Ekonomi/Bisnis

Rabu, 19 September 2007

ประธานาธิบดีและระบบรัฐสภาสาธารณรัฐอินโดเนเซีย


โดย Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan

ประเทศอินโดเนเซียนั้นมีระบบการปกครองที่ประกอบด้วยประธานาธิบดี และรัฐสภาหรือ Majelis Permusyuwaratan Rakyat ซึ่งรัฐสภานั้นประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร หรือ Dewan Perwakilan Rakyat และวุฒิสภาหรือ Dewan Perwakilan Daerah ในที่นี้ขออธิบายระบบการปกครองของสาธารณรัฐอินโดเนเซียดังนั้น

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดเนเซีย

เป็นผู้นำของประเทศและผู้นำฝ่ายบริหารของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญปี 1945 ฉบับแก้ไข ว่าด้วยมาตรา 6 A ประธานาธิบดี(Presiden) และรองประธานาธิบดี (Wakil Presiden) ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจาก Majelis Permusyawaratan Rakyat ดังนั้นการเลือกตั้งจึงไม่ใช่หน้าที่ของ Majelis Permusyawaratan Rakyat อีกต่อไป และประธานาธิบดีกับMajelis Permusyawaratan Rakyat มีสถานะที่เท่าเทียมกัน ประธานาธิบดีมีวาระ 5 ปี อยู่ในวาระได้เพียง 2 สมัย

อำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี
-เป็นผู้บริหารประเทศตามอำนาจในรัฐธรรมรัฐ
-เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
-เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายต่อ DPR
-เป็นผู้ออกกฎข้อบังคับในการบริหารประเทศ
-เป็นผู้แต่งตั้งและปลดคณะรัฐมนตรี
-เป็นผู้แต่งตั้งกงสุลและทูต สำหรับการแต่งตั้งทูตนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจาก DPR
-อื่นๆ

ในฐานะที่เป็น “ผู้นำประเทศ” ประธานาธิบดีจึงมีสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของประเทศในระดับสากล และในฐานะเป็น “ผู้นำฝ่ายบริหาร” ประธานาธิบดีจึงต้องบริหารประเทศโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยในการบริหารประเทศ

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีต้องได้รับสนับสนุนจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นโดยตรงครั้งแรกในปี 2004.

กรณีผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมีคะแนนมากกว่า 50% จากผู้ลงคะแนนไม่น้อยกว่า 20% ของทุกจังหวัดจากครึ่งหนึ่งของจำนวนจังหวัดทั้งหมด ผู้นั้นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ในกรณีที่มีคะแนนเพียงไม่ถึงก็จะไม่มีผู้ใดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ดังนั้นจึงต้องคัดเลือกผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองเข้าทำการแข่งขันเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในรอบที่สอง เพื่อนำผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี

ระยะเวลาของประธานาธิบดีอินโดเนเซีย

Ahmad Sukarno 17 สิงหาคม 1945 ถึง 12มีนาคม 1967 จากพรรค Partai Nasionalis Indonesia

Muhammad Suharto 12 มีนาคม 1967 ถึง 21 พฤษภาคม 1998 จากพรรค Golkar

Baharuddin Jusuf Habibie 21 พฤษภาคม 1998 ถึง 20 ตุลาคม 1999 จากพรรค Golkar

Abdurrahman Wahid 20 ตุลาคม 1999 ถึง 23 กรกฎาคม 2001 จากพรรค Partai Kebangkitan Bangsa

Megawati 23 กรกฎาคม 2001 ถึง 20 ตุลาคม 2004 จากพรรค Partai Demokrasi Indonesia - Perjuangan

Susilo Bambang Yudhoyono 20 ตุลาคม 2004 ถึง 2009 จากพรรค Partai Demokrat

Majelis Permusyawaratan Rakyat (MPR)

เป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจาก Dewan Perwakilan Rakyat และ สมาชิกจาก Dewan Perwakilan Daerah. สมาชิกของ MPR ในปัจจุบันมีจำนวน 678 คน ซึ่งมาจาก DPR จำนวน 550 คน และมาจาก DPD จำนวน 128 คน สมาชิกมีวาระ 5 ปี ประธาน MPR คือ Hidayat Nur Wahid MPR มีอำนาจหน้าที่ :

-แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1945
-แต่งตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีตามที่ได้รับเลือกจากประชาชน
-แต่งตั้งรองประธานาธิบดีเป็นประธานาธิบดี เมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิต ลาออก ถูกปลด หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะอยู่ในวาระ
-เลือกรองประธานาธิบดีจาก 2 รายชื่อที่ได้ถูกเสนอโดยประธานาธิบดีในกรณีรองประธานาธิบดีว่างลง
-เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทั้งสองลาออกพร้อมกัน

