Ekonomi/Bisnis

Jumaat, 31 Oktober 2014

ปัญหาภายในของประเทศอินโดนีเซียในอดีต

โดย นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน
ครั้งนี้เรามาพูดถึงปัญหาภายในของประเทศอินโดนีเซียในอดีต เพราะแม้ว่าบางปัญหา ทางประเทศอินโดเนเซียจะสามารถแก้ปัญหาได้แล้ว แต่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ก็เป็นสิ่งที่เราควรที่จะเรียนรู้ เพื่อนำอดีตมาแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน

ประเทศอินโดนีเซียมีปัญหาเกี่ยวกับความแตกต่างทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม ศาสนา ภาษา ทำให้พื้นที่บางส่วนของอินโดเนเซียต่อสู้เพื่อแยกตัวออกจากประเทศอินโดเนเซีย  ปัญหาบางอย่างก็สามารถแก้ไขให้ลดระดับความรุนแรงลง  เช่นปัญหาอาเจะห์ สุมาตรา  ส่วนปัญหาที่ยังไม่อาจแก้ไขได้ด้วยสันติก็ยังมีอยู่  ปัญหาต่างๆในอินโดเนเซียนั้นที่สำคัญๆมีดังนี้

 ปัญหาอาเจะห์ สุมาตรา (GAM)
 ด้วยอาเจะห์นั้นเดิมเป็นดินแดนที่มีการปกครองที่เป็นอิสระของตนเอง เมื่อฮอลันดาสามารถควบคุมอาเจะห์ได้แล้ว  ดินแดนอาเจะห์จึงเป็นอาณานิคมของฮอลันดา  เช่นเดียวกับดินแดนส่วนอื่นๆของอินโดนีเซีย  ดังนั้นเมื่ออินโดเนเซียเป็นเอกราช  ชาวอาเจะห์จึงเรียกร้องการปกครองตนเอง  จนในที่สุดรัฐบาลกลางได้จัดตั้งเป็นเขตการปกครงอพิเศษอาเจะห์  แต่ชาวอาเจะห์ก็ยังมีความรู้สึกว่าทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากมายในดินแดนอาเจะห์นั้น  ถูกนำไปพัฒนาส่วนกลาง  จึงเกิดขบวนการต่อสู้เพื่ออิสระของอาเจะห์  จัดตั้งโดย Hassan Ditriro และพรรคพวกโดยใช้ชื่อว่า National Liberation Front of Aceh Sumatra  จัดตั้งเมื่อ 4 ธันวาคม 1976 แต่ขบวนการนี้จะรู้จักกันในนาม ของGAM-Gerakan Aceh Merdeka หรือ The Free Aceh Movement มากกว่า

การต่อสู้ของ Gerakan Aceh Merdeka  ต่อสู้มาเป็นเวลานับสิบปี  และเกิดความแตกแยกระหว่างกันโดยฝ่ายหนึ่งนำโดย Hassan Di Tiro  ที่มีฐานอยู่ที่ สวีเดน  ภายใต้ชื่อ Gerakan Aceh Merdeka  และอีกฝ่ายนำโดย Teungku Don Zulfahri ที่ลี้ภัยการเมืองอยู่ในมาเลเซีย  กลุ่มนี้ ใช้ชื่อว่า MP-GAM-Majlis Pemerintahan Gerakan Aceh Merdeka

ความรุนแรงในอาเจะห์ สุมาตรา  ได้รับการแก้ไขด้วยการเจรจา  ตามแนวทางสันติวิธี จนทำให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญายุติสงคราม เมื่อ 15 สิงหาคม 2005

 ปัญหาปาปัวตะวันตก (  West  Papua)
 ประชาชนชาวปาปัวตะวันตกมีภาษา วัฒนธรรม ศาสนาคริสต์ที่คล้ายกับประชาชนในส่วนที่เป็นประเทศปาปัวนิวกีนี  ดินแดนปาปัวตะวันตกได้กลายเป็นเมืองขึ้นของฮอลันดา  เช่นเดียวกันกับดินแดนส่วนอื่นของอินโดเนเซีย  ดังนั้นเมื่ออินโดเนเซียได้ประกาศเอกราช  และฮอลันดาถอนตัวออกจากปาปัวตะวันตก  ทางอินโดนีเซียจึงทำการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดเนเซีย  และปาปัวตะวันตกจึงถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น อิเรียนจายา ( Irian jaya )  แต่ปัจจุบันสภาท้องถิ่นของปาปัวตะวันตกได้ลงมติเปลี่ยนชื่อดินแดนดังกล่าวโดยใช้ชื่อเดิมนั้นคือ  ปาปัวตะวันตก

สำหรับขบวนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวปาปัวตะวันตกนั้นก่อตั้งตั้งแต่ปี 1964  โดยมีการจัดตั้งองค์การใช้ชื่อว่า องค์การต่อสู้เพื่อเอกราชของปาปัว (Organisasi dan Perjuuangan Menuju Kemerdekaan Papua) มีนาย Terianus Aronggear  เป็นผู้นำ  องค์การนี้แม้จะมีชื่อที่เป็นทางการ  แต่ชื่อนี้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายรวมทั้งสมาชิกขบวนการเอง คือ Organisasi Papua Merdeka (องค์การปาปัวเอกราช) เป็นชื่อที่ทางการอินโดเนเซียตั้งให้  ปรากฏว่าชื่อนี้จำง่ายกว่า  ชื่อจริงขององค์การดังนั้น OPM  จึงได้รับการยอมรับ  ขบวนการนี้ได้ประกาศเอกราชปาปัวตะวันตก เมื่อ 1 กรกฏาคม 1971 และการต่อสู้ด้วยอาวุธก็ดำเนินการตลอดมา  นอกจากขบวนการ OPM   แล้วชาวปาปัวตะวันตกยังมีอีกขบนการหนึ่งคือ The West Papua People’s Front เป็นองค์การที่มีฐานอยู่ในฮอลันดา  จนถึงปัจจุบันปัญหาปาปัวตะวันตกก็ยังเป็นปัญหาหนึ่งที่บั่นทอนความมั่นคงภายในของอินโดนีเซีย

 ปัญหาโมลุกะใต้  (Repblik Maluku  Selatan)
 ปัญหาของโมลุกะใต้หรือ มาลุกุใต้เป็นปัญหาตกค้างจากสมัยอาณานิคมฮอลันดาด้วยตอนที่ฮอลันดายังครองดินแดนอินโดเนเซียนั้น  ทางฮอลันดาได้จัดตั้งกองกำลังของชาวอาณานิคมใช้ชื่อว่า KNIL และส่วนหนึ่งของสมาชิกกองกำลังKNIL จะเป็นชาวมาลุกุใต้ เมื่อฮอลันดาได้ยอมรับการเกิดของประเทศอินโดเนเซีย ขณะนั้นมีชื่อว่า สหพันธสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia Serikat) และทางสหพันธสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  ได้จัดตั้งกองทัพสหพันธสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (APRIS - Angkatan  Perang  Republik  Indonesia  Serikat) แต่ทางสมาชิกกองกำลัง KNIL ที่เป็นชาวมาลุกุใต้ไม่พร้อมจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ APRIS


และเมื่อ 25 เมษายน 1950 ได้ประกาศจัดตั้งขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของมาลุกุใต้ ซึ่งชาวมาลุกุใต้เป็นผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ ขบวนการที่จัดตั้งนี้มีชื่อว่า สาธารณรัฐมาลุกุใต้ Repblik Maluk Selatan  โดยมีผู้นำชื่อ Dr.Chr.R.S. Soumokil ขบวนการ RMS มีฐานอยู่ที่เมือง Amban เกาะมาลุกุ  และที่เกาะ  Seram  ต่อมากองทัพอินโดเนเซียได้ควบคุมเมือง Ambon ได้เมื่อ 18 พฤศจิกายน 1950 และเกาะ Seram  เมื่อ 18 ธันวาคม 1950  คณะรัฐมนตรีฮอลันดาได้ประชุมเมื่อ กุมภาพันธ์ 1951  มีมติอพยพเหล่าอดีตกองกำลัง KNIL  ชาวมาลุกุใต้ให้ไปตั้งฐินฐานในประเทศฮอลันดา  โดยเดินทางไปยังฮอลันดากลุ่มแรกเมื่อ 21 มีนาคม 1951 จำนวน 12,000 คน (ปัจจุบันประชากรเหล่านี้ได้ขยายจนมีจำนวน 45,000 คน) การเคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดนมาลุกุใต้ออกจากอินโดเนเซียยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน  ภายในพื้นที่มาลุกุนั้น  พวกเขาได้จัดตั้งองค์การบังหน้าใช้ชื่อว่า Forum Kedaulatan  Maluku  โดยมี Dr. Alex Manuputty เป็นผู้นำขบวนการ  ปัญหาเกี่ยวกับดินแดนมาลุกุใต้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่บั่นทอนความมั่นคงของประเทศอินโดนีเซีย  เช่นเดียวกันกับปัญหาปาปัวตะวันตกและปัญหาอาเจะห์

