Ekonomi/Bisnis

Rabu, 4 Februari 2015

"ศูนย์นูซันตาราศึกษา" นาวาเล็กๆในมหาสมุทร"โลกวัฒนธรรมมลายู"


โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
       เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2007 หรือ 07-07-07 เมื่อ 6 ปีกว่าๆที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ร่วมกับนักศึกษามลายูศึกษาอีก 2 คน ถือว่าวันเดือนปีเลขสวยนี้ก็ได้จัดตั้ง"ศูนย์นูซันตาราศึกษา" หรือ “Nusantara Studies Center” เพื่อเป็นหน่วยงานทางเลือก และหน่วยงานคู่ขนานเพื่อสนับสนุนกิจกรรมภายนอกของแผนกวิชามลายูศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ด้วยการทำกิจกรรมภายนอกของแผนกวิชามลายูศึกษา บางโครงการ บางครั้งค่อนข้างมีปัญหา

          แรกเริ่มผู้เขียนจะใช้ชื่อว่า “ศูนย์มลายูศึกษา” หรือ “Malay Studies Center” แต่อาจารย์มัสนูร์ มุสลิค (Masnur Muslich) ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว อาจารย์ชาวอินโดเนเซียจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมาลัง (State University of Malang) เมืองมาลัง ประเทศอินโดเนเซีย ท่านเคยมาสอนที่แผนกวิชามลายูศึกษา ได้เสนอให้ใช้คำว่า “นูซันตารา” แทนคำว่า“มลายู” ซึ่งคำว่า“นูซันตารา”จะได้รับการยอมรับในอินโดเนเซียมากกว่า เพราะในอินโดเนเซียมีการตีความของคำว่า“มลายู”ที่แตกต่างจากมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และจังหวัดชายแดนภาคใต้

           การทำกิจกรรมของ"ศูนย์นูซันตาราศึกษา" นอกจากการสร้างเครือข่ายกับนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมในประเทศต่างๆในกลุ่มโลกวัฒนธรรมมลายู อันประกอบด้วยอินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ ยังสามารถสร้างเครือข่ายกับนักวิชาการชาวมลายู/มลายูศึกษาในประเทศอื่นๆอีกด้วย ไม่ว่าจากประเทศฟิลิปปินส์ ศรีลังกา อัฟริกาใต้ อังกฤษ เยอรมัน ฮอลันดา ตีมอร์เลสเต้ นอกจากนั้นมีกิจกรรมพานักศึกษามลายูศึกษาเพื่อสัมผัสพื้นที่จริงในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยนักศึกษามลายูศึกษาได้เดินทางมาแล้วทั้งในประเทศมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา  มีเพียงเมียนมาร์เท่านั้นที่นักศึกษามลายูศึกษายังไม่ได้สัมผัส

      ศาสตาราจารย์ ดร. ครองชัย  หัตถา นักวิชาการนามอุโฆษแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในคณะที่ปรึกษาของ"ศูนย์นูซันตาราศึกษา"ได้กล่าวว่า "ศูนย์นูซันตาราศึกษา"ได้ก้าวข้ามพ้นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีแล้ว ก็นับว่าเป็นความจริง แม้จะเป็นนาวาเล็กๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งในโลกวัฒนธรรมมลายู แต่ก็ได้สร้างเครือข่ายกว้างใหญ่กับหน่วยงาน องค์กรภายนอก เช่น สร้างความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยและเผยแพร่วัฒนธรรมมลายู เมืองยอกยาการ์ตา (Balai Kajian dan Pengembangan Budaya Melayu Yogyakarta) ประเทศอินโดเนเซีย ผู้จัดทำเว็บไซต์ Melayuonline เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้คนเข้าไปดูมากถึง 96,244,271 คน (9 มกราคม 2014) หรือความร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยอารยธรรมมลายูนูซันตารา (Pusat Riset Tamadun Melayu Nusantara) ของมหาวิทยาลัยอินโดเนเซีย

       นอกจากนั้น"ศูนย์นูซันตาราศึกษา"ยังได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค โดยเป็นคณะกรรมการขององค์กรโลกมลายูโลกมุสลิม หรือ Dunia Melayu Dunia Islam ซึ่งเป็นองค์กรที่สร้างเครือข่ายทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจระหว่างสมาชิกในโลกมลายูโลกมุสลิม และเป็นคณะทำงานขององค์กรมลายูโปลีเนเซียแห่งโลก หรือ World Malay-Polynesian Organisation  ส่วนการดำเนินกิจกรรมทางวรรณกรรมมลายู ภาษามลายู วัฒนธรรมมลายู นับว่า"ศูนย์นูซันตาราศึกษา"ได้รับการยอมรับเช่นเดียวกัน

ประมวลภาพกิจกรรมส่วนหนึ่งที่"ศูนย์นูซันตาราศึกษา"ได้ทำ


Tiada ulasan:

Catat Ulasan