Ekonomi/Bisnis

Sabtu, 24 Ogos 2019

การย้ายเมืองหลวงของประเทศอินโดเนเซี

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
     ข่าวประเทศอินโดเนเซียได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ได้ประกาศขออนุญาตจากรัฐสภาเพื่อขอย้ายเมืองหลวงจากจาการ์ตาไปยังเกาะกาลีมีนตัน ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของการย้ายเมืองหลวงของประเทศอินโดเนเซีย ด้วยกรุงจาการ์ตาเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรประมาณ 10 กว่าล้านคน มีปัญหาในด้านการคมนาคม มีการจรจรที่ติดขัด บางเส้นทางของถนน ต้องมีการบังคับให้มีการใช้ถนน โดยสลับวันกันระหว่างรถที่มีป้ายเลขคู่และเลขคี่
     การจัดการเรื่องที่มีอาศัยก็ค่อนข้างมีปัญหา คนรวย คนจนค่อนข้างจะมีช่องว่างมาก ในหลายๆพื้นที่จะเห็นสภาพของสลัม แหล่งคนจน ด้วยเป็นเมืองใหญ่ ทำให้ลำบากในการแก้ไข
     กรุงจาการ์าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องแบ่งการปกครองออกเป็น 4 เทศบาลนคร กับอีก 1 อำเภอ  สำหรับเทศบาลนครประกอบด้วยเทศบาลนครจาการ์ตากลาง เทศบาลนครจาการ์ตาใต้ เทศบาลนครจาการ์ตาเหนือ เทศบาลนครจาการ์ตาตะวันออก และเทศบาลนครจาการ์ตาตะวันตก และกรุงจาการ์ตามีความพิเศษอีก นั้นคือ มีหมู่เกาะหนึ่ง เรียกว่า หมู่เกาะซือรีบู  จึงได้จัดตั้งเป็นอำเภอหมู่เกาะซือรีบู เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมาก   อำเภอหมู่เกาะซือรีบู มีศูนย์การปกครองอยู่ที่เกาะปรามูกา
     เรามารู้จักประวัติการย้ายเมืองหลวงของประเทศอินโดเนเซียนะครับ
     ประเทศอินโดเนเซีย ได้ย้ายเมืองหลวงมาแล้ว 3 ครั้ง นับตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1945 และจาการ์ตา ก็กลายเป็นเมืองหลวงนับแต่นั้นมา ต่อมาเมื่อจาการ์ตาถูกกองกำลังของฮอลันดายึดครอง ในวันที่ 4 มกราคม 1946 ก็ได้ประกาศให้เมืองยอกยาการ์ตาเป็นเมืองหลวง โดยได้ย้ายสิ่งของเงียบๆทางรถไฟตอนกลางคืนจากจาการ์ตาสู่เมืองยอกยาการ์ตา
     ต่อมาเมืองยอกยาการ์ตาถูกกองกำลังฮอลันดาโจมตีและถูกยึดครอง จนทำให้ประธานาธิบดีสุการ์โน และรองประธานาธิบดีมูฮัมหมัด ฮัตตา ถูกฮอลันดาจับกุม และถูกย้ายกักบริเวณบนเกาะบาลีตง จนนายซัฟรุดดิน ปราวีรานาฆารา ได้จัดตั้งรัฐบาลในสถานการณ์ปฏิวัต เมื่อวัน 19 ธันวาคม 1948 ได้ประกาศให้เมืองบูกิตติงฆี ในเกาะสุมาตราเป็นเมืองหลวง
     เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1949 ประธานาธิบดีสุการ์โน และรองประธานาธิบดีมูฮัมหมัด ฮัตตา ถูกปล่อยตัวและกลับสู่เมืองยอกยาการ์ตา นายซัฟรุดดิน ปราวีรานาฆารา มอบอำนาจคืนสู่ประธานาธิบดีสุการ์โน และรองประธานาธิบดีมูฮัมหมัด ฮัตตา ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 1949 เมืองยอกยาการ์ตา กลับมาเป็นเมืองหลวงของอินโดเนเซีย
     ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โดยใช้ระบบสหพันธสาธารณรัฐ โดยประเทศอินโดเนเซีย (Republik Indonesia)ที่มีเมืองยอกยาการ์ตาเป็นเมืองหลวงนั้น ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหพันธสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (Republik Indonesia Serikat) ที่มีจาการ์ตาเป็นเมืองหลวง ประเทศสหพันธสาธารณรัฐอินโดเนเซีย มีอายุไม่นานนัก ต่อมาสลายตัวได้รวมตัวกันจากหลายๆประเทศมารวมเป็นหนึ่งเดียว ประเทศได้เปลี่ยนผ่านระบบการปกครองจากระบบสหพันธ์สาธารณรัฐอินโดเนเซียสู่ระบบสาธารณรัฐเดียว และจาการ์ตาก็กลับมาเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28 สิงหาคม1961