Selasa, 21 Oktober 2014

ความเป็นมาของชื่อประเทศอินโดเนเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน             
   ในครั้งนี้เรามารู้จักถึงความเป็นมาของชื่อประเทศเพื่อนบ้านของเราประเทศหนึ่ง ซึ่งถือเป็นพี่ใหญ่ของกลุ่มประเทศอาเซียน นั้นคือประเทศอินโดเนเซีย

   ในปีทศวรรษที่ 1920  นาย Ernest Francois Eugene Douwes Dekker (1879-1950)   ซึ่งรู้จักกันในนามของ Dr. Danudirja Setiabudi   ได้เสนอชื่อของประเทศอินโดเนเซียโดยชื่อนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำว่า “อินเดีย”  ชื่อที่เขาเสนอนั้นคือ นูซันตารา หรือ Nusantara  เป็นที่ถูกลืมมานับร้อยปี    Dr. Danudirja Setiabudi   นำชื่อนี้มาจากหนังสือโบราณที่ชื่อว่า Pararaton    เป็นหนังสือที่มีการค้นพบที่เกาะบาหลีในศตวรรษที่ 9 หนังสือนี้เขียนขึ้นในสมัยมาชาปาฮิต  
Dr Danudirja Setiabudi
    หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลโดย J.L.A. Brandes
และจัดพิมพ์ในปี 1920 โดยNicholaas Johannes Krom ความหมายของ Nusantara ที่ Dr. Danudirja Setiabudi  ให้ความหมายนั้นแตกต่างจากความหมายในสมัยมาชาปาฮิต ซึ่งในสมัยมาชาปาฮิตนั้นคำว่า Nusantara หมายถึงบรรดาเกาะที่อยู่นอกเกาะชวา คำว่า antara ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ภายนอก, ฝั่งตรงข้าม อันมีความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า Jawadwipa (เกาะชวา)  ใน Sumpah Palapa ของ Gajah Madaได้กล่าวว่า

    "Lamun huwus kalah nusantara, isun amukti palapa" (ถ้าสามารถเอาชนะบรรดาเกาะฝั่งตรงข้ามได้แล้ว  ข้าจึงจะพักผ่อน) คำว่า palapa นี้บางคนก็แปลว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่ง 

    Dr. Danudirja Setiabudi   กล่าวว่าความหมายในสมัยมาชาปาฮิต เป็นการให้ความหมายที่เน้นชาตินิยม การให้ความหมายของ Dr. Danudirja Setiabudi นั้น  เขากล่าวว่าคำว่า antara  มีความหมายในภาษามลายูว่า ระหว่าง  ทำให้คำว่า นูซันตารา หรือ nusantara มีความหมายว่า ดินแดนที่อยู่ระหว่างสองทวีป  สองมหาสมุทร  ซึ่งจะทำให้เกาะชวาก็เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนดังกล่าว  การเสนอชื่อ  nusantara ของ Dr. Danudirja Setiabudi ทำให้ชื่อนี้ได้รับความนิยมของประชาชนนอกเหนือจากชื่อเรียกดินแดนอินโดเนเซียในสมัยนั้นว่า Hindia Belanda จนถึงปัจจุบันคำว่า nusantara ในประเทศอินโดเนเซียมีความหมายถึงประเทศอินโดเนเซีย  

