Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 21 Ogos 2021

ดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากุ๊บ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ที่ได้รู้จัก

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ผู้เขียนรู้จักดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของประเทศมาเลเซีย ครั้งแรกในปี 1982 เป็นการพบปะในงานสัมมนาของสมาพันธ์นักศึกษาเอเชีย หรือ Asian Students Association (ASA) โดยแต่ละองค์กรสมาชิกจะส่งตัวแทนเข้าร่วม นับจากนั้นความสัมพันธ์ของเราก็มีสานมาตลอด โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และผลประโยชน์ใดๆ

 

แหล่งข้อมูลกล่าวว่า เมืองเตอเมอร์โล๊ะห์ (Temerloh) รัฐปาหัง ที่เขาเติบโตนั้น เป็นแหล่งกำเนิดของนักเคลื่อนไหวหลายคน ส่วนใหญ่มาจากทางแนวซ้าย และดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ก็ไม่มีข้อยกเว้น เพียงการมีส่วนร่วมของเขาในการเคลื่อนไหวของขบวนนักศึกษาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

 

นายฮีชัมมุดดิน ราอิส แกนนำนักเคลื่อนไหวกิจกรรมนักศึกษา ร่วมรุ่นอันวาร์ อิบราฮิม และพี่ชายของดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ กล่าวว่าดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ มีความสัมพันธ์ทางความคิดกับของพี่ชาย และดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ยังเติบโตในเมืองลูโบ๊ะกาวะห์และเมืองเตอเมอร์โละห์ รัฐปาฮัง  ซึ่งสองแห่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “แหล่งเพาะพันธุ์” สำหรับการต่อสู้แนวคิดชาตินิยมมลายู

แม้ผู้เขียนจะมีความสนใจติดตามสถานการณ์การเมืองมาเลเซีย แต่ผู้เขียนเองไม่เคยคาดคิดว่าดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ จะมานั่งเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเขายังมีจุดด้อยทางการเมืองอีกหลายข้อ เช่น ในพรรคการเมืองของตนเอง เขามีตำแหน่งเพียงผู้ช่วยประธานพรรค หรือ Naib Presiden (Vice President) ของพรรคอัมโน หรือ United Malays National Organisation ซึ่งถือเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย มีสมาชิกราว 3.3 ล้านคน

 

สำหรับตำแหน่งผู้ช่วยประธานพรรค นั้นมีจำนวน 6 คน โดย 3 คนเป็นตำแหน่งที่มาจากประธานของฝ่ายต่างๆ คือ ประธานฝ่ายปีกเยาวชน ประธานฝ่ายปีกสตรี ประธานฝ่ายปีกเยาวชนสตรี  เมื่อบุคคลใด ได้รับเลือกมาเป็นประธานฝ่ายนั้นๆแล้ว ผู้นั้นก็จะได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยประธานพรรคโดยตำแหน่ง ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยประธานพรรคอีก 3 คน จะเป็นตำแหน่งที่มาจากการแข่งขันเลือกตั้ง โดยตัวแทนสาขาพรรคจะลงคะแนนโดยตรง  ดังนั้นดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยประธานพรรค จึงอยู่เป็นอันดับ 3 ภายในพรรค  เพียงสถานการณ์ของพรรคอัมโน อำนวยให้กับดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ สามารถเก้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

 

ด้วยประธานพรรคอัมโน ดาโต๊ะสรี อาหมัด ซาอิด ฮามีดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีคดีติดตัวจากปัญหาการคอรัปชั่นในกรณีบริษัท 1MDB หลายสิบคดี จนไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆได้ ส่วนรองประธานพรรคอัมโน ดาโต๊ะสรีมูฮัมหมัด ฮัสซัน อดีตมุขมนตรีรัฐนัครีซัมบีลัน เป็นนักการเมืองในระดับรัฐ โดยเป็นสมาชิกสภานินิบัญญัติแห่งรัฐ เขาไม่ได้เล่นการเมืองในระดับประเทศ หรือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  ดังนั้นภาระจึงตกกับดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ นับตั้งแต่พรรคอัมโน เป็นฝ่ายค้าน ในสมัยที่ มหาเธร์  มูฮัมหมัด หวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2  และดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ได้รับแต่งตั้งมาเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 

