Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 21 September 2007

เขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา Autonomous Region in Muslim Mindanao

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

เรามารู้จักเขตปกครองอิสระมุสิมมินดาเนา อย่างน้อยเราจะได้รู้สภาพความเป็นจริง สภาพพื้นที่ของภาคใต้ฟิลิปปินส์
 แผนที่ประเทศฟิลิปปินส์
แนะนำเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา Autonomous Region in Muslim Mindanao

ศูนย์บริหาร : เมืองโกตาบาโต (Cotabato City)

ผู้ว่าการเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา (Regional Governor) : Zaldy Ampatuan (มาจากพรรค Lakas-CMD)

ประชากร 2,803,805 คน ขนาดพื้นที่ : 12,695.0 ตารางกิโลเมตร
จำนวนจังหวัด 6 จังหวัด เมือง 1 แห่ง เทศบาล 106 แห่ง หมู่บ้าน 2,469 แห่ง

ภาษาที่ใช้ : Banguingui, Maguindanao, Maranao, Tausug, Yakanและ Sama
Autonomous Region in Muslim Mindanao หรือคำย่อว่า ARMM 
เป็นเขตการปกครองของจังหวัดที่มีชาวมุสลิมเป็นชนกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ คือ 
Basilan, 
Lanao del Sur, 
Maguindanao, 
Shariff Kabunsuan, 
Sulu และ Tawi-Tawi และ
อีก 1 เมื่องคือ เมืองมาราวี(the Islamic City of Marawi) เป็นพื้นที่ที่มีองค์กรบริหารเป็นของตนเอง
สภาพภูมิศาสตร์
เขตปกครองอิสระนี้แบ่งสภาพทางภูมิศาสตร์ออกเป็น 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่เกาะมินดาเนา และ หมู่เกาะซูลู (the Sulu Archipelago) โดยจังหวัด Lanao del Sur, Maguindanao และ Shariff Kabunsuan ตั้งอยู่บนแผ่นดินใหญ่ ส่วนจังหวัด Basilan, Sulu และ Tawi-Tawi ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่เกาะซูลู

สภาพการปกครองของ the Autonomous Region in Muslim Mindanao

จังหวัด เมืองเอก ประชากร (ปี2000) ขนาดพื้นที่ตารางกม. ความหนาแน่น
Basilan Isabela City 259,796 1,234.2 210.5
Lanao del Sur Marawi City 800,162 3,872.9 206.6
Maguindanao Shariff Aguak 435,254 4,900.1 163.5
Shariff Kabunsuan** Datu Odin Sinsuat 365,848
Sulu Jolo 619,668 1,600.4 387.2
Tawi-Tawi Bongao 322,317 1,087.4 296.4

** เป็นจังหวัดที่เพิ่งแยกออกจากจังหวัด Maguindanao เมื่อ 28 ตุลาคม 2006

ประวัติศาสตร์
มินดาเนามีการปกครองโดยระบบสุลต่านชาวมุสลิมตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 นักเผยแพร่ศาสนาอิสลามชาวอาหรับเดินทางมายังเกาะ Tawi-Tawi ในปี 1380 และในปี 1450 มีการจัดตั้งรัฐสุลต่านซูลู หลังจากนั้นไม่นานรัฐสุลต่านแห่ง Maguindanao และ Buayan ก็ได้จัดตั้งขึ้น ในขณะที่สเปนได้ครอบครองดินแดนฟลิปปินส์นั้น บรรดารัฐมุสลิมในมินดาเนามีการต่อต้านสปนและดำรงสถานะเป็นรัฐอิสระ
ตราสัญญลักษณ์เขตปกครองอิสระมุสลิมมินเนา
ธงเขตปกครองอิสระมุสลิมมินเนา
การจัดตั้งเขตปกครองอิสระมุสลิมมินเนา (the ARMM)
เขตปกครองอิสระมุสลิมมินเนานี้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 1 สิงหาคม 1989 โดยผ่านพ.ร.บ.แห่งสาธารณรัฐ ฉบับ หมายเลขที่ 6734 (Republic Act No. 6734) 

มีการลงประชามติในจังหวัด Basilan, Cotabato, Davao del Sur, Lanao del Norte, Lanao del Sur, Maguindanao, Palawan, South Cotabato, Sultan Kudarat, Sulu, Tawi-Tawi, Zamboanga del Norte และ Zamboanga del Sur รวมทั้งเมือง Cotabato, Dapitan, Dipolog, General Santos, Iligan, Marawi, Pagadian, Puerto Princesa และ Zamboanga 