    อย่างไรก็ตาม คำว่า  Nusantara นั้นในวงวิชาการทั่วไปยังมีความหมายถึง ดินแดนภูมิภาคมลายู  ซึ่งประกอบด้วยประเทศมาเลเซีย  อินโดเนเซีย  บรูไน  สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์  และภาคใต้ของประเทศไทย
George Samuel Windsor Earl
    ในปี  1847 ที่สิงคโปร์ ได้มีการออกวารสารวิชาการรายปี มีชื่อว่า Journal of the Indian Archipelago and Eastern Asia (JIAEA) โดยมีบรรณาธิการชื่อ James Richardson Logan (1819-1869) เป็นนักวิชาการชาวสกอตแลนด์ที่จบการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (Universitas Edinburgh)   ต่อมาในปี 1849 มีนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษชื่อว่า George Samuel Windsor Earl (1813-1865) ได้เข้าร่วมเป็นบรรณาธิการของวารสาร JIAEA ด้วย

    ในวารสาร  JIAEA ฉบับที่ IV ปี  ปี 1850 หน้า 66-74 George Samuel Windsor Earl ได้เขียนบทความชื่อ  On the Leading Characteristics of the Papuan, Australian and Malay-Polynesian Nations  ในบทความดังกล่าวเขาได้เขียนว่า ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนชาวหมู่เกาะอินเดียหรือหมู่เกาะมลายูจะมีชื่อเรียกดินแดนของตนเองเป็นการเฉพาะ (a distinctive name) เพราะชื่อฮินเดียนั้นไม่ถูกต้อง และมักสับสนกับชื่ออินเดียอีกแห่งหนึ่ง  และ เขาเสนอชื่อเฉพาะสำหรับดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน 2 ชื่อให้เลือก ชื่อดังกล่าวคือ Indunesia หรือ Malayunesia  โดยคำว่า nesosในภาษากรีกมีความหมายว่า เกาะ   โดยเขาได้เขียนในหน้า 71 ของบทความดังกล่าวว่า 

     "... the inhabitants of the Indian Archipelago or Malayan Archipelago would become respectively Indunesians or Malayunesians". 

     George Samuel Windsor Earl ให้ความสนใจชื่อ Malayunesia (หมู่เกาะมลายู)มากกว่าชื่อ Indunesia หมู่เกาะฮินเดีย หรือหมู่เกาะอินเดีย)  เพราะคำว่า Malayunesia มีความถูกต้องกับดินแดนของชนชาติมลายู ส่วน Indunesia  เขากล่าวว่าสามารถใช้กับดินแดนที่เป็นประเทศศรีลังกาหรือมัลดีฟส์ในปัจจุบัน  และด้วยดินแดนนี้มีการใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร  ในบทความดังกล่าวเขาใช้คำว่า Malayunesia เมื่อกล่าวถึงดินแดนอินโดเนเซียปัจจุบัน 
James Richardson Logan
      ในวารสารวิชาร JIAEA เล่มเดียวกันนั้น James Richardson Logan ได้เขียนบทความชื่อ The Ethnology of the Indian Archipelago  ในหน้า 252-347  ในบทความดังกล่าวเขากล่าวว่าดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบันต้องมีชื่อเฉพาะของตนเอง  ด้วยชื่อเรียกดินแดนนี้มีชื่อยาวเกินไป  นั้นคือชื่อหมู่เกาะอินเดีย หรือ "Indian Archipelago" ซึ่งสร้างความสับสนแก่ผู้คนเป็นอันมาก  ดังนั้น James Richardson Logan จึงนำชื่อที่ George Samuel Windsor Earl ไม่สนใจมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเปลี่ยนให้พูดได้ง่ายขึ้น นั้นคือ เปลี่ยนอักษร U มาเป็น O จากคำว่า Indunesia มาเป็น  Indonesia นับแต่นั้นมาชื่อดินแดนนั้นก็ได้เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะที่จะใช้ชื่ออินโดเนเซีย (Indonesia) จนถึงปัจจุบัน

      ครั้งแรกที่คำว่า อินโดเนเซีย ได้เกิดขึ้นในโลกนี้ โดยการพิมพ์ในวารสาร JIAEA หน้า 254 มีเนื้อความว่า :
"Mr. Earl suggests the ethnographical term Indunesian, but rejects it in favour of Malayunesian. I prefer the purely geographical term Indonesia, which is merely a shorter synonym for the Indian Islands or the Indian Archipelago"

