Ekonomi/Bisnis

Rabu, 17 Julai 2024

ภาษาอินโดเนเซีย มีรากเหง้ามาจากภาษามลายู

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน

ภาษาอินโดเนเซียและภาษามลายูมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างไร กลุ่มวิชาการบางกลุ่มในอินโดเนเซียกล่าวว่าภาษาอินโดเนเซียไม่ได้มาจากภาษามลายู ในทางกลับกัน ก็มีคนคัดค้านที่มีการปฏิเสธความจริงที่ว่าภาษาอินโดนีเซียไม่ได้มาจากภาษามลายู แต่ยืนยันว่าภาษาอินโดนีเซียมาจากภาษามลายูแน่นอน ในที่นี่ผู้เขียนจะนำเสนอบทความเรื่อง "ภาษาอินโดเนเซียมาจากไหน" บทความนี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงานการศึกษามัธยมต้น กระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐอินโดเนเซีย หรือ Directorate of Junior High Schools, Directorate General of Early Childhood Education, Basic Education and Secondary Education, Ministry of Education, Culture, Research and Technology, Republic of Indonesia ซึ่งในเนื้อหาบทความ "ภาษาอินโดเนเซียมาจากไหน" มีดังนี้


ภาษาชาวอินโดเนเซียเป็นภาษาประจำชาติของประเทศอินโดเนเซีย เพื่อนนักเรียนมัธยมต้นทั้งหลาย อาจรู้จักภาษาอินโดเนเซียมาตั้งแต่เด็ก อย่างไรก็ตาม เพื่อนนักเรียนมัธยมต้นทั้งหลาย รู้ต้นกำเนิดของภาษาอินโดเนเซียหรือไม่? สำหรับในเดือนวรรณกรรมและภาษานี้ คณะกรรมการของโรงเรียนมัธยมต้นจะหารือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยย่อของภาษาอินโดเนเซียในฐานะภาษาประจำชาติ อ่านให้ดีนะครับ

ภาษาอินโดเนเซียเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1928 ในขณะนั้น เยาวชนจากมุมต่างๆ ของหมู่เกาะมารวมตัวกันในการประชุมเยาวชนและให้คำมั่นสัญญา


(1) รวมเลือดเนื้อเป็นหนึ่ง เพื่อแผ่นดินอินโดเนเซีย


(2) เป็นชาติหนึ่งเดียว นั้นคือชาติอินโดเนเซีย และ


(3) เชิดชูภาษาแห่งความสามัคคี นั้นคือภาษาอินโดนีเซีย คำมั่นสัญญาของเยาวชนนี้เรียกว่าคำมั่นสัญญาเยาวชน (Sumpah Pemuda)


องค์ประกอบที่สามของคำมั่นสัญญาเยาวชนคือคำแถลงความมุ่งมั่นว่าภาษาอินโดเนเซีย เป็นภาษาแห่งความสามัคคีของชาติอินโดเนเซีย ในปี 1928 ภาษาอินโดเนเซียได้รับการรับรองว่าเป็นภาษาประจำชาติ


ภาษาอินโดเนเซียได้รับการประกาศให้เป็นภาษาประจำชาติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1945 เนื่องจากในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ 1945 ได้รับการรับรองเป็นรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รัฐธรรมนูญ ปี 1945 ระบุว่าภาษาประจำชาติเป็นภาษาอินโดเนเซีย (Bab XV, Pasal 36)


บทสรุปของการประชุมด้านภาษาที่เรียกว่า Kongres Bahasa Indonesia ครั้งที่ 2 ในปี 1954 ในเมืองเมดาน เกาะสุมาตราเหนือ รวมถึงผลสรุปข้ออื่นๆ อีกด้วย


ระบุว่าภาษาชาวอินโดเนเซียมาจากภาษามลายู

ภาษาอินโดเนเซียเติบโตและพัฒนามาจากภาษามลายู ตั้งแต่สมัยโบราณได้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาในการสื่อสาร (ภาษากลาง) ไม่เพียงแต่ในหมู่เกาะมลายูเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทั้งหมดด้วย


ภาษามลายูเริ่มใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 หลักฐานที่ระบุว่ามีการใช้ภาษามลายูคือการค้นพบศิลาจารึกในเกอดุกันบูกิต (Kedukan Bukit) ปี 683 (เมืองปาเล็มบัง), ศิลาจารึกตาลังตูวอ (Talang Tuwo) ปี 684 (เมืองปาเล็มบัง), ศิลาจารึกโกตากาบูร์ (Kota Kapur) ปี 686 (เมืองบังกาตะวันตก) และศิลาจารึกการังบราฮี (Karang Brahi) ปี 688 (เมืองจัมบี) จารึกเขียนด้วยอักษรปรานาฆารี (Aksara Pranagari) ในภาษามลายูเก่า ภาษามลายูเก่าไม่ได้ใช้เฉพาะในสมัยศรีวิชัยเท่านั้น เพราะในชวากลาง (กันดาซูลี) พบศิลาจารึก ปี 832 ด้วย และในโบโกร์พบศิลาจารึก ปี 942 ซึ่งใช้ภาษามลยูด้วย