เพื่อแสดงความต้องการว่าจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน ARMM หรือไม่ ปรากฏว่าในการลงประชามติครั้งนั้น มีพื้นที่ที่จะเข้ารวมในเขตปกครองอิสระนี้คือ Lanao del Sur, Maguindanao, Sulu และ Tawi-Tawi 

ต่อมาเขตปกครองอิสระเริ่มจัดตั้งเป็นทางการเมื่อ 6พฤศจิกายน 1990 โดยมีเมือง Cotabato City เป็นศูนย์กลางอำนาจการบริหาร

และต่อมาในปี 2001 มีการผ่านกฎหมายเพื่อลงประชามติขยายเขตปกครองอิสระ โดยมีการลงประชามติในพื้นที่ที่เคยปฏิเสธการเข้าร่วมในครั้งแรก ปรากฏว่าจังหวัด Basilan และเมืองMarawi City ลงประชามติเข้าร่วมใน ARMM

การบริหาร
ผู้ที่เป็นหัวหน้าของเขตปกครองอิสระนี้เรียกว่า ผู้ว่าการเขตปกครองอิสระ หรือ Regional Governor โดยผู้ว่าการเขตและรองผู้ว่าการเขตได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติเขต หรือ the Regional Legislative Assembly โดยสมาชิกของสภาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระ 3 ปี 

ผู้ที่เป็นผู้ว่าการเขตและรองผู้ว่าการเขตมีดังนี้
ช่วงเวลา ผู้ว่าการเขต รองผู้ว่าการเขต พรรคที่สังกัด
1990–1993 Zacaria Candao Benjamin Loong Lakas-NUCD
1993–1996 Lininding Pangandaman Nabil Tan Lakas-NUCD-UMDP
1996–2002 Nurallaj Misuari Guimid P. Matalam Lakas-NUCD-UMDP
2001 Alvarez Isnaji******* Lakas-NUCD-UMDP
2001–2005 Parouk S. Hussin Mahid M. Mutilan Lakas-NUCD-UMDP
2005–ปัจจุบัน Zaldy Ampatuan Ansaruddin-Abdulmalik A. Adiong Lakas-CMD
******* เป็นรักษาการผู้ว่าการเขต จากกรณีนายนูร์ มิซัวรี (Nurallaj Misuari) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเขตถูกจับกุม จากกองกำลังแนวร่วมแห่งชาติเพื่อปลดแอกโมโร หรือ Moro National Liberation Front (MNLF) ที่เขาเป็นผู้นำด้วยได้ขัดขืนต่อกองกำลังของฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์

ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative)
เขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา มีสภานิติบัญญัติเขต หรือ the Regional Legislative Assembly มีประธานสภา หรือ เป็นผู้นำ โดยแต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกได้ 3 คน สภานิติบัญญัติของ ARMM มีสมาชิกทั้งหมด 24 คน ประกอบด้วยจังหวัด Lanao del Sur รวมทั้งเมือง Marawi City จำนวน 6 คน, Maguindanaoจำนวน 6 คน, Suluจำนวน 6 คน, Basilan จำนวน 3 คน และจังหวัด Tawi-Tawi จำนวน 3 คน


สังคมมุสลิมมินดาเนา
ชาวมุสลิมจะเรียกดินแดนของเขาว่า Bangsamoro หมายถึงชาติโมโร เป็นคำสองคำคือ Bangsa ในภาษามลายู แปลาว่า ชาติ และ Moro เป็นคำเรียกของชาวสเปนต่อชาวมุสลิมมินดาเนาว่า โมโร มาจากคำว่า มัวร์ ซึงเป็นชาวมุสลิมในดินแดนอันดาลุส

เมื่อกล่าวถึง Bangsamoro จะครอบคลุมพื้นที่ต่างๆดังนี้
Basilan, Cotabato, Davao del Sur, Lanao del Norte, Lanao del Sur, Maguindanao, Palawan, Saranai, South Cotabato, Sultan Kudarat, Sulu, Tawi-Tawi, Zamboanga del Sur, Zamboanga del Norte, and Zamboanga Sibugay.รวมทั้งเมือง Cotabato, Dapitan, Dipolog, General Santos, Iligan, Marawi, Pagadian, Puerto Princesa และ Zamboanga.

