Ekonomi/Bisnis

Khamis, 6 Oktober 2022

ดาโต๊ะเอ อาซีซ เดอรามัน บรรยายเกี่ยวกับภาษามลายูแก่ชมรมโรงเรียนตาดีกาตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส


โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

เมื่อ 5 ตุลาคม 2022 นอกจากคณาจารย์สาขาวิชามลายูศึกษา มอ ปัตตานี มาเยี่ยมแล้ว ทางดาโต๊ะเอ, อาซีซ เดอรามัน ก็ได้มาเยี่ยมที่บ้านนูซันตารา และในการนี้ ทาง ศูนย์นูซันตารา ร่วมกับ กศน. อำเภอบาเจาะ และสมาคมอารยธรรมมลายูมาเลเซียรัฐกลันตัน (Peradaban) ได้จัดให้ดาโต๊ะเอ, อาซีซ เดอรามัน บรรยายเกี่ยวกับภาษามลายูแก่บรรดาชมรมครูตาดีกา ตำบลบาเจาะ อำเอบาเจาะ โรงเรียนตาดีกาในตำบลบาเจาะ 15 โรง ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมจำนวน 23 คน เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างสมาคมอารยธรรมมลายูมาเลเซียรัฐกลันตัน (Peradaban) กับชมรมตาดีกาในอำเภอบาเจาะ

ดาโต๊ะ เอ. อาซีซ เดอรามัน เกิดเมื่อ 23 กรกฎาคม 1948 เกิดที่กำปงบารู อำเภอปาเซร์ปูเตะห์ รัฐกลันตัน จบการศึกษาระดับริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยมาลายา เป็นนักเคลื่อนไหวทางวรรณกรรม นักเขียน ดาโต๊ะ เอ. อาซีซ เดอรามัน จะใช้นามปากกาว่า A. Aziz Deraman Azidra และAde Putragong  เป็นผู้อำนวยการ เทียบเท่าอธิบดี) คนที่ 7 ของ Dewan Bahasa dan Pustaka ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1994-2004 ซึ่ง Dewan Bahasa dan Pustaka มีสถานะเป็นกรม ที่ดูแลด้านภาษาและวรรณกรรมของมาเลเซีย เป็นกรมที่มีบทบาทสูงมากของมาเลเซีย  ในปี 2001 ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ Profesor kehormat จากมหาวิทยาลัยในประเทศจีน คือ Guangdong University of Foreign Studies เมืองกว่างโจว (Guangzhou)  ได้รับเครื่องราชอิสริยยศ ชั้นดาโต๊ะ (Dato’) จากรัฐกลันตัน และชั้นดาโต๊ะ (Datuk) จากรัฐปีนัง

 

ท่านเขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น




ชมรมโรงเรียนตาดีกาตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

อำเภอบาจาะ จังหวัดนราธิวาส มีโรงเรียนตาดีกาทั้งหวด 50 กว่าโรง โรงเรียนตาดีกาในอำเภอบาเจาะที่ใช้ชื่อว่า โรงเรียนมลายู หรือ Sekolah Melayu นับเป็นจุดเด่นของโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งบ่มพาะวัฒนธรรมมลายู ภาษามลายู และบ่มเพาะจริยธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนโรงเรียนตาดีกาในตำบลบาเจาะ มีทั้งหมด 15 โรง เป็นโรงรียนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง โดยเฉพาะโรงเรียนที่ตั้งขึ้นที่มัสยิดดารุสสาลาม บ้านโปฮนมัสตอ ตำบาลบาเจาะ อำเอบาจาะ การบริหารโรงเรียนนี้ค่อนข้างจะดีมาก ในต่ละปี โรงเรียนสามารถส่งอุสตาซ-อุสตาซะห์ ไปทำอุมเราะห์ ที่ประเทศซาอุดีอาราเบียได้ปีละ 2 คน

สำหรับโรงรียนตาดีกา หรือที่ใช้ในอำเภอบาเจาะว่า โรงรียนมลายู (Sekolah Melayu) นั้น สังกัดแต่ละมัสยิดของแต่ละชุมชนในอำเภอบาจาะ ทางสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสได้ร่วมกับอิหม่ามประจำมัสยิด กำหนดให้ทุกมัสยิดที่มีความพร้อม ได้จัดให้มีการเรียนการสอนอิสลามศึกษาภาคบังคับระดับพื้นฐาน(ฟัรฎูอัยนฺ) แก่เยาวชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

         ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ใช้ชื่อว่าศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548 จากศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด เป็น ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอน มาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลาในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย

 

เนื่องจากต้องการให้การจัดการศึกษาเกี่ยวกับอิสลามศึกษาไม่ซ้ำซ้อนและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องในหลักสูตรอิสลามศึกษาที่สูงขึ้น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดระเบียบว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักบริหารงาน- คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา12 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ได้ดำเนินงานต่อจากกระทรวงมหาดไทย มีการส่งเสริมสนับสนุน นิเทศติดตามและพัฒนาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในความรับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่อง มีการประสานงานดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ผู้สอนเป็นผู้นำศาสนาและอาสาสมัครในชุมชน ผู้เรียนเป็นนักเรียนที่เรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนเอกชน ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดขึ้นในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล และจัดตั้งสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอทุกอำเภอในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และสงขลาในอำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย เพื่อรับผิดชอบดูแลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)

Tiada ulasan:

Catat Ulasan