 

ครั้งนั้นผู้เขียนได้นัดเจอกับดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ที่มหาวิทยาลัยมาลายา กัวลาลัมเปอร์ ด้วยเป็นสถานที่สะดวกในการพบ และฟื้นความหลังในสมัยร่วมกิจกรรมนักศึกษา ได้คุยถึงสถานการณ์การเมือง และผลของกิจกรรมนักศึกษาในอดีตที่เขาเคยช่วยเหลือต่างๆ ตอนนั้นสถานการณ์การเมืองเริ่มร้อนแรง และผู้เขียนคาดว่า อีกไม่นานดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ก็จะกลับสู่ทำเนียบรัฐบาล  

 

แต่ไม่เคยคิดว่าเขาจะก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คิดแต่เพียงว่า เขาน่าจะอยู่ในระดับกลางๆของคณะรัฐมนตรี แต่ด้วยปัจจัยคุณสมบัติของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าเขาในพรรคอัมโน และโอกาสทำให้เขาสามารถ ก้าวสู่เบอร์หนึ่งในทำเนียบรัฐบาลเมืองปุตราจายา

ดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ เกิดเมื่อ 18 มกราคม 1960 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเขตเบอรา รัฐปาฮัง สังกัดพรรคอัมโน ปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ก่อนหน้านี้เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2020 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2021 อดีตนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งเขาเป็นรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เขายังเป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาชนบทและภูมิภาคอีกด้วย

 

การศึกษา

ดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ ในปี 1967 เริ่มเรียนที่โรงเรียนประถมบางาว (Sekolah Kebangsaan Bangau) ต่อมาในปี 1973 เขาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมไอร์ปูเตะห์ กวนตัน (Sekolah Menengah Air Putih)  และ ในปี 1976 เรียนที่โรงเรียนมัธยมเทคนิคกวนตัน รัฐปาฮัง (Sekolah Menengah Teknik Kuantan, Pahang)  จากนั้นเขาก็ศึกษาระดับหกที่โรงเรียน Jaya Akademik และเรียนต่อจนจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา

 

สนับสนุนการทำกิจกรรมโครงการนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์




ปกตินักศึกษาสาขาภาษามลายูของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะทำโครงการฝึกงานกับสถาบันหนังสือและภาษา (Dewan Bahasa dan Pustaka) โดยการฝึกงานในช่วงปิดเทอมใหญ่ แต่มีครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าโควตาการฝึกงานนั้น มีอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งชิงโควตาไป ดังนั้น ทำให้นักศึกษาส่วนหนึ่ง ไม่มีที่ฝึกงาน ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้รับให้เป็นผู้ประสานหาสถานที่ฝึกงานที่อื่น เพื่อรองรับนักศึกษาที่ยังขาดสถานที่ฝึกงาน  ผู้เขียนจึงเดินทางไปรัฐมะละกา เพื่อประสานติดต่อสถานที่ฝึกงาน เมื่อสำเร็จแล้ว  ขณะกำลังจะกลับไทย ก็นึกได้ว่า ดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐปาฮัง จึงติดต่อไป เพื่อขอความช่วยเหลือให้ช่วยนักศึกษาสาขาภาษามลายู และได้รับการรับปากว่าจะช่วยเต็มที่    แต่เมื่อกลับมาไทย ปรากฏว่า อีกมหาวิทยาลัยหนึ่ง ที่ว่าจะไปร่วมโครงการต้องยกเลิก ดังนั้นนักศึกษาที่ขาดสถานที่ฝึกงาน จึงสามารถร่วมได้ และสำหรับโครงการที่ดาโต๊ะสรี อิสมาแอล ซับรี ยะอากู๊บ รับปากจะช่วย ก็เลยรับจะจัดให้นักศึกษาสาขามลายุศึกษาในปีถัดมา

Tiada ulasan:

Catat Ulasan