรภพที่ไม่ใช่ราชอาณาจักร จะต้องหมายถึงผู้มีสัญชาติของราชอาณาจักรและดินแดนภายใต้การปกครองของราชอาณาจักร

(3)วรรคนี้ใช้สำหรับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ดังที่ใช้สำหรับประเทศเครือจักรภพ

มาตรา160 การอธิบาย

(2)ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้ามีใช้เกิดความหมายที่แตกต่างจะต้องมีความหมายดังนี้

Orang Asli” (คนพื้นเมือง) หมายถึง คนพื้นเมืองในแหลมมลายู

“พระราชบัญญัติรัฐสภา” (akta Parlimen) หมายถึง กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา

“อัยการสูงสุด” (Peguam Negara) หมายถึง อัยการสูงสุดสำหรับสหพันธรัฐ

“มุขมนตรี” (Ketua Menteri Besar) หมายถึง ผู้นำของสภาผู้บริหารแห่งรัฐในรัฐหนึ่งๆไม่ว่าจะเรียกตำแหน่งดังกล่าวว่าอะไรก็ตาม

“ผู้มีสัญชาติ” (warga negara)หมายถึง สัญชาติสหพันธรัฐ

“รัฐเครือจักรภพ” (Negara komanwel ) หมายถึง รัฐที่ได้รับการยอมรับโดยพระราชาธิบดีว่าเป็นรัฐเครือจักรภพ และส่วนหนึ่งของเครือจักรภพ (bahagian Komanwel) หมายถึงรัฐใดๆในเครือจักรภพ ดินแดนอาณานิคม ดินแดน

“สภาผู้บริหารแห่งรัฐ ” (Majlis Mesyuaratan Kerajaan) หมายถึง คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรใดๆไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม ในรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐหนึ่งไม่ว่าสมาชิกจะเป็นรัฐมนตรี หรือไม่เช่นเดียวกันกับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของสหพันธรัฐ (รวมทั้งSupreme Council ในซาราวัค)

“กฎหมายสหพันธรัฐ” หมายถึง

1.กฎหมายที่รัฐสภาเป็นผู้ออกประกาศ

2.พระราชบัญญัติของรัฐสภา

“รัฐอื่น” (Negara Asing) หมายถึง รัฐที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของรัฐเครือจักรภพ หรือสาธารณรัฐไอร์แลนด์

“สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ” (Dewan Negari) หมายถึง สภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตามภายในรัฐหนึ่งๆรวมทั้ง State Council ของรัฐซาราวัค

“มลายู” หมายถึง บุคคลใดๆที่นับถือศาสนาอิสลาม ต้องพูดภาษามลายู ดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีมลายูและ

(a) เกิดก่อนวันเอกราชในสหพันธรัฐหรือสิงคโปร์ หรือมารดาหรือบิดาเกิดในสหพันธรัฐหรือในสิงคโปร์ หรือในวันเอกราชโดยตั้งถิ่นฐานอยู่ในสหพันธรัฐหรือสิงคโปร์หรือ

(b)เป็นลูกหลานของบุคคลดังกล่าว

“วันเอกราช” หมายถึง วันที่ 31 สิงหาคม 1957

“รัฐ” (Negeri) หมายถึงรัฐในสหพันธรัฐ

“กฎหมายของรัฐ” (Undang –Undang Negeri) หมายถึง กฎหมายใดๆที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐเป็นผู้ออกประกาศ

“สหพันธรัฐ” หมายถึง สหพันธรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา (Pasekutuan Tanah Melayu) ปี 1957
มาตรา161 การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาภูมิบุตรในรัฐซาบะห์และซาราวัค

(2)การใช้ภาษาอังกฤษได้ดังนี้
(a)การใช้ภาษาอังกฤษในสภาใดๆของรัฐสภาโดยสมาชิกจากรัฐซาบะห์และซาราวัค
(b)การใช้ภาษาอังกฤษในศาลสูงของรัฐซาบะห์และซาราวัค หรือศาลต้นในรัฐซาบะห์และซาราวัค

มาตรา161A สถานภาพพิเศษของ Bumi putra ในรัฐซาบะห์และซาราวัค

(4)รัฐธรรมนูญของรัฐซาบะห์และซาราวัค สามารถออกกฎเช่นเดียวกันกับมาตรา153

(6) ความหมายของ Bumi putra หมายถึง

(a) สำหรับรัฐซาราวัค ผู้มีสิทธิและมีการกำหนดชนเผ่าตามวรรค(7) ถือเป็นชนเมือง (Bumiputra)หรือมีเลือดผสมของชนพื้นเมืองดังกล่าว

