Ekonomi/Bisnis

Khamis, 24 Januari 2013

Kini Semuanya Asing : Sebuah Puisi dari Patani Darussalam

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

ครั้งหนึ่งได้ไปร่วมสัมมนาเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนั้น มีนักวิชาการ มีนักการเมืองท้องถิ่น มีนักกิจกรรมภาคประชาสังคม และมีนักอื่นๆอีกหลายๆท่าน รวมทั้งนักกวีหนึ่ง  จากการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนั้น  ทำให้เกิดแนวความคิดว่า ในบล๊อกของศูนย์นูซันตาราศึกษา สมควรที่จะมีพื้นที่ให้กับบทกวี ที่เป็นภาษามลายู ทั้งจากนักเขียนบทกวีจากจังหวัดชายแดนภาคใต้เอง หรือทั้งจากโลกมลายู จากนักเขียนบทกวีมาเลเซีย อินโดเนเซีย บรูไน สิงคโปร์  ครั้งนี้เป็นบทกวีชื่อ Kini Semuanya Asing

Kini Semuanya Asing
Dari sebuah desa pendalaman
kuat memegang adat dan bahasa ibunda
di situlah ia dilahirkan
di waktu lagu lampu gas meliut dan jelaga menghitam
bersama bahasa dan budaya yang ditatang penuh cermat
disanjung junjung
bicaranya pun adalah bicara bahasa bunda
yang tidak diadukkan dalam pintalan zaman
apabila usiameniti waktu
ia dihantar ke kota oleh keluarga
buat mengubah haluan penghidupan 
di kota
matanya berubah warnah
bicaranya tidak lagi seperi dulu 
sudah kaku
adat budaya mula berwarna kelabu
terasa asing dan beku di mana-mana
beberapa tahun di kota

dari anak desa yang menyanjung bahasa ibunda
kini di bahunya ada segaris pangkat
bahasa yang dulu tidak lagi terbayang di mata
penghuni desa teman sepermainan 
tidak lagi dikenalnya
semuanya asing 
dan asing

Khadijah Abu Bakar
dari Antologi Puisi "Dahan Dahan Berbunga II" PSU Pattani

Jumaat, 18 Januari 2013

บริษัท PETRONAS บริษัทน้ำมันมาเลเซียค้นพบแหล่งน้ำมันบนบกในรัฐซาราวัค

โดย นิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน 

แผนที่รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย


PETRONAS ได้ประกาศถึงการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกของรัฐซาราวัค ถือเป็นเป็นการค้นพบครั้งแรกของประเทศในรอบ 24 ปี

การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบที่แหล่งเจาะน้ำมันที่เรียกว่า Adong Kecil West-1 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองมีรี ของรัฐซาราวัคประมาณ 20 กิโลเมตร   เป็นแหล่งเจาะน้ำมันที่ดำเนินการโดยบริษัท JX Nippon Oil & Gas Exploration (Onshore Sarawak) Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่รับสัมปทานแหล่ง Blok SK333 ร่วมกับบริษัทลูกของ PETRONAS คือบริษัทที่มีว่า Petronas Carigali Sdn Bhd.
การจุดเจาะน้ำมันบนบก
ครั้งสุดท้ายที่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกในประเทศมาเลเซียคือปี 1989 ที่บริเวณ Asam Paya ซึ่งก็เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในรัฐซาราวัคเช่นกัน

PETRONAS ได้ประกาศเมื่อ 18 มกราคม 2013 ว่า ทาง JX Nippon Oil & Gas Exploration (Onshore Sarawak) Ltd. และ Petronas Carigali Sdn Bhd. ได้ขุดแหล่งน้ำมัน Adong Kecil West-1 ในระดับความลึก 3,170 เมตร  และได้พบไฮโดรคาร์บอนบริสุทธิ์ที่มีความหนาประมาณ  349 เมตร

ได้มีการทดสอบแล้ว ผลการทดสอบสามารถผลิตได้ 440 ตันต่อวัน และก๊าซธรรมชาติได้ 11.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน  ถึงอย่างไรก็ตามทางบริษัท JX Nippon Oil & Gas Exploration (Onshore Sarawak) Ltd. และ Petronas Carigali Sdn Bhd. อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องอีกครั้ง
ทาง PETRONAS ได้แถลงอีกว่า การขุดเจาะในระดับลึกกว่านั้น ยังเชื่อว่าจะมีการค้นพบไฮโดรคาร์บอนบริสุทธิ์อีกต่อไป
 การท้าทาย
การขุดเจาะแหล่งน้ำมันที่ลึกกว่านั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก  การค้นพบแหล่งน้ำมันบนบกที่ Adong Kecil West  ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นแหล่งค้นพบน้ำมันบนบกเป็นแห่งที่สามของรัฐซาราวัค  ส่วนอีก 2 แหล่ง คือ ที่ แหล่ง Asam Paya และอีกแหล่งคือที่เมืองมีรี ซึ่งมีการค้นพบเมื่อปี 1910
แหล่งค้นพบน้ำมันแหล่งใหม่ของรัฐซาราวัค

การค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกครั้งนี้ ทำให้สามารถกล่าวได้ว่ารัฐซาราวัคเป็นรัฐที่มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกมากกว่ารัฐอื่นๆ