การเมืองการปกครอง
ในอดีตของรัฐมุสลิมมินดาเนานั้น ชาวมุสลิมในดินแดนดังกล่าวจะปกครองด้วยระบบสุลต่าน หรือ ดาตู (datu)

สุลต่านยามาลุลกีรามแห่งรัฐซูลูในอดีต
บรรดาดาตูแห่งรัฐซูลูในอดีต
รัฐสุลต่านแห่งซูลู
ในระหว่างปี 1450 ทาง Shari'ful Hashem Syed Abu Bakr เป็นชาวอาหรับจากรัฐโยโฮร์ได้เดินทางมาถึงเกาะซูลู โดยเดินทางมาจากมะละกา และในปี 1457 เขาดจัดตั้งรัฐซูลูขึ้น และเขาได้รับการขนานนามว่า Paduka Maulana Mahasari Sharif Sultan Hashem Abu Bakr ในปี 1703 (บางกระแสว่า 1658) รัฐซูลูมีอำนาจเหนือดินแดนบอร์เนียวเหนือ โดยได้รับดินแดนดังกล่าวจากรัฐบรูไน จากที่ได้ช่วยเหลือรัฐบรูไนปราบกบฏในบรูไน ในปีเดียวกัน รัฐซูลูมอบเกาะ Palawan แก่สุลต่าน Qudarat ผู้เป็นสุลต่านแห่งมากินดาเนา ซึ่งได้แต่งงานกับเจ้าหญิงแห่งซูลู ต่อมาสุลต่าน Qudarat ได้สละเกาะ Palawan ให้แก่สเปนในปี 1705 แม้ว่าระบบสุลต่านแห่งเกาะซูลูจะสิ้นสุดแล้ว แต่บรรดาลูกหลานผู้สืบเชื้อสายสุลต่านแห่งซูลูยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน

สุลต่านมากินดาเนาในอดีต
รัฐสุลต่านแห่งมากินดาเนา
Shariff Mohammed Kabungsuwan ผู้มาจากรัฐโยโฮร์ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนาอิสลามในดินแดนมากินดาเนาในศตวรรษที่ 12 หลังจากนั้นเขาได้แต่งงานกับเจ้าหญิงพื้นเมืองและได้จัดตั้งรัฐสุลต่านแห่งมากินดาเนาขึ้นราวปี 1203หรือ1205 โดยมีศูนย์อำนาจอยู่บริเวณ Cotabato

Muhammad Dipatuan Qudratullah Nasiruddin เป็นสุลต่านที่รู้จักกันในนามของ สุลต่าน Qudarat เป็นสุลต่านที่มีอำนาจครอบคลุมเกาะมินดาเนา ส่วนหลานของเขาที่ชื่อว่า Abd al-Rahman ได้เป็นผู้ขยายอำนาจของรัฐมากินดาเนาให้มีอำนาจมากขึ้น รัฐมากินดาเนาสิ้นสุดลงเมื่อได้เข้าเป็นสวนหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์
ธงของ The Moro National Liberation Front
กลุ่มการเมืองที่ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ
The Moro National Liberation Front (MNLF) 
เป็นองค์กนทางการเมืองที่ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากองค์การโลกมุสลิม หรือOrganization of the Islamic Conference ให้มีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์ในองค์การดังกล่าว องค์การนี้จัดตั้งขึ้นในปีทศวรรษที่ 1970 โดยมี Nur Misuari อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์เป็นประธานองค์การ ในปี 1981 เกิดความขัดแย้งภายในองค์การ จนอีกฝ่ายหนึ่งออกไปจัดตั้งองค์การใหม่ขึ้นมา ในปี 1996 มีการทำสัญญาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับ The Moro National Liberation Front จนต่อมาทำให้เกิดการจัดตั้งเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา
ธงของ The Moro Islamic Liberation Front
The Moro Islamic Liberation Front(MILF) 
เป็นองค์การที่แตกออกจากองค์การเดิมที่ชื่อว่า The Moro National Liberation Front จัดตั้งขึ้นมาในปี 1981 โดยนาย Salamat Hashim และผู้สนับสนุนเขา ด้วยต่อต้านการทำสัญญาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับ The Moro National Liberation Front ในเดือนมกราคม ปี 1987 MILF ยอมรับการมอบอำนาจกึ่งปกครองอิสระที่รัฐบาลฟิลิปปินส์เสนอให้ ต่อมาองค์การนี้ได้กลายเป็นองค์การใหญ่ที่สุดที่ต่อต้านรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในเดือนกรกฎาคม ปี 1997 ได้ลงนามสัญญาสันติภาพกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี 2000 สัญญาดังกล่าวก็ยกเลิกไปในสมัยประธานาธิบดี Joseph Estrada ในเดือนมกราคม 2005 ก็มีการทำสัญญาสันติภาพอีกครั้งกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Gloria Macapagal Arroyo
ระหว่าง 28 มิถุนายน ถึง 6กรกฎาคม 2006 มีการต่อสูใหม่อีกครั้งระหว่างกองกำลังของ MILF กับกองกำลังอาสาสมัครภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมากินดาเนาที่ชื่อว่า Andal Ampatuan ต่อมาระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม ปีเดียวกันก็ได้ยุติการต่อสู้ระหว่างกัน