(b) สำหรับรัฐซาบะห์ ผู้มีสัญชาติและลูกหลานของชนพื้นเมืองรัฐซาบะห์และเกิดในรัฐซาบะห์ หรือบิดาขณะที่เกิดเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์

(7) ชนพื้นเมืองที่ถือเป็นภูมิบุตร (Bumiputra) ของรัฐซาราวัคตามวรรค(6)คือ
Bukitan,
Bisayah,
Dusun,
Dayak Laut,
Dayak Darat,
Kadayan,
Kalabit,
Kayan,
Kehyah (รวมทั้ง Sabup และSipeng),
Kajang, (รวมทั้ง Sekapan,Kejamah,Lehanan,Punan,Tanjung,และKanowit),
Lugat,
lisum,
Melayu,
Melano,
Murut,
Penan,
Sian,
Tagal,
Tabun และ Ukit

มาตรา 161B การว่าความในศาลในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค
การว่าความของทนายความที่ไม่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคนั้นสามารถว่าความในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัคได้ตามพระราชบัญญัติของรัฐสภาจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากรัฐดังกล่าว

ตอนที่14สถานภาพขอเจ้าผู้ครองรัฐ

มาตรา181 สถานภาพของเจ้าผู้ครองรัฐ

(1)รัฐธรรมนูญนี้จะไม่กระทบถึงสถานภาพ สิทธิของสถานภาพ อำนาจของบรรดาผู้เจ้าครองรัฐและสิทธิของสถานภาพ อำนาจของกษัตริย์ท้องถิ่น (Pembesar-2) ที่ปกครองรัฐนัครีซึมบีลันในดินแดนที่พวกเขาปกครอง

(2)ไม่สามารถฟ้องเจ้าผู้ครองรัฐของรัฐใดๆในศาลใดๆก็ตาม ยกเว้นศาลพิเศษ (Mahkamah Khas) ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ตอนที่15

ตอนที่ 15
มาตรา 182 ศาลพิเศษ

(1)ศาลพิเศษประกอบด้วยหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐ (Ketua Hakim Negara Mahkamah persekutuan) เป็นประธาน หัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูง (Hakim besar mahkamah Tinggi) และอีก 2 คนที่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาศาลสหพันธรัฐหรือศาลสูงที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภาเจ้าผู้ครองรัฐ (Mahkamah Raja-Raja)

มาตรา 183 ไม่สามารถฟ้องร้องพระราชาธิบดีหรือเจ้าผู้ครองรัฐโดยปราศจากการเห็นชอบจากอัยการสูงสุด

[1] ชื่อของประเทศมาเลเซียนั้น ผู้ที่แรกๆเริ่มใช้คือ นาย Wenceslao Q. Vinzons ชาวฟิลิปปินส์ โดยเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 1932 นายเวนเซสลาว คิว. วินซันส์ (Wenceslao Q. Vinzons) ได้บรรยายถึงเรื่องโลกมลายูโปลีเนเซีย เขาบรรยายที่มหาวิทยาลัฟิลิปปินส์ ตามหัวข้อหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า “Malaysia Irredenta” เขาเรียกร้องให้มีการรวมตัวของชนชาติมลายูเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเขาเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “Malaysia” ก่อนที่จะมีการนำชื่อนี้มาเป็นชื่อประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

[2] การสงวนที่ดินสำหรับคนพื้นเมือง หรือ คนอัสรีนั้น มีหน่วยงานที่เรียกว่า Jabatan Hal Ehwal Orang Asli เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับคนมลายูเองก็มีการสงวนที่ดินเช่นกัน มีการสงวนที่ดินสำหรับคนมลายู หรือ Malay Reserve Land (Tanah RezabMelayu) ส่วนรัฐกลันตันมีความพิเศษอีกด้วย นั้นคือ แม้ที่ดินสงวนสำหรับคนมลายูก็ตาม แต่ถ้าคนมลายู คนนั้นไม่ใช่คนกลันตัน เขาผู้นั้นไม่สามารถที่จะซื้อที่ดินสงวนสำหรับคนมลายูในรัฐกลันตันได้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ บ้านเรือนนั้น มี 2 ชนิด คือ ที่ดินสงวนสำหรับคนมลยู หรือ Tanah Rezab Melayu และที่ดินที่บุคคลใดๆไม่จำกัดศาสนา เชื้อชาติ หรือ รัฐที่ตั้งถิ่นฐานทำการซื้อขาย หรือที่เรียกว่า Tanah Pegangan bebas หรือ Free Hold Land