      ตอนที่ James Richardson Logan เสนอชื่อ Indonesia เขาคงไม่คิดว่าชื่อนี้จะกลายเป็นชื่อทางการของดินแดนนั้น นับแต่เสนอชื่ออินโดเนเซียแล้ว  เขามักจะใช้ชื่อนี้ในบทความวิชาการต่างๆของเขา ต่อมาชื่อนี้ได้เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาและนักภูมิศาสตร์
Adolf Bastian
      ในปี 1884 นาย Adolf Bastian (1826-1905) อาจารย์นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน University of  Berlin) ได้เขียนหนังสือชื่อ Indonesien oder die Inseln des Malayischen Archipel  เป็นจำนวน 5 เล่ม ซึ่งเขาได้เดินทางไปสำรวจยังดินแดนอินโดเนเซียในปัจจุบัน จากปี 1864   ถึงปี 1880  
       หนังสือชุดดังกล่าวเป็นหนังสือที่เผยแพร่คำว่า อินโดเนเซีย ในหมู่นักวิชาการชาวฮอลันดา  จนเกิดความเข้าใจผิดคิดว่า คำว่าอินโดเนเซียนั้น นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์  ความเข้าใจผิดนี้จนทำให้มีการบันทึกว่า นาย Adolf Bastian เป็นผู้ประดิษฐ์ ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Encyclopedie van Nederlandsch-Indie ในปี 1918 ความจริงแล้วนาย Adolf Bastian เพียงนำชื่อ อินโดเนเซียมาจากงานเขียนของนาย  James Richardson Logan 

       ดังนั้นเราก็สามารถสรุปได้ว่า นาย James Richardson Logan คือผู้ประดิษฐ์ชื่อ อินโดเนเซีย ในหมู่ชนพื้นเมืองนั้นปรากฏว่า นาย Raden Mas Suwardi Suryaningrat (Ki Hajar Dewantara) เป็นคนแรกที่นำชื่ออินโดเนเซียมาใช้ ในขณะที่เขาถูกเนรเทศไปยังประเทศฮอลันดาในปี 1913 เขาได้ตั้งหน่วยเผยแพร่ข่าวสารขึ้นโดยใช้ชื่อว่า  Indonesische Pers-bureau

    หลังจากนั้นในปี 1917  ศาสตราจารย์ Cornelis van Vollenhoven ได้นำชื่อ indonesisch Indonesia) มาใช้แทนชื่อ indisch (ฮินเดีย) นอกจากนั้นชื่อชนพื้นเมืองก็ถูกเรียกว่า  indonesiër (ชาวอินโดเนเซีย) แทนคำว่า inlander (ชนพื้นเมือง) diganti dengan orang Indonesia)

    แม้ว่าประเทศอินโดเนเซียจะเรียกในหมู่ชาวอินโดเนเซียเองว่า “อินโดเนเซีย” แต่สำหรับชาวไทยแล้ว ยังใช้ทั้งที่เป็น“อินโดเนเซีย” และ “อินโดนีเซีย”  การจะคบค้าสมาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน เราจึงควรที่จะรู้จักความเป็นมาของชื่อประเทศเพื่อนบ้านด้วย อันจะทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

Isnin, 13 Oktober 2014

Hubungan Etnik (Melayu-Siam) di Sempadan Thailand-Malaysia


Oleh Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan
        Dalam artikel ini akan menggabungankan 2 kajian yang kedua - dua kajian ini ada kaitan dengan Melayu. Dan kedua-dua kajian ini berada dalam satu projek kajian tentang masyarakat Melayu Patani. Kajian ini dijalankan selama 2 tahun. Kajian pertama dengan tajuk “Melayu Patani: Etnik, Jatidiri dan Perubahan” dijalankan selama 1 tahun di ketiga tiga wilayah di Selatan Thailand iaitu Wilayah Pattani, Wilayah Narathiwas dan Wilayah Yala.

            Metodologi kajian bagi kajian pertama dengan memilih 2 buah kampung Melayu di setiap satu wilayah yang jatidirinya berlainan iaitu jatidiri Melayu masih kuat dan satu lagi jatidiri lemah. Setiap kampong ditempatkan seorang pembantu penyelidik. Selain pembantu penyelidik ditempatkan di setiap kampung. Pihak penyelidik juga menjalankan “focus group” setiap kampung di universiti Prince of Songkla University, Kampus Pattani.
  
