Ekonomi/Bisnis

Ahad, 23 Mac 2025

ชุมชน”Little Patani” ในกรุงเทพฯ

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อครั้งเดินทางไปกรุงเทพฯ ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อไปเป็นเพื่อนลูกชายที่เรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้วิธีโอนหน่วยกิตเทอมที่ 1 จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มายังมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยสมัครเรียนในเทอมที่ 2 ของหลักสูตรสาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ เพียงเมื่อสมัครแล้วให้กลับมาอ่านหนังสือที่บ้านที่นราธิวาส จะไปกรุงเทพฯ เพียงในช่วงสอบเท่านั้น และการไปกรุงเทพฯ เพื่อสอบในเทอมที่ 2 ของเขา ประจำต้องพักกับพี่ชายที่ไปฝึกวิสาหกิจมี่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจีทัล (มหาชน) ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องไปเป็นเพื่อนในช่วงแรกที่ไปสอบที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยไม่มีเพื่อนที่กรุงเทพฯแต่อย่างใด การไปเป็นเพื่อนลูกชายในครั้งนี้ นับว่า เป็นการพักที่กรุงเทพฯ เป็นเวลานานพอควร เพราะต้องอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 16 วัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่พักที่กรุงเทพฯ เป็นช่วงเดือนถือศีลอด ทำให้ไม่เพียงในช่วงวันสอบเท่านั้น แต่ในช่วงเวลาไม่สอบ ผู้เขียนและลูกชายต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อใช้เวลาส่วนหนึ่งให้ลูกชายไปอ่านหนังสือที่หอสมุดกลาง  มหาวิทยาลัยรามคำแหง และใช้เวลาตอนเย็นซื้อข้าวและกับข้าว สำหรับละศีลอด และกินข้าวซาโฮร์ ถ้าไม่ซื้อที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็จะไปซื้ออาหารที่ซอยรามคำแหง 53

สำหรับผู้เขียนซอยรามคำแหง 53 เป็นซอยที่พวกเราชาวรามคำแหงจะรู้จักกันดี ด้วยทุกวันศุกร์ พวกเราจะไปละหมดวันศุกร์กันที่มัสยิดใกล้มหาวิทยาลัยรามคำแหง นั้นคือมัสยิดยามิอุ้ลอิสลาม ซอยรามคำแหง 53 สำหรับช่วงที่ผู้เขียนยังเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยังมีนักศึกษาจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้พักที่ซอยรามคำแหง 53 ไม่ถึงกับมากนัก แต่ช่วงหลังๆ มีนักศึกษาจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่มมาพักที่ซอยรามคำแหง 53 มากขึ้น ทำให้บริเวณต้นซอยรามคำแหง 53 จากหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีแผงค้าขายของคนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น มีคนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่าห้องแถวในซอยรามคำแหง 53 และภายในซอกซอยของซอยรามคำแหง 53 มากขึ้นเปิดเป็นร้านค้าขายอาหาร และบริการอื่นๆ สำหรับผู้เขียนนับเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ด้วยการเปิดร้านค้าในซอยรามคำแหง 53 ถือเป็นโรงเรียนที่สอนผู้คนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้รู้จักการเรียนรู้โลกธุรกิจ การที่ประเทศมาเลเซีย ไม่อาจถือเป็นสวรรค์ของผู้คนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกต่อไป ด้วยกฎหมายเริ่มเข้มงวดสำหรับแรงงานต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ชาวสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มมีการเปลี่ยนทิศทางการทำมาหากิน โดยเปลี่ยนจากมาเลเซีย มุ่งสู่กรุงเทพฯ ผู้เขียนได้พบเห็น คนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทำงานเป็นฝ่ายรักษาความปลอดภัย ทั้งในมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือแม้แต่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงเอง รวมทั้งพนักงานทำความสะอาดในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งในอดีต ในสมัยที่ผู้เขียนยังเรียนอยู่ สามารถกล่าวได้ว่า ตำแหน่งต่างๆเหล่านี้แทบจะไม่มีคนจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเมื่อเดินทางไปยังห้างใหญ่ๆ เช่น ห้างเซนทรัล ลาดพร้าว และศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (MBK Center) ก็ได้พบพนักงานคลุมหัว และสอบถามว่า มาจากไหน ก็ตอบว่า มาจากนราธิวาส และได้รับคำตอบว่า พักอยู่ที่ซอยรามคำแหง 53 นั้นอาจด้วยความสะดวกในเรื่องอาหาร หรืออาจมีเพื่อนที่พักอยู่ในซอยรามคำแหง 53

