Ekonomi/Bisnis

Selasa, 30 Julai 2024

การกำเนิดของหนังสือพิมพ์ในอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

หนังสือพิมพ์ Bataviasche Nouvelles  ตุลาคม 1744

ความต้องการที่จะพิมพ์หนังสือพิมพ์ในอินโดเนเซีย หรือหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์  (Dutch East Indies) ในขณะนั้น จริงๆ แล้วมีมานานแล้ว แต่รัฐบาลของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) เจ้าอาณานิคมฮอลันดาที่ปกครองอินโดเนเซีย  ขัดขวางอยู่เสมอ หลังจากที่กุสตาฟ วิลเล็ม บารอน ฟาน อิมฮอฟฟ์ (Gustaaf Willem baron van Imhoff) เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ หรือ Governor-General จึงอนุญาตให้หนังสือพิมพ์ "Bataviasche Nouvelles en Politique Raisonnementen" ได้รับการตีพิมพ์ ซึ่ง"Bataviasche Nouvelles en Politique Raisonnementen" แปลว่า "ข่าวการเมืองและเหตุผลของบาตาเวีย" เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1744


เมื่ออังกฤษเข้าควบคุมหมู่เกาะอินเดียตะวันออก หรืออินโดเนเซียในปัจจุบัน ในปี 1811 และในปี พ.ศ. 1812 ก็ได้มีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชื่อว่า  "Java Government Gazzete" ในปี 1829 ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อ "Bataviasche Courant" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "Javasche Courant" ซึ่งตีพิมพ์สามครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งมีเนื้อหาอย่างเป็นทางการ ประกาศและข้อบังคับและการตัดสินใจของผู้ปกครองเจ้าอาณานิคม

ในปี 1851 ก็ได้พิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อว่า "De Locomotief" พิมพ์ในเมืองเซมารัง หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีเจตนาวิพากษ์วิจารณ์ต่อการปกครองเจ้าอาณานิคมและมีอิทธิพลอย่างมาก  ในศตวรรษที่ 19 เพื่อแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ภาษาดัตช์ ได้เกิดหนังสือพิมพ์ภาษามลายูและภาษาชวาขึ้น แม้ว่าบรรณาธิการจะยังเป็นชาวดัตช์ก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์ "Bintang Timoer" (สุราบายา 1850) หนังสือพิมพ์ "Bromartani" (สุราการ์ตา 1855) หนังสือพิมพ์"Bianglala" ( บาตาเวีย 1867) และ หนังสือพิมพ์ Berita Betawie (บาตาเวีย 1874)


ในปี 1907 หนังสือพิมพ์ "Medan Prijaji" ได้รับการตีพิมพ์ในเมืองบันดุง ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกของสื่อระดับชาติ เนื่องจากได้รับการตีพิมพ์โดยผู้ประกอบการชนพื้นเมืองเป็นครั้งแรก ได้แก่ นายตีร์โต อาธี โซร์โย (Tirto Adhi Soerjo) เมื่อญี่ปุ่นสามารถชนะเนเธอร์แลนด์และยึดครองอินโดเนเซียในที่สุดในปี 1942 นโยบายด้านสื่อก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ทั้งหมดที่เป็นชาวดัชต์และชาวจีนไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ หน่วยงานทหารของญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ของตนเองจำนวนหนึ่งแทน

ในเวลานั้นมีหนังสือพิมพ์อยู่ห้าฉบับ ได้แก่หนังสือพิมพ์ Jawa Shinbun ซึ่งตีพิมพ์ในเกาะชวา หนังสือพิมพ์ Boernoe Barat Shinbun ในเกาะกาลิมันตัน หนังสือพิมพ์ Celebes Shinbun ในเกาะสุลาเวสี หนังสือพิมพ์  Sumtra Shinbun ในเกาะสุมาตรา และ หนังสือพิมพ์ Ceram Shinbun ในเกาะเซรัม  ในช่วงทศวรรษ 1950-1960 เกิดบวนการทางการเมืองจากกลุ่มชาตินิยม ศาสนานิยม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายการทหาร


