Ekonomi/Bisnis

Ahad, 14 Januari 2024

ปัตตานี กับ โลกมลายู และหนังสือประวัติศาสตร์ปาตานี (Hikayat Patani)

โดย นิอับดุลรากิ๊บ    บินนิฮัสซัน

ประวัติศาสตร์ปาตานี หรือ Sejarah Kerajaan Melayu Patani ที่เขียนโดยอิบราฮิม ซุกรี ฉบับภาษามลายูอักขระยาวี


สำหรับเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานี หรือ ปัตตานี นี้ เป็นการรวบรวมรายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนนำมาจากข้อมูลหลากหลายแหล่ง โดยเฉพาะข้อมูลจากส่วนที่อ้างอิงกันในประเทศมาเลเซีย  ความจริงข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผู้เขียนเรียบเรียงในชื่อว่า “ปัตตานี กับโลกมลายูและตำนานปาตานี” เพื่องานสัมมนาในหัวข้อ เรื่อง “โลกของมุสลิมและมุสลิมในอุษาคเนย์”  ผู้เขียนจึงนำเนื้อหาส่วนหนึ่งของบทความข้างต้นมา ที่เกี่ยวข้องกับรายชื่อของตำนานปาตานี หรือ Hikayat Patani ที่มีหลายเวอร์ชั่น

เอกสารเกี่ยวกับประวัติปัตตานี

ประวัติศาสตร์ปาตานี หรือ Sejarah Kerajaan Melayu Patani ที่เขียนโดยอิบราฮิม ซุกรี จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย


เอกสารเกี่ยวกับประวัติปาตานี

ปาตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในเอเชียอาคเนย์  เป็นที่แวะพักหาเสบียงหรือค้าขายของพ่อค้าต่างชาติ  โดยเฉพาะตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16  มีพ่อค้าจากยุโรปหลายชาติมาค้าขายและตั้งสถานีการค้า  บันทึกของพวกเขาเกี่ยวกับปาตานี  เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนำมาเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์  ในรูปแบบของ พงศาวดาร (Hilayat) ตำนาน (Sejarah, Tarikh) เรื่องเล่า (Cetera, Cerita) ซึ่งเป็นเอกสารท้องถิ่นจนเป็นประวัติศาสตร์ปาตานีซึ่งสามารถค้นพบ  หนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบันได้


หนังสือหรือเอกสารต้นฉบับที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์  พงศาวดาร  และตำนาน  มีหลายฉบับทั้งที่อยู่ตามบ้านเรือนของบุคคลในท้องถิ่นและที่เก็บไว้ในห้องสมุดหรือพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ เช่น


1. ตารีคปาตานี  (Tarikh  Patani)  ของเชค ฮัจญีวันมุสตาฟา  บินมูฮัมหมัด อัล-ฟาตนี เขียนประมาณปี ค.ศ. 1783  เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนกับเรื่องราวในหนังสือตารีคปาตานีอีกเล่มหนึ่ง แต่เรื่องราวกลับเคล้ายกับฮีกายัตปาตานี


2. ตารีคปาตานี  (Tarikh  Patani/ ประวัติศาสตร์ปาตานี)  เขียนโดยชัยคฺ ฟะกีฮฺ  อะลี  ไม่ระบุวันเดือนปีที่เขียน  เป็นหนังสือเก่าแก่มากเล่มหนึ่ง  แต่ไม่ทราบว่า  ต้นฉบับดั้งเดิมอยู่ที่ไหน  ที่มีอยู่เป็นฉบับคัดลอก  ซึ่งได้คัดลอก  เขียนเชิงอรรถ  และเขียนคำนำโดย  ชัยคฺดาวูด  บินอับดุลลอฮฺ  อัล-ฟาตานี  ใน ฮ.ศ. 1228  (ประมาณ พ.ศ. 2345)  โดยอาจารย์ เสนีย์  มะดากะกุล  อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้คัดลอกและเขียนเชิงอรรถเพิ่มเติมใน พ.ศ. 2511  ต่อมามีการดัดแปลงเป็นอักขระรูมี  พิมพ์ในหนังสือ  “มรดกงานเขียนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หรือ Khazanah  Karya  Pusaka  Asia  Tenggara  โดย ฮาญีวันมุฮัมมัดซอฆีร์  อับดุลลอฮฺ  (Hj. W. Mohd. Shaghir  Abdullah, ,  K.L.1990  หน้า  6-28)  ต่อมาได้พิมพ์เป็นเล่มต่างหากและพิมพ์หลายครั้งโดยสำนักพิมพ์  “คาซานะฮ  ฟาตานียะห์”  (Khazanah  Fathaniyah)


3. เซอญาระห์  ฟาตานี  (Sejarah  Patani)  โดย  ชัยคฺอุสมาน  ยาลาลุดดีน  (Syaikh  Uthman Jalaluddin) ขณะนี้เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์อิสลาม  (Muzium  Islam  หรือ  Balai  Pameran Pusat  Islam  เดิม)  กรุงกัวลาลัมเปอร์  ประเทศมาเลเซีย


4. เซอญาระห์  ปาตานี /Sejarah  Patani   เป็นหนังสือที่เก็บไว้ในศูนย์ต้นฉบับมลายู ( Pusat Manuskrip Melayu )  หอสมุดแห่งชาติ  กรุงกัวลาลัมเปอร์   ประเทศมาเลเซีย