การดำเนินการขุดเจาะแหล่งน้ำมันจะยังคงดำเนินการต่อไป โดยบริษัท JX Nippon Oil & Gas Exploration (Onshore Sarawak) Ltd. และ Petronas Carigali Sdn Bhd.  เพื่อสนับสนุนการค้นหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของ PETRONAS

Jumaat, 11 Januari 2013

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส : ประสบการณ์ที่ได้สัมผัสมา

โดย นายนิอับดุลรากิ๊บ  บินนิฮัสซัน

    การที่ผู้เขียนได้เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ สิ่งหนึ่งที่มักเยี่ยมชมคือพิพิธภัณฑ์สถาน โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย สามารถกล่าวได้ว่าผู้เขียนเดินทางไปมาแล้วทุกรัฐ  ทั้งรัฐในแหลมมลายูและรัฐในเกาะบอร์เนียว  ทุกครั้งที่ได้เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส หรือรัฐเปรัค มักนำมาเปรียบเทียบกับจังหวัดชายแดนภาคใต้  รัฐต่างๆดังกล่าวมักมีพิพิธภัณฑ์สถานแสดงเรื่องราวของรัฐตนเอง  รัฐกลันตันรัฐเดียวมีพิพิธภัณฑ์ถึง 5 แห่ง
 พิพิธภัณฑ์อิสตานาฮายาร์ ในรัฐกลันตัน
พิพิธภัณฑ์ประจำรัฐกลันตัน
 พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐตรังกานู ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในอุคษาคเนย์
 พิพิธภัณฑ์ประจำรัฐตรังกานู
ในขณะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัตตานี ยะลา นราธิวาส ไม่มีแม้แต่พิพิธภัณฑ์เดียว  ด้วยผู้เขียนเคยทำวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จังหวัดนราธิวาสให้กับทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส ดังนั้นเมื่อทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาสเป็นผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส  โดยใช้อาคารศาลากลางจังหวัดนราธิวาสเดิมเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส  ได้เชิญผู้เขียนและศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย  หัตถา ร่วมเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้กับโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส  ผู้เขียนจึงไม่ลังเลที่จะรับเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ ด้วยเห็นว่าถึงเวลาที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส  จะต้องมีพิพิธภัณฑ์สถานเป็นของตนเอง

จากการศึกษาข้อมูลในการร่วมงานครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การเกิดของโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาสมีที่มา ที่ไปอย่างไร
คุณอุษณีย์  ธุวโชติ วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส ริเริ่มให้มีการดำเนินการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยใช้อาคารศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเก่า) เป็นที่จัดตั้งและดำเนินการ เพื่อปรับปรุงอาคารให้สามารถใช้เป็นที่จัดทำตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์อันเป็นการนำมิติทางวัฒนธรรมมาแก้ไขสภาพปัญหา เสริมสร้างค่านิยมจิตสำนึกภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น หวงแหนมรดกวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวที่สำคัญ

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส มีดังต่อไปนี้
1.เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนเมือง แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ความสำคัญ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ชุมชน 

2.ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ของชุมชน ประชาชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ 

3.เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนราธิวาส โดยรูปแบบของพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส จะประกอบด้วย 10 ห้องภูมิจัดแสดงนิทรรศการ เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความตื่นตาตื่นใจ เช่น ห้องภูมิแผ่นดิน ห้องภูมิหลัง ห้องภูมิเมือง ห้องภูมิชีวิต ห้องภูมิชน ห้องภูมิปัญญา ห้องภูมิธรรม ห้องภูมิภาษาและวรรณกรรม ห้องภูมิบุคคล ห้องภูมิศิลป์

ในการประชุมของโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส ในหลายๆครั้ง ทำให้เห็นว่าทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส มีความพร้อมในเรื่องการเตรียมสถานที่ประชุม และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในทางกลับกัน  ปรากฎว่าทางบริษัทผู้รับดำเนินการกลับไม่มีความพร้อมในการดำเนินการ จนผู้เขียนมีความสงสัยในความเป็นมืออาชีพของบริษัทเอง จนถึงปัจจุบันผู้เขียนก็ยังคงไม่แน่ใจในความเป็นมืออาชีพของบริษัท การดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท ยังมีปัญหาในเรื่องของ"การบริหารงาน การจัดการ" จนกลายเป็นตัวตลก เมื่อนำภาพจากจังหวัดอื่น ประเทศอื่น มาใส่ไว้ในโครงร่างของพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส






สำหรับการดำเนินงานของบริษัทผู้รับทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส ในปีงบประมาณ 2556 นั้น ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส สมควรที่จะจัดทำบทสรุปจุดแข็ง จุดอ่อน ของบริษัทผู้รับทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส รวมทั้งรูปแบบการประชุม การแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมงาน และทีมที่จะค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการต่างๆ ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์ก็คงจะซำ้รอยกับการดำเนินงานที่ผ่านๆมา  เชื่อว่าทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาสจะสามารถนำบทสรุปดังกล่าวมาพัฒนาการดำเนินงานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาสต่อไป