Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 1 Mei 2015

ประเพณีการแต่งงานแบบชวา

โดยนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ประเพณีการแต่งงานของชาวชวานั้น มีความแตกต่างบ้างจากประเพณีการแต่งงานของชาวมลายู 

ขั้นตอนการแต่งงานของชาวชวาก็มีเฉกเช่นเดียวกันกับของชาวมลายู ชาวมีนังกาเบา นั้นคือ  

1. การสืบและการดูดวง ดูความเหมาะสม)
การสืบและการดูดวง ดูความเหมาะสม สำหรับขั้นตอนแรกนี้ ไม่เพียงเป็นประเพณีของชาวมลายูเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักในศาสนาอิสลาม เพราะเราจำเป็นต้องรู้สถานะของผู้ที่เราต้องการจะแต่งงานด้วย ในขั้นตอนนี้ทางฝ่ายผู้ชาย แม้จะรู้แล้วว่าสถานะของฝ่ายหญิงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ฝ่ายผู้ชายต้องส่งตัวแทนเพื่อไปพบครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อพบและสอบถามว่าฝ่ายหญิงมีเจ้าของแล้วยัง หรือว่าหมั้นหมายกับใครแล้วยัง 

2. การหมั้น
การหมั้น ถือเป็นขั้นตอนแรกของการแต่งงานในขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวชวา ปกติในขั้นตอนนี้ ฝ่ายชายจะนำแหวนหนึ่งวง เรียกว่า “cincin tanda” รวมทั้ง “tepak sirih” หรือเชี่ยนหมาก หนึ่งสำรับที่ประกอบด้วยหมาก พลู สีเสียด(Gambir) สำหรับเชี่ยนหมากนี้ จะเรียกอีกอย่างว่า “sirih meminang” ถ้าฝ่ายหญิงการทาบทามการหมั้น ฝ่ายชายจะยื่นเชี่ยนหมากนี้ให้แก่ฝ่ายหญิง สำหรับแหวน “cincin tanda” ถือเป็นแหวนที่ไว้สัญญาไว้
การหมั้นถือเป็นการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ปกติตามประเพณีก็จะมีการกำหนดระยะเวลาของการหมั้น

2) การส่งค่าสินสอด การแต่งงาน ตามหลักศาสนาอิสลาม

สิ่งที่มีความแตกต่างจากพิธีการแต่งงานของชวาจากชนเผ่าอื่นๆ คือ
การจัดการเลี้ยงของชาวชวาจะมีถึง 3 ครั้ง นั้นคือ 

1. Kenduri Sinoman เป็นการจัดงานเลี้ยง หนึ่งอาทิตย์ก่อนการจัดงานแต่งงานใหญ่ 

2. Kenduri Kahwin Besaran เป็นการจัดเลี้ยงงานแต่งงานใหญ่ หรือเป็นการจัดเลี้ยงในวันที่มีการแต่งงานจริง

3. Kenduri Masari เป็นการจัดงานเลี้ยง หลังจากที่มีการจัดเลี้ยงวันแต่งงาน ถือเป็นการจัดเลี้ยงขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ให้งานแต่งงานได้สำเร็จ

Tiada ulasan:

Catat Ulasan