Ekonomi/Bisnis

Khamis, 17 September 2020

16 กันยายน 2020 เป็นวันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ครบรอบ 57 ปี

โดย  นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน


เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นวันจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ครบรอบ 57 ปี ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างประเทศสหพันธรัฐมาลายา สิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ (รัฐซาบะห์) และ รัฐซาราวัค โดยภายหลังสิงคโปร์ถอนตัวออกมา ความจริงแล้วเป็นการถูกเชิญให้ออกมามากกว่า ส่วนบรูไนนั้น ถอนตัวไม่เข้าร่วมในนาทีสุดท้าย  ในการรวมตัวกลายเป็นประเทศมาเลเซียนี้ มีหลายๆที่น่าสนใจ เช่น

การรวมตัวเป็นประเทศโดยใช้ชื่อประเทศใหม่นี้ว่า มาเลเซีย  ความจริงชื่อมาเลเซีย ไม่ใช่เป็นชื่อใหม่ เป็นชื่อที่มีมาก่อนที่จะมีประเทศนี้มา 100 กว่าปี แต่ประเทศใหม่ที่ตั้งขึ้นมา จำเป็นต้องตั้งชื่อว่า ประเทศมาเลเซีย ก็ด้วยเหตุผล เป็นไปตามข้อเรียกร้องของรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค โดยบังคับประเทศที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า ประเทศมาเลเซีย - Malaysia ไม่ใช่ ประเทศมลายูรายา – Melayu Raya ตามความต้องการของนักการเมืองและคนส่วนหนึ่งที่อยูในรัฐบนแหลมมลายู   และไม่เพียงรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ให้ใช้ชื่อประเทศใหม่นี้ว่าประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังขอสงวนสิทธิ์อำนาจบางอย่างเป็นของตนเอง เช่น ด้านอิมมีเกรชั่น (ตรวจคนเข้าเมือง)  ศาสนา ภาษา ภาษีของรัฐ


ด้านด้านอิมมีเกรชั่น (ตรวจคนเข้าเมือง)  รัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค ขอสงวนอำนาจของตนเอง โดยคนจากรัฐในแหลมมลายู เช่นรัฐกลันตัน รัฐปีนัง รัฐสลังงอร์ ฯลฯ จะสามารถเข้าไปอยู่ในรัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค ได้เพียง 3 เดือน ถ้าจะอยู่นานกว่านั้น ต้องทำใบอนุญาตการทำงาน (เปอร์มิตเวิร์ค – Permit Work) ข้าราชการ นักศึกษาจากรัฐในแหลมมลายู เวลาจะไปทำงาน หรือเรียนในรัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค ก็ต้องทำใบอนุญาตการทำงาน (เปอร์มิตเวิร์ค – Permit Work)

                วีซ่า ชาวมาเลเซียจากรัฐอื่นที่เข้าไปทำงานในรัฐซาราวัค

ด้านศาสนา แม้ว่าศาสนาอิสลามจะเป็นศาสนาประจำชาติของมาเลเซีย แต่ศาสนาอิสลามไม่ใช่ศาสนาประจำรัฐของรัฐซาบะห์


ด้านภาษา ภาษามลายู แม้ว่าภาษามลายูจะเป็นภาษาประจำชาติของมาเลเซีย  แต่ปัจจุบันรัฐซาราวัค ประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำรัฐซาราวัค


ด้านภาษี ด้วยรัฐซาบะห์ และรัฐซาราวัค เป็นรัฐที่มีน้ำมัน และน้ำมันน่าจะมีมากกว่าบรูไน ด้วยมีพื้นที่บนบกและทะเลมากกว่าบรูไน รัฐซาบะห์ไม่ผ่อนปรนเรื่องภาษีให้รัฐบาลกลาง แต่รัฐบาลกลางยุคมหาเธร์แรก ใช้เล่ห์กล จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นในรัฐซาบะห์ (พรรค Parti Bersatu Rakyat Jelata Sabah เรียกย่อว่า Parti Berjaya) และชนะเลือกตั้งในรัฐซาบะห์ พรรคที่ตั้งขึ้นมาจึงอนุมัติไม่ต้องเสียภาษี ส่วนรัฐซาราวัค ไม่เป็นเช่นนั้น เช่นกรณีปัจจุบันรัฐซาราวัคฟ้องศาลให้บริษัทน้ำมันเปโตรนัส (Petronas) เสียภาษีให้รัฐซาราวัค 5 % ศาลรับฟ้อง มีการเจรจากันจนบริษัทน้ำมัน ต้องจ่ายให้รัฐซาราวัค เป็นจำนวน 2 พันล้านริงกิต