     ในยุคประธานาธิบดีสุการ์โน ในปี 1957 ก็เคยประกาศย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองปาลังการายา เมืองเอกของจังหวัดกาลีมันตันกลาง  ต่อมาในยุคของประธานาธิบดีสุฮาร์โต ก็ประกาศให้ย้ายเมืองหลวงไปยังจังหวัดชวาตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากจาการ์ตา ในที่สุดก็ล้มเหลว พร้อมๆกับประธานาธิบดีสุฮาร์โตหมดอำนาจ  ในยุคประธานาธิบดีสุซีโล บัมบัง ยูโธโยโน ในปี 2009 ก็เริ่มความคิดย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง ต่อมาในปี 2013 ประธานาธิบดีสุซีโล บัมบัง ยูโธโยโน ได้จริงจังกับการย้ายเมืองหลวง แต่รัฐบาลกล่าวว่าต้องใช้เวลาถึง 12 ปี เพราะต้องมีกฎหมายหลักครอบคลุมในการปฏิบัติงาน
     ในยุคประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ได้ประกาศในรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2019 ขออนุญาตย้ายเมืองเมืองจากจาการ์ตาไปยังจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก
     ตอนแรกประธานาธิบดีโจโก วีโดโด เพียงประกาศว่าจะย้ายเมืองหลวงไปยังเกาะกาลีมันตัน แต่ยังไม่กำหนดพื้นที่ ต่อมาก็ประกาศชัดเจนว่าพื้นที่ไหนจะใช้เป็นเมืองหลวงใหม่ของอินโดเนเซีย นอกจากจะมีพื้นที่สาธารณะของรัฐจำนวนมากแล้ว จังหวัดนี้ยังประชากรเพียง 3.5 ล้านคนเท่านั้น และประชากรที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว  ประกอบชนเผ่าดายัก  Dayak 30.24%  เผ่าบันจาร์ 20.81% เผ่ากูไต 12.45% เผ่าปาเซร์ 9.94%  เผ่าชวา 7.80%  และเผ่าอื่นๆเหตุผลในการเลือกจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก
     7 ประการที่ทำไมต้องเลือกจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก
     1. พื้นที่ของจังหวัดมีทั้งหมด 180,965 เฮกเตอร์ และสามารถนำพื้นทีมาใช้ได้ถึง 85,885 เฮกเตอร์
     2. แหล่งน้ำสามารถนำมาใช้จาก 3 แห่งหลัก
     3. มีแหล่งน้ำใต้ดินที่มีมาก
     4. จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ไม่มีประวัติของการไหม้ป่าบ่อย มีเพียงเกิดขึ้นในปี 2015
     5. ใกล้กับเมืองบาลิกปาปันและเมืองซามารินดา มีการคมนาคมที่ดี มีสองสนามบิน และมีท่าเรือ
     6. เป็นพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเผ่าได้น้อยมาก  เป็นพื้นที่ของผู้อพยพจากเผ่าชวา เผ่าบูกิส และเผ่า
   บันจาร์
     7. ในด้านการรักษาความปลอดภัยของประเทศ สามารถป้องกันได้ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
          สิ่งที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ นั้นคือเรื่องงบประมาณ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาสาร ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการประกาศย้ายเมืองหลวง คงต้องดูต่อไปว่าการประกาศย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ จะสามารถย้ายได้สำเร็จจริงหรือไม่

Tiada ulasan:

Catat Ulasan