Ekonomi/Bisnis

Selasa, 31 Ogos 2021

ฮัจญีอาฆุส สาลิม (H. Agus Salim) วีรบุรุษแห่งชาติอินโดเนเซีย สายแนวศาสนาอิสลาม

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ฮัจญีอาฆุส สาลิม (H. Agus Salim) ตอนเกิดมีชื่อว่า มัชฮูดุล ฮัก (Masyhudul Haq) มีความหมายว่า ผู้พิทักษ์ความจริง  เกิดเมื่อ 8 ตุลาคม 1884 เสียชีวิตเมื่อ  4 พฤศจิกายน 1954  เป็นนักสู้เพื่อเอกราชของอินโดเนเซีย ฮัจญีอาฆุส สาลิม ได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของชาติอินโดเนเซียเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1961 ผ่านคำสั่งประธานาธิบดีฉบับที่ 657 ปี 1961

 

นายฮัจญีอาฆุส สาลิม  คือนักพูดและนักเขียน เขาพูดภาษาต่างประเทศได้ 4 ภาษาตะวันตก คือภาษาดัตช์ ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส และอีก 2 ภาษาต่างประเทศในตะวันออกกลาง คือ ภาษาอาหรับและภาษาตุรกี นอกจากนั้นยังพูดภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

 

ชีวประวัติ

นายฮัจญีอาฆุส สาลิม  เป็นบุตรชายของนายซูตัน สาลิม (Soetan Salim) ซึ่งมีนามที่เขาตั้งให้ว่า นายซูตัน มูฮัมหมัด สาลิม (Soetan Mohamad Salim) กับภรรยาที่ชื่อว่า นางซีตีไซนาบ (Siti Zainab)  ตำแหน่งสุดท้ายของบิดาเขาคือหัวหน้าอัยการที่ศาลสูงของเรียว

การศึกษาขั้นพื้นฐานเริ่มที่โรงเรียน Europeesche Lagere School (ELS) ซึ่งเป็นโรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กชาวยุโรป จากนั้นจึงเรียนต่อที่ Hoogere Burgerschool (HBS) ในเมืองบาตาเวีย เมื่อเขาสำเร็จการศึกษา เขาก็กลายเป็นศิษย์เก่าที่ดีที่สุดของ Hoogere Burgerschool (HBS) ในอาณานิคมขณะนั้น

หลังจากสำเร็จการศึกษา นายฮัจญีอาฆุส สาลิม ทำงานเป็นล่ามและผู้ช่วยทนายความที่ทำกิจการร่วมค้าเหมืองแร่ในอินทราคีรี เรียว ในปี 1906 นายฮัจญีอาฆุส สาลิม  ออกเดินทางไปเมืองเจดดะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียเพื่อทำงานที่เอกอัครราชทูตดัตช์ที่นั่น ในช่วงเวลานี้ที่ นายฮัจญีอาฆุส สาลิม ศึกษากับด้านศาสนากับเชคอาหมัด คาตีบ (Sheikh Ahmad Khatib) ซึ่งเป็นลุงของเขา  เชคอาหมัด คาตีบ  ถือเป็นนักการศาสนาในโลกมลายูที่มีชื่อเสียงในซาอุดีอาราเบีย

จากนั้นนายฮัจญีอาฆุส สาลิม ก็เข้าสู่โลกแห่งการสื่อสารมวลชนตั้งแต่ปี 1915 ที่ Neratja Daily ในฐานะรองบรรณาธิการ หลังจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ นายฮัจญีอาฆุส สาลิม แต่งงานกับนางไซนาตัน นาฮาร์ (Zaenatun Nahar) และมีลูก 8 คน การงานของเขาด้านหนังสือพิมพ์ดำเนินต่อไปจนกระทั่งในที่สุดเขาก็กลายเป็นผู้นำของหนังสือรายวันชื่อว่า Hindia Baroe  ในกรุงจาการ์ตา จากนั้นก่อตั้งหนังสือพิมพ์ชื่อว่า Fadjar Asia ซึ่งเป็นหนังสื่อพิมพ์ที่ไปทางแนวของพรรค Serikat Islam ต่อมานายฮัจญีอาฆุส สาลิม เป็นบรรณาธิการของ Moestika Daily ในเมืองยอกยาการ์ตา และได้เปิดสำนักงานใช้ชื่อว่า Advies en Informatie Bureau Penerangan Oemoem  (AIPO) ในเวลาเดียวกันนายฮัจญีอาฆุส สาลิมเข้าสู่โลกแห่งการเมืองในฐานะผู้นำของพรรค Sarekat Islam