ในช่วงเวลานี้ เหตุการณ์สำคัญหลายประการในประวัติศาสตร์ของสื่อมวลชนอินโดเนเซียได้ถือกำเนิดขึ้น เช่น LKBN Antara หรือ Lembaga Kantor Berita Nasional Antara  (สำนักข่าวแห่งชาติอันตารา) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 สถานีวิทยุสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ RRI เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1945 และองค์กร  Indonesian Journalist Association (Persatuan Wartawan Indonesia - PWI) ในปี 1946 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้บุกเบิกวันสื่อมวลชนแห่งชาติ ต่อมาก็เกิดสถานีโทรทัศน์สาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ Televisi Republik Indonesia (TVRI) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลก็เกิดเมื่อปี 1962 เช่นกัน


เดือนกันยายนถึงสิ้นปี 1945 สื่อมวลชนระดับชาติมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยมีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ "Soeara Merdeka" ในเมืองบันดุง และหนังสือพิมพ์ "Berita Indonesia" ในกรุงจาการ์ตา รวมถึงหนังสือพิมพ์อื่นๆ อีกสองสามฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ "Merdeka" หนังสือพิมพ์ "Independence" หนังสือพิมพ์ "Indonesian News Bulletin” หนังสือพิมพ์ "Warta Indonesia" และหนังสือพิมพ์ "The Voice of Free Indonesia"


หนังสือพิมพ์ Bataviasche Nouvelles en Politique Raisonnemente หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า Bataviasche Nouvelles เป็นหนังสือพิมพ์สมัยใหม่ฉบับแรกที่ตีพิมพ์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ ปัจจุบันคืออินโดเนเซีย


หนังสือพิมพ์ภาษาดัตช์ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1744 ในเมืองบาตาเวีย ปัจจุบันคือจาการ์ตา ซึ่งหมายความว่าหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตีพิมพ์ประมาณ 136 ปีหลังจากการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ Avisa Relation หรือ Zeitung ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก ตีพิมพ์ในเมือง Wolfenbüttel ประเทศเยอรมันในปี 1609


เป็นสิ่งตีพิมพ์ทีริเริ่มอนุญาตโดยผู้ว่าการกุสตาฟ วิลเล็ม บารอน ฟาน อิมฮอฟฟ์ (Gustaaf Willem baron van Imhoff) หนังสือพิมพ์ Bataviasche Nouvelles en Politique Raisonnemente หยุดพิมพ์ในปี 1746 ตามคำสั่งของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ที่ไม่ต้องการเห็นสื่อมวลชนพัฒนาขึ้นในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ตีพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าอาณานิคมภายใต้ผู้ว่าการกุสตาฟ วิลเล็ม บารอน ฟาน อิมฮอฟฟ์ (Gustaaf Willem baron van Imhoff) ที่มีหัวแนวคิด "เสรีนิยม" ซึ่งอนุญาตตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์  1745 แม้ว่าจะมีการยื่นใบอนุญาตสำหรับหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ในเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1744 และได้รับอนุมัติในเกือบหนึ่งปีต่อมา คือ เดือนกุมภาพันธ์ 1745 แสดงให้เห็นผู้ว่าการกุสตาฟ วิลเล็ม บารอน ฟาน อิมฮอฟฟ์ (Gustaaf Willem baron van Imhoff) ไม่เต็มใจที่จะอนุญาตจริงๆ