[3] สำหรับประชาชนชาวมาเลเซียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมมลายู ( 11 รัฐ) เมื่อต้องการจะเดินทางไปยังรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค นั้น เดิมต้องใช้พาสปอร์ตที่เรียกว่า Pasport Terhad สามารถอาศัยอยู่ในรัฐทั้งสองเป็นเวลา 3 เดือน ตอมาเมื่อ ดร. มหาเดร์ โมฮัมหมัด เป็นนานยกรัฐมนตรี เขาได้ยกเลิกการใช้หนังสือเดินทางดังกล่าว แต่การให้อยู่ ในรัฐทั้งสองเป็นเวลา 3 เดือนก็ยังคงมีอยู่ ด้วยเมื่อครั้งจัดตั้งมาเลเซียนั้น สิทธิและอำนาจด้านตรวจคนเข้าเมืองของรัฐทั้งสองคงเป็นของรัฐทั้งสอง ส่วนข้าราชการที่มาจากรัฐในแหลมมลายูนั้นเมื่อต้องทำงานในรัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค พวกเขาต้องขออนุญาตทำงานกับตรวจคนเข้าเมืองของรัฐทั้งสอง โดยต้องทำใบอนุญาตทำงานหรือ Permit Work เป็นเวลา 1 ปี

[4] วันเอกราชของประเทศมาเลเซีย คือ 31 สิงหาคม 1957 โดยเป็นวันเอกราชของมาลายา สำหรับวันจัดตั้งประเทศมาเลเซียคือ 16 กันยายน 1963

เป็นการรวมตัวของมาลายา, สิงคโปร์ และ รัฐซาบะห์และรัฐซาราวัค ( รู้จักในนามของบอร์เนียว)

[5] มีระยะเวลาตามมีกำหนด คือ 5 ปี

[6] ผู้เก็บและใช้ตรายางใหญ่ หรือ Mohor Besar เรียกว่า ผู้ถือตรายางใหญ่ หรือ Pemegang Mohor Besar

[7] คณะรัฐมนตรีมาเลเซียนั้นคือนายกรัฐมนตรีและบรรดารัฐมนตรีว่าการเท่านั้น ส่วนรัฐมนตรีช่วยถือว่าไม่ใช่คณะรัฐมนตรี


[8] สมาคมนักเขียนแห่งชาติมาเลเซีย หรือ Gabungan Persatuan Penulis Nasional Malaysia (Gapena) เคยขอตำแหน่งดังกล่าวแต่ไม่สำเร็จ ปัจจุบันมีนักแสดงคนหนึ่ง คือ Jins Shamsuddin เป็นอยู่ ส่วนชนกลุ่มน้อยชาวไทยนั้น คนไทยที่ชื่อว่า ดาโต๊ะ เจริญ อินทรชาติ ชาวรัฐเคดะห์ เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในนามตัวแทนชนกลุ่มน้อย ปัจจุบันนางซิว ชุน บุตรสาวนาย เอี่ยม ชาวรัฐเปอร์ลิส ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภ ส่วนคนอัสรี ดาโต๊ะฮีตัม ยีดิน ชาวคนอัสลี เคยได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

[9] พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ใช้ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ Adat ของชนชาวมีนังกาเบา

[10] บางครั้งจะรู้จักในนาม Mahkamah Tinggi Borneo

[11] คนมลายู หมายถึง คนที่มีเชื้อชาติมลายู พูดภาษามลายู ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมลายู นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนชาวภูมิบุตร หรือ Bumiputra หมายถึงผู้เป็นคนดั้งเดิมของประเทศมาเลเซีย นอกจากที่เป็นชาวมลายูแล้ว ยังมีที่เป็นชนเผ่าดั้งเดิมต่างๆในรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ในที่นี้ยังรวมถึงชาวมลายูดั้งเดิม หรือ คนอัสลี ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยพุทธในรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส อีกด้วย สำหรับชาวภูมิบุตรนั้นไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาอิสลาม