Ekonomi/Bisnis

Ahad, 20 Februari 2022

ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู ศิลาจารึกาษามลายูโบราณ อักขระปัลลาวา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ผู้สนใจภาษามลายู ต้องรูจักศิลาจารึกภาษามลายู

ศิลาจารึกนี้ชื่อว่า ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู พบในปี 1935 ที่หมู่บ้านเตอลาฆาบาตู  ตำบลดูวาอีลีร์ กิ่งอำเภออีลีร์ตีมอร์ เมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ อินโดเนเซีย

ศิลาจารึกนี้เขียนขึ้นโดยใช้ภาษามลายูโบราณ อักขระปัลลาวายุคปลาย ในคริสต์ศวรรษที่ การที่ศิลาจารึกนี้พบที่หมู่บ้านเตอลาฆาบาตู ดังนั้นจึงมีการเรียกศิลาจารึกนี้ว่า ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู เป็นศิลาจารึกที่มีหัวงูเห่าประดับด้านบนศิลาจารึกด้วย 7 หัวงูเห่า ไม่ไกลจากที่พบศิลาจารึกษานี้ ยังมีการพบศิลาจารึกอื่นๆอีก

 

ศิลาจารึกนี้ นอกจากใช้ภาษามลายูโบราณ ในช่วงแรกของการเขียนจะใช้ภาษาสันสกฤติ  ศิลาจารึกษานี้มีจำนวน 28 ประโยค มีเนื้อหาสาปแช่ง ผู้ใดที่มีความประพฤติชั่วในอาณาจักรศรีวิจัย  และไม่ภักดีต่อผู้ปกครอง รวมทั้งขุนนาง นับตั้งแต่รัชทายาท ผู้พิพากษา หัวหน้าฝ่ายทะเล ตลอดจนผู้ซักผ้า ผู้รักษาความสะอาด

แม้ว่าศิลาจารึกษานี้ จะไม่บันทึกปี แต่มีการวิเคราะห์ว่า ศิลาจารึกเตอลาฆานี้ มีอายุช่วงเดียวกันกับศิลาจารึกโกตากาโปร์ ที่มีบันทึกปีการเขียนว่า อยู่ในปีซากาศักราช 608 ปีศักราชชวา ที่เดิมมาจากอินเดีย เมื่อคิดเป็นคริสต์ศักราช ก็คือ คริสต์ศักราชที่ 686

Tiada ulasan:

Catat Ulasan