อย่างไรก็ตาม สภา 17 หรือ De Heeren Zeventien ซึ่งสภานี้ประกอบด้วยผู้อำนวยการจำนวน 17 คนของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ที่เป็นตัวแทนของ 17 จังหวัดที่แตกต่างกัน จะควบคุมดูแลเขตการปกครองของเจ้าอาณานิคม วางระเบียบการค้ายในฮินเดียตะวันออกของดัตช์ มีสำนักงานใหญ่อยู่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไม่ชอบหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เพราะถือว่าเป็นอันตรายยิ่ง เนื้อหาของหนังสือพิมพ์นี้ส่วนใหญ่เป็นกฎระเบียบและข่าวการเดินเรือที่สำคัญ การแต่งตั้งและการเลิกจ้างเจ้าหน้าที่ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ตลอดจนรายงานเหตุการณ์ต่างๆบนเกาะชวา เกาะสุมาตรา ศรีลังกา แหลมกู๊ดโฮป (อัฟริกาใต้) และประเทศอื่นๆ ที่ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ดำเนินธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 1746 ผู้ว่าการกุสตาฟ วิลเล็ม บารอน ฟาน อิมฮอฟฟ์ (Gustaaf Willem baron van Imhoff) ได้เพิกถอนใบอนุญาตตีพิมพ์อีกครั้ง


เห็นได้ชัดว่าการห้ามหนังสือพิมพ์ Bataviasche Nouvelles มีสาเหตุมาจากความกลัวของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie)  ว่าคู่แข่งจะได้รับประโยชน์จากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ทัศนคตินี้เคยแสดงให้เห็นในปี 1712 หรือ 32 ปีก่อนวันเกิดของหนังสือพิมพ์ Bataviasche Nouvelles ในเวลานั้นมีความพยายามในบาตาเวียในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรจุข่าวในประเทศ ข่าวเรือ และอื่นๆ แต่ล้มเหลวเนื่องจากการต่อต้านจาก VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie)  แม้ว่าหนังสือพิมพ์ Bataviaasche Nouvelles จะมีอายุเพียง 16 เดือนและยุติการตีพิมพ์ประมาณ 63 ปี 5 เดือน แต่ในที่สุดก็สามารถตีพิมพ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 1809 เมื่อปรากฏตัวครั้งที่สองมีขนาดเล็กกว่าและมีเพียงโฆษณาเท่านั้น ชาวมลายูและชาวพื้นเมืองเรียกว่า Surat Lelang หรือข่าวการประมูล ชาวดัตช์เรียกว่า  VenduNieuws ในระหว่างปี 1776-1809 เท่านั้นที่มีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อีกฉบับ เช่น หนังสือพิมพ์ Het VenduNieuwus (ข่าวการประมูล) แต่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไม่มี "ข้อมูลภายในประเทศ" และถูกเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวดมาก ใบอนุญาตการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ ได้ให้แก่นาย L. Dominicus ซึ่งเป็นช่างพิมพ์ในเมืองบาตาเวีย เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตีพิมพ์การประมูลที่จัดขึ้นโดย VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie)  โฆษณาการประมูล ของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie)   ได้รับการเผยแพร่ฟรี ในขณะที่ผู้ลงโฆษณารายอื่นต้องจ่าย


ในช่วงต้นเดือนมกราคม ผู้ว่าการของ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ที่ชื่อว่า Herman Willem Daendels ได้ใช้กฎระเบียบพิเศษที่มี 19 มาตราเพื่อเก็บภาษี และกำหนดให้บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Bataviaasche Nouvelles ใช้หนังสือพิมพ์ให้เป็นประโยชน์แก่ VOC (Vereenigde Oost-Indische Compagnie) ใส่ผลประโยชน์ของรัฐบาลในหนังสือพิมพ์ของตน และหนึ่งใน 19 มาตราดังกล่าว คือ  ผู้ว่าการ Herman Willem Daendels ได้เปลี่ยนชื่อ Bataviaasche Nouvelles เป็น Bataviaaschecoloniale Courant


อ้างอิง

David T. Hill, The Press in New Order Indonesia, University of Western Australia.1994.


Dari pers Hindia Belanda hingga Pers Nasional Indonesia, https://www.antaranews.com/.


Skripsi Perkembangan Pers Dalam Kaitannya Dengan Perkembangan Politik Di Semarang Tahun 1912-1930, Universitas Negeri Semarang, 2007.


Perkembangan Pers di Indonesia dari Masa ke Masa. https://www.kompas.com

Tiada ulasan:

Catat Ulasan