 

งานเขียนของนายฮัจญีอาฆุส สาลิม

1. Riwayat Kedatangan Islam di Indonesia (ประวัติการเข้ามาของอิสลามในอินโดนีเซีย)

2. Dari Hal Ilmu Quran (จากศาสตร์แห่งอัลกุรอาน)

3. Muhammad voor en na de Hijrah (มูฮัมหมัดก่อนและหลังฮิจเราะห์)

4. Gods Laatste Boodschap  (ข้อความสุดท้ายของพระเจ้า)

5. Jejak Langkah Haji Agus Salim (ตามรอยนายฮัจญีอาฆุส สาลิม) เป็นการรวบรวมผลงานนายฮัจญีอาฆุส สาลิมโดยเพื่อนร่วมงานของเขา ตุลาคม 1954)

 

งานแปล

1. Menjinakkan Perempuan Garang (ฝึกผู้หญิงที่ดุร้าย) จากเรื่อง The Taming of the Shrew งานเขียนของ Shakespeare

2. Cerita Mowgli Anak Didikan Rimba (เมาคลีลูกหมาป่า) จากเรื่อง The Jungle Book งานเขียนของ Rudyard Kipling)

3. Sejarah Dunia (ประวัติศาสตร์โลก) งานเขียนของ E. Molt

 

งานทางการเมือง

ในปี 1915 นายฮัจญีอาฆุส เข้าร่วมกับพรรค Sarekat Islam และกลายเป็นผู้นำคนที่สองหลังจากนายอุมาร์ ซาอิด โจโกรอามีโนโต (Oemar Said Tjokroaminoto)

บทบาทของนายฮัจญีอาฆุส ระหว่างการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซีย เช่น

1.เป็นสมาชิกของสภา Volksraad (2464-2467) ซึ่งคำว่า Volksraad มาจากคำภาษาดัตช์ มีความหมายว่า สภาประชาชน จัดตั้งขึ้นเมื่อ 16 ธันวาคม 1916 โดยเจ้าอาณานิคมฮอลันดาiaan

 

2. กรรมการเก้าคนในคณะเพื่อเตรียมการให้เอกราช ซึ่งจัดทำรัฐธรรมนูญ ปี 1945

 

3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรีของนายชาห์รีร์ II ในปี 1946 และในคณะรัฐมนตรีชาห์รีร์ III ปี 1947

 

4. การเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตของอินโดนีเซียกับกลุ่มประเทศอาหรับ โดยเฉพาะอียิปต์ในปี 1947

 

5. รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ คณะรัฐมนตรีของ นายอามีร์ ชารีฟฟุดดิน ปี 1947

 

6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของคณะรัฐมนตรีมูฮัมหมัดฮัตตา ปี  1948-1949

 

ประธานาธิบดีซูการ์โนและนายฮัจญีอาฆุส สาลิม ถูกควบคุมตัวโดยชาวดัตช์ ในปี 1949  และระหว่างปี 1946-1950 เขายังมีบทบาทอย่างสูงในวงการการเมืองอินโดเนเซีย ดังนั้นเขาจึงมักถูกขนานนามว่า "ชายชราผู้ยิ่งใหญ่" นอกจากเขายังดำรงตำแหน่งด้านการต่างประเทศแล้ว เขาได้รับความไว้วางใจให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจนกระทั่งสิ้นสุดชีวิตของเขา

 

ในปี 1952 เขาดำรงตำแหน่งประธานสภากิตติมศักดิ์ของสมาคมนักข่าวอินโดเนเซีย แม้ว่าผู้ถามจะเฉียบแหลมและการวิพากษ์วิจารณ์เขาดูไม่สุภาพ แต่นายฮัจญีอาฆุส สาลิม ยังคงเคารพขอบเขตและรักษาจรรยาบรรณของนักข่าว

 

หลังจากลาออกจากวงการการเมือง ในปี เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Bagaimana Takdir, Tawakal dan Tauchid harus dipahamkan? ซึ่งภายหลังได้รับการแก้ไขใช้ชื่อว่า Keterangan Filsafat Tentang Tauchid, Takdir dan Tawakal

 

เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1954 ที่โรงพยาบาลจาการ์ตา และถูกฝังในสุสานวีรบุรุษแห่งชาติ ที่กาลิบาตา กรุงจาการ์ตา ปัจจุบันชื่อของเขากลายเป็นชื่อสนามฟุตบอลในเมืองปาดัง  จังหวัดสุมาตราตะวันตก


Tiada ulasan:

Catat Ulasan