ในสมัยศรีวิชัย ภาษามลายูถูกใช้เป็นภาษาวัฒนธรรม ได้แก่ ภาษาตำราทางพุทธศาสนา ภาษามลายูยังใช้เป็นภาษาในการสื่อสารระหว่างชนเผ่าในหมู่เกาะและเป็นภาษาทางการค้าทั้งเป็นภาษาระหว่างชนเผ่าในหมู่เกาะและเป็นภาษาที่ใช้โดยพ่อค้าที่มาจากนอกหมู่เกาะมลายูอีกด้วย


ข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์จีน พระอี้จิ้ง (I-Tsing)  ซึ่งศึกษาพุทธศาสนาในศรีวิชัย กล่าวไว้ว่า ในศรีวิชัยมีภาษาหนึ่งเรียกว่า ภาษา Koen-louen (I-Tsing:63,159) ภาษา Kou-luen (I-Tsing:183) ภาษา K’ouen-louen (Ferrand, 1919) ภาษา Kw’enlun (Alisjahbana, 1971:1089) ภาษา Kun’lun (Parnikel, 1977:91) ภาษา K’un-lun (Prentice, 1078:19) ซึ่งใช้พร้อมกับภาษาสันสกฤต ความหมายของภาษา Kou-luen คือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร (ภาษากลาง) ในหมู่เกาะมลายู ได้แก่ ภาษามลายู


การพัฒนาการและการขยายของภาษามลายูปรากฏชัดเจนมากขึ้นจากร่องรอยของอาณาจักรอิสลามที่ยังหลงเหลืออยู่ ทั้งในรูปของศิลาจารึก เช่น คำจารึกบนหลุมฝังศพในเมือง Minye Tujuh อาเจะห์ ปี 1380 ตลอดจนผลงานวรรณกรรม ( ศตวรรษที่ 16 และ ศตวรรษ 17) เช่น บทกวีประเภทซาอีร์ขของ ฮัมซะห์ ฟันซูริ ตำนานบรรดาราชาแห่งรัฐปาไซ  ประวัติศาสตร์มลายู หนังสือ Tajussalatin และหนังสือ Bustanussalatin


ภาษามลายูแพร่กระจายไปยังพื้นที่ห่างไกลของหมู่เกาะมลายูพร้อมกับการเผยแพร่ศาสนาอิสลามในหมู่เกาะมลายู ชาวหมู่เกาะยอมรับภาษามลายูอย่างง่ายดายว่าเป็นภาษาในการสื่อสารระหว่างเกาะ ระหว่างชนเผ่า ระหว่างพ่อค้า ระหว่างประเทศ และระหว่างรัฐ เนื่องจากภาษามลายูไม่มีการจัดระดับของผู้พูด (ภาษาชวา มีการจัดระดับของผู้พูด ผู้น้อย ผู้มีอายุ คนทัวไป คนชนชั้นสูง จะใช้คำที่แตกต่างกัน แม้มีความหมายเดียวกัน)


ภาษามลายูเป็นภาษาพูดทั่วทุกแห่งในหมู่เกาะมลายู และมีการพัฒนาและเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ภาษามลายูที่ใช้ในภูมิภาคหมู่เกาะได้รับอิทธิพลจากรูปแบบวัฒนธรรมของภูมิภาค ภาษามลายูรับคำศัพท์จากภาษาต่างๆ โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และภาษาทางยุโรป ในการพัฒนา ภาษามลายูมีรูปแบบและภาษาถิ่นที่หลากหลาย


การพัฒนาภาษามลายูในหมู่เกาะมลายูมีอิทธิพลและสร้างความรู้สึกเป็นพี่น้องและความสามัคคีของประเทศอินโดเนเซีย การสื่อสารระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นใช้ภาษามลายู เยาวชนชาวอินโดเนเซียที่เป็นสมาชิกของกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่างตั้งใจยกระดับภาษามลายูเป็นภาษาอินโดเนเซีย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาษาแห่งความสามัคคีสำหรับชาติอินโดนีเซียทั้งหมด (Sumpah Pemuda 28 ตุลาคม 1928)

การตื่นตัวในระดับชาติได้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของภาษาอินโดเนเซีย บทบาทของกิจกรรมทางการเมือง การค้า หนังสือพิมพ์และนิตยสารมีขนาดใหญ่มากในการปรับปรุงภาษาอินโดเนเซียให้ทันสมัย การประกาศเอกราชของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1945 ได้ยืนยันจุดยืนและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของอินโดเนเซีย ในฐานะภาษาอินโดเนเซีย เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันภาษาอินโดเนเซียถูกใช้ในสังคมอินโดนีเซียหลายระดับ ทั้งในระดับกลางและระดับภูมิภาค


นั่นเป็นประวัติโดยย่อของการเดินทางของภาษาอินโดเนเซีย ซึ่งปัจจุบันได้รับการยืนยันว่าเป็นภาษาประจำชาติที่รวมชาติอินโดเนเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน เรามาร่วมกันจัดลำดับความสำคัญในการใช้ภาษาอินโดเนเซีย อนุรักษ์ภาษาในภูมิภาคซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอันยาวนานของหมู่เกาะ และอย่าลืมที่จะศึกษาภาษาต่างประเทศด้วย


อ้างอิง

http://repositori.kemdikbud.go.id/3123/1/Masa%20masa%20awal%20bahasa%20indonesia.pdf


https://kantorbahasabengkulu.kemdikbud.go.id/sekilas-tentang-sejarah-bahasa-indonesia/ 





 

Tiada ulasan:

Catat Ulasan