            Setelah kajian pertama telah tamat dan pihak penyelidik merumuskan hasil kajian. Pihak penyelidik juga mulakan kajian kedua dengan tajuk “Hubungan Etnik (Melayu-Siam) di Sempadan Thailand-Malaysia”. Dan hasil dari kajian pertama tentang Melayu Patani juga telah digunakan untuk kajian kedua.
  
            Kajian kedua dengan tajuk “Hubungan Etnik di Sempadan Thailand-Malaysia” Kajian ini fokus kepada hubungan masyarakat Melayu dengan masyarakat Siam atau masyarakat Thai. Kajian ini khusus kajian hubungan di Patani (Wilayah Narathiwas) Thailand dengan negeri Kelantan, Malaysia.  

           Kajian ini memilih 2 buah kampung Melayu, satunya terletak dalam Daerah Tak Bai, Wilayah Narathiwas, Thailand dan satu lagi terletak dalam Daerah Tumpat, Negeri Kelantan, Malaysia.  Kajian kedua ini juga memakan masa selama 1 tahun dengan pihak penyelidik menempatkan setiap satu kampung seorang pembantu penyelidik.
  
            Kedua-dua kajian ini dijalankan untuk mencari jalan penyelesaian masalah konflik di Selatan Thailand. Wilayah-wilayah di Selatan Thailand khususnya wilayah-wilayah di sempadan Malaysia-Thailand iaitu Wilayah Pattani, Wilayah Narathiwas dan Wilayah Yala. Di wilayah-wilayah tersebut penduduk majoriti adalah penduduk keturunan Melayu.

            Setelah berlaku kekacauan di Selatan Thailand dengan berlaku konflik diantara masyarakat Melayu dengan pihak pemerintah Thailand. Kerajaan Thailand telah memberi sokongan untuk mengkaji masyarakat Melayu di Selatan Thailand. Kajian terhadap masyarakat Melayu yang dikenali dengan “Melayu Patani” itu supaya kerajaan dapat menyelesaikan masalah konflik tersebut.
                Peta Masyarakat Melayu Patani di Selatan Thailand
Kajian pertama tajuk “Melayu Patani : Etnik  Jatidiri dan Perubahan” bertujuan kajian ialah

1. mengkaji jatidiri Melayu Patani. 2. mengkaji proses asimilasi atau Siamisasi terhadap masyarakat Melayu Patani. 3. mengkaji cara mempertahankan jatidiri Melayu Patani. 4. mengaki kesan dari dasar asilimasi atau Siamisasi terhadap jatidiri Melayu Patani. 5. mengkaji kesan terhadap pertahanan  jatidiri Melayu Patani.

Setalah menjalankan kajian selama setahun. Pihak penyelidik telah menganalisis data, meninjau di setiap kampung yang diselidik. Satu pertemuan ialah kampung yang jatidiri Melayu masih kuat dan kebudayaan Melayu dihormati oleh warga Thai Buddhist. Penentangan masyarakat Melayu kepada pihak warga Thai Buddhist tidak begitu kuat. Sebaliknya kampung yang jatidiri Melayu lemah dan kebudayaan Melayu tidak dihormati oleh warga Thai Buddhist. Sebahagian dari warga kampung itu akan lebih menentang pihak warga Thai Buddhist.

Dalam kajian terdapat beberapa aktiviti tentang kebudayaan Melayu masih dijalankan seperti pakaian Melayu di Hari Raya Aidil Fitri dan Aidil Adha, Begitu juga dengan aktiviti pengajaran Bahasa Melayu di sekolah-sekolah TADIKA, sekolah-sekolah agama.

Satu Pertemuan ialah Bahasa Melayu Diraja yang dipakai dikalangan kerabat Diraja Melayu Patani telah hilang. Kata-kata DiRaja seperti bersiram, santap, gering, berangkat tiba, berkenan, beradu tiada lagi dikalangan masyarakat kerabat Diraja Patani.

Kesimpulan kajian pertama terhadap etnik, jatidiri dan perubahan adalah seperti berikut:

Etnik Melayu, Masyarakat Melayu Patani masih menganggap mereka sebagai bangsa Melayu beragama Islam. Tetapi mereka mengakui bahawa mereka berwarganegara Thailand.