การประชุม MPR ต้องอย่างน้อย 1 ครั้งในวาระ 5 ปี

Dewan Perwakilan Rakyat (DPR)

เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่มีสถานะเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจในการออกกฎหมาย

สมาชิกของ DPR ประกอบด้วยสมาชิกของพรรคการเมืองที่เข้าร่วมในการเลือกตั้ง ปัจจุบันมีสมาชิก 550 คน มีวาระ 5 ปี ประธานของ DPR คือ Agung Laksono DPR มีอำนาจหน้าที่ :

-ร่วมร่างกฎหมายกับประธานาธิบดีเพื่อความเห็นชอบร่วมกัน
-เห็นชอบการออกกฎระเบียบในการบริหารการปกครอง
-รับร่างกฎหมายที่เสนอโดย DPD
-เห็นชอบในการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา
-เห็นชอบในการแต่งตั้งสมาชิกศาลรัฐธรรมนูญ
-เห็นชอบการแต่งตั้งทูต ทูตจากต่างประเทศ
-อื่นๆ

สมาชิก DPR ประกอบด้วยผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งปี 2004

กลุ่ม Partai Golongan Karya (F-PG) จำนวน 129 คน ผู้นำชื่อ Priyo Budi Santoso

กลุ่มFraksi Partai Demokrasi Indonesia Perjuangan (F-PDIP) จำนวน 109 คน ผู้นำชื่อ Tjahjo Kumolo

กลุ่มFraksi Partai Persatuan Pembangunan (F-PPP) จำนวน 58 คน ผู้นำชื่อ Endin J Soefihara

กลุ่มFraksi Partai Demokrat (F-PD) จำนวน 57คน ผู้นำชื่อ Sukartono Hadiwarsito

กลุ่มFraksi Partai Amanat Nasional (F-PAN) จำนวน 53 คน ผู้นำชื่อ Abdillah Toha

กลุ่มFraksi Partai Kebangkitan Bangsa (F-PKB)จำนวน52 คน ผู้นำชื่อ Ida Fauziyah

กลุ่มFraksi Partai Keadilan Sejahtera (F-PKS) จำนวน 45 คน ผู้นำชื่อ Mahfud Sidik

กลุ่มFraksi Partai Bintang Reformasi (F-PBR) จำนวน 14คน

กลุ่มFraksi Partai Damai Sejahtera (F-PDS) จำนวน 13 คน

กลุ่มFraksi Bintang Pelopor Demokrasi (F-BPD) จำนวน 20คน

หมายเหตุ กลุ่ม F-PD ประกอบด้วยสมาชิก 56 คนจากพรรค Partai Demokrat และสมาชิก 1 คนจาก Partai Keadilan dan Persatuan Indonesia.

กลุ่ม F-BPD ประกอบด้วยสมาชิก 11 คนจากพรรค Partai Bulan Bintang สมาชิก 4 คนจากพรรค Partai Persatuan Demokrasi Kebangsaan สมาชิก 3 คนจากพรรค Partai Pelopor สมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Penegak Demokrasi Indonesia และสมาชิก 1 คนจากพรรค Partai Nasionalis Indonesia Marhaen

Dewan Perwakilan Daerah (DPD)

เป็นองค์กรในระบบการปกครองที่สมาชิกประกอบด้วยตัวแทนมาจากแต่ละจังหวัด โดยได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สมาชิกของ DPD มาจากจังหวัดละ 4 คน ในปัจจุบันสมาชิกของ DPD มีจำนวน 128คน มีวาระ 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ :

-ควบคุมดูแลการออกกฎหมายบางฉบับ
-ร่วมในการอภิปราย พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
-ร่วมเสนอกฎหมายต่อ DPR เกี่ยวกับการปกครองอิสระของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับท้องถิ่น การแยกและรวมดินแดนในท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ การเงินของศูนย์กลางและท้องถิ่น
-อื่นๆ

ผู้นำของ DPD ประกอบด้วยประธาน คือ Ginandjar Kartasasmitaและรองประธานอีก 2 คน

Dewan Perwakilan Rakyat Daerah (DPRD)

เป็นองค์กรทางการนิติบัญญัตในระดับท้องถิ่น สมาชิกประกอบด้วยสมาชิกพรรคการเมืองที่เข้าลงรับเลือกตั้งจากประชาชน DPRD ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

-DPRD ระดับจังหวัด (Provinsi) มีทุกจังหวัด สมาชิกอยู่ระหว่าง 35-100 คน

-DPRD ระดับอำเภอและเมือง (DPRD Kabupaten/Kota) สมาชิกอยู่ระหว่าง 20-45 คน

DPRD มีสถานะเป็นองค์กรทางนิติบัญญัติ เดิมผู้นำฝ่ายบริหารมาจากการเลือกของ DPRD แต่ในปัจจุบันผู้นำท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

Tiada ulasan:

Catat Ulasan