Ekonomi/Bisnis

Isnin, 28 Februari 2022

ศิลาจารึกการังบราฮี หนึ่งในศิลาจารึกที่ใช้ภาษามลายูโบราณ อักขระปัลลาวา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินิฮัสซัน

ผู้สนใจภาษามลายู โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องไม่เพียงรู้จักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ศิลาจารึกวัดเชตุพน และศิลาจารึกอื่นๆของประเทศไทย เราต้องรู้จักศิลาจารึกภาษามลายูด้วย ศิลาจารึกการังบราฮี หนึ่งในศิลาจารึกที่ใช้ภาษามลายูโบราณ

ศิลาจารึกการังบราฮี เป็นหนึ่งในศิลาจารึกในยุครัฐศรีวิชัย ที่พบในปี 1904 โดย L.M. Berkhout ศิลาจารึกนี้ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านการังบราฮี ตำบลปามือนัง อำเภอมือรางิน จังหวัดจัมบี อินโดเนเซีย ศิลาจารึกนี้ จะจารึกด้วยภาษามลายูโบราณ และใช้อักขระปัลลาวา จารึกไว้ในราวปีซากาศักราช 608 ปี

 

ศักราชนี้ มาจากอินเดีย ปีซากาศักราชที่ 1 จะราวปีคริสต์ศักราชที่ 78 ดังนั้นศิลาจารึกนี้ จะจารึกราวปีคริสต์ศักราชที่ 686  หรือเมื่อเกือบ 1,400 ปีที่แล้ว 

เนื้อหาของศิลาจารึก เป็นการสาปคนที่ไม่ภักดีต่อกษัตริย์ และคนที่ทำชั่ว  คำสาปนี้ มีความคลายคำสาปที่จารึกไว้ในศิลาจารึกโกตากาปูร์ ที่พบที่เกาะบังกา จังหวัดบังกาบือลีตง อินโดเนเซีย  และศิลาจารึกเกอลาฆอบาตู ที่พบที่ เมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ อินโดเนเซีย  

เนื้อหาของศิลาจารึก มีดังนี้

Keberhasilan! Wahai sekalian dewata yang berkuasa, yang sedang berkumpul dan yang melindungi provinsi sriwijaya, juga kau Tandrun luah dan semua dewata yang mengawali setiap mantra kutukan!

 

Bilamana di pedalaman daerah akan ada orang yang memberontak, yang bersekongkol dengan pemberontak, yang berbicara dengan pemberontak, yang mendengarkan kata pemberontak, yang mengenal pemberontak, yang tidak berperilaku hormat, yang tidak takluk, yang tidak setia pada saya dan pada mereka yang oleh saya diangkat sebagak datu. Biar orang-orang yang menjadi pelaku perbuatan-perbuatan tersebut mati kena kutuk. Biar sebuah ekspedisi seketika dikirim di bawah pimpinan datu sriwijaya, dan biar mereka dihukum bersama marga dan keluarganya.

 

Lagi pula, biar semua perbuatannya yang jahat, seperti mengganggu ketenteraman jiwa orang, membuat orang sakit, membuat orang gila, menggunakan mantra, racun, memakai racun upas dan tuba, ganja, saramvat, pekasih, dan memaksakan kehendaknya pada orang lain dan sebagainya. Semoga perbuatan-perbuatan itu tidak berhasil, dan menghantam mereka yang bersalah melakukan perbuatan jahat itu, biar pula mereka mati kena kutuk.

 

Tambahan pula, biar mereka yang menghasut orang supaya merusak, yang merusak batu yang diletakkan di tempat ini, mati juga kena kutuk dan dihukum langsung.

 

Biar para pembunuh, pemberontak, mereka yang tak berbakti, yang tak setia pada saya, biar pelaku-pelaku perbuatan tersebut mati kena kutuk.

 

Akan tetapi, jika orang takluk, setia kepada saya dan kepada mereka yang oleh saya diangkat sebagai datu, maka moga-moga usaha mereka diberkahi, juga marga dan keluarganya : dengan keberhasilan, kesentosaan, kesehatan, kebebasan dari bencana, kelimpahan segalanya untuk semua negeri mereka!

 

Tahun saka 608, hari pertama paruh terang bulan waisakha, pada saat itulah kutukan ini diucapkan. Pemahatannya berlangsung ketika bala tentara Sriwijaya baru berangkat untuk menyerang bumi Jawa yang tidak takluk kepada Sriwijaya.


Ahad, 20 Februari 2022

ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู ศิลาจารึกาษามลายูโบราณ อักขระปัลลาวา

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ผู้สนใจภาษามลายู ต้องรูจักศิลาจารึกภาษามลายู

ศิลาจารึกนี้ชื่อว่า ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู พบในปี 1935 ที่หมู่บ้านเตอลาฆาบาตู  ตำบลดูวาอีลีร์ กิ่งอำเภออีลีร์ตีมอร์ เมืองปาเล็มบัง จังหวัดสุมาตราใต้ อินโดเนเซีย

ศิลาจารึกนี้เขียนขึ้นโดยใช้ภาษามลายูโบราณ อักขระปัลลาวายุคปลาย ในคริสต์ศวรรษที่ การที่ศิลาจารึกนี้พบที่หมู่บ้านเตอลาฆาบาตู ดังนั้นจึงมีการเรียกศิลาจารึกนี้ว่า ศิลาจารึกเตอลาฆาบาตู เป็นศิลาจารึกที่มีหัวงูเห่าประดับด้านบนศิลาจารึกด้วย 7 หัวงูเห่า ไม่ไกลจากที่พบศิลาจารึกษานี้ ยังมีการพบศิลาจารึกอื่นๆอีก

 

ศิลาจารึกนี้ นอกจากใช้ภาษามลายูโบราณ ในช่วงแรกของการเขียนจะใช้ภาษาสันสกฤติ  ศิลาจารึกษานี้มีจำนวน 28 ประโยค มีเนื้อหาสาปแช่ง ผู้ใดที่มีความประพฤติชั่วในอาณาจักรศรีวิจัย  และไม่ภักดีต่อผู้ปกครอง รวมทั้งขุนนาง นับตั้งแต่รัชทายาท ผู้พิพากษา หัวหน้าฝ่ายทะเล ตลอดจนผู้ซักผ้า ผู้รักษาความสะอาด

แม้ว่าศิลาจารึกษานี้ จะไม่บันทึกปี แต่มีการวิเคราะห์ว่า ศิลาจารึกเตอลาฆานี้ มีอายุช่วงเดียวกันกับศิลาจารึกโกตากาโปร์ ที่มีบันทึกปีการเขียนว่า อยู่ในปีซากาศักราช 608 ปีศักราชชวา ที่เดิมมาจากอินเดีย เมื่อคิดเป็นคริสต์ศักราช ก็คือ คริสต์ศักราชที่ 686