     Jatidiri Melayu,  terdapat 3 fakta yang menentukan Melayu Patani iaitu Agama Islam, Bahasa Melayu dan Kebudayaan Melayu dan Islam. Seperti apa pepatah Melayu menyatakan Melayu Adatnya, Melayu Bahasanya, dan  Islam agamanya. Perubahan Jatidiri Melayu, terdapat beberapa masyarakat Melayu Patani telah menerima kebudayaan warga Thai Buddhist seperti makanan ala Thai, cara hidup seperti orang Thai, berbahasa harian dalam bahasa Thai dan sebagainya.
  
Kajian kedua dengan tajuk “Hubungan Etnik di Sempadan Thailand-Malaysia” ini bertujuan seperti berikut:        1. mengkaji hubungan etnik diantara Thai Buddhist dengan Melayu Patani. 2. mengkaji proses asimilasi kebudayaan diantara Thai Buddhist dengan Melayu Patani. 3. mengkaji penerimaan kebudayaan bersama diantara Thai Buddhist dengan Melayu Patani. 4. mengkaji kerjasama diantara Thai Buddhist dengan Melayu Patani  didalam bidang politik dan pentadbiran. 5. mengkaji kerjasama diantara Thai Buddhist dengan Melayu Patani  didalam bidang pendidikan. 6. Mengkaji hubungan etnik di sempadan  Malaysia-Thailand terhadap impak keselamatan kedua-dua Negara.

            Dari hasil kajian pertama ini juga telah dapat fakta tentang jatidiri Melayu dan beberapa maklumat untuk menuju ke kajian kedua. Dalam kajian kedua tentang hubungan etnik di sempadan kedua-dua Negara dengan khusus kepada negeri Kelantan dan Wilayah Narathiwas. Di Wilayah Narathiwas, baik di kampong masyarakat Melayu dan masyarakat keturunan Siam pihak penyelidik tiada masalah menjalankan kajian.

        Sebaliknya terdapat beberapa masalah kajian kedua, lebih lebih lagi di Daerah Tumpat, Negeri Kelantan. Kerana fakta politik diantara Parti UMNO dan Parti PAS juga menyebabkan pihak penyelidik agak sulit dalan menjalankan kajian.

            Dengan menempatkan pembantu penyelidik di semua kampong yang dijalankan kajian selama satu tahun. Di sini Penulis akan lebih fokus kepada hubungan etnik diantara Melayu Patani dengan Thai Buddhist di Wilayah Narathiwas. Hubungan etnik diantara masyarakat Melayu Patani dengan masyarakat Thai Buddhist di Daerah Tak Bai, Wilayah Narathiwas ialah :

       Hubungan Etnik melalui bahasa
       Pergaulan diantara kedua-dua etnik menyebabkan kedua-dua etnik menerima kata-kata dari satu kaum kepada satu kaum seperti penerimaan kata kata Bahasa Melayu ke dalam Bahasa Thai tempatan.

          Kata-kata Bahasa Melayu dalam Bahasa Thai tempatan.

Bahasa Melayu Baku   Bahasa Melayu Patani    Bahasa Thai tempatan      
     Jagong                            jagong                        khong
    Jambu                             jamu                          jamu
    Sawa (buah)                     Sawo                          Sawa
     Petai                               Peta                           Peta                         Cermat                           Cermak                       Cemak
     Rasa                               Raso                           Rasa, Sa
     Belacan                          Belace                         Becan
     Pandan                          Pane                            Kenan
     Musang                          Muse                           Musang
     Panggang                        Pange                          Pangang
     Janji                               janyi                            canci
     Timba                            Timo                           Tima                         Kercut                            Kercuk                        Kecut
     Apam                             Ape                            Pam
     Cucur                            Cuco                            Con
     Tuak (air nira)                 Tuwok                          Tawak
     Selut                             Seluk                            Lut     
     Tembakau                      Tebaka                         Bekau

kata kata Bahasa Thai tempatan dalam Bahasa Thai tempatan.