ครั้งแรกที่สัมผัสซอยรามคำแหง 53 หลังจากเป็นเวลานานที่ไม่ได้สัมผัส ทำให้รู้สึกว่า ซอยรามคำแหง 53 ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ทำให้นึกถึงชุมชนมุสลิมที่ เกียโป (Quiapo) กรุงมะนิลา เป็นชุมชนมุสลิมที่มีชาวมุสลิมส่วนหนึ่งอพยพมาจากเกาะมินดาเนา ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ สำหรับชุมชนมุสลิมที่ซอยรามคำแหง 53 ไม่ผิด ถ้าผู้เขียนจะเรียกซอบรามคำแหง 53 ว่า เป็นชุมชนลิตเติ้ลปาตานี เป็นชุมชนน้อยๆของชาวปาตานี ที่อพยพมาจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การอพยพของชาวสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้สร้างความคึกคักในแก่ชาวซอยรามคำแหง 53 ด้วยเหตุผล

1. อพยพมาตั้งถิ่นฐานในซอยรามคำแหง 53 ด้วย ส่วนหนึ่งมาด้วยเหตุผลทางการศึกษา ส่วนใหญ่จะมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยแบบ Open Admission ซึ่งพวกเราเข้าใจว่า เป็นมหาวิทยาลัยเปิด หรือ Open University ความจริงคำว่า  Open University จะเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ไม่มีอาคารสำหรับการเรียน การสอน และห้องปฏิบัติการใดๆ หรือมหาวิทยาลัยแบบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช น่าจะมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยเปิดจริง ๆ  ยิ่งตอนนี้มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการเปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ นั้นแสดงว่า มหาวิทยาลัยเริ่มจะไม่ใช่ มหาวิทยาลัย Open Admission เต็มตัว เพราะทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ยิอมมีเงื่อนไขจำกัดในการรับนักศึกษาของทั้งสามคณะ ในอาคตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็คงจะดำเนินตามรอยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เคยเป็นมหาวิทยาลัยแบบ Open Admission University ในเวลาไม่เร็วก็ช้า

2. ส่วนหนึ่งของคนสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตั้งถิ่นฐานที่ซอยรามคำแหง 53 ก็ด้วยเหตุผล อพยพจากเศรษฐกิจ คลื่นจากคนกลุ่มหนึ่ง ที่เริ่มมาหางานในกรุงเทพฯ และสมัครใจที่จะมาพักอาศัยในซอยรามคำแหง 53 เพราะภายในซอยรามคำแหง 53 จะมีร้านค้า ค้าขายอาหารที่ฮาลาล โดยชาวสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะภายในซอยรามคำแหง 53 สามารถที่จะหาอาหารพื้นเมืองของสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้

การมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯของคนสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะพัฒนาตนเอง จะ Socialise พัฒนาพฤติกรรมของคนสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้น ผู้เขียนมาสะดุดใจ เมื่อมีร้านค้าขายใบกระท่อมในซอยรามคำแหง 53 นั้นแสดงว่า นักเล่นใบกระท่อมจากสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงมีจำนวนมาก นำนิสัยนักเล่นใบกระท่อมมายังกรุงเทพฯ ทำให้ร้านขายใบกระท่อมจึงคงดำเนินธุรกิจอยู่ไป นี้คือเหตุผลหนึ่ง ที่เวลาลูกชายจะไปสอบที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงให้ไปพักอาศัยกับศิษย์เก่าสาขามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่กำลังกับบริษัทหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจกับประเทศมาเลเซีย การที่จะเราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ นับว่า เป็นเรื่องที่ยาก และยากมาก 



Tiada ulasan:

Catat Ulasan