5. ฮีกายัตปาตานี(Hikayat  Patani) เขียนบนแผ่นไม้ไผ่ ปี ค.ศ. 1836  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับราชวงศ์กษัตริย์ที่ครองปัตตานี  เก็บไว้ที่ศูนย์เอกสารมลายู   สภาภาษาและหนังสือ ( Pusat Dokumentasi Melayu, Dewan Bahasa dan Pustaka)   กรุงกัวลาลัมเปอร์   ประเทศมาเลเซีย


6. ฮีกายัตปาตานี (Hikayat  Patani)  ที่คัดลอกโดยนายอับดุลลอฮ  มุนชี  ที่สิงคโปร์   ปัจจุบันเก็บไว้ที่หอสมุดของมหาวิทยาลัยมาลายา  ประเทศมาเลเซีย


7. ฮีกายัตปาตานี (Hikayat  Patani) ฉบับที่เก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยไลเดน  ประเทศเนเธอร์แลนด์


8.    ซาลาซีละห์นัครีปาตานี(Salasilah Negeri  Patani) เป็นเอกสารสะสมของนาย William  Skeat ซึ่งเขาเป็นคณะสำรวจของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดที่เดินทางมาปัตตานีในช่วงศตวรรษที่ 19  ปัจจุบันเก็บไว้ที่ Institute of Social Anthropology, University of Oxford  ประเทศอังกฤษ


9.      ฮีกายัตปาตานี(Hikayat  Patani) ฉบับที่เก็บไว้ที่ห้องสมุดของ The Royal  Asiatic  Society กรุงลอนดอน  ประเทศอังกฤษ 


10.   อุนดัง-อุนดังปาตานี(Undang-Undang  Patani) เขียนปี ค.ศ. 1839 เก็บไว้ที่ห้องสมุดรัฐสภา หรือ Library of Congress เมืองวอชิงตัน  ดี.ซี.  สหรัฐอเมริกา


11.   เจอเตอรานัครีปาตานี (Cetera  Negeri  Patani) เป็นหนังสือส่วนบุคคลที่ นายอิบราฮิม  ชุกรี ได้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเขียนหนังสือที่ชื่อว่า เซอญาระห์  เกอรายาอัน มลายู ปาตานี  ซึ่งพิมพ์โดยโรงพิมพ์คณะกรรมการอิสลามแห่งรัฐกลันตัน ในปี ค.ศ. 1958  และหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาไทยโดยสถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี


12. ฮิกายัตปาตานี (Hikayat  Patani) ฉบับที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐตรังกานู   เมืองกัวลาตรังกานู  ประเทศมาเลเซีย 


13.  ฮิกายัตปาตานี (Hikayat  Patani) ฉบับที่ร้อยโท ที.เจ. นิวโบล์ ( T. J. Newbold)นายทหารอังกฤษที่ทำงานในมาลายา ได้มอบไว้แก่ Royal Asiatic Society, Madras Branch  เมืองมัดราส ประเทศอินเดีย


14.   ฮิกายัตปาตานี  (Hikayat  Patani)   โดยศาสตราจารย์ เอ. ทิว   (A. Teeuw) แห่งมหาวิทยาลัยไลเดน  ประเทศเนเธอร์แลนด์  และศาสตราจารย์ เดวิด เค. ไวแอตต์ (David K. Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา   ซึ่งใช้ต้นฉบับหลายฉบับมาเปรียบเทียบ  โดยเฉพาะฉบับที่ห้องสมุดรัฐสภา หรือ Library of Congress เมืองวอชิงตัน  ดี.ซี.  สหรัฐอเมริกาและฉบับที่ Institute of Social Anthropology, University of Oxford  ประเทศอังกฤษ รวมทั้งฉบับของร้อยโท ที.เจ. นิวโบล์ ( T. J. Newbold) ท่านทั้งสองได้ได้แปล  เรียบเรียง  วิเคราะห์  และพิมพ์เป็นเล่ม

     

15.  และอื่นๆ

ตำนานปาตานี หรือ Hikayat Patani เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติมาเลเซีย


ตำนานปาตานี หรือ Hikayat Patani ที่เรียบเรียงโดย A. Teuuw  และ D.K. Wyatt  จัดพิมพ์โดย Martinus Nijhoff, The Hague

ตำนานปาตานี หรือ Hikayat Patani ที่เรียบเรียงโดย Siti Hawa Salleh จัดพิมพ์โดย Dewan Bahasa dan Pustaka


ประวัติกษัตริย์ปาตานี ที่เขียนบนหนังสัตว์ ซึ่งเป็นภาพสะสมจากภาพถ่ายของ ศ. ดร. ครองชัย หัตถา อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มอ. ปัตตานี

ภาพหนังสือประวัติศาสตร์ปาตานี ชื่อว่า Tarikh Patani ที่คัดลอกโดยอาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล  อดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มอ. ปัตตานี


และคิดว่าถ้ามีการค้นคว้าอย่างละเอียดในอนาคต จะยิ่งค้นพบตำนานปาตานีมากยิ่งขึ้น และหวังในอนาคตจะค้นพบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับปัตตานี หรือปาตานีได้เพิ่มขึ้น


 

Tiada ulasan:

Catat Ulasan