Kata kata Bahasa Thai yang diserap ke dalam Bahasa Melayu Patani ini telah diubahsuai dengan dialek Melayu Patani sehingga kata-kata tersebut kurang faham atau tidak faham oleh masyarakat Thai Buddhist

Bahasa Thai              Bahasa Melayu Baku       Bahasa Melayu Patani

Kamkan                    Ahli Jawatan Kuasa          Kamke

Thammada                Biasa                             Thamada

Rong-phak                 Balai Polis                      Lo-phak
Thoratat                    Televisyen                    Thoratak
 Charachorn               Trafik                           Charachorng
 Khru                         Guru                            Khru
 Tahan                       Askar                           Tahang
 Thanakhan                 Bank                           Thanakhang

Thesban                     Majlis Perbandaran       Thesbang
Phan-rong                  Tukang kebun               Pha-rong
Samian                      Setiausaha                   Samiang
Baeb                          Fesyen                        Baek
Phim                         Cetak                           Phing
Plad Amphoer            Penulong Pegawai Daerah  Belak Aphoe
Aiyakarn                     Pendakwa raya              Ayok-kae
Kaset                         Pertanian                      Kasek
Thorasap                   Talipon                         Thorasak
  
Hubungan Etnik melalui perkahwinan campur
Perkahwinan diantara kedua-dua etnik akan dijalankan dengan pihak bukan beragama Islam akan memeluk agama Islam. Terdapat beberapa kes perkahwinan campur diantara kedua-dua etnik.

Satu Pertemuan yang sangat menarik dalam perkahwinan yang berlaku di sesama etnik di kampung yang dikaji ialah jika perkahwinan itu berlaku di kampung masyarakat Melayu. Pihak masyarakat Thai yang hadir dalam jamuan perkahwinan itu tidak ada masalah dengan makanan yang disediakan oleh masyarakat Melayu.

Sebaliknya jika  perkahwinan itu berlaku di kampong masyarakat Thai Buddhist, pihak masyarakat Thai Buddhist akan menyediakan makanan yang dimasakkan oleh orang Melayu dan pinggang mangkuk juga disedia dari masyarakat Melayu.
  
        Hubungan Etnik melalui Politik
Sistem pentadbiran Thailand, di peringkat bawah sekali ialah Badan Pentadbiran Mukim. Pentadbir terdiri dari Pengerusi dan Timbalan Badan Pentadbiran Mukim dan ahli Badan Pentadbiran Mukim sebanyak 2 orang setiap kampung. Pentadbir mukim ini melalui pemilihan raya oleh penduduk setempat. Dengan itu ahli politik baik dari kalangan Melayu ataupun Thai Buddhist Perlu bekerjasama untuk mendapat kuasa dalam pentadbiran badan tersebut.

       Hubungan Etnik melalui Perniagaan
Masyarakat Melayu Patani yang berjiran dengan masyarakat Thai Buddhist seperti kampung yang dikaji telah mempunyai hubungan yang sangat lama. Didapati kedua-dua kampung saling bantu membantu. Mengikut kajian, kampung Melayu yang terletak ditepi pantai dan kampung Thai Buddhist jaug sedikit dari pantai. Kampung Melayu dizaman dulu menjalankan aktiviti penangkapan ikan. Sebaliknya kampung  Thai Buddhist menjalankan aktiviti pertanian. Kedua-dua kampung akan tukar menukar barangan masing-masing.

Pada saat sekarang terdapat sebuah pasar di sebuah kampung Melayu yang dikaji. Setiap hari Ahad pasar ini akan menjalankan aktiviti. Para penjual dan pembeli terdiri dari penduduk kampung Melayu dan Kampung Thai Buddhist di sekitar itu.

Dari kesimpulan kajian ini didapati penduduk Melayu dan penduduk Thai Buddhist tiada masalah hubungan etnik diantara mereka. Kerana hubungan baik ini telah berjalan semenjak dulu lagi. Tetapi kepenting politik di luar kampung-kampung yang menular masuk ke kampung-kampung, baik dari golongan tertentu dan pihak kerajaan menyebabkan situasi keruh berlaku di beberaa tempat. Dengan mengambil beberapa contoh dari kajian inilah akan dapat mengeratkan lagi hubungan diantara etnik di Wilayah Pattani, Wilayah Yala dan Wilayah Narathiwas.

Hubungan etnik diantara masyarakat Melayu di Negeri Kelantan, baik di peringkat negeri dan peringkat rakyat perlu menjadi contoh untuk menjalankan beberapa aktiviti hubungan etnik di kalangan masyarakat Melayu Patani dengan masyarakat Thai Buddhist.

Terima kasih.