                      บริษัทน้ำมันเปโตรนัส จ่ายภาษีให้รัฐซาราวัค 

สำหรับธงมาเลเซีย ตอนจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ธงมาเลเซีย มี 14 แถบ สื่อถึงรัฐต่างๆในมาเลเซีย ประกอบด้วย 11 รัฐในแหลมมลายู และอีก 3 ส่วน ประกอบด้วยรัฐซาบะห์ รัฐซาราวัค และสิงคโปร์ แต่เมื่อสิงคโปร์ถอนตัวออก ธงก็ยังไม่เปลี่ยน ยังคงมี 14 แถบ ดาว 14 แฉก  ในอินเตอร์เน็ต จะให้ความหมาย 2 อย่าง คือ


1. ธงมาเลเซีย มี 14 แถบ สื่อถึง 13 รัฐต่างๆ และอีก 1 คือ ดินแดนสหพันธรัฐ  และอีกความหมายหนึ่ง

2. ธงมาเลเซีย มี 14 แถบ สื่อถึง 13 รัฐต่างๆ และอีก 1 คือ รัฐบาลกลาง รัฐบาลของสหพันธรัฐ เพื่อความถูกต้องระหว่าง 2 ความหมาย  


จึงติดต่อสถานกงสุลมาเลเซียในจังหวัดสงขลา และได้รับหนังสือ Bendera Kita Bendera Jalur Gemilang ของกรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงการสื่อสารและมัลตีมีเดีย มาเลเซีย เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับธงมาเลเซีย ทั้งการตั้ง ขนาดธง วิธีการตั้ง และอื่นๆอีก มีความหนา 62 หน้า 

                 หนังสือ Bendera Kita Bendera Jalur Gemilangสรุปความหมายที่ถูกต้อง 14 แถบ และ 14 แฉกของดาว สื่อถึง 13 รัฐต่างๆ และอีก 1 คือ รัฐบาลกลาง  ไม่ใช่สื่อถึงดินแดนสหพันธรัฐ (กัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายา และเกาะลาบวน) ตามที่หลายๆคนเข้าใจ ซึ่งยังมีชาวมาเลเซีย จำนวนมากเข้าว่าใจผิดว่า เป็นตามข้อ 1.



ขีดเส้นแดง เขาเขียนว่า bintang pecah 14 menunjukkan perpaduan 13 buah negeri dan kerajaan persekutuan แปลได้ว่า ดาว 14 แฉก สื่อถึงความสามัคคีของ 13 รัฐ และรัฐบาลกลาง (รัฐบาลสหพันธรัฐ)


และในหน้า 5 ของหนังสือเล่มดังกล่าว ยังเขียนตามที่ขีดเส้นแดง ว่า bendera Malaysia yang mempunyai 14 jalur merah dan putih แปลได้ว่า ธงมาเลเซียที่มี 14 แถบ ทั้งแถบแดงและแถบขาว และเขียนต่อว่า mewakili keanggotaan 13 buah negeri manakala 1 jalur mewakili kerajaan Persekutuan แปลได้ว่า เป็นตัวแทนของสมาชิก 13 รัฐและอีก 1 เป็นตัวแทนของรัฐบาลกลาง (รัฐบาลสหพันธรัฐ)

อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย  ในภายหลังยอมรับว่า ตนเองตัดสินผิดพลาดที่เชิญสิงคโปร์ออกจากประเทศมาเลเซีย  นอกจากนั้นการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสลายองค์กรมาฟิลินโด (Maphilindo) องค์กรที่ประกอบด้วยสามประเทศชาติพันธุ์มลายู ที่ประกอบด้วยประเทศสหพันธรัฐมาลายา  ฟิลิปปินส์ อินโดเนเซีย ด้วยการรวมจัดตั้งประเทศมาเลเซียนั้น รวมรัฐซาบะห์เข้าเป็นส่วนหนึ่งเข้าด้วย  ซึ่งรัฐซาบะห์ ทางฟิลิปปินส์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเขา  ส่วนอินโดเนเซีย ถือว่าการจัดตั้งประเทศมาเลเซียเป็นแผนของอังกฤษ อดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ 

Tiada ulasan:

Catat Ulasan