พรรคการเมืองมุสลิม
พรรคการเมืองมุสลิมในเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนานั้น มีพรรคการเมืองจำนวน 5 พรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาทั้งในระดับท้องถิ่นและประเทศ โดยพรรคการเมืองเหล่านี้ คือ

1. Ompia Party มีหัวหน้าพรรคชื่อ Dr. Mahid M. Mutilan เป็นพรรคที่จดทะเบียนก่อนที่จะมีการจัดตั้ง ARMM และ Dr. Mahid
M. Mutilan เคยเป็นรองผู้ว่าการเขต ARMM ในปี 2001-2005 พรรคนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Marawi City

2. Ummah Party มีหัวหน้าพรรคชื่อ Ustadz Abdulmalik Laguindab สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Marawi City และเมือง
Iligan City

3. Islamic Party of the Philippines มีหัวหน้าพรรคชื่อ Ustadz Ebrahim Abdulrahman สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง
Sultan Kudarat, Maguindanao

4. Muslim Reform Party มีหัวหน้าพรรคชื่อ Kamar Mindalano สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Marawi City

5. People’s Consultative Party มีหัวหน้าพรรคชื่อ Basher Calauto Edris สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Marawi City

พรรคการเมืองที่ควบคุมการบริหาร ARMM
กลุ่มนักการเมืองที่เป็นผู้ว่าการและรองผู้ว่าการเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา รวมทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติเขตปกครองอิสระมุสลิมมินดาเนา ส่วนใหญ่นักการเมืองเหล่านี้ที่สังกัดพรรคการเมืองระดับชาติ คือ พรรคที่ชื่อว่า Lakas-Christian Muslim Democrats

สัญลักษณ์ของพรรค Lakas-CMD
The Lakas-Christian Muslim Democrats
รู้จักกันในชื่อ Lakas หรือ Lakas-CMD เป็นพรรครัฐบาลของฟิลิปปินส์ โดยพรรค Lakas จัดตั้งขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน ปี 1991 เพื่อรณรงค์การเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1992 แก่พลเอก Fidel V. Ramosและ Emilio Mario R. Osmeña ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี เดิมพรรคนี้มาจากการรวมของ 2 พรรค คือ พรรค Partido Lakas ng Tao หรือ People Power Party ของ Fidel V. Ramos และพรรค National Union of Christian Democrats (NUCD) ของ theof Raul Manglapus รู้จักกันในนามของพรรค Lakas ng Tao-National Union of Christian Democrats ส่วนใหญ่รู้จักกันในนามของพรรค Lakas และมีชื่อย่อว่า Lakas-NUCD

ในปี 1994 มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรกับพรรค Laban ng Demokratikong Pilipino หรือ Struggle of Democratic Filipinos เพื่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาทั้งสองสภาในปี 1995 และกลุ่มพันธมิตรนี้(Lakas-Laban Coalition)ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นในปี 1997 ทางพรรคมุสลิมที่ชื่อว่า พรรค Union of Muslim Democrats of the Philippines (UMDP) โดยใช้ชื่อว่า พรรค Lakas ng EDSA หรือ National Union of Christian Democrats- Union of Muslim Democrats of the Philippines (Lakas-NUCD-UMDP) และในการเลือกตั้งปี 2004 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Lakas-Christian Muslim Democrats หรือ Lakas-CMD
ปัจจุบันพรรค Lakas-CMD ได้ร่วมกับพรรค Kabalikat ng Malayang Pilipino (KAMPI) ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ในสภาของประเทศฟิลิปปินส์ 

กลุ่มพันธมิตรของพรรค Lakas ประกอบด้วย
1. TEAM Unity เป็นกลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีอาร์โรโยในการเลือกตั้งกลางเทอมปี 2007
2. Koalisyon ng Katapatan at Karanasan sa Kinabukasan (K-4, Coalition of Truth and Experience for Tomorrow) กลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีอาร์โรโยในการเลือกตั้งปี 2004
3. People Power Coalition กลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีอาร์โรโยในการเลือกตั้งกลางเทอมปี 2001
4. Lakas-Laban Coalition กลุ่มที่สนับสนุนประธานาธิบดีฟีเดล รามอส ในการเลือกตั้งกลางเทอมปี 1995
ความขัดแย้งภายในพรรค Lakas
ในปี 2006 เกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้สนับสนุนประธานาธิบดี Gloria Macapagal-Arroyo กับผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี Fidel V. Ramos จนทำให้ต้องเปิดประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

Tiada ulasan:

Catat Ulasan