Ekonomi/Bisnis

Khamis, 18 April 2013

อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลสหพันธรัฐของประเทศมาเลเซีย

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน
การที่ประเทศมาเลเซียมีการปกครองแบบสหพันธรัฐนี้เองทำให้นอกจากประเทศมาเลเซียจะมีรัฐธรรมนูญของประเทศแล้ว แต่ละรัฐยังมีรัฐธรรมนูญของตนเองอีกด้วย อำนาจหน้าที่การบริหาร การปกครองในประเทศมาเลเซียจึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 
1. อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลสหพันธรัฐ หรือ รัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ 
2. อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละรัฐ และ 
3. อำนาจหน้าที่ร่วมกันของสหพันธรัฐ หรือ รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละรัฐ

อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลสหพันธรัฐ หรือ รัฐบาลกลาง เช่น

1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 
2. การป้องกันประเทศ
3.
ความมั่นคงภายในประเทศ
4.
กิจการเกี่ยวกับการมีสัญชาติสหพันธรัฐ
5.
การคลัง
6.
การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม
7.
การศึกษา
8. ฯลฯ


อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น เช่น
1. กฎหมายอิสลาม
2.
ที่ดิน
3.
การเกษตรและการป่าไม้
4.
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
5.
หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น
6. ฯลฯ



อำนาจหน้าที่ร่วมกันของรัฐบาลสหพันธรัฐ หรือ รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น เช่น
1.
การบริการสาธารณะ เช่น ประชาสงเคราะห์ พิทักษ์สตรี เด็กและเยาวชน
2.
ทุนการศึกษา
3.
ป่าสงวนแห่งชาติ และสัตว์สงวน
4.
การชลประทาน

5. ฯลฯ

Tiada ulasan:

Catat Ulasan